ASTV ผู้จัดการรายวัน – ปตท.สผ. แต่งตั้งสถาบันการเงิน 14 แห่ง ขายหุ้นกู้มูลค่ารวม 4 หมื่นล้านบาท แบ่งขายนักลงทุนรายย่อย 3 หมื่นล้านบาท ระหว่าง 25-28 พ.ค.นี้ และนักลงทุนสถาบัน 1 หมื่นล้านบาท ผู้บริหารมั่นใจขายเกลี้ยง พร้อมวางนโยบายออกหุ้นกู้ทุกปีช่วงพ.ค. เพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้ที่ครบกำหนดและขยายงาน ด้าน “อนนต์ สิริแสงทักษิณ” การันตียอดขายปิโตรเลียมปีนี้เข้าเป้า 2.4 แสนบาร์เรล/วัน แม้ไตรมาสแรกพลาดเป้าค่อนข้างมาก หลังพบตัวเลขความต้องการใช้ก๊าซฯที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงนี้ วางกลยุทธ์การลงทุนเน้น 13 ประเทศหลัก เพื่อไม่หลงช็อปของถูกเพลิน
วานนี้ (13 พ.ค.) บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP (ปตท.สผ.) ได้ลงนามแต่งตั้งสถาบันการเงินรวม 14 แห่ง เป็นตัวแทนจำหน่ายหุ้นกู้ให้แก่นักลงทุนรายย่อยและสถาบันมูลค่ารวมทั้งสิ้น 40,000 ล้านบาท
สำหรับรายละเอียดของหุ้นกู้ดังกล่าวแบ่งออกเป็น หุ้นกู้ที่เสนอขายให้แก่นักลงทุนรายย่อย เป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน แบ่งเป็น 2 ชุด คือ หุ้นกู้อายุ 3 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 3.25% ต่อปี และหุ้นกู้อายุ 5 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 4% ต่อปี รวมมูลค่า 30,000 ล้านบาท จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน เปิดให้จองซื้อระหว่างวันที่ 25-28 พฤษภาคม 2552 โดยบริษัท ทริสเครดิต เรทติ้ง จำกัดได้จัดอันดับความน่าเชื่อถือไว้ที่ระดับ AAA
ส่วนหุ้นกู้ที่เสนอขายนักลงทุนสถาบัน แบ่งเป็นหุ้นกู้ อายุ 4 ปี มูลค่า 5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีแรกที่ 3% ต่อปี และอีก 2 ปีที่เหลือให้เลือกเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ หรืออัตราดอกเบี้ยลอยตัว (ฐานดอกเบี้ยฝากประจำ 6 เดือนบวก 1.25%) โดยอัตราดอกเบี้ยจะไม่ต่ำกว่า 3.25% และไม่เกิน 6% และหุ้นกู้อายุ 10 ปี มูลค่า 5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.8% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน
นายชัชวาล เอี่ยมศิริ รองผู้จัดการใหญ่สายการเงินและบัญชี บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากการสำรวจความต้องการ (Book Build) เมื่อวันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมา พบว่า นักลงทุนสถาบันมีความต้องการจองหุ้นกู้สูงถึง 1.6 หมื่นล้านบาท ดังนั้นจึงมั่นใจว่าการออกหุ้นกู้ครั้งนี้จะได้รับการต้อนรับจากนักลงทุนรายย่อยด้วยดี โดยเงินจากการออกหุ้นกู้นี้จะไปชำระตั๋วสัญญาใช้เงิน (บี/อี) จำนวน 2 หมื่นล้านบาทและขยายการลงทุนเพิ่มเติม
ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายที่จะออกหุ้นกู้ทุกปีในช่วงเดือน พ.ค. เพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้ที่ครบกำหนด และส่วนหนึ่งจะนำเงินไปลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียม แต่ในปีหน้ายังไม่มีหุ้นกู้ที่ครบกำหนดชำระ ดังนั้นวงเงินเสนอขายหุ้นกู้ในปี 2553 คงต้องรอการสรุปทบทวนแผนการลงทุนในสิ้นปีก่อน ซึ่งแผนการลงทุนระยะยาวของบริษัท 5 ปี (2552-2556) จะใช้เงินลงทุนรวมและการดำเนินการไว้ประมาณ 485,000 ล้านบาท ตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติการออกหุ้นกู้ของบริษัทไว้ 8.7 หมื่นล้านบาท โดยบริษัทได้ออกหุ้นกู้ไปแล้ว 4 หมื่นล้านบาท คงเหลือวงเงินการออกหุ้นกู้อีก 4.7 หมื่นล้าน
