มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ผมฟังแล้วไม่ค่อยสบายใจ ไม่พูดไม่เขียน ณ ที่นี้เห็นจะไม่ได้ เพราะเดี๋ยวจะก่อให้เกิด “มายาคติ” เรื่องใหม่ขึ้นมาในสังคมไทย คือการกล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ในทำนองที่ว่าเราต้องหยุดยั้งการกระทำและคำพูดที่เป็นการจาบจ้วงล่วงละเมิด ในขณะเดียวกันก็ต้องหยุดอ้างอิงหรือหยุดการใช้เป็นข้ออ้างเพื่อประโยชน์ทางการเมืองด้วย
เรื่องหยุด “อ้างอิง” หรือหยุด “ใช้เป็นข้ออ้าง” นี่แหละที่เป็นประเด็นสำคัญ
เพราะแม้แต่นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะก็ยังใช้ประโยคนี้ !
เหมือนจะเกรงกลัวการกล่าวหาโจมตีด้วยข้อหา 2 มาตรฐานหรือดับเบิ้ลสแตนดาร์ด ก็เลยพยายามจะเป็นกลางกันจนตัวลีบ
พูดออกมาแล้วดูเท่ดูเก๋และดูเป็นกลางดี แต่ในทางความเป็นจริง การพูดออกมาเช่นนี้ก็เหมือนกับสื่อให้ประชาชนเห็นว่ามีคนพวกหนึ่งกระทำการจาบจ้วงล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ กระทั่งพยายามโค่นล้ม แต่ก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่มักจะหยิบยกประเด็นจาบจ้วงล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเป้าหมายในการเคลื่อนไหวทางการเมือง
คนกลุ่มหลังนี้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยดูจะตกเป็นเป้า
โดยเฉพาะคุณสนธิ ลิ้มทองกุลผู้ริเริ่มสวมเสื้อสีเหลืองสกรีนคำ “เราจะสู้เพื่อในหลวง” ตั้งแต่เมื่อเดือนกันยายน 2548
รวมทั้งผม ที่อภิปรายในสภานิติบัญญัติไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง, ในวุฒิสภาอีกอย่างน้อย 1 ครั้ง -- โดยเป็นญัตติขอให้วุฒิสภามีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการในการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์, พูดใน ASTV นับครั้งไม่ถ้วน ไม่นับการเขียน ณ พื้นที่นี้มากกว่า 3 ครั้ง
คนผู้มีภาพใกล้ชิดกับราชสำนักบางคนพยายามสื่อว่าการพูดถึงพระเจ้าอยู่หัวนั้นไม่บังควร
ข้อหานี้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ครั้งที่ อ.ส.ม.ท.บอกเลิกรายการเมืองไทยรายสัปดาห์เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2548 แล้ว !
คนผู้มีภาพใกล้ชิดกับราชสำนักคนนั้นยอมรับว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์นั้นมีอยู่จริง มีทั้งที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่อยู่ภายในเงื่อนไข 2 ประการ หนึ่ง เป็นเรื่องภายในระหว่างรัฐบาลกับพระมหากษัตริย์ และสอง โดยธรรมเนียมประเพณี ไม่ว่าของประเทศไทยหรือประเทศอังกฤษ เป็นเรื่องที่ทั้งรัฐบาลและพระมหากษัตริย์จะต้องไม่เปิดเผย ซึ่งหมายความว่าบุคคลอื่นก็ไม่ควรกล่าวอ้าง
คนผู้มีภาพใกล้ชิดกับราชสำนักคนนั้นยังบอกอีกว่าสิ่งที่คุณสนธิ ลิ้มทองกุลพูดในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์นั้นไม่จริง แต่ตัวเธอก็ไม่อยู่ในฐานะซึ่งจะบอกรายละเอียดทั้งหมด เพราะมันผิดธรรมเนียมราชเสวกที่ดี หรือเป็นข้าราชการและคนที่มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยจะพึงกระทำ
ไอ้คำว่า “ผิดธรรมเนียม” และ “คนที่มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยจะพึงกระทำ” นี่แหละครับคือประเด็น !!
