เอเอฟพี - ประเทศยากจนซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ซ้ำเติมจากการที่เงินช่วยเหลือต่างประเทศจากประเทศผู้บริจาคลดน้องลง โดยธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) บอกว่าจะมีคน 50 ล้านคนต้องกลายเป็นคนยากจนถึงที่สุดด้วย
"มีความเสี่ยงที่ประเทศผู้บริจาคเงินช่วยเหลือจะไม่สามารถรักษาสัญญาไว้ได้หากเศรษฐกิจทรุดดิ่งต่อไปอีก" โฮเซ กิยอน หัวหน้าแผนกแอฟริกา-ตะวันออกกลางขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) กล่าว
ส่วนศานตะ เทวะราชัน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สำหรับภูมิภาคแอฟริกาของธนาคารโลกระบุว่า "แรงกดดันจากเรื่องงบประมาณที่ประเทศพัฒนาแล้วเผชิญอยู่ขณะนี้สูงมาก โดยเฉพาะในส่วนที่จะต้องแก้ปัญหาให้กับประชาชนในประเทศ และมันสูงจนกระทั่งเป็นการยากที่จะหาเสียงสนับสนุนทางการเมืองเพื่อคงจำนวนเงินช่วยเหลือต่างประเทศไว้เท่าเดิม"
เขาบอกอีกว่าคำมั่นสัญญาที่กลุ่ม 8 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก( จี8) ระบุเมื่อปี 2005 ว่าจะเพิ่มเงินช่วยเหลือแก่แอฟริกาสองเท่าตัวนั้น เป็นคำมั่นสัญญาในช่วงที่เศรษฐกิจโลกเฟื่องฟู และเงินช่วยเหลือดังกล่าวก็ได้ต่ำกว่าเป้าหมายแล้วราว 20 ล้านดอลลาร์ ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในปลายปี 2008 เสียหาย
"ถ้าหากแม้แต่ตอนเศรษฐกิจบูม พวกเขายังไม่สามารถรักษาพันธสัญญาไว้ ผมก็สงสัยว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเราตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงเช่นนี้" เทวะราชันกล่าว
เอมานูเอล ฟร็อต แห่งสถาบันว่าด้วยการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจในกรุงสตอกโฮล์ม อธิบายถึงเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาว่าเป็น "เป้าหมายที่เห็นชัด" สำหรับรัฐบาลที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายลง จะลงมือหั่นออกไป
ทั้งนี้ในงานวิจัยของเขายังพบว่าในช่วงทศวรรษ 1990 มี 6 ประเทศที่ได้รับความเดือดร้อนจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งรวมทั้งญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ด้วย และประเทศเหล่านี้ก็ได้ตัดเงินช่วยเหลือแก่ต่างประเทศลงถึง 13 เปอร์เซ็นต์ภายในเวลาเพียงปีเดียว
ส่วนเครือข่ายว่าด้วยหนี้สินและการพัฒนาแห่งยุโรปก็ระบุว่าปริมาณเงินช่วยเหลือในขณะนี้ได้ลดลงแล้ว โดยอิตาลีได้ลดงบประมาณด้านการพัฒนาต่างประเทศลงราว 56 เปอร์เซ็นต์ ไอร์แลนด์ลด 10 เปอร์เซ็นต์ และลัตเวียระงับเงินช่วยเหลือทั้งหมด
โอลิเวอร์ บัสตัน จากองค์กรพัฒนาเอกชนชื่อ ONE ตั้งข้อสังเกตว่า นอกจากเงินช่วยเหลือจะลดลงแล้ว สิ่งที่น่าวิตกก็คือจะเกิดแนวโน้ม "ที่จะให้เป็นเงินกู้มากขึ้นและเป็นเงินให้เปล่าลดลงเรื่อยๆ" ซึ่งจะทำให้เกิด "วิกฤตหนี้สิน" ต่อไป
ทั้งนี้ ในขณะที่สหรัฐฯ มีแผนจะเพิ่มเงินช่วยเหลือด้านการพัฒนาราว 8 เปอร์เซ็นต์ แต่น่าวิตกว่าฝรั่งเศสซึ่งเป็นประเทศผู้บริจาครายใหญ่อันดับสี่ของโลก อาจจะลดเงินช่วยเหลือลง
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสคาดว่า ฝรั่งเศสจะจัดสรรงบประมาณสำหรับให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาเป็นสัดส่วน 0.47 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ในปี 2009 และจะลดลงเป็น 0.41 และ 0.42 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2010 และ 2011 ตามลำดับ แต่ก็เป็นไปได้ว่าจะเพิ่มกลับมาเป็น 0.7 เปอร์เซ็นต์ในปี 2015 เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายในรอบสหัสวรรษของสหประชาชาติ
