นักวิจัยพบลิงเสียดายเป็น เมื่อรู้ว่าพลาดโอกาสสำคัญไป อย่างน้อยในระหว่างการแข่งขันที่จำลองมาจากเกมโชว์ ‘ดีล ออร์ โน ดีล’ นับเป็นหลักฐานชิ้นแรกที่ยืนยันว่าลิงมี ‘ความคิด’ เช่นเดียวกับคน
เมื่อได้รับภารกิจที่จำลองมาจากรายการยอดฮิตของสถานีโทรทัศน์ช่องสี่ของอังกฤษ ที่ทีวีช่องหนึ่งของไทยเคยซื้อลิขสิทธิ์มาทำอยู่ระยะหนึ่ง นักวิจัยพบว่าสมองของลิงส่วนที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกเสียดายทำงานหนัก เมื่อรู้ตัวว่าพลาดไป
เบน เฮย์เดน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยดุ๊กในสหรัฐฯ บอกว่านี่เป็นหลักฐานชิ้นแรกที่ยืนยันว่าลิงมี ‘ความคิด’ เช่นเดียวกับคน
ในการทดลอง ทีมนักวิจัยภายใต้การนำของดร.เฮย์เดนฝึกลิง rhesus macaques หรือลิงวอกให้เล่นเกมที่ต้องเลือกป้ายสี่เหลี่ยมสีขาวขึ้นมาหนึ่งป้ายจากทั้งหมดแปดป้าย โดยเมื่อเปิดป้าย ภายในจะเป็นสีต่างๆ และสีเขียวเป็นรางวัลใหญ่สุดคือ น้ำผลไม้ผสมน้ำเชื่อม
หลังจากเลือกป้ายแล้ว ลิงจึงจะได้รับรางวัลตามป้ายที่เลือก ซึ่งเมื่อรู้ว่าตัวเองไม่ได้น้ำผลไม้ พวกมันจะพยายามมากขึ้นในครั้งต่อไป
นอกจากนี้ ผลการสแกนสมองยังพบว่า สมองของลิงส่วนที่ติดตามผลลัพธ์จากการกระทำทำงานหนักขึ้นระหว่างเล่นเกม ยิ่งรางวัลมีความหมายมากเท่าไร สมองยิ่งทำงานหนักขึ้น
นักวิจัยยังพบว่าเซลล์สมองส่วนเดียวกันทำงานหนักเมื่อลิงรู้ว่าพลาดรางวัลใหญ่ บ่งชี้ถึงกระบวนการคิดของลิง
ในรายการดีล ออร์ โน ดีล ผู้แข่งขันจะต้องเลือกกล่องต่างๆ ที่ภายในระบุจำนวนเงินไว้ โดยจะต้องประเมินว่าในกล่องของตัวเองมีเงินเท่าใดด้วยการเปิดกล่องอื่นๆ ซึ่งระหว่างนั้นผู้ดำเนินรายการจะเสนอเงินแลกเปลี่ยนกับเงินที่อยู่ในกล่องของผู้แข่งขัน
ผู้แข่งขันจะมั่นใจมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าตนเองมีโอกาสชนะแค่ไหนถ้าทายจำนวนเงินในกล่องอื่นๆ ถูก เช่นเดียวกับในการศึกษาที่ลิงได้รู้ว่าตัวเองพลาดรางวัลใดไป
“คนเรามีความสามารถไม่เพียงการคิดว่าทำไมสิ่งต่างๆ จึงเกิดขึ้น แต่ยังรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น และสิ่งนั้นๆ อาจกลับตาลปัตรได้อย่างไร และตลอดเวลาที่ผ่านมา เราคิดกันว่ามีแต่มนุษย์เท่านั้นที่ทำได้แบบนี้
“การคิดหาเหตุผลเกี่ยวกับนามธรรมเป็นพื้นฐานของการสร้างแนวคิดเชิงปรัชญา ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องรู้ว่ามีสิ่งใดหรือไม่ที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่น หรือมีสิ่งใดที่สัตว์อื่นมีเหมือนกับเรา”
