ASTVผู้จัดการรายวัน – อูเบะยิ้มออกราคาไนลอน 6 ดีดตัวขึ้น สอดรับโรงงานขยายไนลอน 6 อีก 5หมื่นตันจ่อผลิตเชิงพาณิชย์ต.ค.นี้ เผยยังไม่ตัดสินใจลุยโครงการขยายคาโปรแลคตัม อ้างรอศึกษาตลาดให้มั่นใจก่อน แต่ลุยโปรเจ็กต์ 1-6 HDL รับรองตลาดรถยนต์ที่น่าจะดีขึ้นในอนาคต
นายจรรยา พิชิตกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทอูเบะ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาเม็ดพลาสติกคุณภาพพิเศษ (Specialty Grade) ได้มีราคาปรับตัวดีขึ้น โดยมีคำสั่งซื้อสินค้าดีขึ้น หลังจากไตรมาส 4/2551 ราคาได้อ่อนตัวลงมาก เนื่องจากความต้องการปิโตรเคมีลดลงต่อเนื่องมาจนถึงไตรมาสแรกปีนี้ เชื่อว่าในอนาคตราคาน่าจะขยับสูงขึ้นอีก โดยในเดือนต.ค.นี้ โรงงานขยายกำลังการผลิตไนลอน 6 อีก 5 หมื่นตัน จากเดิม 2.5 หมื่นตัน รวมเป็น 7.5 หมื่นตัน จะเริ่มเดินเครื่องจักร ซึ่งเป็นช่วงจังหวะที่เหมาะสม เพราะราคาขยับสูงขึ้นมาอยู่ที่ตันละ 2,000 กว่าเหรียญสหรัฐ
ขณะที่ราคาคาโปรแลคตัมซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตไนลอน 6 ก็มีราคาขยับขึ้นเช่นกัน โดยล่าสุดอยู่ที่ตันละ 1,600-1,700 เหรียญสหรัฐ จากเดิมที่เคยต่ำสุดตันละ 1,200 เหรียญสหรัฐ ถึงแม้ว่าราคาคาโปรแลคตัมจะปรับตัวดีขึ้น แต่บริษัทยังคงเลื่อนโครงการขยายกำลังการผลิตคาโปรแลคตัมจาก 1.1 แสนตัน เป็น 1.3 แสนตัน/ปี ใช้เงินลงทุน 1,000 ล้านบาท เพราะรอผลสรุปการทบทวนการลงทุนให้รอบคอบก่อน
นายจรรยา กล่าวว่า ทางอูเบะกรุ๊ปมองว่าไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญในอนาคต แม้ว่าปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจหดตัวลงจะเป็นปัจจัยลบก็ตาม ดังนั้น จึงได้ตัดสินใจขยายการลงทุนในไทยเพิ่มเติม โดยตั้งโรงงานผลิต 1-6 hexanediol (1-6 HDL) กำลังการผลิต 6,000 ตัน/ปี ใช้เงินลงทุน 1.8 พันล้านบาทที่จังหวัดระยอง คาดว่าจะแล้วเสร็จในต้นปี 2555 โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะผลิตจากของเสียของโรงงานคาโปรแลคตัมที่เดิมต้องเผาทำลายมาผลิต ซึ่ง1-6 HDL เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตหนังเทียม สีรถยนต์ และcoating ที่ใช้แสงยูวีในการแข็งตัว ทำให้ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
“ขณะนี้ราคา 1-6 HDL อยู่ที่ตันละ 4,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่ดีมาก แต่ความต้องการใช้ในตลาดโลกไม่มาก โดยมีผู้ผลิตรายใหญ่เพียง 3 กลุ่ม โดยอูเบะกรุ๊ปเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ดังนั้น เชื่อว่าโครงการดังกล่าวจะไม่ได้รับผลกระทบจากการประกาศให้มาบตาพุด และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นเขตควบคุมมลพิษ แม้ว่าโครงการนี้จะยังไม่ผ่านความเห็นชอบจากสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) ก็ตาม แต่โครงการนี้เป็นการนำของเสียจากโรงงานมาใช้เป็นวัตถุดิบ จึงไม่น่าจะมีปัญหา ซึ่งที่ผ่านมา โรงงานในเครืออูเบะ (ประเทศไทย)ก็ให้ความสำคัญมาตรฐานสิ่งแวดล้อมเกินกว่าข้อบังคับกฎหมายที่กำหนดไว้”นายจรรยากล่าว
