เอเอฟพี – สหรัฐฯ และรัสเซียประเดิมเจรจาเรื่องอาวุธนิวเคลียร์รอบแรกเมื่อวานนี้ (19) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การจัดทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ มาทดแทนสนธิสัญญาลดอาวุธนิวเคลียร์ยุทธศาสตร์ (Strategic Arms Reduction Treaty - START) ซึ่งจะหมดอายุในวันที่ 5 ธันวาคม ปีนี้
การเจรจาเรื่องลดอาวุธนิวเคลียร์กับรัสเซีย นับเป็นประเด็นแกนกลางในการปรับปรุงความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับรัสเซีย ซึ่งประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐฯ ให้ความสำคัญ รวมทั้งจะส่งผลอย่างมหาศาลต่อความมั่นคงของโลกด้วย
นอกจากนั้น หากการเจรจาดังกล่าวประสบความสำเร็จก็จะเป็นการหนุนส่งวิสัยทัศน์ของโอบามา ในเรื่องการสร้างโลกที่ปลอดอาวุธนิวเคลียร์ให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น และยังเป็นการวางขั้นตอนสำหรับการประชุมสุดยอดเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจทั้งสองในเดือนกรกฎาคม ซึ่งโอบามามีกำหนดเดินทางเยือนมอสโกเพื่อพบกับประธานาธิบดีดมิตรี เมดเวเดฟ
สำหรับรัสเซียนั้น การเจรจาในประเด็นดังกล่าวก็ถือว่ามีความสำคัญเพราะมันสื่อความหมายถึง “การมีฐานะเสมอกัน” กับสหรัฐฯ ในเชิงยุทธศาสตร์ และในแวดวงการทูตก็ระบุว่าการเจรจานี้มีความสำคัญเนื่องจากรัสเซียต้องการมีบทบาทในเวทีโลกเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ทางด้านบันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ ก็ขานรับ “การปรับกำลังใหม่ในด้านการลดอาวุธนิวเคลียร์” คราวนี้ และเขายังกล่าวในระหว่างการประชุมเรื่องการลดอาวุธนิวเคลียร์ที่เมืองเจนีวาด้วยว่า “ผมขออวยพรให้การเจรจาระหว่างประเทศทั้งสองที่กรุงมอสโกประสบความสำเร็จ”
แหล่งข่าวจากกระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียระบุว่าการเจรจาอย่างเป็นทางการจะเริ่มขึ้นวานนี้ และมีกำหนดการสองวันด้วยกัน แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมใดๆ
ก่อนหน้านี้ เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีการต่างประเทศรัสเซียได้ระบุว่าเขาหวังว่าการเจรจาจะประสบผลสำเร็จ แต่ก็ได้เตือนว่าการเจรจาจะเชื่อมโยงกับแผนการติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธของสหรัฐฯ ในยุโรปตะวันออกด้วย
“เราเชื่อว่าการเจรจาเรื่องสนธิสัญญา START จะไม่เกิดขึ้นในท่ามกลางสุญญากาศ แต่มันจะต้องสะท้อนถึงประเด็นเรื่องความมั่นคงของโลก ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงความมั่นคงของรัสเซียด้วย และยังเป็นการสื่อความหมายว่าเราจะต้องประเมินสถานการณ์เรื่องระบบป้องกันขีปนาวุธด้วย”
ระบบโล่ป้องกันขีปนาวุธเคยได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังในยุคของอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช และทำให้รัสเซียมีปฏิกิริยาตอบโต้อย่างรุนแรงต่อแผนการของสหรัฐฯ ที่จะติดตั้งบางส่วนของระบบนี้ในโปแลนด์และสาธารณรัฐเช็ก
หนังสือพิมพ์วรีเมีย โนโวสตี ของรัสเซียก็ระบุในวันอังคารว่า “เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ” ที่จะบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับสนธิสัญญา START โดยที่โอบามาไม่ได้ทบทวนเรื่องนี้ ทว่า สหรัฐฯ ระบุว่าแผนการติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธนั้นไม่ได้เป็นภัยคุกคามรัสเซีย และพยายามนำออกจากประเด็นเจรจาสนธิสัญญา START ด้วย
อย่างไรก็ตาม กระทั่งไม่มีประเด็นระบบป้องกันขีปนาวุธ แต่ผู้แทนเจรจาของทั้งสองฝ่ายก็จะต้องทำงานอย่างหนักมากเพื่อบรรลุข้อตกลงใหม่ที่จะมาทดแทน START ซึ่งมีรายละเอียดเชิงเทคนิคสลับซับซ้อนมากมาย เช่น รัสเซียต้องการให้สนธิสัญญาฉบับใหม่จำกัดจำนวนหัวรบนิวเคลียร์และขีปนาวุธของทั้งสองฝ่าย ในขณะที่สหรัฐฯ ต้องการเน้นเพียงที่หัวรบ “ที่ติดตั้งในเชิงปฏิบัติการ” ซึ่งพร้อมสำหรับการยิงเท่านั้น เป็นต้น
อนึ่ง สนธิสัญญา START ลงนามเมื่อปี 1991 ในยุคสงครามเย็น โดยระบุให้สหรัฐฯ ลดอาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธศาสตร์ในส่วนของหัวรบนิวเคลียร์จาก 9,986 หัวรบลงมาเป็น 8,556 หัวรบ ขณะที่โซเวียตลดจาก 10,237 หัวรบลงมาเป็น 6,449 หัวรบ โดยมีกระบวนการตรวจสอบด้วยว่าทั้งสองฝ่ายได้ปฏิบัติตามสนธิสนธิสัญญาหรือไม่