นอกจากนี้ บริษัทมีแผนจะเดินทางไปโรดโชว์ที่ประเทศญี่ปุ่นและซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ในต้นเดือนมิ.ย.นี้ โดยทางโนมูระต้องการให้บริษัทโรดโชว์ที่ประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 1-2 มิ.ย.และ ในวันที่ 3-4 มิ.ย. บริษัทจะร่วมเดินทางกับ เมอริลลินช์ เพื่อไปโรดโชว์ที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา
แบงก์เชื่อนักลงทุนแห่จอง
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เชื่อว่าหุ้นกู้ของปตท.สผ.ที่ออกจำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไปในครั้งนี้ เชื่อว่าจะได้รับการตอบรับที่ดี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้ในครั้งนี้สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งเป็นทางเลือกของผู้ฝากเงินที่ต้องการลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาว
"เชื่อว่าในช่วงเวลาหลังจากนี้จะมีบริษัทขนาดใหญ่ ทำการออกหุ้นกู้ตามมาอีก แต่อาจจะไม่ใช่วงเงินที่ใหญ่เหมือนกับ ปตท.สผ. โดยหุ้นกู้ที่ออกมาก็ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ลงทุน"
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กล่าวว่า การจัดจำหน่ายหุ้นกู้ในครั้งนี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ขายให้กับนักลงทุนสถาบันจำนวน 10,000 ล้านบาทซึ่งมีธนาคาร 5 แห่งเป็นผู้จัดจำหน่ายและอีกส่วนที่ขายให้กับนักลงทุนรายย่อยจำนวน 30,000 ล้านบาทนั้นธนาคารที่ร่วมลงนามทั้ง 14 แห่งจะเป็นร่วมกันจัดจำหน่าย ทั้งนี้ ในส่วนของธนาคารเองยังไม่มีแผนที่จะทำการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์แต่จะมีการออกตั๋วแลกเงิน(บีอี)มาจำหน่ายให้กับผู้สนใจอย่างต่อเนื่อง
"การออกหุ้นกู้ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อทุกฝ่าย ผู้ที่ออกก็จะมีสภาพคล่องเศรษฐกิจก็จะมั่นคง และยังเป็นทางเลือกให้กับผู้ออมอีกด้วย"
มั่นใจยอดขายปี 52 เข้าเป้าหมาย
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP (ปตท.สผ.) กล่าวว่า จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงนี้ และความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นจากต้นปีนี้ เป็นสัญญาณที่ดี ทำให้บริษัทฯมั่นใจการขายปิโตรเลียมในปีนี้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2.40 แสนบาร์เรล/วัน แม้ไตรมาส 1/2552 ปริมาณการขายจะต่ำกว่าเป้าหมายเฉลี่ยทั้งปีที่ 2.17 แสนบาร์เรล/วัน จากความต้องการใช้ก๊าซฯในประเทศหดตัวลง โดยปริมาณการขายปิโตรเลียมในไตรมาส 2-4 จะเพิ่มขึ้นชดเชยไตรมาสแรกได้
ทั้งนี้ บริษัทได้กำหนดเป้าหมายการขายปิโตรเลียมในอีก 5 ปีข้างหน้า (2552-2556 ) ว่าจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 6.5% ทำให้อัตราการขายปิโตรเลียมขยับมาอยู่ที่ 3.01 แสนบาร์เรล/วัน ซึ่งการเพิ่มขึ้นนี้มาจากการเริ่มการผลิตโครงการใหม่ๆ ได้แก่ โครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (บี17) จะเริ่มผลิตก๊าซฯในอัตรา 270 ล้านลบ.ฟุต/วัน และโครงการพีทีทีอีพี ออสเตรเลีย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของออสเตรเลียจะเริ่มผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งมอนทาร่า ในอัตรา 3.5 หมื่นบาร์เรล/วัน
ในปี 2554 โครงการเวียดนาม 16-1 จะเริ่มผลิตน้ำมันดิบในอัตรา 4 หมื่นบาร์เรล/วัน และในปี 2555 โครงการอัลจีเรียมีเป้าหมายผลิตน้ำมันดิบในอัตรา 2 หมื่นบาร์เรล/วัน และโครงการบงกชใต้ จะผลิตก๊าซฯได้ 300 ล้านลบ.ฟุต/วัน สำหรับโครงการM9 ในพม่า จะเริ่มผลิตก๊าซฯได้ในอัตรา 300 ล้านลบ.ฟุต/วันในปี 2556
