เอเจนซี - ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (บีโอเจ) ประเมินเศรษฐกิจของประเทศไปในทางบวกเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีเมื่อวานนี้ (22) และบอกว่าการที่อุปสงค์ในทั่วโลกกำลังกระเตื้องขึ้น น่าจะหมายความว่าอัตราเติบโตที่หดตัวอย่างร้ายแรงเป็นประวัติการณ์ในไตรมาสแรกปีนี้ คือช่วงเลวร้ายที่สุดของเศรษฐกิจถดถอยรอบนี้
ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังบอกด้วยว่า จะเริ่มยอมให้แบงก์ต่างๆ ใช้พันธบัตรต่างชาติเป็นหลักประกันในการมาขอเงินกู้จากบีโอเจ เพื่อเป็นการผ่อนคลายความตึงตัวของระบบธนาคาร กระนั้นก็ตาม บรรดานักวิเคราะห์บอกว่า เมื่อบีโอเจมีน้ำเสียงยินดีกับภาวะเศรษฐกิจมากขึ้นเช่นนี้ ย่อมเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าธนาคารกลางคงจะชะลอแผนการที่จะนำเอามาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณมาใช้กันอย่างเต็มที่
สำหรับอัตราดอกเบี้ยนั้น บีโอเจซึ่งเพิ่งเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมการนโยบายเป็นเวลา 2 วัน บอกว่ายังให้คงเดิมไว้ที่ระดับต่ำเตี้ยติดดิน 0.1% ทั้งนี้แบงก์ชาติญี่ปุ่นได้ลดอัตราดอกเบี้ยนี้มาแล้ว 2 หน ตั้งแต่การล้มครืนของ เลห์แมน บราเธอร์ ในเดือนกันยายนปีที่แล้ว ซึ่งเป็นชนวนทำให้เกิดพายุร้ายแรงทางการเงินที่กดดันเศรษฐกิจโลกจนเข้าสู่ภาวะทรุดต่ำ
ระยะที่ผ่านมา “มีการใช้ถ้อยคำอย่างเช่น ร่วงควงสว่าน หรือ ดำดิ่งลงเหว แต่ตอนนี้เราไม่ได้อยู่สถานการณ์ประเภทนั้นอีกแล้ว” มาซาอากิ ชิรากาวะ ผู้ว่าการบีโอเจกล่าวในการแถลงข่าววานนี้
“เศรษฐกิจกำลังคลี่คลายไปตามที่เราได้คาดการณ์ไว้ในรายงานทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจ” ในเดือนเมษายน ชิรากาวะบอก
ในรายงานนั้นคาดการณ์ไว้ว่าเศรษฐกิจใหญ่อันดับสองของโลกแห่งนี้จะฟื้นตัวอย่างช้า ๆในช่วงต่อไปของปีนี้ ซึ่งเป็นไปในทางเดียวกับเศรษฐกิจโลก
รัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่งแถลงออกมาในสัปดาห์นี้ระบุว่า ในไตรมาสเดือนมกราคม-มีนาคมปีนี้ เศรษฐกิจแดนอาทิตย์อุทัยประสบภาวะหดตัวสาหัสเป็นประวัติการณ์ถึง 4.0% เนื่องจากอุปสงค์ความต้องการในสินค้าญี่ปุ่นลดลงฮวบฮาบ
แต่นั่นน่าจะเป็นจุดเลวร้ายที่สุดของภาวะเศรษฐกิจหดตัวคราวนี้
ชิรากาวะกล่าวว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)จะเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไตรมาสสองของปีนี้ แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดอย่างใด ก่อนหน้านี้ จากการสำรวจของรอยเตอร์ พวกนักเศรษฐศาสตร์ต่างพากันทำนายว่า ในไตรมาสสองเศรษฐกิจจะเติบโตราว 0.1% ถ้าหากอุปสงค์ในสินค้าส่งออกญี่ปุ่นในตลาดโลกเริ่มกระเตื้องขึ้น
ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีสัญญาณบางประการปรากฏออกมาว่าเศรษฐกิจโลกกำลังกลับมีเสถียรภาพ โดยที่การส่งออกของญี่ปุ่นซึ่งเคยดำดิ่งก็กลับหยุดไหลร่วง และผลผลิตทางอุตสาหกรรมสามารถเพิ่มขึ้นในอัตรา 1.6% อันเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน
