อภ.วุ่นคนตื่น“ไข้หวัดเม็กซิโก” แห่ขอซื้อยาต้านไวรัสโอเซลทาร์มิเวียตุน จุฬาฯ เจ๋งพัฒนาออกแบบวิธีการตรวจหาสารพันธุกรรมแบบเรียลไทม์ ทราบผลภายใน 4 ชม.สำเร็จ เร่งประสานสหรัฐฯขอเชื้อไวรัสตายมาตรวจวิเคราะห์ ชี้หากเชื้อระบาดระดับ 6 รัฐบาลไทยต้องประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินควบคุมโรค สธ. ระบุมีคนไทยในเม็กซิโกขอกลับ 14 คน วันที่ 3 พ.ค.นี้ ด้าน"เม็กซิโก" ระบุเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ไม่ได้มีฤทธิ์ร้ายแรงเหมือนที่กลัวกันตอนแรก ขณะที่"ฮ่องกง" และ "เดนมาร์ก" กลายเป็นดินแดนและประเทศล่าสุดซึ่งประกาศยืนยันว่า พบผู้ติดเชื้อรายแรกแล้ว
ภายหลังการแพร่ระบาดของ“ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” ได้ทำให้ประชาชนจำนวนมากเกิดความวิตกกังวลกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งหลังจากได้มีการโทรศัพท์ไปสอบถามยังองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ก็พบว่า มีประชาชนโทรศัพท์เข้ามาติดต่อขอสั่งซื้อยาโอเซลทามิเวียร์ ที่อภ.ผลิตได้ในชื่อ จีพีโอ เอ ฟลู และวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่จำนวนมาก โดยประชาชนให้เหตุผลว่า ต้องการนำยาดังกล่าวซื้อติดบ้านไว้ หากมีการระบาดจะได้ทานยาเพื่อป้องกันและไม่ให้มีอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต
น.ส.ศิริวรรณ เอียวพันธ์ ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ อภ.กล่าวว่า เท่าที่ทราบข้อมูลแค่เฉพาะร้านขายยาของ อภ.ที่สาขาหน้า อภ.ถนนพระราม 6 จะมีประชาชนโทรเข้ามาสอบถาม และสั่งซื้อยาโอเซลทามิเวียร์ เป็นหลายสิบสายต่อวัน เนื่องจากความวิตกกังวลต่อข่าวการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทั่วโลก ซึ่งอภ.ต้องชี้แจงไปว่า ยาดังกล่าวสำหรับการรักษาโรค ไม่ใช่เพื่อการป้องกัน และที่สำคัญยังไม่มีการระบาดในประเทศไทย
นอกจากนี้ อภ.มีหน้าที่ในการผลิตเพียงอย่างเดียว เพื่อส่งมอบยาให้แก่กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข ในการกระจายยาไปยังสถานพยาบาล โดยมีแพทย์เป็นผู้วินิจฉัยว่า ควรจะได้รับยาชนิดนั้นหรือไม่ ซึ่ง อภ.ไม่มีหน้าที่จำหน่ายยาดังกล่าวแต่อย่างใด ส่วนวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ไม่สามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ได้
“มีประชาชนโทรศัพท์มาเป็นจำนวนมาก แค่เฉพาะสาขาที่ถนนพระราม 6 วันละหลายสิบสาย ยังไม่รวมสาขาอื่นๆอีก 11 สาขา ซึ่งบางครั้งก็เป็นประชาชนโทรมาสอบถามเพื่อที่จะซื้อไว้ป้องกัน บางรายก็จะซื้อพกติดตัวไว้ เพราะจะเดินทางไปต่างประเทศ หรือบางครั้งมีบริษัทต่างชาติในไทยติดต่อขอซื้อไปให้พนักงานทาน ซึ่งยังถือว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดๆ จึงอยากประชาสัมพันธ์มาให้ทราบว่า หน้าที่กระจายยาดังกล่าวไม่ใช่เป็นของอภ. และยาดังกล่าวเป็นยาสำหรับการรักษา ไม่ใช่ป้องกัน และสธ.ได้เตรียมความพร้อมไว้เพียงพอสำหรับการระบาดแล้ว"
“โอเซลทามิเวียร์” ไม่ขายตามร้านขายยา
ภก.ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์ ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ขณะนี้มียา 2 ตัว คือโอเซลทามิเวียร์ชนิดรับประทาน ซึ่งอภ. สามารถผลิต ราคาไม่แพง และซานามิเวียร์ ที่เป็นชนิดพ่น แต่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ มีราคาแพง ส่วนประสิทธิภาพการรักษานั้นไม่แตกต่างกัน
