เอเอฟพี/รอยเตอร์ - เครื่องบินขนส่งทางทหารของอินโดนีเซีย ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารและลูกเรือมากกว่า 100 ชีวิต ในจำนวนนี้เป็นนายพลอากาศผู้หนึ่ง ประสบอุบัติเหตุตกลงมาชนบ้านเรือน แล้วเกิดเปลวไฟลุกท่วมทั่วลำเมื่อวานนี้ (20) ที่จังหวัดชวาตะวันออก ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 98 ราย ทั้งนี้ตามการแถลงของโฆษกกองทัพอากาศแดนอิเหนา
ซากเสียหายที่ยังคงระอุคุกรุ่นของเครื่องบินขนส่งแบบ ซี -130 เฮอร์คิวลิส กระจัดกระจายอยู่บนนาข้าวในเขตมาเกตัน จังหวัดชวาตะวันออก ซึ่งอยู่ห่างไปทางตะวันออกของเมืองยอร์กยาการ์ตาราว 160 กิโลเมตร
"ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 98 รายแล้ว บัมบัง ซูลิสติโอ โฆษกกองทัพอากาศบอกกับเอเอฟพี ขณะที่ทหารและหน่วยกู้ภัยยังคงค้นหาร่างผู้เสียชีวิตที่อาจติดค้างอยู่ตามชิ้นส่วนของเครื่องบินที่ไหม้เกรียม
เจ้าหน้าที่หลายคนบอกว่า เครื่องบิน ซี -130 เฮอร์คิวลิสลำนี้ บรรทุกผู้โดยสารและลูกเรือกว่า 100 คน ซึ่งเป็นทหารและครอบครัว โดยมีเด็กรวมอยู่ด้วยหลายคน พวกเขากำลังอยู่ระหว่างเดินทางจากกรุงจาการ์ตา เพื่อมุ่งหน้าไปยังจังหวัดปาปัว ซึ่งอยู่ตะวันออกของประเทศ
ซูลิสติโอบอกว่า ผู้เสียชีวิตทั้งหมด มีเด็กรวมอยู่ด้วย 14 ราย และผู้ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเกปลัคอีก 2 คน ชาวบ้านเหล่านี้คือผู้พำนักอยู่ในบ้านที่ถูกเครื่องบินพุ่งชน นอกจากนั้นยังมีผู้บาดเจ็บนับสิบคนจากอุบัติเหตุครั้งนี้
ในจำนวนผู้เสียชีวิต มีนายพลอากาศผู้หนึ่ง ซึ่งสิ้นชีพพร้อมภรรยา
"การค้นหาและเคลื่อนย้ายจะยังดำเนินต่อไป ผมคาดว่าน่าจะยังมีร่างผู้เสียชีวิตอีกจำนวนหนึ่งติดค้างอยู่ในซากปรักหักพัง" โฆษกกองทัพอากาศกล่าว
พยานผู้เห็นเหตุการณ์หลายคนเล่าตรงกันว่า เครื่องบินลำนี้พุ่งชนบ้าน 2 หลัง ก่อนจะเกิดเปลวเพลิงลุกท่วมและตกกระแทกลงบนนาข้าว
"เครื่องบินลำนั้น พุ่งชนบ้าน 2 หลัง, กระเด้งขึ้นมา, ตกกระแทกพื้น จากนั้นจึงเกิดเปลวไฟลุกท่วม” พยานผู้หนึ่งบอกกับสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นเมโทร ทีวี
ส่วนอีกหลายคนบอกว่า ได้ยินเสียงเหมือนระเบิดหรือฟ้าร้อง ขณะที่เครื่องบินดิ่งลงสู่พื้น และมีรายงานว่า พยานคนหนึ่งเห็นปีกข้างหนึ่งของเครื่องบินหักลงมา
"ผมได้ยินเสียงคล้าย ๆกับฟ้าผ่า คล้ายๆ กับลมกรรโชก ทันใดนั้นเครื่องบินก็พุ่งชนบ้านสองหลังแล้วตกลงพื้น" ชาวบ้านผู้หนึ่งบอกกับเอเอฟพี พร้อมเสริมด้วยว่า แรงชนทำให้ส่วนลำตัวเครื่องบินหักออกเป็นท่อน ๆ
ส่วนหางขนาดใหญ่ของเครื่องบินปรากฏให้เห็นในสภาพที่ปักลงบนพื้นดิน และได้รับความเสียหายอย่างหนักบนทุ่งข้าวสีเขียวขจี แต่ส่วนที่เหลือของลำตัวเครื่องนั้นถูกเผาวอดจนเหลือแต่โครงเหล็ก
