ล้อมกรอบ
สรุปผลการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนบวก 3 วาระพิเศษ เพื่อร่วมมือแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ เอช1 เอ็น1 ได้กำหนดข้อตกลงร่วมกัน 15 ข้อ
โดย แบ่งเป็นมาตรการระดับประเทศ ให้แต่ละประเทศดำเนินมาตรการที่จะควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ใน 6 เรื่อง ดังนี้
1 ให้ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ จัดเตรียมแผนระดับชาติเพื่อควบคุม เฝ้าระวังการติดต่อระหว่างคนสู่คนและในสัตว์ โดยให้ซ้อมแผนรับมือไข้หวัดใหญ่ ตามที่ได้เตรียมมาตรการไว้ทันที
2 .ให้แต่ละประเทศสนับสนุนการเฝ้าระวัง ควบคุมโรค ตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ.2548 อย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะระบบการเฝ้าระวังที่รวดเร็ว และตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพ
3.ให้แต่ละประเทศ จัดซ้อมแผนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลข่าวสารให้กับหน่วยงานประชากรภายในประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความตื่นตระหนก และสร้างผลกระทบทางสังคม
4. จัดระบบตรวจคัดกรองผู้โดยสารที่เดินทางออกนอกประเทศในพื้นที่ที่เกิดการติดเชื้อ รวมทั้งตามแนวพรมแดนระหว่างประเทศ และหลีกเลี่ยงการใช้ชื่อประเทศ ที่มีโรคระบาดโดยให้ใช้คำว่า “พื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อ” โดยในอนาคตจะมีการพิจารณาหลักเกณฑ์ต่อไป ของการกำหนดพื้นที่ติดเชื้อว่าจะต้องมีเกณฑ์และหลักการอย่างไร เช่น ใช้ชื่อเมืองแทน เพื่อลดผลกระทบท่องเที่ยวและการค้า
5.ให้แต่ละประเทศพิจารณาหามาตรการสนับสนุนเวชภัณฑ์ ระหว่างกันโดยให้ใช้คลังยาเพื่อสนับสนุนกันโดยตรง ซึ่งเบื้องต้นประเทศอาเซียนมีคลังยาอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์
6.ให้แต่ละประเทศต้องพิจารณาเพิ่มการสำรองเวชภัณฑ์ให้เพียงพอ โดยจัดระบบการเข้าถึงยาต้านไวรัส ยาจำเป็น อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ในกรณีที่มีการระบาดของเชื้อจะทำให้ระบบการดูแลรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
สำหรับความร่วมมือในระดับภูมิภาค มีมติร่วมมือกันใน 4 ข้อ ดังนี้
7.1 การเปิดสายด่วนแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารสถานการณ์การระบาดระหว่างประเทศ เพื่อการตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
7.2 จัดตั้งทีมสอบสวนควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วระหว่างประเทศ สามารถเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือประเทศข้างเคียงได้ทันที หากมีการร้องขอ
7.3 การตรวจวินิจฉัยเพื่อการยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ การวิจัยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
7.4 การศึกษาวิจัยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ทางด้านสารพันธุกรรม อาการป่วย ระบบการดูแลรักษา เพื่อเป็นเครือข่ายความร่วมมือในการรับมือโรคระบาดใหม่ เช่นเดียวกับโครงการเฝ้าระวังโรคประเทศลุ่มแม่น้ำโขง โครงการศูนย์ความร่วมมือวิจัยโรคติดเชื้อกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะทำให้ระบบการสาธารณสุขที่จะดูแลความปลอดภัยทางสุขภาพของประชากรในภูมิภาคมีความยั่งยืนและเข้มแข็ง
8. ดำเนินการตามหลักวิชาการขององค์การอนามัยโลก เรื่อง ข้อแนะนำการเดินทาง ไม่ให้เกิดอุปสรรค โดยไม่ใช้วิธีการปิดกั้นพรมแดน หรือห้ามการเดินทาง
9. สนับสนุนให้ทุกประเทศปฏิบัติตามกฎขององค์การอนามัย ข้อ 61.21 ที่ต้องการให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยา วัคซีน ในระดับภูมิภาค
