เอเอฟพี - ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เรียกร้องวานนี้ (4) ให้ประเทศในเอเชียรับมือกับวิกฤตการณ์โลกโดย "ปรับสมดุลใหม่" ในขั้นพื้นฐาน คือมุ่งพึ่งตลาดในประเทศมากกว่าการส่งออก พร้อมกันนั้นก็คาดหมายว่าในปีหน้าเศรษฐกิจโลกจะ "ฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย"
ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ประธานเอดีบีระบุในระหว่างการกล่าวเปิดการประชุมประจำปีคณะผู้ว่าการของทางธนาคาร ซึ่งจัดขึ้นที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ว่าในปีนี้ภูมิภาคเอเชียจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเพียง 3.4 เปอร์เซ็นต์ แต่ "ความพยายามกอบกู้วิกฤตทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค รวมทั้งการที่เศรษฐกิจโลกคาดว่าจะฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยในปีหน้า จะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียและแปซิฟิกดีดกลับขึ้นไปอยู่ที่ราว 6 เปอร์เซ็นต์ในปี 2010"
เขาบอกอีกว่า เนื่องจากมีสัญญาณในเชิงบวกดังกล่าว ประเทศต่างๆ จึงไม่ควรรู้สึกท้อแท้
ประธานเอดีบียังพูดถึงเค้าโครงแผนการขยายสินเชื่อวงเงินมหาศาลของเอดีบีเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาทั่วเอเชีย หลังจากที่บรรดาผู้ถือหุ้นของเอดีบีได้ให้ความเห็นชอบไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วในเรื่องการเพิ่มทุนของธนาคารเป็นสามเท่าตัว เพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยขณะนี้
ทั้งนี้ เอดีบีจะเพิ่มเงินกู้ช่วยเหลือให้แก่ประเทศยากจนที่สุดในภูมิภาคนี้กว่า 10,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2009-2010 ซึ่งจะรวมถึงเงินจำนวน 3,000 ล้านดอลลาร์สำหรับใช้ใน "กรณีเร่งด่วนซึ่งเป็นผลพวงจากวิกฤตการณ์"
เงินกู้ก้อนใหม่บางส่วนมุ่งไปที่การช่วยประเทศต่างๆ ในเอเชียให้ปรับตัวต่อการที่ปริมาณความต้องการสินค้าส่งออกในตลาดใหญ่เช่นยุโรปและสหรัฐฯ กำลังทรุดดิ่งลง
"การเคลื่อนย้ายเงินออมจากภูมิภาคหนึ่งของโลกไปยังอีกภูมิภาค จะเป็นไปอย่างดีก็ต่อเมื่อประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้ากว่ามีกำลังซื้อสินค้าที่ผลิตจากประเทศเศรษฐกิจกำลังพัฒนา แต่จากสภาวะที่เป็นอยู่ในตอนนี้แสดงว่าห้วงเวลาดังกล่าวได้ผ่านพ้นไปแล้ว" คุโรดะบอก
"การปรับสมดุลใหม่โดยลดการพึ่งพาการส่งออกเป็นตัวผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโต แล้วหันไปพึ่งปริมาณความต้องการสินค้าและการบริโภคของตลาดภายในประเทศให้มากขึ้น จะช่วยให้เอเชียเดินหน้าไปสู่การพัฒนาแบบใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งโลกได้" เขากล่าวต่อ
ก่อนหน้านี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ก็เคยบอกว่า หากเอเชียลดอัตราดอกเบี้ยลงและการใช้จ่ายของภาครัฐเพิ่มขึ้น จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ เนื่องจากระบบการธนาคารในเอเชียไม่ได้มีปัญหาหนักหน่วงระดับเดียวกับในสหรัฐฯ และประเทศในยุโรป
นอกจากนั้น ยังมีข้อมูลทางเศรษฐกิจเมื่อเร็วๆ นี้ที่ให้ความหวังว่าจีนจะเป็นประเทศแรกที่พาตนเองให้หลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยได้ก่อนประเทศอื่น
ส่วนในอินเดีย มีการคาดหมายว่าผลผลิตทางการเกษตรจะสูงมาก ซึ่งจะกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคให้สูงด้วย จึงทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เซนเซ็กส์ของตลาดมุมไบพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบหกเดือน โดยพวกผู้บริหารกองทุนต่างก็หันมาให้น้ำหนักการลงทุนในอินเดียเพิ่มขึ้น
ที่ญี่ปุ่น ผลผลิตจากโรงงานในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 1.6 เปอร์เซ็นต์จากเดือนก่อนหน้า นับเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว ทำให้การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของญี่ปุ่นเมื่อสัปดาห์ที่แล้วกลับมาคึกคักขึ้นอีกครั้ง
นอกจากนั้น คุโรดะยังได้เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเงินโลกโดยรับฟังเสียงจากประเทศในเอเชียให้มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อจีนและอินเดียกำลังก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งของสหรัฐฯ ในการกำหนดทิศทางเศรษฐกิจโลก ท่าทีดังกล่าวนี้ยังสอดคล้องกับเสียงเรียกร้องของจีนที่ต้องการมีอำนาจตัดสินใจในองค์การสำคัญๆทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศมากขึ้น อย่างเช่นไอเอ็มเอฟ เป็นต้น
ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ประธานเอดีบีระบุในระหว่างการกล่าวเปิดการประชุมประจำปีคณะผู้ว่าการของทางธนาคาร ซึ่งจัดขึ้นที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ว่าในปีนี้ภูมิภาคเอเชียจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเพียง 3.4 เปอร์เซ็นต์ แต่ "ความพยายามกอบกู้วิกฤตทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค รวมทั้งการที่เศรษฐกิจโลกคาดว่าจะฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยในปีหน้า จะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียและแปซิฟิกดีดกลับขึ้นไปอยู่ที่ราว 6 เปอร์เซ็นต์ในปี 2010"
เขาบอกอีกว่า เนื่องจากมีสัญญาณในเชิงบวกดังกล่าว ประเทศต่างๆ จึงไม่ควรรู้สึกท้อแท้
ประธานเอดีบียังพูดถึงเค้าโครงแผนการขยายสินเชื่อวงเงินมหาศาลของเอดีบีเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาทั่วเอเชีย หลังจากที่บรรดาผู้ถือหุ้นของเอดีบีได้ให้ความเห็นชอบไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วในเรื่องการเพิ่มทุนของธนาคารเป็นสามเท่าตัว เพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยขณะนี้
ทั้งนี้ เอดีบีจะเพิ่มเงินกู้ช่วยเหลือให้แก่ประเทศยากจนที่สุดในภูมิภาคนี้กว่า 10,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2009-2010 ซึ่งจะรวมถึงเงินจำนวน 3,000 ล้านดอลลาร์สำหรับใช้ใน "กรณีเร่งด่วนซึ่งเป็นผลพวงจากวิกฤตการณ์"
เงินกู้ก้อนใหม่บางส่วนมุ่งไปที่การช่วยประเทศต่างๆ ในเอเชียให้ปรับตัวต่อการที่ปริมาณความต้องการสินค้าส่งออกในตลาดใหญ่เช่นยุโรปและสหรัฐฯ กำลังทรุดดิ่งลง
"การเคลื่อนย้ายเงินออมจากภูมิภาคหนึ่งของโลกไปยังอีกภูมิภาค จะเป็นไปอย่างดีก็ต่อเมื่อประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้ากว่ามีกำลังซื้อสินค้าที่ผลิตจากประเทศเศรษฐกิจกำลังพัฒนา แต่จากสภาวะที่เป็นอยู่ในตอนนี้แสดงว่าห้วงเวลาดังกล่าวได้ผ่านพ้นไปแล้ว" คุโรดะบอก
"การปรับสมดุลใหม่โดยลดการพึ่งพาการส่งออกเป็นตัวผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโต แล้วหันไปพึ่งปริมาณความต้องการสินค้าและการบริโภคของตลาดภายในประเทศให้มากขึ้น จะช่วยให้เอเชียเดินหน้าไปสู่การพัฒนาแบบใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งโลกได้" เขากล่าวต่อ
ก่อนหน้านี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ก็เคยบอกว่า หากเอเชียลดอัตราดอกเบี้ยลงและการใช้จ่ายของภาครัฐเพิ่มขึ้น จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ เนื่องจากระบบการธนาคารในเอเชียไม่ได้มีปัญหาหนักหน่วงระดับเดียวกับในสหรัฐฯ และประเทศในยุโรป
นอกจากนั้น ยังมีข้อมูลทางเศรษฐกิจเมื่อเร็วๆ นี้ที่ให้ความหวังว่าจีนจะเป็นประเทศแรกที่พาตนเองให้หลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยได้ก่อนประเทศอื่น
ส่วนในอินเดีย มีการคาดหมายว่าผลผลิตทางการเกษตรจะสูงมาก ซึ่งจะกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคให้สูงด้วย จึงทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เซนเซ็กส์ของตลาดมุมไบพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบหกเดือน โดยพวกผู้บริหารกองทุนต่างก็หันมาให้น้ำหนักการลงทุนในอินเดียเพิ่มขึ้น
ที่ญี่ปุ่น ผลผลิตจากโรงงานในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 1.6 เปอร์เซ็นต์จากเดือนก่อนหน้า นับเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว ทำให้การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของญี่ปุ่นเมื่อสัปดาห์ที่แล้วกลับมาคึกคักขึ้นอีกครั้ง
นอกจากนั้น คุโรดะยังได้เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเงินโลกโดยรับฟังเสียงจากประเทศในเอเชียให้มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อจีนและอินเดียกำลังก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งของสหรัฐฯ ในการกำหนดทิศทางเศรษฐกิจโลก ท่าทีดังกล่าวนี้ยังสอดคล้องกับเสียงเรียกร้องของจีนที่ต้องการมีอำนาจตัดสินใจในองค์การสำคัญๆทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศมากขึ้น อย่างเช่นไอเอ็มเอฟ เป็นต้น