ผมเคยบอกแล้วใช่ไหมว่ามีส.ส.พรรคเพื่อไทยคนหนึ่งเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มีเนื้อหาสาระว่า ใครที่รู้ถึงเหตุกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 แล้วออกมาพูดจาเผยแพร่ต่อสาธารณะก่อนโดยยังไม่มีการนำไปแจ้งความ ให้ถือว่ามีความผิดเฉกเช่นผู้กระทำความผิดตามมาตรา 112 ต้องระวางโทษเท่ากัน
จริง ๆ ก่อนหน้าจะมีการเสนอแก้ไขกฎหมายที่ว่านี้ คุณสนธิ ลิ้มทองกุลก็เคยถูกแจ้งความดำเนินคดีมาแล้ว 2 คดี หลุดไปแล้วหนึ่ง ยังเหลืออีกหนึ่ง
ผมเองจากข้อเขียนบทท้าย ๆ ในหนังสือ “ปรากฏการณ์สนธิ : จากเสื้อสีเหลืองถึงผ้าพันคอสีฟ้า” ก็มีคนไปแจ้งความไว้ที่สน.ดุสิต
การอ้างอิงสถาบันฯรวมทั้งใช้สถาบันเป็นเหตุผลในการเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้นไม่เหมาะสมแน่นอน
แต่ต้องตีกรอบคำว่า “อ้างอิง” และ “ใช้เป็นข้ออ้าง” ให้ชัด !
มิฉะนั้นจะกลายเป็นการปิดปากผู้จงรักภักดีและรู้เห็นการกระทำที่เป็นการทำลายสถาบันฯไป !!
คนหูไวตาไวเห็นโจรานุโจรกำลังตระเตรียมอาวุธรวมตัวกันจะเข้าปล้นบ้านแล้วร้องตะโกนบอกคนอื่นให้ร่วมกันปกป้องต่อสู้ แตกต่างกับ “เด็กเลี้ยงแกะ” นะ
ต้องจำแนกแยกแยะอย่าเหมารวมไปหมด !
เราไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับแนวคิดที่เห็นว่าการกล่าวถึงพระเจ้าอยู่หัวเป็นสิ่งมิบังควร
ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการยึดหลักตายตัวว่าการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย เป็นเรื่องภายในกับรัฐบาลเท่านั้น
โดยหลักการแล้ว ระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาของตะวันตกนั้นเกิดจากการใช้กำลังบังคับพระมหากษัตริย์ และมีวิวัฒนาการมายาวนานจนก่อให้เกิดวัฒนธรรมประชาธิปไตยในระดับสำคัญ ต่างกับระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในประเทศไทยที่เกิดจากการยินยอมพร้อมสละพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้แก่ประชาชน แม้คณะราษฎรผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยอมรับในข้อนี้
ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยเพิ่งมีวิวัฒนาการมาเพียงเกือบจะ 77 ปีเท่านั้น กว่าครึ่งหนึ่งตกอยู่ภายใต้ระบบเผด็จการทหาร วัฒนธรรมประชาธิปไตยยังไม่เกิดขึ้นสมบูรณ์ สำนึกประชาธิปไตยของประชาชนยังไม่เกิดขึ้นสมบูรณ์ การเลือกตั้งโดยภาพรวมแล้วไม่อาจกล่าวได้ว่าสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของสังคมไทย ไม่อาจกล่าวได้ว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งสะท้อนความเป็นตัวแทนของประชาชนได้โดยบริสุทธิ์ยุติธรรม
หลักนิติธรรมทางรัฐธรรมนูญของประเทศไทยในส่วนพระมหากษัตริย์ก็แตกต่างกับประเทศอื่น
การกระทำใด ๆ ที่มีแนวโน้มไปในทางพยายามแยกพระมหากษัตริย์ไทยออกจากประชาชนของพระองค์จึงมิบังควร
รวมทั้งการเสนอหลักการในทำนองที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ว่าประชาชนไม่ควรพูดถึงพระมหากษัตริย์ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด
และอีกหลักการหนึ่งที่ว่าการใช้พระราชอำนาจเป็นเรื่องระหว่างพระองค์กับรัฐบาลเท่านั้น
3 ปีที่ผ่านมานี้ หากคนไทยทุกคน - รวมทั้งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย – ยึดมั่นในหลักการที่ว่า “ประชาชนไม่ควรพูดถึงพระมหากษัตริย์”, “การใช้พระราชอำนาจเป็นเรื่องระหว่างพระองค์กับรัฐบาล” และ “การใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เป็นเรื่องภายในระหว่างพระองค์กับรัฐบาล จะเปิดเผยมิได้” ว่าเป็นสัจธรรมที่ถูกต้องที่สุดแล้วละก็...
