เตือนการดื่มโคล่ามากเกินไป อาจทำให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพตั้งแต่อ่อนเพลียไปจนถึงกล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากเครื่องดื่มประเภทนี้ทำให้ปริมาณโปแตสเซียมในร่างกายลดระดับลงอย่างน่ากลัว
รายงานในวารสารเจอร์นัล ออฟ คลินิคัล แพร็กทิซยกตัวอย่างเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงนกกระจอกเทศรายหนึ่งในออสเตรเลีย ที่ถูกนำตัวเข้าห้องฉุกเฉินจากอาการปอดไม่ทำงาน หลังดื่มโคล่าวันละ 4-10 ลิตร
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยคนนี้สามารถหายเป็นปกติ แต่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้เลิกดื่มโคล่า
อีกตัวอย่างหนึ่งเกิดกับหญิงมีครรภ์ที่ดื่มโคล่าเป็นประจำวันละ 3 ลิตรติดต่อกันหกปี และมีอาการเหนื่อยล้า เบื่ออาหารและอาเจียนบ่อยครั้ง
ผลการตรวจพบว่าอัตราการเต้นของหัวใจของผู้ป่วยรายนี้ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจเกิดจากระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำ แต่หลังจากหยุดโคล่า สุขภาพของเธอก็ดีดังเดิม
ดร.คลิฟฟอร์ด แพ็กเกอร์ จากศูนย์การแพทย์หลุยส์ สโตกส์ คลีฟแลนด์ในโอไฮโอ สหรัฐฯ แสดงความเห็นว่านี่ไม่ใช่เรื่องผิดปกติหรือเรื่องที่พบเห็นได้ยาก โดยความเสี่ยงจะขึ้นกับปริมาณการดื่มโคล่า
ดร.แพ็กเกอร์แจงว่า ด้วยการตลาดมวลชนเชิงรุกและฤทธิ์ในการเสพติดของคาเฟอีน จึงไม่น่าแปลกใจที่คนนับล้านในประเทศอุตสาหกรรมดื่มโคล่าวันละอย่างน้อย 2-3 ลิตร และผลที่ตามมาคือระดับโปแตสเซียมในร่างกายของผู้ที่ดื่มโคล่าแทนน้ำบางรายลดลงสู่ระดับที่เป็นอันตราย
ดร.มอสเซส เอลิแซฟ จากมหาวิทยาลัยไอออนนินาในกรีซ ซึ่งเป็นผู้จัดทำรายงานฉบับนี้ แจงว่าภาวะโปแตสเซียมต่ำอาจเกิดจากการบริโภคสารสามชนิดซึ่งเป็นส่วนประกอบของโคล่ามากเกินไป ได้แก่ กลูโคส ฟรุกโตส และคาเฟอีน
“บทบาทของสารประกอบแต่ละตัวเหล่านี้ในด้านพยาธิสรีรวิทยาของภาวะโปแตสเซียมต่ำที่เกิดจากโคล่าอาจต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยส่วนใหญ่เราคิดว่าคาเฟอีนมีบทบาทสำคัญที่สุดในเรื่องนี้ หลังจากเปรียบเทียบกับกรณีศึกษาที่มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีคาเฟอีนประกอบอยู่ในปริมาณมาก แต่ไม่มีกลูโคสและฟรุกโตส”
อย่างไรก็ตาม ดร.เอลิแซฟเตือนว่าผลิตภัณฑ์โคล่าปลอดคาเฟอีนอาจทำให้เกิดภาวะโปแตสเซียมต่ำได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากฟรุกโตสอาจเป็นสาเหตุของอาการท้องร่วง
“เราเชื่อว่าต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อค้นหาว่าปริมาณเท่าใดที่ถือว่ามากเกินไปสำหรับการดื่มโคล่าในแต่ละวัน”
ทั้งนี้ เป็นที่รู้กันว่าการดื่มเครื่องดื่มประเภทนี้มากเกินไปมีความเกี่ยวโยงกับโรคอ้วน เบาหวาน และปัญหาของกระดูกและฟัน
กระนั้น โฆษกของสมาคมผู้ผลิตน้ำอัดลมแห่งอังกฤษแสดงความคิดเห็นว่า ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาล่าสุดนี้ล้วนเป็นกรณีของการดื่มมากเกินไป ขณะที่การดื่มโคล่าแต่พอประมาณยังคงปลอดภัยต่อสุขภาพ และว่าอุตสาหกรรมน้ำอัดลมยึดมั่นกับการส่งเสริมการบริโภคผลิตภัณฑ์น้ำอัดลมอย่างมีความรับผิดชอบ