นายจรรยา พิชิตกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทอูเบะ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาเม็ดพลาสติกคุณภาพพิเศษ (Specialty Grade) ได้มีราคาปรับตัวดีขึ้น โดยมีคำสั่งซื้อสินค้าดีขึ้น หลังจากไตรมาส 4/2551 ราคาได้อ่อนตัวลงมาก เนื่องจากความต้องการปิโตรเคมีลดลงต่อเนื่องมาจนถึงไตรมาสแรกปีนี้ เชื่อว่าในอนาคตราคาน่าจะขยับสูงขึ้นอีก โดยในเดือนต.ค.นี้ โรงงานขยายกำลังการผลิตไนลอน 6 อีก 5 หมื่นตัน จากเดิม 2.5 หมื่นตัน รวมเป็น 7.5 หมื่นตัน จะเริ่มเดินเครื่องจักร ซึ่งเป็นช่วงจังหวะที่เหมาะสม เพราะราคาขยับสูงขึ้นมาอยู่ที่ตันละ 2,000 กว่าเหรียญสหรัฐ
ขณะที่ราคาคาโปรแลคตัมซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตไนลอน 6 ก็มีราคาขยับขึ้นเช่นกัน โดยล่าสุดอยู่ที่ตันละ 1,600-1,700 เหรียญสหรัฐ จากเดิมที่เคยต่ำสุดตันละ 1,200 เหรียญสหรัฐ ถึงแม้ว่าราคาคาโปรแลคตัมจะปรับตัวดีขึ้น แต่บริษัทยังคงเลื่อนโครงการขยายกำลังการผลิตคาโปรแลคตัมจาก 1.1 แสนตัน เป็น 1.3 แสนตัน/ปี ใช้เงินลงทุน 1,000 ล้านบาท เพราะรอผลสรุปการทบทวนการลงทุนให้รอบคอบก่อน
นายจรรยา กล่าวว่า ทางอูเบะกรุ๊ปมองว่าไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญในอนาคต แม้ว่าปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจหดตัวลงจะเป็นปัจจัยลบก็ตาม ดังนั้น จึงได้ตัดสินใจขยายการลงทุนในไทยเพิ่มเติม โดยตั้งโรงงานผลิต 1-6 hexanediol (1-6 HDL) กำลังการผลิต 6,000 ตัน/ปี ใช้เงินลงทุน 1.8 พันล้านบาทที่จังหวัดระยอง คาดว่าจะแล้วเสร็จในต้นปี 2555 โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะผลิตจากของเสียของโรงงานคาโปรแลคตัมที่เดิมต้องเผาทำลายมาผลิต ซึ่ง1-6 HDL เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตหนังเทียม สีรถยนต์ และcoating ที่ใช้แสงยูวีในการแข็งตัว ทำให้ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
“ขณะนี้ราคา 1-6 HDL อยู่ที่ตันละ 4,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่ดีมาก แต่ความต้องการใช้ในตลาดโลกไม่มาก โดยมีผู้ผลิตรายใหญ่เพียง 3 กลุ่ม โดยอูเบะกรุ๊ปเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ดังนั้น เชื่อว่าโครงการดังกล่าวจะไม่ได้รับผลกระทบจากการประกาศให้มาบตาพุด และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นเขตควบคุมมลพิษ แม้ว่าโครงการนี้จะยังไม่ผ่านความเห็นชอบจากสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) ก็ตาม แต่โครงการนี้เป็นการนำของเสียจากโรงงานมาใช้เป็นวัตถุดิบ จึงไม่น่าจะมีปัญหา ซึ่งที่ผ่านมา โรงงานในเครืออูเบะ (ประเทศไทย)ก็ให้ความสำคัญมาตรฐานสิ่งแวดล้อมเกินกว่าข้อบังคับกฎหมายที่กำหนดไว้”นายจรรยากล่าว