"มีความเสี่ยงที่ประเทศผู้บริจาคเงินช่วยเหลือจะไม่สามารถรักษาสัญญาไว้ได้หากเศรษฐกิจทรุดดิ่งต่อไปอีก" โฮเซ กิยอน หัวหน้าแผนกแอฟริกา-ตะวันออกกลางขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) กล่าว
ส่วนศานตะ เทวะราชัน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สำหรับภูมิภาคแอฟริกาของธนาคารโลกระบุว่า "แรงกดดันจากเรื่องงบประมาณที่ประเทศพัฒนาแล้วเผชิญอยู่ขณะนี้สูงมาก โดยเฉพาะในส่วนที่จะต้องแก้ปัญหาให้กับประชาชนในประเทศ และมันสูงจนกระทั่งเป็นการยากที่จะหาเสียงสนับสนุนทางการเมืองเพื่อคงจำนวนเงินช่วยเหลือต่างประเทศไว้เท่าเดิม"
เขาบอกอีกว่าคำมั่นสัญญาที่กลุ่ม 8 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก( จี8) ระบุเมื่อปี 2005 ว่าจะเพิ่มเงินช่วยเหลือแก่แอฟริกาสองเท่าตัวนั้น เป็นคำมั่นสัญญาในช่วงที่เศรษฐกิจโลกเฟื่องฟู และเงินช่วยเหลือดังกล่าวก็ได้ต่ำกว่าเป้าหมายแล้วราว 20 ล้านดอลลาร์ ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในปลายปี 2008 เสียหาย
"ถ้าหากแม้แต่ตอนเศรษฐกิจบูม พวกเขายังไม่สามารถรักษาพันธสัญญาไว้ ผมก็สงสัยว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเราตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงเช่นนี้" เทวะราชันกล่าว
เอมานูเอล ฟร็อต แห่งสถาบันว่าด้วยการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจในกรุงสตอกโฮล์ม อธิบายถึงเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาว่าเป็น "เป้าหมายที่เห็นชัด" สำหรับรัฐบาลที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายลง จะลงมือหั่นออกไป
ทั้งนี้ในงานวิจัยของเขายังพบว่าในช่วงทศวรรษ 1990 มี 6 ประเทศที่ได้รับความเดือดร้อนจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งรวมทั้งญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ด้วย และประเทศเหล่านี้ก็ได้ตัดเงินช่วยเหลือแก่ต่างประเทศลงถึง 13 เปอร์เซ็นต์ภายในเวลาเพียงปีเดียว
ส่วนเครือข่ายว่าด้วยหนี้สินและการพัฒนาแห่งยุโรปก็ระบุว่าปริมาณเงินช่วยเหลือในขณะนี้ได้ลดลงแล้ว โดยอิตาลีได้ลดงบประมาณด้านการพัฒนาต่างประเทศลงราว 56 เปอร์เซ็นต์ ไอร์แลนด์ลด 10 เปอร์เซ็นต์ และลัตเวียระงับเงินช่วยเหลือทั้งหมด
โอลิเวอร์ บัสตัน จากองค์กรพัฒนาเอกชนชื่อ ONE ตั้งข้อสังเกตว่า นอกจากเงินช่วยเหลือจะลดลงแล้ว สิ่งที่น่าวิตกก็คือจะเกิดแนวโน้ม "ที่จะให้เป็นเงินกู้มากขึ้นและเป็นเงินให้เปล่าลดลงเรื่อยๆ" ซึ่งจะทำให้เกิด "วิกฤตหนี้สิน" ต่อไป
ทั้งนี้ ในขณะที่สหรัฐฯ มีแผนจะเพิ่มเงินช่วยเหลือด้านการพัฒนาราว 8 เปอร์เซ็นต์ แต่น่าวิตกว่าฝรั่งเศสซึ่งเป็นประเทศผู้บริจาครายใหญ่อันดับสี่ของโลก อาจจะลดเงินช่วยเหลือลง
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสคาดว่า ฝรั่งเศสจะจัดสรรงบประมาณสำหรับให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาเป็นสัดส่วน 0.47 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ในปี 2009 และจะลดลงเป็น 0.41 และ 0.42 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2010 และ 2011 ตามลำดับ แต่ก็เป็นไปได้ว่าจะเพิ่มกลับมาเป็น 0.7 เปอร์เซ็นต์ในปี 2015 เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายในรอบสหัสวรรษของสหประชาชาติ