งานศึกษาในอดีตแสดงให้เห็นว่าลิงวอกสามารถบวกเลขได้แม่นยำเหลือเชื่อ จากโจทย์ 40 ข้อ นักวิจัยพบว่ามีลิงวอกสองตัวทำคะแนนได้ดีเกือบพอๆ กับนักเรียนในช่วงปลายวัยรุ่นหรืออายุ 20 ต้นๆ
เมื่อได้รับภารกิจที่จำลองมาจากรายการยอดฮิตของสถานีโทรทัศน์ช่องสี่ของอังกฤษ ที่ทีวีช่องหนึ่งของไทยเคยซื้อลิขสิทธิ์มาทำอยู่ระยะหนึ่ง นักวิจัยพบว่าสมองของลิงส่วนที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกเสียดายทำงานหนัก เมื่อรู้ตัวว่าพลาดไป
เบน เฮย์เดน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยดุ๊กในสหรัฐฯ บอกว่านี่เป็นหลักฐานชิ้นแรกที่ยืนยันว่าลิงมี ‘ความคิด’ เช่นเดียวกับคน
ในการทดลอง ทีมนักวิจัยภายใต้การนำของดร.เฮย์เดนฝึกลิง rhesus macaques หรือลิงวอกให้เล่นเกมที่ต้องเลือกป้ายสี่เหลี่ยมสีขาวขึ้นมาหนึ่งป้ายจากทั้งหมดแปดป้าย โดยเมื่อเปิดป้าย ภายในจะเป็นสีต่างๆ และสีเขียวเป็นรางวัลใหญ่สุดคือ น้ำผลไม้ผสมน้ำเชื่อม
หลังจากเลือกป้ายแล้ว ลิงจึงจะได้รับรางวัลตามป้ายที่เลือก ซึ่งเมื่อรู้ว่าตัวเองไม่ได้น้ำผลไม้ พวกมันจะพยายามมากขึ้นในครั้งต่อไป
นอกจากนี้ ผลการสแกนสมองยังพบว่า สมองของลิงส่วนที่ติดตามผลลัพธ์จากการกระทำทำงานหนักขึ้นระหว่างเล่นเกม ยิ่งรางวัลมีความหมายมากเท่าไร สมองยิ่งทำงานหนักขึ้น
นักวิจัยยังพบว่าเซลล์สมองส่วนเดียวกันทำงานหนักเมื่อลิงรู้ว่าพลาดรางวัลใหญ่ บ่งชี้ถึงกระบวนการคิดของลิง
ในรายการดีล ออร์ โน ดีล ผู้แข่งขันจะต้องเลือกกล่องต่างๆ ที่ภายในระบุจำนวนเงินไว้ โดยจะต้องประเมินว่าในกล่องของตัวเองมีเงินเท่าใดด้วยการเปิดกล่องอื่นๆ ซึ่งระหว่างนั้นผู้ดำเนินรายการจะเสนอเงินแลกเปลี่ยนกับเงินที่อยู่ในกล่องของผู้แข่งขัน
ผู้แข่งขันจะมั่นใจมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าตนเองมีโอกาสชนะแค่ไหนถ้าทายจำนวนเงินในกล่องอื่นๆ ถูก เช่นเดียวกับในการศึกษาที่ลิงได้รู้ว่าตัวเองพลาดรางวัลใดไป
“คนเรามีความสามารถไม่เพียงการคิดว่าทำไมสิ่งต่างๆ จึงเกิดขึ้น แต่ยังรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น และสิ่งนั้นๆ อาจกลับตาลปัตรได้อย่างไร และตลอดเวลาที่ผ่านมา เราคิดกันว่ามีแต่มนุษย์เท่านั้นที่ทำได้แบบนี้
“การคิดหาเหตุผลเกี่ยวกับนามธรรมเป็นพื้นฐานของการสร้างแนวคิดเชิงปรัชญา ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องรู้ว่ามีสิ่งใดหรือไม่ที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่น หรือมีสิ่งใดที่สัตว์อื่นมีเหมือนกับเรา”
งานศึกษาในอดีตแสดงให้เห็นว่าลิงวอกสามารถบวกเลขได้แม่นยำเหลือเชื่อ จากโจทย์ 40 ข้อ นักวิจัยพบว่ามีลิงวอกสองตัวทำคะแนนได้ดีเกือบพอๆ กับนักเรียนในช่วงปลายวัยรุ่นหรืออายุ 20 ต้นๆ