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาพบว่า การใช้ยาดังกล่าวก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยาดังกล่าวไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่หากมีอาการเป็นไข้ ตัวร้อน มีประวัติการสัมผัสผู้ป่วย หรือเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
ใช้ชื่อ’ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่2009’
วานนี้(1 พ.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ซึ่งวานนี้นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุขได้มีคำสั่งจัดตั้งศูนย์บัญชาการ เตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์ การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ของกระทรวง ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
นพ.ปราชญ์ กล่าวว่า ขณะนี้องค์การอนามัยโลก ได้เปลี่ยนการเรียกชื่อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จากที่เคยเรียกว่า ไข้หวัดหมู หรือ สไวน์ ฟลู (Swine Flu) และไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก เป็น “ไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1” (Influenza A H1N1) ซึ่งต่อไปนี้ สธ.จะใช้ชื่อคล้ายกับขององค์การอนามัยโลก แต่เพิ่มคำว่า สายพันธุ์ใหม่ 2009 คือ “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ 2009 เอช 1 เอ็น 1” หรือชื่อย่อว่า “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009”
คนไทยในเม็กซิโกขอกลับ 14 ราย
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดสธ. กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงต่างประเทศได้รายงานว่ามีคนไทยในเม็กซิโก ที่แสดงความประสงค์จะเดินทางกลับประเทศ ในวันอาทิตย์ที่ 3 พ.ค. เวลา 23.00 น. จำนวน 14 ราย ซึ่งเป็นนักเรียนโครงการแลกเปลี่ยน 7 คน และอาสาสมัครอีก 7 คน และอาจมีคนที่จะแสดงความประสงค์เดินทางเพิ่มอีก
โดยกระทรวงต่างประเทศจะเป็นผู้ประสาน และรายงานให้ สธ.รับทราบ เพื่อเตรียมพร้อมในการจัดหน่วยแพทย์ไปรอรับที่สนามบิน เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด หากพบว่ามีไข้จะนำส่งโรงพยาบาลบำราศนราดูร เพื่อตรวจสอบอาการต่อไป หากไม่มีไข้ จะถามความสมัครใจว่า จะกลับบ้านแต่อยู่ภายใต้การดูแลจากกระทรวง หรือเข้าพักในสถานที่ที่เตรียมไว้ให้ เพื่อรอดูอาการ
“แม้ว่าระยะฟักตัวของเชื้อจะมีโอกาสแพร่เชื้อได้ แต่ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำกว่าระยะที่มีการแสดงอาการแล้ว เพราะจำนวนเชื้อมีอัตราต่างกันมาก ต้องอยู่ในระยะใกล้ชิดมากจึงจะมีความเสี่ยง”นพ.ไพจิตร์ กล่าว
เรียกผู้ว่าฯประชุมด่วน 6 พ.ค.
นพ.ปราชญ์กล่าวว่า สธ.จะจัดประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดในวันพุธที่ 6 พ.ค.นี้ เพื่อจัดการซ้อมแผนรับมือหากเกิดการระบาดใหญ่ ระหว่างสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กับกรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในด้านการแพทย์ ซึ่งสิ่งที่ สธ.จะต้องเคร่งครัดคือ การป้องกันปัญหาการดื้อยาต้านไวรัส โอเซลทาร์มิเวียร์ (Oseltamivir) ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีปัญหา เนื่องจากยาดังกล่าวต้องใช้โดยแพทย์สั่ง มีเฉพาะในสถานพยาบาล ไม่มีจำหน่ายในร้านขายยา นอกจากนั้น ในวันจันทร์ที่ 4 พ.ค.นี้ กรมการแพทย์จะจัดประชุมแพทย์ผู้รักษาและผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วประเทศ ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์
จุฬาฯพัฒนาวิธีแบบเรียลไทม์สำเร็จ
