ASTVผู้จัดการรายวัน– ชุมชนรอบสนามบินสุวรรณภูมิยังตกอยู่ในสภาพย่ำแย่ เผยผลกระทบจากมลพิษทางเสียง ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพรุมเร้า พบผู้ป่วย 4 โรคร้าย ความดัน หัวใจ มะเร็ง ภูมิแพ้ มีอัตราเพิ่มสูงขึ้น เรียกร้องรัฐบาล–ทอท.เร่งแก้และเข้ามาดูแลต่อเนื่อง
วานนี้ (12 พ.ค.) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม จัดเสวนาเรื่อง “เปิดรายงานใหม่มลพิษทางเสียงสนามบินสุวรรณภูมิ พัฒนาการแห่งปัญหาที่ยังไม่เจอทางออก” โดยมีนายธนาพันธ์ สุกสอาด ผอ.ส่วนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านเสียงและความสั่นสะเทือน ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และนายธนทศ ปรีเปรม ตัวแทนชาวบ้านชุมชนเคหะนคร 2 และหลังสวน เขตลาดลาดกระบัง นำเสวนา
นายธนทศ ชาวชุมชนเคหะนคร 2 ซึ่งได้รับผลกระทบจากมลพิษทางเสียงจากการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิกล่าวถึงการแก้ไขปัญหาที่ดำเนินมาร่วม 3 ปีว่า จนถึงขณะนี้มีความคืบหน้าช้ามาก การจ่ายชดเชยเพื่อปรับปรุงสภาพอาคารบ้านเรือนเพื่อลดผลกระทบทำได้ไม่กี่หลังคาเรือน จากตัวเลขที่ ทอท. ต้องชดเชยกว่า 15,000 หลัง และการปรับปรุงอาคารจนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่มีบ้านตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเด่นชัดว่าเมื่อปรับปรุงแล้วจะสามารถแก้ไขปัญหามลพิษทางเสียงได้จริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เวลานี้ชาวชุมชนส่วนใหญ่เริ่มยอมรับสภาพด้วยการรับค่าชดเชย
นอกจากนี้ ชาวชุมชนรอบสนามบินสุวรรณภูมิยังมีปัญหาด้านสุขภาพตามมา ทั้งโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง มะเร็ง และภูมิแพ้ เกิดความเครียด เนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอ ที่ผ่านมาเสียงดังของเครื่องบินทำให้มีผู้สูงอายุหัวใจวายเฉียบพลันเสียชีวิตแล้ว เด็กๆ มีปัญหาหูดับ ภูมิแพ้ และที่น่าวิตกคือ มะเร็งที่เกิดจากสารพิษในอากาศ ทั้งไอน้ำมันจากเครื่องบิน กลิ่นยางไหม้ ฯลฯ
“ชาวชุมชนอยากให้หน่วยงานต่างๆ เข้ามาดูแลรับผิดชอบในปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการติดตามตรวจสุขภาพและการรักษา การส่งต่อผู้ป่วย ซึ่งมีผลต่ออนาคตของลูกหลาน” นายธนทศกล่าว
ด้านนายธนาพันธ์ กล่าวว่า การทำเส้นเสียงเพื่อประเมินผลกระทบมลพิษทางเสียงต่อชุมชนต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง และต้องทำใหม่ทุกสองปี แต่ปัญหาก็คือ การติดตั้งสถานีตรวจวัดเสียง 13 สถานีที่กำหนดว่าจะต้องทำให้แล้วเสร็จตั้งแต่เปิดใช้สนามบินจนขณะนี้ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ ขณะเดียวกัน กลับมีโครงการขยายรันเวย์ที่ 3 และ 4 รวมทั้งการอนุญาตให้ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่ในพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากเสียงเป็นการเพิ่มปัญหาเมื่อรัฐฯจะเวนคืนหรือจ่ายค่าชดเชยเพราะต้องใช้งบลงทุนสูงขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งคมนาคม ทอท. ผังเมือง กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ควรต้องมาวางผังวางแผนร่วมกันเพื่อกำหนดโซนนิ่ง การใช้ประโยชน์จากที่ดิน
วานนี้ (12 พ.ค.) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม จัดเสวนาเรื่อง “เปิดรายงานใหม่มลพิษทางเสียงสนามบินสุวรรณภูมิ พัฒนาการแห่งปัญหาที่ยังไม่เจอทางออก” โดยมีนายธนาพันธ์ สุกสอาด ผอ.ส่วนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านเสียงและความสั่นสะเทือน ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และนายธนทศ ปรีเปรม ตัวแทนชาวบ้านชุมชนเคหะนคร 2 และหลังสวน เขตลาดลาดกระบัง นำเสวนา
นายธนทศ ชาวชุมชนเคหะนคร 2 ซึ่งได้รับผลกระทบจากมลพิษทางเสียงจากการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิกล่าวถึงการแก้ไขปัญหาที่ดำเนินมาร่วม 3 ปีว่า จนถึงขณะนี้มีความคืบหน้าช้ามาก การจ่ายชดเชยเพื่อปรับปรุงสภาพอาคารบ้านเรือนเพื่อลดผลกระทบทำได้ไม่กี่หลังคาเรือน จากตัวเลขที่ ทอท. ต้องชดเชยกว่า 15,000 หลัง และการปรับปรุงอาคารจนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่มีบ้านตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเด่นชัดว่าเมื่อปรับปรุงแล้วจะสามารถแก้ไขปัญหามลพิษทางเสียงได้จริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เวลานี้ชาวชุมชนส่วนใหญ่เริ่มยอมรับสภาพด้วยการรับค่าชดเชย
นอกจากนี้ ชาวชุมชนรอบสนามบินสุวรรณภูมิยังมีปัญหาด้านสุขภาพตามมา ทั้งโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง มะเร็ง และภูมิแพ้ เกิดความเครียด เนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอ ที่ผ่านมาเสียงดังของเครื่องบินทำให้มีผู้สูงอายุหัวใจวายเฉียบพลันเสียชีวิตแล้ว เด็กๆ มีปัญหาหูดับ ภูมิแพ้ และที่น่าวิตกคือ มะเร็งที่เกิดจากสารพิษในอากาศ ทั้งไอน้ำมันจากเครื่องบิน กลิ่นยางไหม้ ฯลฯ
“ชาวชุมชนอยากให้หน่วยงานต่างๆ เข้ามาดูแลรับผิดชอบในปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการติดตามตรวจสุขภาพและการรักษา การส่งต่อผู้ป่วย ซึ่งมีผลต่ออนาคตของลูกหลาน” นายธนทศกล่าว
ด้านนายธนาพันธ์ กล่าวว่า การทำเส้นเสียงเพื่อประเมินผลกระทบมลพิษทางเสียงต่อชุมชนต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง และต้องทำใหม่ทุกสองปี แต่ปัญหาก็คือ การติดตั้งสถานีตรวจวัดเสียง 13 สถานีที่กำหนดว่าจะต้องทำให้แล้วเสร็จตั้งแต่เปิดใช้สนามบินจนขณะนี้ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ ขณะเดียวกัน กลับมีโครงการขยายรันเวย์ที่ 3 และ 4 รวมทั้งการอนุญาตให้ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่ในพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากเสียงเป็นการเพิ่มปัญหาเมื่อรัฐฯจะเวนคืนหรือจ่ายค่าชดเชยเพราะต้องใช้งบลงทุนสูงขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งคมนาคม ทอท. ผังเมือง กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ควรต้องมาวางผังวางแผนร่วมกันเพื่อกำหนดโซนนิ่ง การใช้ประโยชน์จากที่ดิน