ศูนย์ข่าวขอนแก่น - เอสเอ็มอีแบงก์พร้อมช่วยฟื้นธุรกิจท่องเที่ยวภาคอีสาน เชิญชวนเจ้าของกิจการที่เกี่ยวเนื่องอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทุกประเภทยื่นกู้ในโครงการสินเชื่อ sme power ภายใต้เงื่อนไขพิเศษไม่ต้องจ่ายเงินต้นในปีแรก ดอกเบี้ยแค่ร้อยละ 4 ซึ่งขณะนี้มีเจ้าของกิจการในอีสานยื่นกู้แล้ว 280 รายวงเงินกว่า 400 ล้านบาท
เมื่อเร็วๆนี้ ที่ห้องมงกุฎทอง โรงแรมโฆษะ จ.ขอนแก่น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอี แบงก์)ร่วมกับสมาคมโรงแรมภาคอีสาน สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยงแห่งประเทศไทยได้แถลงข่าว “สินเชื่อ sme power เพื่อช่วยธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง” เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการสินเชื่อพิเศษเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจ ที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ที่กำลังประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน
นายชาติชาย โฆษะวิสุทธิ์ นายกสมาคมโรงแรมภาคอีสานและกรรมการสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่านับแต่ปีกลายที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวต่างประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน อันเป็นผลมาจากผลกระทบ ทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ ทั้ง ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลก ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ที่มีการชุมนุมภายในประเทศต่อเนื่อง และล่าสุดได้เผชิญกับปัญหาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทำให้ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยประสบปัญหาด้านสภาพคล่องทางการเงินที่จะใช้จ่ายหมุนเวียนในธุรกิจ
โครงการ สินเชื่อ sme power เพื่อช่วยธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ที่รัฐบาลปล่อยกู้ผ่านธนาคารเอสเอ็มอี ถือเป็นทางออกอีกทางหนึ่งที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการขอสินเชื่อมาหมุนเวียนประคองธุรกิจให้สามารถเดินหน้าต่อไป อย่างน้อยก็ช่วยพยุงกิจการให้ผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจไปได้ ทั้งนี้สินเชื่อดังกล่าวปล่อยกู้ครอบคลุมผู้ประกอบการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวทุกประเภท ทั้งโรงแรม ร้านอาหาร ธุรกิจนำเที่ยว ร้านขายของที่ระลึก รถเช่า ฯลฯ
ด้านนายทวีศักดิ์ นากดี ผู้บริหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(เอสเอ็มอี แบงก์)กล่าวเสริมว่าตลอดปี 2551 ต้องยอมรับว่ากิจการด้านการท่องเที่ยวประสบปัญหาหนักจากหลายปัจจัย ทั้งที่เป็นอุตสาหกรรมที่นำเงินรายได้เข้าประเทศแต่ละปีมหาศาล รัฐบาลเองก็เห็นความสำคัญของธุรกิจท่องเที่ยว จึงได้บรรจุเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องเร่งฟื้นฟูสภาพคล่อง โดยเมื่อวันที่ 28 เมษายน ครม.จึงมีมติเห็นชอบให้เอสเอ็มอีแบงก์ เข้าไปช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและกิจการที่เกี่ยวเนื่อง ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจและปัญหาภายในประเทศ
การให้ความช่วยเหลือเงินกู้เสริมสภาพคล่องแก่ธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่อง ตามโครงการ สินเชื่อ sme power แบงก์ได้เตรียมเงินปล่อยสินเชื่อก้อนแรก จำนวน 5,000 ล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขการกู้สินเชื่อที่พิเศษ คือปลอดชำระคืนเงินต้นในช่วงปีแรกและคิดอัตราดอกเบี้ยที่ MLR-3 % เหลือ 4% ใน 2 ปีแรก ปีที่ 3 คิดอัตราดอกเบี้ยตามที่ธนาคารกำหนดคือ MLR 7% วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 5ล้านบาทต่อราย และหากผู้ประกอบการรายใดต้องการวงเงินสินเชื่อมากกว่า 5 ล้านบาท แบงก์ก็พร้อมพิจารณาให้สินเชื่อเพิ่มเติมในสินเชื่อประเภทอื่น เช่น สินเชื่อโครงการชะลอเลิกจ้าง ดอกเบี้ยคงที่ 5 %หรือสินเชื่อทั่วไป เป็นต้น
นอกจากนี้ธนาคารยังผ่อนปรนหลักประกันสามารถใช้การค้ำประกันแบบไขว้กัน ใช้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเป็นผู้ค้ำประกัน โดยผู้ขอสินเชื่อตั้งแต่ 2 รายขึ้นไปสามารถยื่นขอสินเชื่อพร้อมกันและค้ำประกันให้กันและกันได้ หรือจะใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันก็ได้เช่นกัน
“โครงการสินเชื่อพิเศษ เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่องดังกล่าวยื่นขอสินเชื่อได้จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้เท่านั้น”
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวในภาคอีสานที่ได้ยื่นขอสินเชื่อ sme power นับตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้มีแล้ว 280 ราย ยอดวงเงินทั้งสิ้นประมาณ 400 ล้านบาท มีทั้งกลุ่มผู้ประกอบการรีสอร์ต โรงแรมและภัตตาคาร และได้พิจารณาอนุมัติปล่อยเงินกู้ไปแล้ว 10 กว่าล้านบาท โดยคาดว่าเมื่อครบกำหนดยื่นขอสินเชื่อโครงการดังกล่าว ตัวเลขสินเชื่อของภาคอีสานน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,000 ล้านบาท ไม่ต่างจากตัวเลขประมาณการของผู้ประกอบการทางภาคเหนือ ส่วนภาคใต้น่าจะมีตัวเลขยื่นขอสินเชื่อที่มากกว่า