ชิรากาวะบอกว่า อุปสงค์ที่ขยับเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่นานมานี้ ส่วนใหญ่แล้วมาจากการที่บริษัทต่างๆกำลังเติมสินค้าคงคลังที่ขาดเขินไป นอกจากนั้นยังเร็วเกินไปที่จะกล่าวว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากในการฟื้นตัวของทั่วโลก จะมีการฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืนหรือไม่
“กญแจสำคัญที่สุดอยู่ที่ว่า อุปสงค์สุดท้ายจะมีความเข้มแข็งมากน้อยแค่ไหน หลังจากที่การปรับปริมาณสินค้าคงคลังสิ้นสุดลงแล้ว แต่ในจุดนี้ยังมีเรื่องไม่แน่นอนอีกเยอะแยะ ดังนั้น เรายังจะต้องระมัดระวังคอยเฝ้าดูความเสี่ยงต่างๆ ที่จะฉุดเศรษฐกิจไปในทางขาลง” ผู้ว่าบีโอเจกล่าว
“ด้วยเหตุนี้ เราจึงคิดว่าการใช้จ่ายทั้งด้านการบริโภคและการลงทุน ยังจะอ่อนแอต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง”
ความเคลื่อนไหวของบีโอเจเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นไปตามที่มีการคาดหมายกันอย่างกว้างขวาง และก็ยังเป็นการสะท้อนการประเมินเศรษฐกิจโลกในทางที่สดใสยิ่งขึ้นพวกผู้วางนโยบายหลายต่อหลายรายทั่วโลกในช่วงระยะไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา
ประธานธนาคารโลก รอเบิร์ต เซลลิก พูดไว้ในวันจันทร์(18)ว่า การทรุดต่ำทั่วโลกกำลังสิ้นสุดลง และการเติบโตควรกลับฟื้นคืนมาให้เห็นอีกในปีนี้หรือปีหน้า ส่วนองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) ก็พูดไว้เมื่อวานนี้(22) ว่า “การร่วงควงสว่าน” สิ้นสุดลงแล้ว
กระนั้นก็ดี สำหรับธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ในรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเมื่อปลายเดือนเมษายน ที่เพิ่งนำออกมาเผยแพร่สัปดาห์นี้ ได้ตัดลดภาพรวมอนาคตสำหรับการเติบโตของสหรัฐฯในช่วง 3 ปีข้างหน้า อีกทั้งบอกด้วยว่า การฟื้นตัวอย่างเต็มที่น่าจะต้องใช้เวลา 5 หรือ 6 ปี
ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังบอกด้วยว่า จะเริ่มยอมให้แบงก์ต่างๆ ใช้พันธบัตรต่างชาติเป็นหลักประกันในการมาขอเงินกู้จากบีโอเจ เพื่อเป็นการผ่อนคลายความตึงตัวของระบบธนาคาร กระนั้นก็ตาม บรรดานักวิเคราะห์บอกว่า เมื่อบีโอเจมีน้ำเสียงยินดีกับภาวะเศรษฐกิจมากขึ้นเช่นนี้ ย่อมเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าธนาคารกลางคงจะชะลอแผนการที่จะนำเอามาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณมาใช้กันอย่างเต็มที่
สำหรับอัตราดอกเบี้ยนั้น บีโอเจซึ่งเพิ่งเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมการนโยบายเป็นเวลา 2 วัน บอกว่ายังให้คงเดิมไว้ที่ระดับต่ำเตี้ยติดดิน 0.1% ทั้งนี้แบงก์ชาติญี่ปุ่นได้ลดอัตราดอกเบี้ยนี้มาแล้ว 2 หน ตั้งแต่การล้มครืนของ เลห์แมน บราเธอร์ ในเดือนกันยายนปีที่แล้ว ซึ่งเป็นชนวนทำให้เกิดพายุร้ายแรงทางการเงินที่กดดันเศรษฐกิจโลกจนเข้าสู่ภาวะทรุดต่ำ
ระยะที่ผ่านมา “มีการใช้ถ้อยคำอย่างเช่น ร่วงควงสว่าน หรือ ดำดิ่งลงเหว แต่ตอนนี้เราไม่ได้อยู่สถานการณ์ประเภทนั้นอีกแล้ว” มาซาอากิ ชิรากาวะ ผู้ว่าการบีโอเจกล่าวในการแถลงข่าววานนี้
“เศรษฐกิจกำลังคลี่คลายไปตามที่เราได้คาดการณ์ไว้ในรายงานทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจ” ในเดือนเมษายน ชิรากาวะบอก