10.ขอความร่วมมือองค์การอนามัยโลก ในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก
ส่วนมาตรการข้อ 11-15 เป็นข้อเสนอของประเทศอาเซียน ที่จะเสนอต่อที่ประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก ซึ่งจะจัดขึ้นที่ กรุงเจนีวา วันที่ 18-22 พ.ค.นี้
11. เรียกร้องให้องค์การอนามัยโลกพิจารณาปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การยกระดับความรุนแรงของโลก ในกรณีที่จะมีการยกระดับการระบาด ขอให้มีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ประเทศสมาชิก และใช้เกณฑ์อื่นๆประกอบการพิจารณา นอกเหนือการหลักภูมิศาสตร์ เช่น ความรุนแรงของโรค การกลายพันธุ์ของเชื้อ และจำนวนผู้ป่วย
12.มีข้อเสนอให้องค์การอนามัยโลก สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเชื้อไวรัส ทั้งไข้หวัดนก และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
13. ขอให้ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก สนับสนุนส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ เข้าถึงวัคซีน หากมีการคิดค้นได้ โดยต้องมีการหากลไกในการเข้าถึงอย่างเท่าเทียม
14. เชิญชวนให้องค์กรนานาชาติ เช่น องค์การอนามัยโลก องค์การสหประชาชาติ สนับสนุนด้านงบประมาณ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องสำรองคลังยา เวชภัณฑ์ต่างๆในอาเซียน เพื่อให้คลังยามีประสิทธิภาพมากขึ้น
15. ให้เลขาธิการอาเซียนดำเนินการซ้อมแผนรับมือการระบาดในประเทศสมาชิก ระดับภูมิภาคร่วมกัน
สุดท้าย หากมาตรการทุกข้อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง ทุกประเทศต่างเชื่อว่าจะสามารถป้องกันไม่ให้มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงหากมาตรการดังกล่าวได้ผลดี ภูมิภาคอื่นสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การร่วมมือกันเพี่อให้เกิดความเข้มแข็งในการควบคุมโรค
สรุปผลการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนบวก 3 วาระพิเศษ เพื่อร่วมมือแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ เอช1 เอ็น1 ได้กำหนดข้อตกลงร่วมกัน 15 ข้อ
โดย แบ่งเป็นมาตรการระดับประเทศ ให้แต่ละประเทศดำเนินมาตรการที่จะควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ใน 6 เรื่อง ดังนี้
1 ให้ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ จัดเตรียมแผนระดับชาติเพื่อควบคุม เฝ้าระวังการติดต่อระหว่างคนสู่คนและในสัตว์ โดยให้ซ้อมแผนรับมือไข้หวัดใหญ่ ตามที่ได้เตรียมมาตรการไว้ทันที
2 .ให้แต่ละประเทศสนับสนุนการเฝ้าระวัง ควบคุมโรค ตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ.2548 อย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะระบบการเฝ้าระวังที่รวดเร็ว และตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพ
3.ให้แต่ละประเทศ จัดซ้อมแผนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลข่าวสารให้กับหน่วยงานประชากรภายในประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความตื่นตระหนก และสร้างผลกระทบทางสังคม
4. จัดระบบตรวจคัดกรองผู้โดยสารที่เดินทางออกนอกประเทศในพื้นที่ที่เกิดการติดเชื้อ รวมทั้งตามแนวพรมแดนระหว่างประเทศ และหลีกเลี่ยงการใช้ชื่อประเทศ ที่มีโรคระบาดโดยให้ใช้คำว่า “พื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อ” โดยในอนาคตจะมีการพิจารณาหลักเกณฑ์ต่อไป ของการกำหนดพื้นที่ติดเชื้อว่าจะต้องมีเกณฑ์และหลักการอย่างไร เช่น ใช้ชื่อเมืองแทน เพื่อลดผลกระทบท่องเที่ยวและการค้า
5.ให้แต่ละประเทศพิจารณาหามาตรการสนับสนุนเวชภัณฑ์ ระหว่างกันโดยให้ใช้คลังยาเพื่อสนับสนุนกันโดยตรง ซึ่งเบื้องต้นประเทศอาเซียนมีคลังยาอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์