วันเดียวกัน ที่จุฬาลงกรณ์ฯ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวถึงสถานการณ์ปัจจุบันของไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 ว่าคณะแพทย์ศาสตร์จุฬาฯ ได้พัฒนาออกแบบวิธีการตรวจหาสารพันธุ กรรมของยีนในเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชนิด A สายพันธุ์ H1N1 2009 แบบเรียลไทม์ (Real time PCR) ซึ่งสามารถตรวจวิเคราะห์ผลภายใน 4-6 ชั่วโมงสำเร็จ โดยสามารถทราบผลการตรวจทันทีว่า เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิด A สายพันธุ์ H1N1 2009 หรือไม่ ต่างจากวิธีการตรวจหาสารพันธุกรรม (PCR) ที่ต้องใช้เวลาตรวจหาสารพันธุกรรมเป็นเวลานาน
“ขณะนี้ได้ประสานกรมควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา ให้ส่งต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่เป็นเชื้อตายที่ถูกทำลายแล้วไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้ ไม่มีการติดต่ออย่างเด็ดขาด โดยจะมาถึงไทยภายในสัปดาห์นี้ หรืออย่างช้าที่สุดในวันที่ 4 พ.ค. เพื่อนำมาตรวจหาสารพันธุกรรม (RNA) ในห้องปฏิบัติการพร้อมขยายเชื้อไวรัสเพื่อทำการศึกษาต่อไปด้วย” ศ.นพ.ยง กล่าว
ถ้าระดับ 6 ต้องใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ศ.นพ.ยง กล่าวอีก หากองค์การอนามัยโลก มีการประกาศยกระดับสถานการณ์ระบาดรุนแรงถึงระดับ 6 ซึ่งมีการระบาดข้ามทวีปแพร่ทั่วโลก เกิดเป็นมหัตภัยจะส่งผลกระทบถึงไทยด้วย ในส่วนของโรงพยาบาลต่างๆ ทุกแห่ง มีกลยุทธ์ในการรับมือ โดยเตรียม พร้อมทั้งห้องแยกเชื้อสำหรับผู้ป่วยที่ได้มาตรฐานสากล รวมทั้งไม่รับผู้ป่วยที่ไม่เร่งด่วน โดยโรงพยาบาลจุฬาฯ มีการซ้อมแผนปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม หากเกิดความวุ่นวายขึ้น รัฐบาลอาจจำเป็นต้องมีการประกาศใช้พ.ร.ก.ในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมโรค
สั่งอารักขาเข้มรมต.สธ.อาเซียน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเตรียมพร้อมเรื่องความปลอดภัยในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนระหว่างวันที่ 7-8 พ.ค.ว่า ขณะนี้โลกกำลังร่วมมือกันเฝ้าระวังและอาเซียนควรจะผนึกกำลังกัน เพราะไทยเคยเป็นแบบอย่างที่ดีในช่วงของการร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อรับมือโรคซาร์ส และไข้หวัดนก จึงเป็นการประชุมที่รัฐบาลจะเดินหน้าจัดให้ดีที่สุด
เมื่อถามว่า ช่วงวันที่ 7-8 พ.ค. ใกล้เคียงกับช่วงที่กลุ่มคนเสื้อแดงนัดชุมนุมใหญ่ จะมีปัญหาหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขอให้ผู้ชุมนุมอยู่ในกรอบของกฎหมาย แต่รัฐบาลจะไม่ประมาท โดยจะทบทวนบทเรียนในอดีตมาใช้ในการทำงาน
“อนุพงษ์” มั่นใจปลอดภัย 100%
วานนี้ (1พ.ค.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมในการดูแลรักษาความปลอดภัยในการประชุมระดับรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนในวันที่ 7-9 พ.ค.
พล.อ. อนุพงศ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. เปิดเผยภายหลังการกระชุมความมั่นคงฯว่า ที่ประชุมหารือเรื่องการรักษาความปลอดภัยในการประชุมสาธารณสุขอาเซียนที่กทม. ในวันที่ 7-8 พ.ค.นี้ โดยเห็นชอบให้กระทรวงกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบ โดยให้ใช้กำลังพลทุกภาคส่วนเข้ามารักษาความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม กำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นกำลังหลักในการรักษาความปลอดภัย โดยทหารจะปฏิบัติงานในฐานะผู้ช่วยเจ้าพนักงาน ซึ่งมั่นใจ 100% ว่าการประชุมสาธารณสุขอาเซียน จะปลอดภัยที่สุด