ในรายงานนั้นคาดการณ์ไว้ว่าเศรษฐกิจใหญ่อันดับสองของโลกแห่งนี้จะฟื้นตัวอย่างช้า ๆในช่วงต่อไปของปีนี้ ซึ่งเป็นไปในทางเดียวกับเศรษฐกิจโลก
รัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่งแถลงออกมาในสัปดาห์นี้ระบุว่า ในไตรมาสเดือนมกราคม-มีนาคมปีนี้ เศรษฐกิจแดนอาทิตย์อุทัยประสบภาวะหดตัวสาหัสเป็นประวัติการณ์ถึง 4.0% เนื่องจากอุปสงค์ความต้องการในสินค้าญี่ปุ่นลดลงฮวบฮาบ
แต่นั่นน่าจะเป็นจุดเลวร้ายที่สุดของภาวะเศรษฐกิจหดตัวคราวนี้
ชิรากาวะกล่าวว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)จะเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไตรมาสสองของปีนี้ แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดอย่างใด ก่อนหน้านี้ จากการสำรวจของรอยเตอร์ พวกนักเศรษฐศาสตร์ต่างพากันทำนายว่า ในไตรมาสสองเศรษฐกิจจะเติบโตราว 0.1% ถ้าหากอุปสงค์ในสินค้าส่งออกญี่ปุ่นในตลาดโลกเริ่มกระเตื้องขึ้น
ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีสัญญาณบางประการปรากฏออกมาว่าเศรษฐกิจโลกกำลังกลับมีเสถียรภาพ โดยที่การส่งออกของญี่ปุ่นซึ่งเคยดำดิ่งก็กลับหยุดไหลร่วง และผลผลิตทางอุตสาหกรรมสามารถเพิ่มขึ้นในอัตรา 1.6% อันเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน
ชิรากาวะบอกว่า อุปสงค์ที่ขยับเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่นานมานี้ ส่วนใหญ่แล้วมาจากการที่บริษัทต่างๆกำลังเติมสินค้าคงคลังที่ขาดเขินไป นอกจากนั้นยังเร็วเกินไปที่จะกล่าวว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากในการฟื้นตัวของทั่วโลก จะมีการฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืนหรือไม่
“กญแจสำคัญที่สุดอยู่ที่ว่า อุปสงค์สุดท้ายจะมีความเข้มแข็งมากน้อยแค่ไหน หลังจากที่การปรับปริมาณสินค้าคงคลังสิ้นสุดลงแล้ว แต่ในจุดนี้ยังมีเรื่องไม่แน่นอนอีกเยอะแยะ ดังนั้น เรายังจะต้องระมัดระวังคอยเฝ้าดูความเสี่ยงต่างๆ ที่จะฉุดเศรษฐกิจไปในทางขาลง” ผู้ว่าบีโอเจกล่าว
“ด้วยเหตุนี้ เราจึงคิดว่าการใช้จ่ายทั้งด้านการบริโภคและการลงทุน ยังจะอ่อนแอต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง”
ความเคลื่อนไหวของบีโอเจเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นไปตามที่มีการคาดหมายกันอย่างกว้างขวาง และก็ยังเป็นการสะท้อนการประเมินเศรษฐกิจโลกในทางที่สดใสยิ่งขึ้นพวกผู้วางนโยบายหลายต่อหลายรายทั่วโลกในช่วงระยะไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา
ประธานธนาคารโลก รอเบิร์ต เซลลิก พูดไว้ในวันจันทร์(18)ว่า การทรุดต่ำทั่วโลกกำลังสิ้นสุดลง และการเติบโตควรกลับฟื้นคืนมาให้เห็นอีกในปีนี้หรือปีหน้า ส่วนองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) ก็พูดไว้เมื่อวานนี้(22) ว่า “การร่วงควงสว่าน” สิ้นสุดลงแล้ว
กระนั้นก็ดี สำหรับธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ในรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเมื่อปลายเดือนเมษายน ที่เพิ่งนำออกมาเผยแพร่สัปดาห์นี้ ได้ตัดลดภาพรวมอนาคตสำหรับการเติบโตของสหรัฐฯในช่วง 3 ปีข้างหน้า อีกทั้งบอกด้วยว่า การฟื้นตัวอย่างเต็มที่น่าจะต้องใช้เวลา 5 หรือ 6 ปี