เอเจนซี - บรรดาบริษัทที่ทำธุรกิจบรรจุหีบห่อเนื้อสัตว์ ในสหรัฐฯ และแคนาดา ต้องประกาศลดกำลังการผลิตสินค้าประเภทเนื้อหมูลงในช่วงสุดสัปดาห์นี้ หลังจากเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ หรือเชื้อ เอ “เอช 1 เอ็น 1” จนทำให้หลายประเทศสั่งห้ามการนำเข้าเนื้อหมู ขณะที่ยอดสั่งซื้อปลีกในประเทศก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน
ตลาดเนื้อหมูทั้งในสหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโก ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้ส่งออกเนื้อหมูรายใหญ่ของโลก กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกันแล้ว หลังจากเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ทำให้มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 1,000 คนทั่วโลก และทำให้มีประเทศต่าง ๆ กว่า 20 แห่ง สั่งห้ามการนำเข้าเนื้อหมู หมูที่ยังมีชีวิต และเนื้อสัตว์อื่นๆ จากทั้ง 3 ประเทศ เนื่องจากเกิดความหวาดกลัวว่า การบริโภคเนื้อหมูอาจเป็นสาเหตุให้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ แม้ทางองค์การอนามัยโลกจะยืนยันว่าเชื้อชนิดนี้ไม่ติดต่อจากหมูสู่คนก็ตาม
นอกจากนั้นยังมีรายงานข่าวเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ระบุว่า หมูในฟาร์มแห่งหนึ่งรัฐแอลเบอร์ตาของแคนาดา ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้จากคนซึ่งเพิ่งเดินทางมาจากเม็กซิโก ส่งผลทำให้เกิดความไม่มั่นใจในความปลอดภัยของเนื้อหมูมากขึ้นไปอีกและทำให้เนื้อหมูมีราคาตกฮวบ แม้ว่าสำนักงานตรวจสอบอาหารแห่งแคนาดา หรือ ซีเอฟไอเอ จะพยายามออกมายืนยันว่า การพบเชื้อดังกล่าวในหมูไม่มีผลใดๆ ต่อการบริโภคเนื้อหมูก็ตาม
มีรายงานว่า จำนวนของหมูที่ถูกฆ่าเมื่อวันเสาร์ (2) ได้ลดลงถึงร้อยละ 63 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่ยอดสั่งซื้อจากผู้ค้ารายย่อยก็ลดลงเช่นกัน แม้จะมีการยืนยันว่า เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จะไม่ติดต่อจากหมูและเนื้อหมูไปสู่มนุษย์แล้วก็ตาม
ริช เฟลเทส นักวิเคราะห์จากเอ็มเอฟ โกลบอล รีเซิร์ช ระบุว่า การที่กลุ่มผู้ค้ารายย่อยชะลอการสั่งซื้อเนื้อหมูเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นเพราะต้องการรอดูท่าที และแนวโน้มความต้องการเนื้อหมูของตลาดภายในประเทศก่อน ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดแรงกดดันในตลาดเนื้อหมูมากยิ่งขึ้น
ขณะที่กลุ่มผู้ส่งเสริมการส่งออกเนื้อหมูนานาชาติแห่งแคนาดา ซึ่งเคยส่งออกเนื้อหมูเป็นจำนวนถึง 1.1 ล้านตันเมื่อปีที่แล้วออกมาระบุว่า ยอดการส่งออกเนื้อหมูได้ลดลงร้อยละ 10-15 แล้ว นับตั้งแต่ข่าวการพบเชื้อดังกล่าวในฟาร์มหมูของแคนาดาแพร่ออกไป
ทางด้านสหพันธ์การส่งออกเนื้อสัตว์ของสหรัฐฯ ออกมาเปิดเผยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า การสั่งห้ามนำเข้าเนื้อหมูของประเทศต่างๆ ทำให้ยอดการส่งออกเนื้อหมูของสหรัฐฯ ลดลงแล้วถึงร้อยละ 8-12 ส่วนยอดการขายเนื้อหมูในเม็กซิโกก็ชะลอตัวลงเช่นกัน เนื่องจากชาวเม็กซิกันอยู่แต่ในบ้านตามคำสั่งของรัฐบาล
กลุ่มผู้แทนจำหน่ายเนื้อหมูในสหรัฐฯ ระบุว่า อาจต้องใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์กว่าที่ราคาเนื้อหมูจะปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง นอกจากนั้น การที่มีการฆ่าหมูน้อยลง ยิ่งจะทำให้ราคาเนื้อหมูตกต่ำมากยิ่งขึ้นไปอีก
ข้อมูลจากสำนักงานผู้แทนการค้าของสหรัฐฯหรือยูเอสทีอาร์ และกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ระบุว่า ในขณะนี้ มีถึง 23 ประเทศที่สั่งห้ามการนำเข้าเนื้อหมู หมูที่ยังมีชีวิตและชิ้นส่วนต่างๆของหมู จากสหรัฐฯ ได้แก่ รัสเซีย จีน คาซัคสถาน ยูเครน เบลารุส อาเซอร์ไบจาน เซอร์เบีย โครเอเชีย มาซิโดเนีย มอนเตเนโกร ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เซนต์ลูเซีย เอกวาดอร์ ฮอนดูรัส ซูรินาเม ชาด กาบอง จอร์แดน บาห์เรน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเลบานอน
โดยรัสเซียถือเป็นประเทศที่ดำเนินมาตรการรุนแรงที่สุด เนื่องจากประกาศสั่งห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์ดิบทุกประเภทจากสหรัฐฯ รวมทั้งเนื้อวัว และเนื้อสัตว์ปีกด้วย นอกเหนือจากการห้ามนำเข้าเนื้อหมู
นอกจากนั้น สำนักงานผู้แทนการค้าของสหรัฐฯยังเปิดเผยว่า สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และโคโซโว ซึ่งก่อนหน้านี้ได้สั่งห้ามนำเข้าเฉพาะหมูที่ยังมีชีวิตจากสหรัฐฯ ก็กำลังมีมาตรการตรวจสอบเนื้อหมูอย่างเข้มงวดมากขึ้นเช่นกัน แม้จะไม่ได้มีคำสั่งห้ามนำเข้าเนื้อหมูโดยตรงก็ตาม
มีการประเมินว่าธุรกิจค้าเนื้อหมูทั่วโลกที่มีมูลค่าประมาณ 26,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการสั่งห้ามนำเข้าของประเทศต่างๆ โดยประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก นอกเหนือจาก สหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโกแล้ว ก็คือ ประเทศในกลุ่มละตินอเมริกา ทั้ง บราซิล ชิลี คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ โคลอมเบีย คิวบา นิการากัว ปานามา ฮอนดูรัส กัวเตมาลา และสาธารณรัฐโดมินิกัน ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตเนื้อหมูรายสำคัญเช่นกัน
ตลาดเนื้อหมูทั้งในสหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโก ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้ส่งออกเนื้อหมูรายใหญ่ของโลก กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกันแล้ว หลังจากเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ทำให้มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 1,000 คนทั่วโลก และทำให้มีประเทศต่าง ๆ กว่า 20 แห่ง สั่งห้ามการนำเข้าเนื้อหมู หมูที่ยังมีชีวิต และเนื้อสัตว์อื่นๆ จากทั้ง 3 ประเทศ เนื่องจากเกิดความหวาดกลัวว่า การบริโภคเนื้อหมูอาจเป็นสาเหตุให้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ แม้ทางองค์การอนามัยโลกจะยืนยันว่าเชื้อชนิดนี้ไม่ติดต่อจากหมูสู่คนก็ตาม
นอกจากนั้นยังมีรายงานข่าวเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ระบุว่า หมูในฟาร์มแห่งหนึ่งรัฐแอลเบอร์ตาของแคนาดา ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้จากคนซึ่งเพิ่งเดินทางมาจากเม็กซิโก ส่งผลทำให้เกิดความไม่มั่นใจในความปลอดภัยของเนื้อหมูมากขึ้นไปอีกและทำให้เนื้อหมูมีราคาตกฮวบ แม้ว่าสำนักงานตรวจสอบอาหารแห่งแคนาดา หรือ ซีเอฟไอเอ จะพยายามออกมายืนยันว่า การพบเชื้อดังกล่าวในหมูไม่มีผลใดๆ ต่อการบริโภคเนื้อหมูก็ตาม
มีรายงานว่า จำนวนของหมูที่ถูกฆ่าเมื่อวันเสาร์ (2) ได้ลดลงถึงร้อยละ 63 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่ยอดสั่งซื้อจากผู้ค้ารายย่อยก็ลดลงเช่นกัน แม้จะมีการยืนยันว่า เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จะไม่ติดต่อจากหมูและเนื้อหมูไปสู่มนุษย์แล้วก็ตาม
ริช เฟลเทส นักวิเคราะห์จากเอ็มเอฟ โกลบอล รีเซิร์ช ระบุว่า การที่กลุ่มผู้ค้ารายย่อยชะลอการสั่งซื้อเนื้อหมูเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นเพราะต้องการรอดูท่าที และแนวโน้มความต้องการเนื้อหมูของตลาดภายในประเทศก่อน ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดแรงกดดันในตลาดเนื้อหมูมากยิ่งขึ้น
ขณะที่กลุ่มผู้ส่งเสริมการส่งออกเนื้อหมูนานาชาติแห่งแคนาดา ซึ่งเคยส่งออกเนื้อหมูเป็นจำนวนถึง 1.1 ล้านตันเมื่อปีที่แล้วออกมาระบุว่า ยอดการส่งออกเนื้อหมูได้ลดลงร้อยละ 10-15 แล้ว นับตั้งแต่ข่าวการพบเชื้อดังกล่าวในฟาร์มหมูของแคนาดาแพร่ออกไป
ทางด้านสหพันธ์การส่งออกเนื้อสัตว์ของสหรัฐฯ ออกมาเปิดเผยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า การสั่งห้ามนำเข้าเนื้อหมูของประเทศต่างๆ ทำให้ยอดการส่งออกเนื้อหมูของสหรัฐฯ ลดลงแล้วถึงร้อยละ 8-12 ส่วนยอดการขายเนื้อหมูในเม็กซิโกก็ชะลอตัวลงเช่นกัน เนื่องจากชาวเม็กซิกันอยู่แต่ในบ้านตามคำสั่งของรัฐบาล
กลุ่มผู้แทนจำหน่ายเนื้อหมูในสหรัฐฯ ระบุว่า อาจต้องใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์กว่าที่ราคาเนื้อหมูจะปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง นอกจากนั้น การที่มีการฆ่าหมูน้อยลง ยิ่งจะทำให้ราคาเนื้อหมูตกต่ำมากยิ่งขึ้นไปอีก
ข้อมูลจากสำนักงานผู้แทนการค้าของสหรัฐฯหรือยูเอสทีอาร์ และกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ระบุว่า ในขณะนี้ มีถึง 23 ประเทศที่สั่งห้ามการนำเข้าเนื้อหมู หมูที่ยังมีชีวิตและชิ้นส่วนต่างๆของหมู จากสหรัฐฯ ได้แก่ รัสเซีย จีน คาซัคสถาน ยูเครน เบลารุส อาเซอร์ไบจาน เซอร์เบีย โครเอเชีย มาซิโดเนีย มอนเตเนโกร ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เซนต์ลูเซีย เอกวาดอร์ ฮอนดูรัส ซูรินาเม ชาด กาบอง จอร์แดน บาห์เรน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเลบานอน
โดยรัสเซียถือเป็นประเทศที่ดำเนินมาตรการรุนแรงที่สุด เนื่องจากประกาศสั่งห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์ดิบทุกประเภทจากสหรัฐฯ รวมทั้งเนื้อวัว และเนื้อสัตว์ปีกด้วย นอกเหนือจากการห้ามนำเข้าเนื้อหมู
นอกจากนั้น สำนักงานผู้แทนการค้าของสหรัฐฯยังเปิดเผยว่า สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และโคโซโว ซึ่งก่อนหน้านี้ได้สั่งห้ามนำเข้าเฉพาะหมูที่ยังมีชีวิตจากสหรัฐฯ ก็กำลังมีมาตรการตรวจสอบเนื้อหมูอย่างเข้มงวดมากขึ้นเช่นกัน แม้จะไม่ได้มีคำสั่งห้ามนำเข้าเนื้อหมูโดยตรงก็ตาม
มีการประเมินว่าธุรกิจค้าเนื้อหมูทั่วโลกที่มีมูลค่าประมาณ 26,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการสั่งห้ามนำเข้าของประเทศต่างๆ โดยประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก นอกเหนือจาก สหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโกแล้ว ก็คือ ประเทศในกลุ่มละตินอเมริกา ทั้ง บราซิล ชิลี คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ โคลอมเบีย คิวบา นิการากัว ปานามา ฮอนดูรัส กัวเตมาลา และสาธารณรัฐโดมินิกัน ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตเนื้อหมูรายสำคัญเช่นกัน