อุบัติเหตุครั้งนี้เกิดขึ้นราว 06.30 น.ตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกันกับเวลาเมืองไทย) ขณะที่เครื่องบินเตรียมจะลงจอดที่ฐานทัพอากาศอิสวาห์ยูดี ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากจุดเกิดเหตุ
ด้านประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุโธโยโนของอินโดนีเซียกล่าวแสดง "ความเสียใจอย่างสุดซึ้ง" ต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิต แต่เตือนว่า อย่าด่วนสรุปสาเหตุของโศกนาฎกรรมครั้งนี้
"ในโอกาสนี้ ทั้งในนามของรัฐบาลและส่วนตัว ผมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิต" ยุโธโยโนบอกกับผู้สื่อข่าว
“สำหรับสาเหตุของโศกนาฎกรรมครั้งนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการสอบสวน เราไม่สามารถยืนยันว่า เกิดจากสภาพอากาศ, เครื่องยนต์เสียหาย หรือความผิดพลาดของมนุษย์ และเราไม่ควรคาดเดาสาเหตุของโศกนาฎกรรมครั้งนี้จะดีกว่า” ผู้นำอินโดนีเซียกล่าว
ด้านพลเอกโจโก ซานโตโซ ผู้บัญชาการกองทัพอินโดนีเซีย กล่าวว่า มีหมอกบนพื้นดิน ขณะเกิดเหตุเครื่องบินตก เนื่องจาก "การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ" แต่เขาไม่ได้บอกว่า เป็นสาเหตุของโศกนาฎกรรมครั้งนี้
ขณะที่จูโวโน ซูดาร์โซโน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมตำหนิว่า งบประมาณของกองทัพไม่เพียงพอรองรับการซ่อมบำรุงอากาศยานแม้กระทั่งขั้นต่ำสุด
"ตามหลักการแล้ว ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงควรอยู่ราว 20 - 25 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณทหารทั้งหมด แต่ตอนนี้เหลือเพียง 10 เปอร์เซ็นต์" รัฐมนตรีกลาโหมบอกกับผู้สื่อข่าว
เขาบอกด้วยว่า จะสั่งห้ามนำเครื่องบินขนส่งเฮอร์คิวลิสทุกลำขึ้นบิน หากตรวจสอบพบว่า อุบัติเหตุดังกล่าว มีสาเหตุมาจากความเสียหายทางเทคนิคหรือจากเครื่องยนต์กลไก
โศกนาฏกรรมคราวนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้ว ที่เครื่องบินเฮอร์คิวลิสของกองทัพอากาศอินโดนีเซียประสบอุบัติเหตุในรอบระยะเวลาเพียง 2 สัปดาห์ โดยในครั้งก่อนนั้น เครื่องบินเฮอร์คิวลิสลำหนึ่งได้ไถลออกนอกรันเวย์ของสนามบินวาเมนาในจังหวัดปาปัวเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา และมีรายงานใรผู้บาดเจ็บ 1 ราย
สำหรับมาตรการป้องกันหลังเกิดเหตุครั้งนั้น ทางกองทัพอากาศประกาศจะตรวจสอบฝูงบินเฮอร์คิวลิสที่ใช้งานกันมานานแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงอัปเกรดโครงเครื่องบินและเพิ่มสมรรถนะเครื่องยนต์
เมื่อเดือนก่อน ก็มีทหาร 24 คนเสียชีวิต ขณะที่เครื่องบินฝึก "ฟ็อกเกอร์ 27" พุ่งชนอาคารจอดเครื่องบิน และเกิดเปลวเพลิงลุกท่วมที่ฐานทัพอากาศในจังหวัดชวาตะวันตก