นอกจากนี้ ผู้ผลิตยังติดฉลากระบุส่วนผสมของเครื่องดื่มบนบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลในการตัดสินใจ
รายงานในวารสารเจอร์นัล ออฟ คลินิคัล แพร็กทิซยกตัวอย่างเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงนกกระจอกเทศรายหนึ่งในออสเตรเลีย ที่ถูกนำตัวเข้าห้องฉุกเฉินจากอาการปอดไม่ทำงาน หลังดื่มโคล่าวันละ 4-10 ลิตร
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยคนนี้สามารถหายเป็นปกติ แต่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้เลิกดื่มโคล่า
อีกตัวอย่างหนึ่งเกิดกับหญิงมีครรภ์ที่ดื่มโคล่าเป็นประจำวันละ 3 ลิตรติดต่อกันหกปี และมีอาการเหนื่อยล้า เบื่ออาหารและอาเจียนบ่อยครั้ง
ผลการตรวจพบว่าอัตราการเต้นของหัวใจของผู้ป่วยรายนี้ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจเกิดจากระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำ แต่หลังจากหยุดโคล่า สุขภาพของเธอก็ดีดังเดิม
ดร.คลิฟฟอร์ด แพ็กเกอร์ จากศูนย์การแพทย์หลุยส์ สโตกส์ คลีฟแลนด์ในโอไฮโอ สหรัฐฯ แสดงความเห็นว่านี่ไม่ใช่เรื่องผิดปกติหรือเรื่องที่พบเห็นได้ยาก โดยความเสี่ยงจะขึ้นกับปริมาณการดื่มโคล่า
ดร.แพ็กเกอร์แจงว่า ด้วยการตลาดมวลชนเชิงรุกและฤทธิ์ในการเสพติดของคาเฟอีน จึงไม่น่าแปลกใจที่คนนับล้านในประเทศอุตสาหกรรมดื่มโคล่าวันละอย่างน้อย 2-3 ลิตร และผลที่ตามมาคือระดับโปแตสเซียมในร่างกายของผู้ที่ดื่มโคล่าแทนน้ำบางรายลดลงสู่ระดับที่เป็นอันตราย
ดร.มอสเซส เอลิแซฟ จากมหาวิทยาลัยไอออนนินาในกรีซ ซึ่งเป็นผู้จัดทำรายงานฉบับนี้ แจงว่าภาวะโปแตสเซียมต่ำอาจเกิดจากการบริโภคสารสามชนิดซึ่งเป็นส่วนประกอบของโคล่ามากเกินไป ได้แก่ กลูโคส ฟรุกโตส และคาเฟอีน
“บทบาทของสารประกอบแต่ละตัวเหล่านี้ในด้านพยาธิสรีรวิทยาของภาวะโปแตสเซียมต่ำที่เกิดจากโคล่าอาจต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยส่วนใหญ่เราคิดว่าคาเฟอีนมีบทบาทสำคัญที่สุดในเรื่องนี้ หลังจากเปรียบเทียบกับกรณีศึกษาที่มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีคาเฟอีนประกอบอยู่ในปริมาณมาก แต่ไม่มีกลูโคสและฟรุกโตส”
อย่างไรก็ตาม ดร.เอลิแซฟเตือนว่าผลิตภัณฑ์โคล่าปลอดคาเฟอีนอาจทำให้เกิดภาวะโปแตสเซียมต่ำได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากฟรุกโตสอาจเป็นสาเหตุของอาการท้องร่วง
“เราเชื่อว่าต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อค้นหาว่าปริมาณเท่าใดที่ถือว่ามากเกินไปสำหรับการดื่มโคล่าในแต่ละวัน”
ทั้งนี้ เป็นที่รู้กันว่าการดื่มเครื่องดื่มประเภทนี้มากเกินไปมีความเกี่ยวโยงกับโรคอ้วน เบาหวาน และปัญหาของกระดูกและฟัน
กระนั้น โฆษกของสมาคมผู้ผลิตน้ำอัดลมแห่งอังกฤษแสดงความคิดเห็นว่า ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาล่าสุดนี้ล้วนเป็นกรณีของการดื่มมากเกินไป ขณะที่การดื่มโคล่าแต่พอประมาณยังคงปลอดภัยต่อสุขภาพ และว่าอุตสาหกรรมน้ำอัดลมยึดมั่นกับการส่งเสริมการบริโภคผลิตภัณฑ์น้ำอัดลมอย่างมีความรับผิดชอบ
นอกจากนี้ ผู้ผลิตยังติดฉลากระบุส่วนผสมของเครื่องดื่มบนบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลในการตัดสินใจ