ASTVผู้จัดการรายวัน - ผู้บริหารแบงก์ชาติอารมณ์ค้างตอกกลับมูดี้ส์โยงมั่ว แฉให้ข้อมูลแบงก์พาณิชย์ไปก่อนแล้ว พร้อมให้เพิ่มเติม เพราะอยากเห็นการตัดสินใจที่ดีภายใต้ข้อมูลที่ถูกต้องและเหตุผลที่ดี ยันพื้นฐานแบงก์ไทยยังแข็งแกร่งไม่จำเป็นต้องให้รัฐบาลเข้ามาอุ้ม แต่หากมูดี้ส์ปรับลดเครดิตจริง เชื่อมีผลกระทบธนาคารพาณิชย์น้อยมาก เพราะไม่ได้พึ่งพาเงินกู้ในต่างประเทศจำนวนมาก
จากกรณีที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ได้ประกาศเตรียมปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์ไทย 9 แห่ง และสถาบันการเงินเฉพาะกิจอีก 2 แห่ง เมื่อวันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา และนางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ตอบโต้ไปแล้ว ปรากฏว่าวานนี้ (28 พ.ค.) นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน แถลงข่าวอีกครั้งว่า การทบทวนเครดิตดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานของภาคสถาบันการเงิน เพราะปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ไทยมีความมั่นคง แต่เกิดจากการเปลี่ยนวิธีการจัดอันดับของมูดี้ส์ที่ให้น้ำหนักภาครัฐเข้าไปช่วยเหลือสถาบันการเงินในยามที่จำเป็น ซึ่งส่วนใหญ่เกิดกับประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่า AAA และที่ผ่านมามีประเทศที่ถูกประเมินด้วยเหตุผลนี้มีอยู่ 2-3 ประเทศ จึงไม่มีเพียงประเทศไทยเท่านั้น
หากมูดี้ส์ตั้งคำถามว่าการเข้าไปช่วยเหลือภาครัฐต่อสถาบันการเงินไทยน้อยเมื่อหนี้พุ่งสูงขึ้น ถือว่าไม่ใช่ประเด็น เพราะขณะนี้ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยสามารถดำเนินงานได้อย่างปกติ ด้านฐานะเองก็ความแข็งแกร่ง คือ มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงสูงถึง 14.9% ณ สิ้นเดือนมี.ค.แม้เศรษฐกิจชะลอตัวมาก ซึ่งติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน
แต่ผลประกอบการของระบบธนาคารพาณิชย์ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
นอกจากนี้ ปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ไม่ได้เร่งสูงนัก และสภาพคล่องในระบบยังอยู่ในระดับสูง รวมทั้งสัดส่วนการพึ่งพาเงินกู้จากจากต่างประเทศยังน้อย และหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) อยู่ในระดับต่ำ จึงไม่จำเป็นภาครัฐต้องเข้าไปช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์ในระบบแต่อย่างใด
“ขณะนี้ในภาวะปัจจุบันเป็นเรื่องปกติที่นานาประเทศมีการใช้จ่ายมากและกู้ยืมเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสูงตาม ซึ่งอาจส่งผลให้ความสามารถในการชำระหนี้อาจน้อยลงไป แต่ขณะนี้การเป็นหนี้ของรัฐบาลไทยไม่ได้สูง จึงไม่เกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์ไทยมากนัก" นายบัณฑิตกล่าวและว่า ก่อนหน้านี้ ธปท.ได้ให้ข้อมูลธนาคารพาณิชย์กับเจ้าหน้าที่มูดี้ส์ไปแล้ว หากมูดี้ส์ฯ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ธปท.ก็ยินดีจะให้ เพราะ ธปท.อยากเห็นการตัดสินใจที่ดีภายใต้ข้อมูลที่ถูกต้องและเหตุผลที่ดี
ธปท.คาดว่ามูดี้ส์จะใช้เวลาในการสรุปผลของข้อมูลต่างๆ ประมาณ 2-3 อาทิตย์ หากถ้าท้ายสุดแล้ว มูดี้ส์ฯ มีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือจริง ธนาคารพาณิชย์จะได้รับผลกระทบแค่จำกัดเท่านั้น เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีการระดมทุนภายในประเทศเป็นสำคัญ ส่วนการพึ่งพาเงินกู้นอกต่างประเทศมีน้อยมาก
