การเปลี่ยนแปลงบอร์ดบริหารชุดใหม่ของบริษัทไออาร์พีซี ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจยิ่ง แม้ว่าประเด็นสำคัญจะเกี่ยวข้องกับผลประกอบการที่ขาดทุนสะสมบักโกรกกว่า 1.8 หมื่นล้านบาท จะเป็นชนวนอย่างหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ แต่ขณะเดียวกัน สิ่งที่ต้องพิจารณาประกอบกันไปด้วยก็คือที่มาที่ไปของการก่อกำเนิดของบริษัทดังกล่าว
เพราะมันช่างซับซ้อนซ่อนเงื่อน และเต็มไปด้วยกิเลส และผลประโยชน์อันมหาศาลอยู่เบื้องหลัง
อย่างไรก็ดี เพื่อให้เห็นภาพดังกล่าวก็ต้องย้อนดูแบ็กกราวด์ก่อนที่จะมาถึงวันนี้ให้เห็นพอคร่าวๆ โดยเริ่มตั้งแต่ ในยุคที่ยังเป็นบริษัทอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีคัลไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ที่รู้จักกันในนาม บริษัททีพีไอ ก่อตั้งโดย ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เมื่อ 3 สิงหาคม 2521 ประกอบธุรกิจการกลั่นน้ำมัน และปิโตรเคมี มีกำลังการกลั่นถึง 215,000 บาร์เรลต่อวัน
ต่อมาประชัย ก็มีการขยายกิจการอุตสาหกรรมต่อเนื่องอย่างครบวงจร มีทั้งโรงงานปูนซีเมนต์ โรงไฟฟ้า ท่าเรือน้ำลึกฯลฯ เป็นเครือข่ายธุรกิจที่มีเงินลงทุนในยุคคนั้นนับหลายแสนล้านบาท โดยกู้เงินจากสถาบันการเงินทั้งใน และนอกประเทศ
ทุกอย่างกำลังดำเนินกิจการไปตามปกติ
จนกระทั่งเกิดลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อ 2 กรกฎาคม 2540 ทำให้ทีพีไอ ต้องวิกฤตมีหนี้สินล้นพ้นตัว ถือเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่สุดในยุคนั้น จนนำไปสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งในตอนแรกศาลล้มละลายกลางได้แต่งตั้งบริษัทแอฟแฟ็คทีฟแพลนเนอร์ หรือ อีพี เข้ามาบริหารแผนฟื้นฟูกิจการ แต่ก็ถูกร้องเรียนว่าบริหารไม่โปร่งใส
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อ 11 กรกฎาคม 2546 โดยศาลได้ประกาศแต่งตั้งกระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผนฯ และคนที่เข้ามาเป็นประธานกรรมการฟื้นฟูฯ ก็คือ “บิ๊กหมง” พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ส่วนกรรมการคนอื่นๆ ที่น่าสนใจและชวนติดตามก็คือ ทนง พิทยะ และ อารีย์ วงศ์อารยะ รวมอยู่ด้วย
พร้อมทั้งผลักดันให้รัฐวิสาหกิจในเครือของกระทรวงการคลัง เช่น ปตท. ธนาคารออมสิน กบข. กองทุนวายุภักดิ์ 1 เข้ามาซื้อหุ้นแห่งละ 10 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้น ปตท.ที่ถือหุ้นใหญ่ถึง 31.5 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อออกจากแผนฟื้นฟูฯ ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่จากเดิม บริษัททีพีไอ มาเป็น ไออาร์พีซี ในปัจจุบัน
น่าจับตาก็คือ คนที่เป็นประธานกรรมการบริหาร ก็ยังเป็น พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ คนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง!!
