การฟังเพลงสดใสรื่นเริงหัวใจ นอกจากจะทำให้ตัวคุณเองอารมณ์ดีแล้ว ยังทำให้เข้าใจไปเองว่าคนรอบข้างเบิกบานเหมือนคุณ และในทางกลับกัน การฟังเพลงหม่นเศร้า ทำให้ใจเราขุ่นมัวและคิดว่าคนอื่นๆ หมองเหมือนเรา
นักวิจัยพบว่าการฟังเพลงประเภทต่างๆ ทำให้วิธีที่เรามองคนอื่นเปลี่ยนไป เป็นต้นว่าการฟังเพลงของเกิร์ลส์ อะลาวด์ หรือบีโธเฟน สามารถโน้มน้าวให้คุณเชื่อว่าคนรอบข้างอารมณ์ดีเหมือนคุณ
แต่การฟังเพลงแจ๊สอ้อยสร้อย หรือเพลงของมอร์ริสเซย์ หรือจอย ดิวิชัน อาจทำให้คุณทึกทักว่าคนอื่นจิตตกเหมือนตัวเอง
งานศึกษาจากโกลด์สมิธส์ คอลเลจ มหาวิทยาลัยลอนดอนระบุว่า การฟังเพลงแม้เพียง 15 วินาทีมีอิทธิพลต่อมุมมองที่เรามีต่อคนแปลกหน้า เพื่อนรวมงานหรือเพื่อน
ไม่เพียงเพลงเท่านั้นที่ส่งผลต่อทัศนคติ นักวิจัยยังพบปรากฏการณ์เดียวกันจาก ‘เสียงแห่งความสุข’ เช่น เสียงคลื่นกระทบฝั่ง ไฟปะทุ และเสียงนกร้อง และจาก ‘เสียงแห่งความเศร้า’ เช่น เสียงปืน ลมพัดหวีดหวิว และเครื่องจักรในโรงงาน
การค้นพบนี้บ่งชี้ว่า การฟังเพลงจังหวะสนุกๆ สามารถทำให้คุณอดทนรับมือภาระกิจประจำวันได้ดียิ่งขึ้น และสร้างภาพลวงตาว่าคนรอบข้างกำลังสุขสันต์รื่นเริง
ดร.จอยดีป ภัตตาชาร์ยา ผู้นำการวิจัย ได้ทดสอบผลกระทบจากเสียงและเพลง 120 แบบที่มีต่ออารมณ์และความคิด
ทีมนักวิจัยเปิดเพลงและเสียงให้อาสาสมัคร 46 คนฟัง 15 วินาที ก่อนนำรูปใบหน้าที่คัดเลือกมาให้อาสาสมัครดูและตัดสินว่าใบหน้าเหล่านั้นสุข เศร้า หรือไม่มีความรู้สึก
สิ่งที่พบคือ การฟังเพลงเศร้าทำให้อาสาสมัครมีแนวโน้มตัดสินว่าใบหน้าในภาพเศร้า ขณะที่การฟังเพลงคึกคักทำให้อาสาสมัครมีแนวโน้มมองว่าใบหน้าในภาพมีความสุข
เพลงแห่งความสุขที่ใช้ในการทดลองนี้มีอาทิ เท็ก ไฟฟ์ ของเดฟ บรูเบ็ก, ทูบูลาร์ เบลส์ ของไมค์ โอลฟิลด์, เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องโลคัล ฮีโร่ของมาร์ก นอฟเลอร์ และดนตรีคลาสสิกของบาค, แฮนเดล และบีโธเฟน ขณะที่เพลงเศร้ารวมถึงเพลงแจ๊สจากชาร์ลี ปาร์กเกอร์, เพลงคลาสสิกยุคใหม่ และเพลงร็อคจากดีป เพอร์เพิล
ทั้งนี้ อุปกรณ์เซนเซอร์ที่ติดอยู่ที่ศรีษะอาสาสมัคร บ่งบอกว่าเพลงทำให้เกิดการตอบสนองในส่วนต่างๆ ของสมองที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นการมองเห็น ดร.ภัตตาชาร์ยาเชื่อว่าผลลัพธ์นี้อาจชัดเจนขึ้นหากเราเป็นคนเลือกเพลงที่รู้ว่าเป็นเพลงชวนเศร้าหรือเพลงชวนสุขเอง