สถาบันการเงินในระบบจำนวน 11 แห่งดังกล่าว ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ กรุงศรีอยุธยา กสิกรไทย กรุงไทย ไทยพาณิชย์ ทหารไทย นครหลวงไทย สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) และธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ แบงก์ ขณะเดียวกันมีสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐอีก 2 แห่ง คือ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
**เผยแก้ปัญหาปล่อยกู้ 98 เรื่อง**
นายเฉลิม วงศ์ตั้งเจริญ หัวหน้าศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาปล่อยสินเชื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า หลังจากที่ธปท.เปิดบริการศูนย์ดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. ที่ผ่านมาหรือประมาณ 1-2 อาทิตย์ เพื่อเป็นช่องทางแก้ไขปัญหาและสร้างความเข้าใจระหว่างประชาชนและสถาบันการเงิน พบว่า มีประชาชนร้องเรียนมาทั้งสิ้น 136เรื่อง ซึ่ง ธปท.ได้สามารถแก้ไขปัญหาไปได้แล้ว 98 เรื่อง หรือ 70% และธปท.จะติดตามผลการขออนุมัติวงเงินต่อไป
ผู้ที่ร้องเรียนมาส่วนใหญ่ หรือประมาณ 42 เรื่อง คิดเป็นสัดส่วน 30% เกิดจากการไม่ปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินทั้งประเภทลูกหนี้ที่ต้องการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หาแหล่งเงินกู้ สินเชื่อบัตรเครดิต และการให้คำปรึกษา ส่วนผู้ร้องเรียนติดขัดกฎของธปท.ยังไม่พบ
สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขอสินเชื่อมีทั้งเอกสารของผู้กู้ไม่ครบจากความเข้าใจผิดบางประเด็น แหล่งรายได้ขาดความน่าเชื่อถือหรือขาดความสามารถในการชำระหนี้ ติดปัญหาเครดิตบูโร และปัญหาหลักประกันที่ไม่ดี เป็นต้น.
จากกรณีที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ได้ประกาศเตรียมปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์ไทย 9 แห่ง และสถาบันการเงินเฉพาะกิจอีก 2 แห่ง เมื่อวันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา และนางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ตอบโต้ไปแล้ว ปรากฏว่าวานนี้ (28 พ.ค.) นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน แถลงข่าวอีกครั้งว่า การทบทวนเครดิตดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานของภาคสถาบันการเงิน เพราะปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ไทยมีความมั่นคง แต่เกิดจากการเปลี่ยนวิธีการจัดอันดับของมูดี้ส์ที่ให้น้ำหนักภาครัฐเข้าไปช่วยเหลือสถาบันการเงินในยามที่จำเป็น ซึ่งส่วนใหญ่เกิดกับประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่า AAA และที่ผ่านมามีประเทศที่ถูกประเมินด้วยเหตุผลนี้มีอยู่ 2-3 ประเทศ จึงไม่มีเพียงประเทศไทยเท่านั้น
หากมูดี้ส์ตั้งคำถามว่าการเข้าไปช่วยเหลือภาครัฐต่อสถาบันการเงินไทยน้อยเมื่อหนี้พุ่งสูงขึ้น ถือว่าไม่ใช่ประเด็น เพราะขณะนี้ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยสามารถดำเนินงานได้อย่างปกติ ด้านฐานะเองก็ความแข็งแกร่ง คือ มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงสูงถึง 14.9% ณ สิ้นเดือนมี.ค.แม้เศรษฐกิจชะลอตัวมาก ซึ่งติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน
แต่ผลประกอบการของระบบธนาคารพาณิชย์ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
นอกจากนี้ ปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ไม่ได้เร่งสูงนัก และสภาพคล่องในระบบยังอยู่ในระดับสูง รวมทั้งสัดส่วนการพึ่งพาเงินกู้จากจากต่างประเทศยังน้อย และหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) อยู่ในระดับต่ำ จึงไม่จำเป็นภาครัฐต้องเข้าไปช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์ในระบบแต่อย่างใด
“ขณะนี้ในภาวะปัจจุบันเป็นเรื่องปกติที่นานาประเทศมีการใช้จ่ายมากและกู้ยืมเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสูงตาม ซึ่งอาจส่งผลให้ความสามารถในการชำระหนี้อาจน้อยลงไป แต่ขณะนี้การเป็นหนี้ของรัฐบาลไทยไม่ได้สูง จึงไม่เกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์ไทยมากนัก" นายบัณฑิตกล่าวและว่า ก่อนหน้านี้ ธปท.ได้ให้ข้อมูลธนาคารพาณิชย์กับเจ้าหน้าที่มูดี้ส์ไปแล้ว หากมูดี้ส์ฯ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ธปท.ก็ยินดีจะให้ เพราะ ธปท.อยากเห็นการตัดสินใจที่ดีภายใต้ข้อมูลที่ถูกต้องและเหตุผลที่ดี
ธปท.คาดว่ามูดี้ส์จะใช้เวลาในการสรุปผลของข้อมูลต่างๆ ประมาณ 2-3 อาทิตย์ หากถ้าท้ายสุดแล้ว มูดี้ส์ฯ มีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือจริง ธนาคารพาณิชย์จะได้รับผลกระทบแค่จำกัดเท่านั้น เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีการระดมทุนภายในประเทศเป็นสำคัญ ส่วนการพึ่งพาเงินกู้นอกต่างประเทศมีน้อยมาก
สถาบันการเงินในระบบจำนวน 11 แห่งดังกล่าว ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ กรุงศรีอยุธยา กสิกรไทย กรุงไทย ไทยพาณิชย์ ทหารไทย นครหลวงไทย สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) และธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ แบงก์ ขณะเดียวกันมีสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐอีก 2 แห่ง คือ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
**เผยแก้ปัญหาปล่อยกู้ 98 เรื่อง**
นายเฉลิม วงศ์ตั้งเจริญ หัวหน้าศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาปล่อยสินเชื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า หลังจากที่ธปท.เปิดบริการศูนย์ดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. ที่ผ่านมาหรือประมาณ 1-2 อาทิตย์ เพื่อเป็นช่องทางแก้ไขปัญหาและสร้างความเข้าใจระหว่างประชาชนและสถาบันการเงิน พบว่า มีประชาชนร้องเรียนมาทั้งสิ้น 136เรื่อง ซึ่ง ธปท.ได้สามารถแก้ไขปัญหาไปได้แล้ว 98 เรื่อง หรือ 70% และธปท.จะติดตามผลการขออนุมัติวงเงินต่อไป
ผู้ที่ร้องเรียนมาส่วนใหญ่ หรือประมาณ 42 เรื่อง คิดเป็นสัดส่วน 30% เกิดจากการไม่ปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินทั้งประเภทลูกหนี้ที่ต้องการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หาแหล่งเงินกู้ สินเชื่อบัตรเครดิต และการให้คำปรึกษา ส่วนผู้ร้องเรียนติดขัดกฎของธปท.ยังไม่พบ
สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขอสินเชื่อมีทั้งเอกสารของผู้กู้ไม่ครบจากความเข้าใจผิดบางประเด็น แหล่งรายได้ขาดความน่าเชื่อถือหรือขาดความสามารถในการชำระหนี้ ติดปัญหาเครดิตบูโร และปัญหาหลักประกันที่ไม่ดี เป็นต้น.