นายอนนต์ กล่าวว่า จากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวทำให้ราคาน้ำมันปรับลดลง ทำให้บริษัทฯมีโอกาสที่จะเข้าควบรวมกิจการ (M&A)มากขึ้น ซึ่งขณะนี้ได้มองไว้หลายแห่ง แต่เพื่อให้สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ภายใต้บุคลากรและเงินทุนที่มีอยู่ โดยจะมุ่งเน้นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ใน 13 ประเทศที่ได้มีการลงทุนไปอยู่แล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยได้มีการจัดลำดับความสำคัญในการลงทุนไว้ที่อันดับแรก คือ ไทย รองลงมา คือพม่า ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น
"ช่วงนี้หากบริษัทฯไม่โฟกัสการลงทุนใน 13 ประเทศหลัก ก็อาจหลวมตัวไปลงทุนอื่นๆ ซึ่งทำให้อัตราการเติบโตไม่ได้ตามเป้าหมาย โดยตั้งเป้าในปี 2563 จะมีปริมาณการผลิตและขายปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 9 แสนบาร์เรล/วัน"
ปัจจุบัน บริษัทมีเงินสดในมือ 5 หมื่นล้านบาท (ก่อนหักเงินปันผลและภาษี) และพยายามลดต้นทุน โดยมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของบริษัทใกล้เคียงบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอื่น ที่ระดับ 3-4 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล แต่ก็คาดว่าจะทำได้ดีขึ้น หากพบแหล่งน้ำมันมากกว่านี้ รวมทั้งจะรักษาระดับความสำเร็จในการสำรวจพบปิโตรเลียมที่อัตรา 70% ซึ่งสูงกว่าบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยบริษัทไม่มีแผนทำประกันความเสี่ยงราคาน้ำมัน (เฺฮดจิ้ง) เพราะเห็นว่าราคาน้ำมันในช่วงนี้ผันผวนสูง ซึ่งราคาขายก๊าซฯเฉลี่ยปีนี้ใกล้เคียงปีที่แล้ว 5 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู แม้ว่าราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปีนี้จะอ่อนตัวลงมาอยู่ที่ 50-60 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลจากปีก่อนเฉลี่ย 90 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลทำให้อัตรากำไรขั้นต้นยังดีอยู่
วานนี้ (13 พ.ค.) บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP (ปตท.สผ.) ได้ลงนามแต่งตั้งสถาบันการเงินรวม 14 แห่ง เป็นตัวแทนจำหน่ายหุ้นกู้ให้แก่นักลงทุนรายย่อยและสถาบันมูลค่ารวมทั้งสิ้น 40,000 ล้านบาท
สำหรับรายละเอียดของหุ้นกู้ดังกล่าวแบ่งออกเป็น หุ้นกู้ที่เสนอขายให้แก่นักลงทุนรายย่อย เป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน แบ่งเป็น 2 ชุด คือ หุ้นกู้อายุ 3 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 3.25% ต่อปี และหุ้นกู้อายุ 5 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 4% ต่อปี รวมมูลค่า 30,000 ล้านบาท จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน เปิดให้จองซื้อระหว่างวันที่ 25-28 พฤษภาคม 2552 โดยบริษัท ทริสเครดิต เรทติ้ง จำกัดได้จัดอันดับความน่าเชื่อถือไว้ที่ระดับ AAA
ส่วนหุ้นกู้ที่เสนอขายนักลงทุนสถาบัน แบ่งเป็นหุ้นกู้ อายุ 4 ปี มูลค่า 5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีแรกที่ 3% ต่อปี และอีก 2 ปีที่เหลือให้เลือกเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ หรืออัตราดอกเบี้ยลอยตัว (ฐานดอกเบี้ยฝากประจำ 6 เดือนบวก 1.25%) โดยอัตราดอกเบี้ยจะไม่ต่ำกว่า 3.25% และไม่เกิน 6% และหุ้นกู้อายุ 10 ปี มูลค่า 5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.8% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน
นายชัชวาล เอี่ยมศิริ รองผู้จัดการใหญ่สายการเงินและบัญชี บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากการสำรวจความต้องการ (Book Build) เมื่อวันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมา พบว่า นักลงทุนสถาบันมีความต้องการจองหุ้นกู้สูงถึง 1.6 หมื่นล้านบาท ดังนั้นจึงมั่นใจว่าการออกหุ้นกู้ครั้งนี้จะได้รับการต้อนรับจากนักลงทุนรายย่อยด้วยดี โดยเงินจากการออกหุ้นกู้นี้จะไปชำระตั๋วสัญญาใช้เงิน (บี/อี) จำนวน 2 หมื่นล้านบาทและขยายการลงทุนเพิ่มเติม
ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายที่จะออกหุ้นกู้ทุกปีในช่วงเดือน พ.ค. เพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้ที่ครบกำหนด และส่วนหนึ่งจะนำเงินไปลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียม แต่ในปีหน้ายังไม่มีหุ้นกู้ที่ครบกำหนดชำระ ดังนั้นวงเงินเสนอขายหุ้นกู้ในปี 2553 คงต้องรอการสรุปทบทวนแผนการลงทุนในสิ้นปีก่อน ซึ่งแผนการลงทุนระยะยาวของบริษัท 5 ปี (2552-2556) จะใช้เงินลงทุนรวมและการดำเนินการไว้ประมาณ 485,000 ล้านบาท ตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติการออกหุ้นกู้ของบริษัทไว้ 8.7 หมื่นล้านบาท โดยบริษัทได้ออกหุ้นกู้ไปแล้ว 4 หมื่นล้านบาท คงเหลือวงเงินการออกหุ้นกู้อีก 4.7 หมื่นล้าน
นอกจากนี้ บริษัทมีแผนจะเดินทางไปโรดโชว์ที่ประเทศญี่ปุ่นและซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ในต้นเดือนมิ.ย.นี้ โดยทางโนมูระต้องการให้บริษัทโรดโชว์ที่ประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 1-2 มิ.ย.และ ในวันที่ 3-4 มิ.ย. บริษัทจะร่วมเดินทางกับ เมอริลลินช์ เพื่อไปโรดโชว์ที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา
แบงก์เชื่อนักลงทุนแห่จอง
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เชื่อว่าหุ้นกู้ของปตท.สผ.ที่ออกจำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไปในครั้งนี้ เชื่อว่าจะได้รับการตอบรับที่ดี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้ในครั้งนี้สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งเป็นทางเลือกของผู้ฝากเงินที่ต้องการลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาว
"เชื่อว่าในช่วงเวลาหลังจากนี้จะมีบริษัทขนาดใหญ่ ทำการออกหุ้นกู้ตามมาอีก แต่อาจจะไม่ใช่วงเงินที่ใหญ่เหมือนกับ ปตท.สผ. โดยหุ้นกู้ที่ออกมาก็ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ลงทุน"
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กล่าวว่า การจัดจำหน่ายหุ้นกู้ในครั้งนี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ขายให้กับนักลงทุนสถาบันจำนวน 10,000 ล้านบาทซึ่งมีธนาคาร 5 แห่งเป็นผู้จัดจำหน่ายและอีกส่วนที่ขายให้กับนักลงทุนรายย่อยจำนวน 30,000 ล้านบาทนั้นธนาคารที่ร่วมลงนามทั้ง 14 แห่งจะเป็นร่วมกันจัดจำหน่าย ทั้งนี้ ในส่วนของธนาคารเองยังไม่มีแผนที่จะทำการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์แต่จะมีการออกตั๋วแลกเงิน(บีอี)มาจำหน่ายให้กับผู้สนใจอย่างต่อเนื่อง
"การออกหุ้นกู้ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อทุกฝ่าย ผู้ที่ออกก็จะมีสภาพคล่องเศรษฐกิจก็จะมั่นคง และยังเป็นทางเลือกให้กับผู้ออมอีกด้วย"
มั่นใจยอดขายปี 52 เข้าเป้าหมาย