สต๊อกยาอาเซียนมีกว่า 20 ล้านเม็ด
นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยถึงการสต๊อกยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ว่า ในส่วนของไทยมีสต๊อกอยู่ประมาณ 5 ล้านเม็ด ขณะนี้กำลังให้องค์การเภสัชกรรมผลิตเพิ่มอีก 1 ล้านเม็ด เพื่อให้ได้ประมาณ 10 % ของประชากร ขณะที่สิงคโปร์มีการสต๊อกยาต้านไวรัสไว้ถึง 5 ล้านเม็ด ส่วนประเทศอื่นๆ ก็มีการสต๊อกยาบางส่วนไว้แล้ว ทั้งนี้ คาดว่าในส่วนของประเทศอาเซียนน่าจะมีสต๊อกยาโอเซลทามิเวียร์ประมาณ ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านเม็ด
ถ่ายทอดสดประชุมฯรมว.สธ.อาเซียน+3
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน กล่าวว่า ขณะนี้กำลังประสานกับกรมควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา (CDC)เพื่อที่จะถ่ายทอดสดวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์จากการประชุมรมต.สาธารณสุขอาเซียน+3 หารือกับเจ้าหน้าที่ของซีดีซี เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ แนวทางการสอบสวนโรค การควบคุมโรค การป้องกัน รักษา และปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยโรค ซึ่งจะติดต่อให้มีการเชื่อมโยงกับคณะแพทย์และทีมสอบสวนโรคของประเทศในอาเซียนโดยตรงกับประเทศที่มีการระบาด
เม็กซิโกระบุเชื้อไม่ร้ายแรง
รัฐมนตรีสาธารณสุข โฮเซ อังเฆล กอร์โดบา ของเม็กซิโก แถลงข่าววานนี้(1 พ.ค.)ระบุว่า เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ปะทุขึ้นก่อนเพื่อนในเม็กซิโกนั้น "ไม่ได้ร้ายแรง"เหมือนกับที่หวั่นกลัวกันในตอนแรก
เขาบอกว่า เป็นโชคดีที่ไวรัสไข้หวัดใหญ่เอช1เอ็น1สายพันธุ์ใหม่นี้ ไม่ได้มีฤทธิ์รุนแรงเหมือนกรณีไข้หวัดนก ซึ่งทำให้ผู้ติดเชื้อมีอัตราเสียชีวิตถึงเกือบๆ 70% โดยแม้ไวรัสล่าสุดนี้จะแพร่ระบาดกว้างขวางกว่าเชื้อไข้หวัดนก แต่ก็สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาต่อต้านไวรัสตั้งแต่เนิ่นๆ "ถ้าการรักษามีการให้ยากันตั้งแต่วันแรกเลย" รัฐมนตรีผู้นี้กล่าว
เม็กซิโกยังให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อล่าสุดว่า มีผู้ติดเชื้อ 328 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิตไป 15 คน ตัวเลขเหล่านี้สูงขึ้นกว่าที่แถลงในวันพฤหัสบดี ซึ่งระบุว่า มีผู้ติดเชื้อ 300 คน และเสียชีวิต 12 คน
ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีสาธารณสุขผู้นี้แถลงว่า บรรดาโรงพยาบาลภาครัฐ ซึ่งรับรักษาผู้ติดเชื้อถึงราวครึ่งหนึ่งของประเทศนั้น เมื่อวันพฤหัสบดีรับคนไข้ที่มีอาการไข้หวัดใหญ่อย่างรุนแรงเพียง 46 ราย ลดต่ำฮวบฮาบจากเมื่อวันที่ 20 เมษายน ซึ่งมีถึง 212 ราย "เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดกำลังใจ" เขากล่าว
เม็กซิโกซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น การระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ เริ่มการหยุดงานเป็นเวลา 5 วันตั้งแต่วานนี้ โดยที่สำนักงานและธุรกิจส่วนใหญ่ ต่างพากันปิดทำการ ทางการหวังที่จะใช้การหยุดงานเป็นมาตรการหนึ่ง ในการยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อร้าย
WHOยังไม่ยกระดับความรุนแรง
องค์การอนามัยโลก(WHO)ระบุในเว็บไซต์ของตนเมื่อวันพฤหัสบดี(30 เม.ย.)ว่า ต่อไปนี้ ทางองค์การจะเรียกชื่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ที่กำลังสำแดงฤทธิ์อย่างน่าหวาดหวั่นเวลานี้ว่า "ไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (เอช1เอ็น1)" หรือ " influenza A (H1N1)"