อินโดนีเซียเป็นประเทศหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก จึงต้องพึ่งพาการเดินทางทางอากาศอย่างมาก แต่ก็มักเกิดอุบัติเหตุขึ้นเป็นประจำ ถึงขนาดที่สายการบินพาณิชย์ของประเทศแห่งนี้ถูกห้ามบินผ่านน่านฟ้าของสหภาพยุโรป เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัย
ซากเสียหายที่ยังคงระอุคุกรุ่นของเครื่องบินขนส่งแบบ ซี -130 เฮอร์คิวลิส กระจัดกระจายอยู่บนนาข้าวในเขตมาเกตัน จังหวัดชวาตะวันออก ซึ่งอยู่ห่างไปทางตะวันออกของเมืองยอร์กยาการ์ตาราว 160 กิโลเมตร
"ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 98 รายแล้ว บัมบัง ซูลิสติโอ โฆษกกองทัพอากาศบอกกับเอเอฟพี ขณะที่ทหารและหน่วยกู้ภัยยังคงค้นหาร่างผู้เสียชีวิตที่อาจติดค้างอยู่ตามชิ้นส่วนของเครื่องบินที่ไหม้เกรียม
เจ้าหน้าที่หลายคนบอกว่า เครื่องบิน ซี -130 เฮอร์คิวลิสลำนี้ บรรทุกผู้โดยสารและลูกเรือกว่า 100 คน ซึ่งเป็นทหารและครอบครัว โดยมีเด็กรวมอยู่ด้วยหลายคน พวกเขากำลังอยู่ระหว่างเดินทางจากกรุงจาการ์ตา เพื่อมุ่งหน้าไปยังจังหวัดปาปัว ซึ่งอยู่ตะวันออกของประเทศ
ซูลิสติโอบอกว่า ผู้เสียชีวิตทั้งหมด มีเด็กรวมอยู่ด้วย 14 ราย และผู้ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเกปลัคอีก 2 คน ชาวบ้านเหล่านี้คือผู้พำนักอยู่ในบ้านที่ถูกเครื่องบินพุ่งชน นอกจากนั้นยังมีผู้บาดเจ็บนับสิบคนจากอุบัติเหตุครั้งนี้
ในจำนวนผู้เสียชีวิต มีนายพลอากาศผู้หนึ่ง ซึ่งสิ้นชีพพร้อมภรรยา
"การค้นหาและเคลื่อนย้ายจะยังดำเนินต่อไป ผมคาดว่าน่าจะยังมีร่างผู้เสียชีวิตอีกจำนวนหนึ่งติดค้างอยู่ในซากปรักหักพัง" โฆษกกองทัพอากาศกล่าว
พยานผู้เห็นเหตุการณ์หลายคนเล่าตรงกันว่า เครื่องบินลำนี้พุ่งชนบ้าน 2 หลัง ก่อนจะเกิดเปลวเพลิงลุกท่วมและตกกระแทกลงบนนาข้าว
"เครื่องบินลำนั้น พุ่งชนบ้าน 2 หลัง, กระเด้งขึ้นมา, ตกกระแทกพื้น จากนั้นจึงเกิดเปลวไฟลุกท่วม” พยานผู้หนึ่งบอกกับสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นเมโทร ทีวี
ส่วนอีกหลายคนบอกว่า ได้ยินเสียงเหมือนระเบิดหรือฟ้าร้อง ขณะที่เครื่องบินดิ่งลงสู่พื้น และมีรายงานว่า พยานคนหนึ่งเห็นปีกข้างหนึ่งของเครื่องบินหักลงมา
"ผมได้ยินเสียงคล้าย ๆกับฟ้าผ่า คล้ายๆ กับลมกรรโชก ทันใดนั้นเครื่องบินก็พุ่งชนบ้านสองหลังแล้วตกลงพื้น" ชาวบ้านผู้หนึ่งบอกกับเอเอฟพี พร้อมเสริมด้วยว่า แรงชนทำให้ส่วนลำตัวเครื่องบินหักออกเป็นท่อน ๆ
ส่วนหางขนาดใหญ่ของเครื่องบินปรากฏให้เห็นในสภาพที่ปักลงบนพื้นดิน และได้รับความเสียหายอย่างหนักบนทุ่งข้าวสีเขียวขจี แต่ส่วนที่เหลือของลำตัวเครื่องนั้นถูกเผาวอดจนเหลือแต่โครงเหล็ก
อุบัติเหตุครั้งนี้เกิดขึ้นราว 06.30 น.ตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกันกับเวลาเมืองไทย) ขณะที่เครื่องบินเตรียมจะลงจอดที่ฐานทัพอากาศอิสวาห์ยูดี ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากจุดเกิดเหตุ
ด้านประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุโธโยโนของอินโดนีเซียกล่าวแสดง "ความเสียใจอย่างสุดซึ้ง" ต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิต แต่เตือนว่า อย่าด่วนสรุปสาเหตุของโศกนาฎกรรมครั้งนี้
"ในโอกาสนี้ ทั้งในนามของรัฐบาลและส่วนตัว ผมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิต" ยุโธโยโนบอกกับผู้สื่อข่าว
“สำหรับสาเหตุของโศกนาฎกรรมครั้งนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการสอบสวน เราไม่สามารถยืนยันว่า เกิดจากสภาพอากาศ, เครื่องยนต์เสียหาย หรือความผิดพลาดของมนุษย์ และเราไม่ควรคาดเดาสาเหตุของโศกนาฎกรรมครั้งนี้จะดีกว่า” ผู้นำอินโดนีเซียกล่าว
ด้านพลเอกโจโก ซานโตโซ ผู้บัญชาการกองทัพอินโดนีเซีย กล่าวว่า มีหมอกบนพื้นดิน ขณะเกิดเหตุเครื่องบินตก เนื่องจาก "การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ" แต่เขาไม่ได้บอกว่า เป็นสาเหตุของโศกนาฎกรรมครั้งนี้
ขณะที่จูโวโน ซูดาร์โซโน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมตำหนิว่า งบประมาณของกองทัพไม่เพียงพอรองรับการซ่อมบำรุงอากาศยานแม้กระทั่งขั้นต่ำสุด
"ตามหลักการแล้ว ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงควรอยู่ราว 20 - 25 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณทหารทั้งหมด แต่ตอนนี้เหลือเพียง 10 เปอร์เซ็นต์" รัฐมนตรีกลาโหมบอกกับผู้สื่อข่าว
เขาบอกด้วยว่า จะสั่งห้ามนำเครื่องบินขนส่งเฮอร์คิวลิสทุกลำขึ้นบิน หากตรวจสอบพบว่า อุบัติเหตุดังกล่าว มีสาเหตุมาจากความเสียหายทางเทคนิคหรือจากเครื่องยนต์กลไก
โศกนาฏกรรมคราวนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้ว ที่เครื่องบินเฮอร์คิวลิสของกองทัพอากาศอินโดนีเซียประสบอุบัติเหตุในรอบระยะเวลาเพียง 2 สัปดาห์ โดยในครั้งก่อนนั้น เครื่องบินเฮอร์คิวลิสลำหนึ่งได้ไถลออกนอกรันเวย์ของสนามบินวาเมนาในจังหวัดปาปัวเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา และมีรายงานใรผู้บาดเจ็บ 1 ราย
สำหรับมาตรการป้องกันหลังเกิดเหตุครั้งนั้น ทางกองทัพอากาศประกาศจะตรวจสอบฝูงบินเฮอร์คิวลิสที่ใช้งานกันมานานแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงอัปเกรดโครงเครื่องบินและเพิ่มสมรรถนะเครื่องยนต์
เมื่อเดือนก่อน ก็มีทหาร 24 คนเสียชีวิต ขณะที่เครื่องบินฝึก "ฟ็อกเกอร์ 27" พุ่งชนอาคารจอดเครื่องบิน และเกิดเปลวเพลิงลุกท่วมที่ฐานทัพอากาศในจังหวัดชวาตะวันตก
อินโดนีเซียเป็นประเทศหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก จึงต้องพึ่งพาการเดินทางทางอากาศอย่างมาก แต่ก็มักเกิดอุบัติเหตุขึ้นเป็นประจำ ถึงขนาดที่สายการบินพาณิชย์ของประเทศแห่งนี้ถูกห้ามบินผ่านน่านฟ้าของสหภาพยุโรป เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัย