ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน +3 ถกเครียดสำรองยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ ญี่ปุ่นเสนอให้แต่ละประเทศสำรองยาอย่างน้อย 5 ล้านเม็ด ไทยมีสำรองครบ 5 ล้านเม็ดแล้ว แต่ระบุไม่ได้เพียงพอหรือไม่หากมีการระบาดทั่วโลก ขณะที่วัคซีนป้องกันคาดใช้เวลา 4-6 เดือน กว่าจะสำเร็จ ด้านธนาคารโลกพร้อมสนับสนุนเงินแหล่งทุนช่วยเหลือ
เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 7 พฤษภาคม ที่โรงแรมดุสิตธานี พญ.ศิริพร กัญชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภมิตร ชุณห์สุทธิ์วัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมความคุมโรค และ นพ.ทูมัส พาลู หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ฝ่ายความร่วมมือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ธนาคารโลก ได้ร่วมกันแถลงข่าวภายหลังการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของประเทศอาเซียน +3 โดย พญ.ศิริพร กล่าวว่า จาการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้งจากศูนย์ควบคุมป้องกันโรคสหรัฐฯ และองค์การอนามัยโลก ระบุว่า เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยด้านพันธุกรรม ลักษณะการแพร่เชื้อ และด้านคลินิก เพื่อลดผลกระทบต่อคนโดยการให้การรักษาอย่างรวดเร็ว และควบคุมโรคอย่างทันการณ์ รวมทั้งการสื่อสารความเสี่ยงต่อประชาชนยังมีความจำเป็นและต้องทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการนำเสนอมาตรการของประเทศอาเซียนบวก 3 ในครั้งนี้ ยึดหลักเตรียมความพร้อมการเฝ้าระวัง ป้องกันตามมาตรฐานสากล โดยมีบางประเทศได้ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารโต้ตอบกระแสข่าวลือกับโรคระบาดใหม่ เช่น อินโดนีเซีย เป็นต้น
นพ.ศุภมิตร กล่าวว่า คลังยาต้านไวรัสโอเซลทามีเวียร์ของกลุ่มประเทศอาเซียนที่อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ จำนวน 5 ล้านเม็ด รองรับผู้ป่วยได้ 5 แสนคน ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่บริจาคยาให้จำนวน 2.5 ล้านเม็ด โดยร้อยละ 50 ของยาทั้งหมด ได้มีการกระจายให้กับประเทศสมาชิกตามสัดส่วนประชากรของแต่ละประเทศเรียบร้อยแล้ว โดยไทยได้รับยาจำนวน 5 หมื่นเม็ด ซึ่งประเทศไทยสามารถผลิตยาได้เอง โดยมีสำรองไว้ทั้งหมด 5 ล้านเม็ด เนื่องจากไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่สามารถผลิตยาต้านไวรัสได้เอง
“ขณะนี้ยังไม่มีการออกมาระบุชัดเจนว่า แต่ละปรเทศควรจะสำรองยาจำนวนเท่าใด แต่ในช่วงการระบาดของโรคระยะแรกต้องมีการผลักดันให้เริ่มสำรองยาบ้างแล้ว และค่อยๆ ทยอยเพิ่มจำนวนให้มากขึ้นเพียงพอกับการระบาดใหญ่ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะต้องมีการนัดหมายเพื่อหารือในระดับผู้เชี่ยวชาญถึงรายละเอียดและวิธีการในการสำรองยาต้านไวรัสของอาเซียน” นพ.ศุภมิตร กล่าว
นพ.ศุภมิตร กล่าวด้วยว่า ในที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน +3 ประเทศญี่ปุ่นได้เสนอให้แต่ละประเทศ สำรองยาต้านไวรัสไว้รองรับประชาชน 5 แสนราย หรือ 5 ล้านเม็ด เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ1 เอช1เอ็น1มีการติดต่อจากคนสู่คนหากเกิดการระบาดขึ้น อาจจะไม่ทันการณ์หากต้องรอการผลิตยาหรือใช้จากคลังยา
นพ.ศุภมิตร กล่าวว่า นอกจากนี้ ได้มีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการผลิตวัคซีนต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ด้วย แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะประเทศสมาชิกอาเซียนมีข้อจำกัดในด้านเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนจำเป็นต้องได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ในขณะนี้ประเทศที่มีศักภาพในการผลิตอย่างสหรัฐฯ ความคืบหน้าล่าสุด นักวิทยาศาตร์เพิ่มเริ่มการศึกษาเท่านั้น ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะผลิตวัคซีนสำเร็จเมื่อใด ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระดับอาวุโส ระบุว่า ต้องใช้เวลาอย่างเร็วที่สุด 4-6 เดือนจึงจะสำเร็จ
ด้าน นพ.ทูมัส กล่าวว่า การกำหนดมาตรการควบคุมโรค แม้ว่าต้องคำนึงถึงความปลอดภัยทางสาธารณสุขมาเป็นลำดับแรก แต่ต้องพยายามไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการเดินทาง การท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจ ขณะนี้คงเร็วเกินไปที่จะประเมินผลกระทบหรือความเสียหาย เพราะการเกิดโรคไข้หวัดนก และซาร์ส ก็เพิ่งสามารถประเมินความเสียหายได้เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งจะต้องศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นที่ประเทศเม็กซิโกเป็นลำดับแรก อย่างไรก็ตาม มาตรการที่ประเทศในแถบอาเซียนทำอยู่ถือว่ามีการเตรียมความพร้อมอย่างดี ส่วนเรื่องความช่วยเหลือทางการเงินนั้น ธนาคารโลกพร้อมที่จะสนับสนุนในเรื่องทรัพยากร และหาแหล่งเงินทุน แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าจะเป็นรูปแบบใดและจำนวนเงินเท่าไหร่
เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 7 พฤษภาคม ที่โรงแรมดุสิตธานี พญ.ศิริพร กัญชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภมิตร ชุณห์สุทธิ์วัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมความคุมโรค และ นพ.ทูมัส พาลู หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ฝ่ายความร่วมมือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ธนาคารโลก ได้ร่วมกันแถลงข่าวภายหลังการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของประเทศอาเซียน +3 โดย พญ.ศิริพร กล่าวว่า จาการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้งจากศูนย์ควบคุมป้องกันโรคสหรัฐฯ และองค์การอนามัยโลก ระบุว่า เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยด้านพันธุกรรม ลักษณะการแพร่เชื้อ และด้านคลินิก เพื่อลดผลกระทบต่อคนโดยการให้การรักษาอย่างรวดเร็ว และควบคุมโรคอย่างทันการณ์ รวมทั้งการสื่อสารความเสี่ยงต่อประชาชนยังมีความจำเป็นและต้องทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการนำเสนอมาตรการของประเทศอาเซียนบวก 3 ในครั้งนี้ ยึดหลักเตรียมความพร้อมการเฝ้าระวัง ป้องกันตามมาตรฐานสากล โดยมีบางประเทศได้ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารโต้ตอบกระแสข่าวลือกับโรคระบาดใหม่ เช่น อินโดนีเซีย เป็นต้น
นพ.ศุภมิตร กล่าวว่า คลังยาต้านไวรัสโอเซลทามีเวียร์ของกลุ่มประเทศอาเซียนที่อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ จำนวน 5 ล้านเม็ด รองรับผู้ป่วยได้ 5 แสนคน ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่บริจาคยาให้จำนวน 2.5 ล้านเม็ด โดยร้อยละ 50 ของยาทั้งหมด ได้มีการกระจายให้กับประเทศสมาชิกตามสัดส่วนประชากรของแต่ละประเทศเรียบร้อยแล้ว โดยไทยได้รับยาจำนวน 5 หมื่นเม็ด ซึ่งประเทศไทยสามารถผลิตยาได้เอง โดยมีสำรองไว้ทั้งหมด 5 ล้านเม็ด เนื่องจากไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่สามารถผลิตยาต้านไวรัสได้เอง
“ขณะนี้ยังไม่มีการออกมาระบุชัดเจนว่า แต่ละปรเทศควรจะสำรองยาจำนวนเท่าใด แต่ในช่วงการระบาดของโรคระยะแรกต้องมีการผลักดันให้เริ่มสำรองยาบ้างแล้ว และค่อยๆ ทยอยเพิ่มจำนวนให้มากขึ้นเพียงพอกับการระบาดใหญ่ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะต้องมีการนัดหมายเพื่อหารือในระดับผู้เชี่ยวชาญถึงรายละเอียดและวิธีการในการสำรองยาต้านไวรัสของอาเซียน” นพ.ศุภมิตร กล่าว
นพ.ศุภมิตร กล่าวด้วยว่า ในที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน +3 ประเทศญี่ปุ่นได้เสนอให้แต่ละประเทศ สำรองยาต้านไวรัสไว้รองรับประชาชน 5 แสนราย หรือ 5 ล้านเม็ด เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ1 เอช1เอ็น1มีการติดต่อจากคนสู่คนหากเกิดการระบาดขึ้น อาจจะไม่ทันการณ์หากต้องรอการผลิตยาหรือใช้จากคลังยา
นพ.ศุภมิตร กล่าวว่า นอกจากนี้ ได้มีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการผลิตวัคซีนต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ด้วย แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะประเทศสมาชิกอาเซียนมีข้อจำกัดในด้านเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนจำเป็นต้องได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ในขณะนี้ประเทศที่มีศักภาพในการผลิตอย่างสหรัฐฯ ความคืบหน้าล่าสุด นักวิทยาศาตร์เพิ่มเริ่มการศึกษาเท่านั้น ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะผลิตวัคซีนสำเร็จเมื่อใด ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระดับอาวุโส ระบุว่า ต้องใช้เวลาอย่างเร็วที่สุด 4-6 เดือนจึงจะสำเร็จ
ด้าน นพ.ทูมัส กล่าวว่า การกำหนดมาตรการควบคุมโรค แม้ว่าต้องคำนึงถึงความปลอดภัยทางสาธารณสุขมาเป็นลำดับแรก แต่ต้องพยายามไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการเดินทาง การท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจ ขณะนี้คงเร็วเกินไปที่จะประเมินผลกระทบหรือความเสียหาย เพราะการเกิดโรคไข้หวัดนก และซาร์ส ก็เพิ่งสามารถประเมินความเสียหายได้เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งจะต้องศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นที่ประเทศเม็กซิโกเป็นลำดับแรก อย่างไรก็ตาม มาตรการที่ประเทศในแถบอาเซียนทำอยู่ถือว่ามีการเตรียมความพร้อมอย่างดี ส่วนเรื่องความช่วยเหลือทางการเงินนั้น ธนาคารโลกพร้อมที่จะสนับสนุนในเรื่องทรัพยากร และหาแหล่งเงินทุน แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าจะเป็นรูปแบบใดและจำนวนเงินเท่าไหร่