สิ่งที่น่าพิจารณาก็คือ เบื้องหลังที่ซ่อนอยู่ข้างหลังในยุคนั้นก็คือ อำนาจการเมือง ซึ่งก็ย่อมหนีไม่พ้น “ระบอบทักษิณ” เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยใช้กลไกอำนาจรัฐเป็นเครื่องมือ
เพราะในอดีตช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคงไม่มีธุรกิจใดที่ทำกำไรได้มหาศาลเท่ากับพลังงานได้อีกแล้ว ในยุคที่ราคาน้ำมันพุ่งพรวดไปถึงร้อยกว่าเหรียญต่อบาร์เรล สูงสุดถึง 150 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
และนี่อาจนำไปสู่การตั้งข้อสังเกตว่า เป็นเหตุจูงใจสำคัญที่นำไปสู่การ“ฮุบกิจการ” อย่างเบ็ดเสร็จ เพราะถ้าติดตามตั้งแต่ต้น จะเห็นว่ามีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
หากแยกพิจารณาเฉพาะ พล.อ.มงคล ถือว่าน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือว่าเป็นหมากสำคัญอีกตัวหนึ่งที่เข้ามาเชื่อมโยงกับระบอบทักษิณได้อย่างลงตัวและกลมกลืนที่สุด เริ่มจากถูกดึงเข้ามาเป็นประธานกรรมการฟื้นฟู ที่แต่งตั้งโดยกระทรวงการคลังในยุคของ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และนั่งเก้าอี้จนรากแทบงอก ไม่ยอมลุกไปไหน
แม้กระทั่งมีเสียงวิจารณ์ในเรื่องธรรมาภิบาล เพราะเป็นประธานกรรมการแผนฟื้นฟูกิจการ และต่อมาเมื่อออกจากแผนฟื้นฟูจนกลายมาเป็นบริษัทไออาร์พีซี ตัวเองก็ทำหูทวนลม ยังนั่งเก้าอี้เป็นประธานบริหารอยู่อย่างเหนียวหนึบ กินเงินเดือนๆ ละนับล้านบาท อย่างสบายใจเฉิบ
แต่จะด้วยการบริหารที่ไม่เอาอ่าว หรือเป็นเพราะปัจจัยภายนอกในเรื่องราคาน้ำมัน ที่ดิ่งลงอย่างไม่เป็นใจ หรือทั้งสองอย่างผสมปนเปกัน ทำให้ผลประกอบการของไออาร์พีซี ต้องเจ๊งสะสมรวมกันถึง 1.8 หมื่นล้านบาท ฉุดให้ผลกำไรของปตท.ลดลงอย่างฮวบฮาบ จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญเปิดช่องให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาให้ดีก็จะพบว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในลักษณะ “สมบัติผลัดกันชม” ทำนองเมื่ออำนาจเปลี่ยน คนก็ต้องเปลี่ยนตาม เป็นของคู่กัน และกลุ่มที่ถูกจับตามองว่ากำลังเข้ามาใหม่ก็คือกลุ่มของคู่เขย สุวัจน์ ลิปตพัลลภ และนพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล ซึ่งคุมกระทรวงพลังงานอยู่ในปัจจุบัน ต้องการผลักดันคนของตัวเองเข้าไปเสียบแทน หรือไม่ ซึ่งก็มีการเปิดเผยชื่อให้เห็นหน้าเห็นตากันไปแล้ว
แต่นาทีนี้ กรณีทีพีไอ ต่อเนื่องมาจนถึงไออาร์พีซี ภายใต้การคุมเกมของ พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ นายทหารที่มักถูกมองว่าเป็น “ทหารพาณิชย์” เป็นกรณีที่น่าศึกษาอีกบทหนึ่ง ซึ่งถือว่าล้มเหลว และน่าผิดหวัง !!
เพราะมันช่างซับซ้อนซ่อนเงื่อน และเต็มไปด้วยกิเลส และผลประโยชน์อันมหาศาลอยู่เบื้องหลัง
อย่างไรก็ดี เพื่อให้เห็นภาพดังกล่าวก็ต้องย้อนดูแบ็กกราวด์ก่อนที่จะมาถึงวันนี้ให้เห็นพอคร่าวๆ โดยเริ่มตั้งแต่ ในยุคที่ยังเป็นบริษัทอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีคัลไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ที่รู้จักกันในนาม บริษัททีพีไอ ก่อตั้งโดย ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เมื่อ 3 สิงหาคม 2521 ประกอบธุรกิจการกลั่นน้ำมัน และปิโตรเคมี มีกำลังการกลั่นถึง 215,000 บาร์เรลต่อวัน
ต่อมาประชัย ก็มีการขยายกิจการอุตสาหกรรมต่อเนื่องอย่างครบวงจร มีทั้งโรงงานปูนซีเมนต์ โรงไฟฟ้า ท่าเรือน้ำลึกฯลฯ เป็นเครือข่ายธุรกิจที่มีเงินลงทุนในยุคคนั้นนับหลายแสนล้านบาท โดยกู้เงินจากสถาบันการเงินทั้งใน และนอกประเทศ
ทุกอย่างกำลังดำเนินกิจการไปตามปกติ
จนกระทั่งเกิดลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อ 2 กรกฎาคม 2540 ทำให้ทีพีไอ ต้องวิกฤตมีหนี้สินล้นพ้นตัว ถือเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่สุดในยุคนั้น จนนำไปสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งในตอนแรกศาลล้มละลายกลางได้แต่งตั้งบริษัทแอฟแฟ็คทีฟแพลนเนอร์ หรือ อีพี เข้ามาบริหารแผนฟื้นฟูกิจการ แต่ก็ถูกร้องเรียนว่าบริหารไม่โปร่งใส
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อ 11 กรกฎาคม 2546 โดยศาลได้ประกาศแต่งตั้งกระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผนฯ และคนที่เข้ามาเป็นประธานกรรมการฟื้นฟูฯ ก็คือ “บิ๊กหมง” พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ส่วนกรรมการคนอื่นๆ ที่น่าสนใจและชวนติดตามก็คือ ทนง พิทยะ และ อารีย์ วงศ์อารยะ รวมอยู่ด้วย
พร้อมทั้งผลักดันให้รัฐวิสาหกิจในเครือของกระทรวงการคลัง เช่น ปตท. ธนาคารออมสิน กบข. กองทุนวายุภักดิ์ 1 เข้ามาซื้อหุ้นแห่งละ 10 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้น ปตท.ที่ถือหุ้นใหญ่ถึง 31.5 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อออกจากแผนฟื้นฟูฯ ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่จากเดิม บริษัททีพีไอ มาเป็น ไออาร์พีซี ในปัจจุบัน
น่าจับตาก็คือ คนที่เป็นประธานกรรมการบริหาร ก็ยังเป็น พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ คนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง!!
สิ่งที่น่าพิจารณาก็คือ เบื้องหลังที่ซ่อนอยู่ข้างหลังในยุคนั้นก็คือ อำนาจการเมือง ซึ่งก็ย่อมหนีไม่พ้น “ระบอบทักษิณ” เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยใช้กลไกอำนาจรัฐเป็นเครื่องมือ
เพราะในอดีตช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคงไม่มีธุรกิจใดที่ทำกำไรได้มหาศาลเท่ากับพลังงานได้อีกแล้ว ในยุคที่ราคาน้ำมันพุ่งพรวดไปถึงร้อยกว่าเหรียญต่อบาร์เรล สูงสุดถึง 150 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
และนี่อาจนำไปสู่การตั้งข้อสังเกตว่า เป็นเหตุจูงใจสำคัญที่นำไปสู่การ“ฮุบกิจการ” อย่างเบ็ดเสร็จ เพราะถ้าติดตามตั้งแต่ต้น จะเห็นว่ามีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
หากแยกพิจารณาเฉพาะ พล.อ.มงคล ถือว่าน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือว่าเป็นหมากสำคัญอีกตัวหนึ่งที่เข้ามาเชื่อมโยงกับระบอบทักษิณได้อย่างลงตัวและกลมกลืนที่สุด เริ่มจากถูกดึงเข้ามาเป็นประธานกรรมการฟื้นฟู ที่แต่งตั้งโดยกระทรวงการคลังในยุคของ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และนั่งเก้าอี้จนรากแทบงอก ไม่ยอมลุกไปไหน
แม้กระทั่งมีเสียงวิจารณ์ในเรื่องธรรมาภิบาล เพราะเป็นประธานกรรมการแผนฟื้นฟูกิจการ และต่อมาเมื่อออกจากแผนฟื้นฟูจนกลายมาเป็นบริษัทไออาร์พีซี ตัวเองก็ทำหูทวนลม ยังนั่งเก้าอี้เป็นประธานบริหารอยู่อย่างเหนียวหนึบ กินเงินเดือนๆ ละนับล้านบาท อย่างสบายใจเฉิบ
แต่จะด้วยการบริหารที่ไม่เอาอ่าว หรือเป็นเพราะปัจจัยภายนอกในเรื่องราคาน้ำมัน ที่ดิ่งลงอย่างไม่เป็นใจ หรือทั้งสองอย่างผสมปนเปกัน ทำให้ผลประกอบการของไออาร์พีซี ต้องเจ๊งสะสมรวมกันถึง 1.8 หมื่นล้านบาท ฉุดให้ผลกำไรของปตท.ลดลงอย่างฮวบฮาบ จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญเปิดช่องให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาให้ดีก็จะพบว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในลักษณะ “สมบัติผลัดกันชม” ทำนองเมื่ออำนาจเปลี่ยน คนก็ต้องเปลี่ยนตาม เป็นของคู่กัน และกลุ่มที่ถูกจับตามองว่ากำลังเข้ามาใหม่ก็คือกลุ่มของคู่เขย สุวัจน์ ลิปตพัลลภ และนพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล ซึ่งคุมกระทรวงพลังงานอยู่ในปัจจุบัน ต้องการผลักดันคนของตัวเองเข้าไปเสียบแทน หรือไม่ ซึ่งก็มีการเปิดเผยชื่อให้เห็นหน้าเห็นตากันไปแล้ว
แต่นาทีนี้ กรณีทีพีไอ ต่อเนื่องมาจนถึงไออาร์พีซี ภายใต้การคุมเกมของ พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ นายทหารที่มักถูกมองว่าเป็น “ทหารพาณิชย์” เป็นกรณีที่น่าศึกษาอีกบทหนึ่ง ซึ่งถือว่าล้มเหลว และน่าผิดหวัง !!