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP (ปตท.สผ.) กล่าวว่า จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงนี้ และความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นจากต้นปีนี้ เป็นสัญญาณที่ดี ทำให้บริษัทฯมั่นใจการขายปิโตรเลียมในปีนี้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2.40 แสนบาร์เรล/วัน แม้ไตรมาส 1/2552 ปริมาณการขายจะต่ำกว่าเป้าหมายเฉลี่ยทั้งปีที่ 2.17 แสนบาร์เรล/วัน จากความต้องการใช้ก๊าซฯในประเทศหดตัวลง โดยปริมาณการขายปิโตรเลียมในไตรมาส 2-4 จะเพิ่มขึ้นชดเชยไตรมาสแรกได้
ทั้งนี้ บริษัทได้กำหนดเป้าหมายการขายปิโตรเลียมในอีก 5 ปีข้างหน้า (2552-2556 ) ว่าจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 6.5% ทำให้อัตราการขายปิโตรเลียมขยับมาอยู่ที่ 3.01 แสนบาร์เรล/วัน ซึ่งการเพิ่มขึ้นนี้มาจากการเริ่มการผลิตโครงการใหม่ๆ ได้แก่ โครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (บี17) จะเริ่มผลิตก๊าซฯในอัตรา 270 ล้านลบ.ฟุต/วัน และโครงการพีทีทีอีพี ออสเตรเลีย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของออสเตรเลียจะเริ่มผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งมอนทาร่า ในอัตรา 3.5 หมื่นบาร์เรล/วัน
ในปี 2554 โครงการเวียดนาม 16-1 จะเริ่มผลิตน้ำมันดิบในอัตรา 4 หมื่นบาร์เรล/วัน และในปี 2555 โครงการอัลจีเรียมีเป้าหมายผลิตน้ำมันดิบในอัตรา 2 หมื่นบาร์เรล/วัน และโครงการบงกชใต้ จะผลิตก๊าซฯได้ 300 ล้านลบ.ฟุต/วัน สำหรับโครงการM9 ในพม่า จะเริ่มผลิตก๊าซฯได้ในอัตรา 300 ล้านลบ.ฟุต/วันในปี 2556
นายอนนต์ กล่าวว่า จากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวทำให้ราคาน้ำมันปรับลดลง ทำให้บริษัทฯมีโอกาสที่จะเข้าควบรวมกิจการ (M&A)มากขึ้น ซึ่งขณะนี้ได้มองไว้หลายแห่ง แต่เพื่อให้สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ภายใต้บุคลากรและเงินทุนที่มีอยู่ โดยจะมุ่งเน้นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ใน 13 ประเทศที่ได้มีการลงทุนไปอยู่แล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยได้มีการจัดลำดับความสำคัญในการลงทุนไว้ที่อันดับแรก คือ ไทย รองลงมา คือพม่า ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น
"ช่วงนี้หากบริษัทฯไม่โฟกัสการลงทุนใน 13 ประเทศหลัก ก็อาจหลวมตัวไปลงทุนอื่นๆ ซึ่งทำให้อัตราการเติบโตไม่ได้ตามเป้าหมาย โดยตั้งเป้าในปี 2563 จะมีปริมาณการผลิตและขายปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 9 แสนบาร์เรล/วัน"
ปัจจุบัน บริษัทมีเงินสดในมือ 5 หมื่นล้านบาท (ก่อนหักเงินปันผลและภาษี) และพยายามลดต้นทุน โดยมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของบริษัทใกล้เคียงบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอื่น ที่ระดับ 3-4 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล แต่ก็คาดว่าจะทำได้ดีขึ้น หากพบแหล่งน้ำมันมากกว่านี้ รวมทั้งจะรักษาระดับความสำเร็จในการสำรวจพบปิโตรเลียมที่อัตรา 70% ซึ่งสูงกว่าบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยบริษัทไม่มีแผนทำประกันความเสี่ยงราคาน้ำมัน (เฺฮดจิ้ง) เพราะเห็นว่าราคาน้ำมันในช่วงนี้ผันผวนสูง ซึ่งราคาขายก๊าซฯเฉลี่ยปีนี้ใกล้เคียงปีที่แล้ว 5 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู แม้ว่าราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปีนี้จะอ่อนตัวลงมาอยู่ที่ 50-60 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลจากปีก่อนเฉลี่ย 90 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลทำให้อัตรากำไรขั้นต้นยังดีอยู่