ผมคงไม่ต้องพูดว่าสถานการณ์บ้านเมืองเราจะเป็นอย่างไร
นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะท่านใช้ถ้อยคำอย่างระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงข้อหาดับเบิ้ลสแตนดาร์ดนั้นเข้าใจได้ครับ ไม่ด่วนว่าอะไรท่านมากไปกว่านี้
แต่อย่า “เกร็ง” เสียจนกลายเป็นพวกลัทธิเป็นกลางลัทธิสมานฉันท์ดาด ๆ จนเสียงานใหญ่ก็แล้วกัน
เรื่องหยุด “อ้างอิง” หรือหยุด “ใช้เป็นข้ออ้าง” นี่แหละที่เป็นประเด็นสำคัญ
เพราะแม้แต่นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะก็ยังใช้ประโยคนี้ !
เหมือนจะเกรงกลัวการกล่าวหาโจมตีด้วยข้อหา 2 มาตรฐานหรือดับเบิ้ลสแตนดาร์ด ก็เลยพยายามจะเป็นกลางกันจนตัวลีบ
พูดออกมาแล้วดูเท่ดูเก๋และดูเป็นกลางดี แต่ในทางความเป็นจริง การพูดออกมาเช่นนี้ก็เหมือนกับสื่อให้ประชาชนเห็นว่ามีคนพวกหนึ่งกระทำการจาบจ้วงล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ กระทั่งพยายามโค่นล้ม แต่ก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่มักจะหยิบยกประเด็นจาบจ้วงล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเป้าหมายในการเคลื่อนไหวทางการเมือง
คนกลุ่มหลังนี้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยดูจะตกเป็นเป้า
โดยเฉพาะคุณสนธิ ลิ้มทองกุลผู้ริเริ่มสวมเสื้อสีเหลืองสกรีนคำ “เราจะสู้เพื่อในหลวง” ตั้งแต่เมื่อเดือนกันยายน 2548
รวมทั้งผม ที่อภิปรายในสภานิติบัญญัติไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง, ในวุฒิสภาอีกอย่างน้อย 1 ครั้ง -- โดยเป็นญัตติขอให้วุฒิสภามีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการในการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์, พูดใน ASTV นับครั้งไม่ถ้วน ไม่นับการเขียน ณ พื้นที่นี้มากกว่า 3 ครั้ง
คนผู้มีภาพใกล้ชิดกับราชสำนักบางคนพยายามสื่อว่าการพูดถึงพระเจ้าอยู่หัวนั้นไม่บังควร
ข้อหานี้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ครั้งที่ อ.ส.ม.ท.บอกเลิกรายการเมืองไทยรายสัปดาห์เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2548 แล้ว !
คนผู้มีภาพใกล้ชิดกับราชสำนักคนนั้นยอมรับว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์นั้นมีอยู่จริง มีทั้งที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่อยู่ภายในเงื่อนไข 2 ประการ หนึ่ง เป็นเรื่องภายในระหว่างรัฐบาลกับพระมหากษัตริย์ และสอง โดยธรรมเนียมประเพณี ไม่ว่าของประเทศไทยหรือประเทศอังกฤษ เป็นเรื่องที่ทั้งรัฐบาลและพระมหากษัตริย์จะต้องไม่เปิดเผย ซึ่งหมายความว่าบุคคลอื่นก็ไม่ควรกล่าวอ้าง
คนผู้มีภาพใกล้ชิดกับราชสำนักคนนั้นยังบอกอีกว่าสิ่งที่คุณสนธิ ลิ้มทองกุลพูดในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์นั้นไม่จริง แต่ตัวเธอก็ไม่อยู่ในฐานะซึ่งจะบอกรายละเอียดทั้งหมด เพราะมันผิดธรรมเนียมราชเสวกที่ดี หรือเป็นข้าราชการและคนที่มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยจะพึงกระทำ
ไอ้คำว่า “ผิดธรรมเนียม” และ “คนที่มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยจะพึงกระทำ” นี่แหละครับคือประเด็น !!
ผมเคยบอกแล้วใช่ไหมว่ามีส.ส.พรรคเพื่อไทยคนหนึ่งเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มีเนื้อหาสาระว่า ใครที่รู้ถึงเหตุกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 แล้วออกมาพูดจาเผยแพร่ต่อสาธารณะก่อนโดยยังไม่มีการนำไปแจ้งความ ให้ถือว่ามีความผิดเฉกเช่นผู้กระทำความผิดตามมาตรา 112 ต้องระวางโทษเท่ากัน
จริง ๆ ก่อนหน้าจะมีการเสนอแก้ไขกฎหมายที่ว่านี้ คุณสนธิ ลิ้มทองกุลก็เคยถูกแจ้งความดำเนินคดีมาแล้ว 2 คดี หลุดไปแล้วหนึ่ง ยังเหลืออีกหนึ่ง
ผมเองจากข้อเขียนบทท้าย ๆ ในหนังสือ “ปรากฏการณ์สนธิ : จากเสื้อสีเหลืองถึงผ้าพันคอสีฟ้า” ก็มีคนไปแจ้งความไว้ที่สน.ดุสิต
การอ้างอิงสถาบันฯรวมทั้งใช้สถาบันเป็นเหตุผลในการเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้นไม่เหมาะสมแน่นอน
แต่ต้องตีกรอบคำว่า “อ้างอิง” และ “ใช้เป็นข้ออ้าง” ให้ชัด !