การเจรจาเรื่องลดอาวุธนิวเคลียร์กับรัสเซีย นับเป็นประเด็นแกนกลางในการปรับปรุงความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับรัสเซีย ซึ่งประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐฯ ให้ความสำคัญ รวมทั้งจะส่งผลอย่างมหาศาลต่อความมั่นคงของโลกด้วย
นอกจากนั้น หากการเจรจาดังกล่าวประสบความสำเร็จก็จะเป็นการหนุนส่งวิสัยทัศน์ของโอบามา ในเรื่องการสร้างโลกที่ปลอดอาวุธนิวเคลียร์ให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น และยังเป็นการวางขั้นตอนสำหรับการประชุมสุดยอดเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจทั้งสองในเดือนกรกฎาคม ซึ่งโอบามามีกำหนดเดินทางเยือนมอสโกเพื่อพบกับประธานาธิบดีดมิตรี เมดเวเดฟ
สำหรับรัสเซียนั้น การเจรจาในประเด็นดังกล่าวก็ถือว่ามีความสำคัญเพราะมันสื่อความหมายถึง “การมีฐานะเสมอกัน” กับสหรัฐฯ ในเชิงยุทธศาสตร์ และในแวดวงการทูตก็ระบุว่าการเจรจานี้มีความสำคัญเนื่องจากรัสเซียต้องการมีบทบาทในเวทีโลกเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ทางด้านบันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ ก็ขานรับ “การปรับกำลังใหม่ในด้านการลดอาวุธนิวเคลียร์” คราวนี้ และเขายังกล่าวในระหว่างการประชุมเรื่องการลดอาวุธนิวเคลียร์ที่เมืองเจนีวาด้วยว่า “ผมขออวยพรให้การเจรจาระหว่างประเทศทั้งสองที่กรุงมอสโกประสบความสำเร็จ”
แหล่งข่าวจากกระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียระบุว่าการเจรจาอย่างเป็นทางการจะเริ่มขึ้นวานนี้ และมีกำหนดการสองวันด้วยกัน แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมใดๆ
ก่อนหน้านี้ เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีการต่างประเทศรัสเซียได้ระบุว่าเขาหวังว่าการเจรจาจะประสบผลสำเร็จ แต่ก็ได้เตือนว่าการเจรจาจะเชื่อมโยงกับแผนการติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธของสหรัฐฯ ในยุโรปตะวันออกด้วย
“เราเชื่อว่าการเจรจาเรื่องสนธิสัญญา START จะไม่เกิดขึ้นในท่ามกลางสุญญากาศ แต่มันจะต้องสะท้อนถึงประเด็นเรื่องความมั่นคงของโลก ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงความมั่นคงของรัสเซียด้วย และยังเป็นการสื่อความหมายว่าเราจะต้องประเมินสถานการณ์เรื่องระบบป้องกันขีปนาวุธด้วย”
ระบบโล่ป้องกันขีปนาวุธเคยได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังในยุคของอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช และทำให้รัสเซียมีปฏิกิริยาตอบโต้อย่างรุนแรงต่อแผนการของสหรัฐฯ ที่จะติดตั้งบางส่วนของระบบนี้ในโปแลนด์และสาธารณรัฐเช็ก
หนังสือพิมพ์วรีเมีย โนโวสตี ของรัสเซียก็ระบุในวันอังคารว่า “เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ” ที่จะบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับสนธิสัญญา START โดยที่โอบามาไม่ได้ทบทวนเรื่องนี้ ทว่า สหรัฐฯ ระบุว่าแผนการติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธนั้นไม่ได้เป็นภัยคุกคามรัสเซีย และพยายามนำออกจากประเด็นเจรจาสนธิสัญญา START ด้วย
อย่างไรก็ตาม กระทั่งไม่มีประเด็นระบบป้องกันขีปนาวุธ แต่ผู้แทนเจรจาของทั้งสองฝ่ายก็จะต้องทำงานอย่างหนักมากเพื่อบรรลุข้อตกลงใหม่ที่จะมาทดแทน START ซึ่งมีรายละเอียดเชิงเทคนิคสลับซับซ้อนมากมาย เช่น รัสเซียต้องการให้สนธิสัญญาฉบับใหม่จำกัดจำนวนหัวรบนิวเคลียร์และขีปนาวุธของทั้งสองฝ่าย ในขณะที่สหรัฐฯ ต้องการเน้นเพียงที่หัวรบ “ที่ติดตั้งในเชิงปฏิบัติการ” ซึ่งพร้อมสำหรับการยิงเท่านั้น เป็นต้น
อนึ่ง สนธิสัญญา START ลงนามเมื่อปี 1991 ในยุคสงครามเย็น โดยระบุให้สหรัฐฯ ลดอาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธศาสตร์ในส่วนของหัวรบนิวเคลียร์จาก 9,986 หัวรบลงมาเป็น 8,556 หัวรบ ขณะที่โซเวียตลดจาก 10,237 หัวรบลงมาเป็น 6,449 หัวรบ โดยมีกระบวนการตรวจสอบด้วยว่าทั้งสองฝ่ายได้ปฏิบัติตามสนธิสนธิสัญญาหรือไม่