6.ให้แต่ละประเทศต้องพิจารณาเพิ่มการสำรองเวชภัณฑ์ให้เพียงพอ โดยจัดระบบการเข้าถึงยาต้านไวรัส ยาจำเป็น อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ในกรณีที่มีการระบาดของเชื้อจะทำให้ระบบการดูแลรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
สำหรับความร่วมมือในระดับภูมิภาค มีมติร่วมมือกันใน 4 ข้อ ดังนี้
7.1 การเปิดสายด่วนแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารสถานการณ์การระบาดระหว่างประเทศ เพื่อการตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
7.2 จัดตั้งทีมสอบสวนควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วระหว่างประเทศ สามารถเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือประเทศข้างเคียงได้ทันที หากมีการร้องขอ
7.3 การตรวจวินิจฉัยเพื่อการยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ การวิจัยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
7.4 การศึกษาวิจัยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ทางด้านสารพันธุกรรม อาการป่วย ระบบการดูแลรักษา เพื่อเป็นเครือข่ายความร่วมมือในการรับมือโรคระบาดใหม่ เช่นเดียวกับโครงการเฝ้าระวังโรคประเทศลุ่มแม่น้ำโขง โครงการศูนย์ความร่วมมือวิจัยโรคติดเชื้อกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะทำให้ระบบการสาธารณสุขที่จะดูแลความปลอดภัยทางสุขภาพของประชากรในภูมิภาคมีความยั่งยืนและเข้มแข็ง
8. ดำเนินการตามหลักวิชาการขององค์การอนามัยโลก เรื่อง ข้อแนะนำการเดินทาง ไม่ให้เกิดอุปสรรค โดยไม่ใช้วิธีการปิดกั้นพรมแดน หรือห้ามการเดินทาง
9. สนับสนุนให้ทุกประเทศปฏิบัติตามกฎขององค์การอนามัย ข้อ 61.21 ที่ต้องการให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยา วัคซีน ในระดับภูมิภาค
10.ขอความร่วมมือองค์การอนามัยโลก ในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก
ส่วนมาตรการข้อ 11-15 เป็นข้อเสนอของประเทศอาเซียน ที่จะเสนอต่อที่ประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก ซึ่งจะจัดขึ้นที่ กรุงเจนีวา วันที่ 18-22 พ.ค.นี้
11. เรียกร้องให้องค์การอนามัยโลกพิจารณาปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การยกระดับความรุนแรงของโลก ในกรณีที่จะมีการยกระดับการระบาด ขอให้มีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ประเทศสมาชิก และใช้เกณฑ์อื่นๆประกอบการพิจารณา นอกเหนือการหลักภูมิศาสตร์ เช่น ความรุนแรงของโรค การกลายพันธุ์ของเชื้อ และจำนวนผู้ป่วย
12.มีข้อเสนอให้องค์การอนามัยโลก สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเชื้อไวรัส ทั้งไข้หวัดนก และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
13. ขอให้ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก สนับสนุนส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ เข้าถึงวัคซีน หากมีการคิดค้นได้ โดยต้องมีการหากลไกในการเข้าถึงอย่างเท่าเทียม
14. เชิญชวนให้องค์กรนานาชาติ เช่น องค์การอนามัยโลก องค์การสหประชาชาติ สนับสนุนด้านงบประมาณ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องสำรองคลังยา เวชภัณฑ์ต่างๆในอาเซียน เพื่อให้คลังยามีประสิทธิภาพมากขึ้น
15. ให้เลขาธิการอาเซียนดำเนินการซ้อมแผนรับมือการระบาดในประเทศสมาชิก ระดับภูมิภาคร่วมกัน
สุดท้าย หากมาตรการทุกข้อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง ทุกประเทศต่างเชื่อว่าจะสามารถป้องกันไม่ให้มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงหากมาตรการดังกล่าวได้ผลดี ภูมิภาคอื่นสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การร่วมมือกันเพี่อให้เกิดความเข้มแข็งในการควบคุมโรค