มิฉะนั้นจะกลายเป็นการปิดปากผู้จงรักภักดีและรู้เห็นการกระทำที่เป็นการทำลายสถาบันฯไป !!
คนหูไวตาไวเห็นโจรานุโจรกำลังตระเตรียมอาวุธรวมตัวกันจะเข้าปล้นบ้านแล้วร้องตะโกนบอกคนอื่นให้ร่วมกันปกป้องต่อสู้ แตกต่างกับ “เด็กเลี้ยงแกะ” นะ
ต้องจำแนกแยกแยะอย่าเหมารวมไปหมด !
เราไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับแนวคิดที่เห็นว่าการกล่าวถึงพระเจ้าอยู่หัวเป็นสิ่งมิบังควร
ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการยึดหลักตายตัวว่าการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย เป็นเรื่องภายในกับรัฐบาลเท่านั้น
โดยหลักการแล้ว ระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาของตะวันตกนั้นเกิดจากการใช้กำลังบังคับพระมหากษัตริย์ และมีวิวัฒนาการมายาวนานจนก่อให้เกิดวัฒนธรรมประชาธิปไตยในระดับสำคัญ ต่างกับระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในประเทศไทยที่เกิดจากการยินยอมพร้อมสละพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้แก่ประชาชน แม้คณะราษฎรผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยอมรับในข้อนี้
ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยเพิ่งมีวิวัฒนาการมาเพียงเกือบจะ 77 ปีเท่านั้น กว่าครึ่งหนึ่งตกอยู่ภายใต้ระบบเผด็จการทหาร วัฒนธรรมประชาธิปไตยยังไม่เกิดขึ้นสมบูรณ์ สำนึกประชาธิปไตยของประชาชนยังไม่เกิดขึ้นสมบูรณ์ การเลือกตั้งโดยภาพรวมแล้วไม่อาจกล่าวได้ว่าสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของสังคมไทย ไม่อาจกล่าวได้ว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งสะท้อนความเป็นตัวแทนของประชาชนได้โดยบริสุทธิ์ยุติธรรม
หลักนิติธรรมทางรัฐธรรมนูญของประเทศไทยในส่วนพระมหากษัตริย์ก็แตกต่างกับประเทศอื่น
การกระทำใด ๆ ที่มีแนวโน้มไปในทางพยายามแยกพระมหากษัตริย์ไทยออกจากประชาชนของพระองค์จึงมิบังควร
รวมทั้งการเสนอหลักการในทำนองที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ว่าประชาชนไม่ควรพูดถึงพระมหากษัตริย์ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด
และอีกหลักการหนึ่งที่ว่าการใช้พระราชอำนาจเป็นเรื่องระหว่างพระองค์กับรัฐบาลเท่านั้น
3 ปีที่ผ่านมานี้ หากคนไทยทุกคน - รวมทั้งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย – ยึดมั่นในหลักการที่ว่า “ประชาชนไม่ควรพูดถึงพระมหากษัตริย์”, “การใช้พระราชอำนาจเป็นเรื่องระหว่างพระองค์กับรัฐบาล” และ “การใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เป็นเรื่องภายในระหว่างพระองค์กับรัฐบาล จะเปิดเผยมิได้” ว่าเป็นสัจธรรมที่ถูกต้องที่สุดแล้วละก็...
ผมคงไม่ต้องพูดว่าสถานการณ์บ้านเมืองเราจะเป็นอย่างไร
นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะท่านใช้ถ้อยคำอย่างระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงข้อหาดับเบิ้ลสแตนดาร์ดนั้นเข้าใจได้ครับ ไม่ด่วนว่าอะไรท่านมากไปกว่านี้
แต่อย่า “เกร็ง” เสียจนกลายเป็นพวกลัทธิเป็นกลางลัทธิสมานฉันท์ดาด ๆ จนเสียงานใหญ่ก็แล้วกัน