นักวิจัยพบว่าการฟังเพลงประเภทต่างๆ ทำให้วิธีที่เรามองคนอื่นเปลี่ยนไป เป็นต้นว่าการฟังเพลงของเกิร์ลส์ อะลาวด์ หรือบีโธเฟน สามารถโน้มน้าวให้คุณเชื่อว่าคนรอบข้างอารมณ์ดีเหมือนคุณ
แต่การฟังเพลงแจ๊สอ้อยสร้อย หรือเพลงของมอร์ริสเซย์ หรือจอย ดิวิชัน อาจทำให้คุณทึกทักว่าคนอื่นจิตตกเหมือนตัวเอง
งานศึกษาจากโกลด์สมิธส์ คอลเลจ มหาวิทยาลัยลอนดอนระบุว่า การฟังเพลงแม้เพียง 15 วินาทีมีอิทธิพลต่อมุมมองที่เรามีต่อคนแปลกหน้า เพื่อนรวมงานหรือเพื่อน
ไม่เพียงเพลงเท่านั้นที่ส่งผลต่อทัศนคติ นักวิจัยยังพบปรากฏการณ์เดียวกันจาก ‘เสียงแห่งความสุข’ เช่น เสียงคลื่นกระทบฝั่ง ไฟปะทุ และเสียงนกร้อง และจาก ‘เสียงแห่งความเศร้า’ เช่น เสียงปืน ลมพัดหวีดหวิว และเครื่องจักรในโรงงาน
การค้นพบนี้บ่งชี้ว่า การฟังเพลงจังหวะสนุกๆ สามารถทำให้คุณอดทนรับมือภาระกิจประจำวันได้ดียิ่งขึ้น และสร้างภาพลวงตาว่าคนรอบข้างกำลังสุขสันต์รื่นเริง
ดร.จอยดีป ภัตตาชาร์ยา ผู้นำการวิจัย ได้ทดสอบผลกระทบจากเสียงและเพลง 120 แบบที่มีต่ออารมณ์และความคิด
ทีมนักวิจัยเปิดเพลงและเสียงให้อาสาสมัคร 46 คนฟัง 15 วินาที ก่อนนำรูปใบหน้าที่คัดเลือกมาให้อาสาสมัครดูและตัดสินว่าใบหน้าเหล่านั้นสุข เศร้า หรือไม่มีความรู้สึก
สิ่งที่พบคือ การฟังเพลงเศร้าทำให้อาสาสมัครมีแนวโน้มตัดสินว่าใบหน้าในภาพเศร้า ขณะที่การฟังเพลงคึกคักทำให้อาสาสมัครมีแนวโน้มมองว่าใบหน้าในภาพมีความสุข
เพลงแห่งความสุขที่ใช้ในการทดลองนี้มีอาทิ เท็ก ไฟฟ์ ของเดฟ บรูเบ็ก, ทูบูลาร์ เบลส์ ของไมค์ โอลฟิลด์, เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องโลคัล ฮีโร่ของมาร์ก นอฟเลอร์ และดนตรีคลาสสิกของบาค, แฮนเดล และบีโธเฟน ขณะที่เพลงเศร้ารวมถึงเพลงแจ๊สจากชาร์ลี ปาร์กเกอร์, เพลงคลาสสิกยุคใหม่ และเพลงร็อคจากดีป เพอร์เพิล
ทั้งนี้ อุปกรณ์เซนเซอร์ที่ติดอยู่ที่ศรีษะอาสาสมัคร บ่งบอกว่าเพลงทำให้เกิดการตอบสนองในส่วนต่างๆ ของสมองที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นการมองเห็น ดร.ภัตตาชาร์ยาเชื่อว่าผลลัพธ์นี้อาจชัดเจนขึ้นหากเราเป็นคนเลือกเพลงที่รู้ว่าเป็นเพลงชวนเศร้าหรือเพลงชวนสุขเอง