เมื่อเร็วๆนี้ ที่ห้องมงกุฎทอง โรงแรมโฆษะ จ.ขอนแก่น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอี แบงก์)ร่วมกับสมาคมโรงแรมภาคอีสาน สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยงแห่งประเทศไทยได้แถลงข่าว “สินเชื่อ sme power เพื่อช่วยธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง” เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการสินเชื่อพิเศษเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจ ที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ที่กำลังประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน
นายชาติชาย โฆษะวิสุทธิ์ นายกสมาคมโรงแรมภาคอีสานและกรรมการสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่านับแต่ปีกลายที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวต่างประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน อันเป็นผลมาจากผลกระทบ ทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ ทั้ง ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลก ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ที่มีการชุมนุมภายในประเทศต่อเนื่อง และล่าสุดได้เผชิญกับปัญหาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทำให้ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยประสบปัญหาด้านสภาพคล่องทางการเงินที่จะใช้จ่ายหมุนเวียนในธุรกิจ
โครงการ สินเชื่อ sme power เพื่อช่วยธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ที่รัฐบาลปล่อยกู้ผ่านธนาคารเอสเอ็มอี ถือเป็นทางออกอีกทางหนึ่งที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการขอสินเชื่อมาหมุนเวียนประคองธุรกิจให้สามารถเดินหน้าต่อไป อย่างน้อยก็ช่วยพยุงกิจการให้ผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจไปได้ ทั้งนี้สินเชื่อดังกล่าวปล่อยกู้ครอบคลุมผู้ประกอบการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวทุกประเภท ทั้งโรงแรม ร้านอาหาร ธุรกิจนำเที่ยว ร้านขายของที่ระลึก รถเช่า ฯลฯ
ด้านนายทวีศักดิ์ นากดี ผู้บริหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(เอสเอ็มอี แบงก์)กล่าวเสริมว่าตลอดปี 2551 ต้องยอมรับว่ากิจการด้านการท่องเที่ยวประสบปัญหาหนักจากหลายปัจจัย ทั้งที่เป็นอุตสาหกรรมที่นำเงินรายได้เข้าประเทศแต่ละปีมหาศาล รัฐบาลเองก็เห็นความสำคัญของธุรกิจท่องเที่ยว จึงได้บรรจุเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องเร่งฟื้นฟูสภาพคล่อง โดยเมื่อวันที่ 28 เมษายน ครม.จึงมีมติเห็นชอบให้เอสเอ็มอีแบงก์ เข้าไปช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและกิจการที่เกี่ยวเนื่อง ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจและปัญหาภายในประเทศ
การให้ความช่วยเหลือเงินกู้เสริมสภาพคล่องแก่ธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่อง ตามโครงการ สินเชื่อ sme power แบงก์ได้เตรียมเงินปล่อยสินเชื่อก้อนแรก จำนวน 5,000 ล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขการกู้สินเชื่อที่พิเศษ คือปลอดชำระคืนเงินต้นในช่วงปีแรกและคิดอัตราดอกเบี้ยที่ MLR-3 % เหลือ 4% ใน 2 ปีแรก ปีที่ 3 คิดอัตราดอกเบี้ยตามที่ธนาคารกำหนดคือ MLR 7% วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 5ล้านบาทต่อราย และหากผู้ประกอบการรายใดต้องการวงเงินสินเชื่อมากกว่า 5 ล้านบาท แบงก์ก็พร้อมพิจารณาให้สินเชื่อเพิ่มเติมในสินเชื่อประเภทอื่น เช่น สินเชื่อโครงการชะลอเลิกจ้าง ดอกเบี้ยคงที่ 5 %หรือสินเชื่อทั่วไป เป็นต้น
นอกจากนี้ธนาคารยังผ่อนปรนหลักประกันสามารถใช้การค้ำประกันแบบไขว้กัน ใช้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเป็นผู้ค้ำประกัน โดยผู้ขอสินเชื่อตั้งแต่ 2 รายขึ้นไปสามารถยื่นขอสินเชื่อพร้อมกันและค้ำประกันให้กันและกันได้ หรือจะใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันก็ได้เช่นกัน
“โครงการสินเชื่อพิเศษ เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่องดังกล่าวยื่นขอสินเชื่อได้จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้เท่านั้น”
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวในภาคอีสานที่ได้ยื่นขอสินเชื่อ sme power นับตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้มีแล้ว 280 ราย ยอดวงเงินทั้งสิ้นประมาณ 400 ล้านบาท มีทั้งกลุ่มผู้ประกอบการรีสอร์ต โรงแรมและภัตตาคาร และได้พิจารณาอนุมัติปล่อยเงินกู้ไปแล้ว 10 กว่าล้านบาท โดยคาดว่าเมื่อครบกำหนดยื่นขอสินเชื่อโครงการดังกล่าว ตัวเลขสินเชื่อของภาคอีสานน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,000 ล้านบาท ไม่ต่างจากตัวเลขประมาณการของผู้ประกอบการทางภาคเหนือ ส่วนภาคใต้น่าจะมีตัวเลขยื่นขอสินเชื่อที่มากกว่า