ก่อนหน้านี้ WHO แจ้งว่ากำลังพิจารณาตรวจสอบชื่อเชื้อไวรัสที่เรียกขานว่า "ไข้หวัดใหญ่หมู" (swine flu) ภายหลังได้รับคำร้องเรียนว่า ชื่อดังกล่าวเป็นเหตุให้การค้าเนื้อหมูต้องได้รับความเสียหายอย่างไม่เป็นธรรม
เมื่อวันพุธ ( 29 เม.ย.) ทางการสหรัฐฯก็แถลงว่า ได้ตัดสินใจให้เรียกเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เอ/เอช1เอ็น1 สายพันธุ์ใหม่ที่ปะทุขึ้นครั้งแรกในเม็กซิโกนี้ว่า "ไข้หวัดใหญ่ 2009 เอช1เอ็น1" หรือ "2009 H1N1 flu"
วานนี้(1) ทางด้านโฆษกองค์การอนามัยโลก (WHO) ธอมัส อับราฮัม แถลงว่า ขณะนี้ทางองค์การยังไม่มีกำหนดนัดหมายใดๆ เพื่อประชุมคณะกรรมการฉุกเฉิน อันเป็นหน่วยงานที่ให้คำแนะนำในเรื่องการประกาศระดับเตือนภัยโรคระบาด
คณะกรรมการฉุกเฉิน ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ ทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ผู้อำนวยการใหญ่ WHO มาร์กาเร็ต ชาน ว่าสมควรจะเปลี่ยนแปลงระดับการเตือนภัยโรคระบาดหรือไม่ โดยที่ครั้งหลังสุดที่ WHO ประกาศในเรื่องนี้คือ เมื่อวันพุธ (29เม.ย.)ที่ยกระดับการเตือนภัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ เอช1เอ็น1 คราวนี้จากระดับ 4 เป็นระดับ 5 และการที่ยังไม่มีนัดหมายประชุมคณะกรรมการฉุกเฉิน จึงส่อนัยว่าในช่วงนี้จะยังไม่มีการประกาศยกระดับการเตือนภัยโรคระบาดจากระดับ 5 สู่ระดับ 6 อันเป็นระดับสูงสุด
ติดเชื้อ 331 คนใน 11 ประเทศ
องค์การอนามัยโลกระบุในคำแถลง ซึ่งนำออกเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของตนวานนี้ว่า เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่เปลี่ยนมาใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ไข้หวัดใหญ่ เอ (เอช1เอ็น1) ในขณะนี้เป็นที่ยืนยันชัดเจนว่ามีผู้ติดเชื้อ 331 คนใน 11 ประเทศ ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตไป 10 ราย
ทั้งนี้ ในสหรัฐฯมีผู้ติดเชื้อที่พิสูจน์ยืนยันแล้ว 109 ราย โดยรายหนึ่งเสียชีวิต ส่วนที่เม็กซิโก มีรายที่ยืนยันแล้ว 156 ราย โดยเสียชีวิตไป 9 คน สำหรับในประเทศอื่นๆ มี แคนาดา 34 ราย, สเปน 13 ราย, สหราชอาณาจักร 8 ราย, เยอรมนี 3 ราย, เนเธอร์แลนด์ 1 ราย, สวิตเซอร์แลนด์ 1 ราย, ออสเตรีย 1 ราย, อิสราเอล 2 ราย, และนิวซีแลนด์ 3 ราย
อย่างไรก็ตาม มีหลายประเทศให้ตัวเลขซึ่งสูงกว่าของ WHO ตัวอย่างเช่น เม็กซิโกระบุว่า มีผู้เสียชีวิตโดยต้องสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสร้ายนี้ถึง 176 คน และในจำนวนนี้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบยืนยันแล้วมี 12 ราย ยอดผู้ติดเชื้ออย่างเป็นทางการคราวนี้ของ WHO ซึ่งอาศัยผลตรวจทางห้องทดลองที่พิเศษเจาะจงอย่างยิ่งมายืนยันนั้น รวมถึงผู้ติดเชื้อรายหนึ่งในสเปน ซึ่งติดเชื้อต่อมาจากผู้เดินทางกลับจากเม็กซิโก ลักษณะเช่นนี้บ่งชี้ว่า เชื้อไวรัสที่กำลังระบาดในสเปน มีการติดต่อจากคนสู่คนภายในประเทศนี้เองแล้ว
ทั้งนี้ เมื่อถูกสอบถามถึงการระบาดในสเปนนี้ โฆษก WHO ได้บอกกับผู้สื่อข่าวในเวลาต่อมาว่า "เรายังไม่มีหลักฐานว่า มีการแพร่เชื้อแบบเกิดขึ้นภายในชุมชนในยุโรปเลย กรณีนี้ไม่ใช่เป็นการแพร่เชื้อจากคนสู่คน ซึ่งเกิดขึ้นภายในชุมชน อันมีลักษณะยั่งยืน”
" เราจำเป็นต้องให้แน่ใจว่า มันตั้งหลักมั่นอยู่ในชุมชนแล้วจริงๆ ไม่ใช่เป็นเพียงกรณีการพลัดหลงของผู้เดินทางคนหนึ่งที่ส่งต่อเชื้อไวรัสไปยังบุคคลคนหนึ่งหรือสองคน"
อันที่จริง นอกจากที่สเปนแล้ว เยอรมนีก็เป็นชาติยุโรปอีกรายหนึ่งซึ่งระบุว่า มีการแพร่เชื้อสู่คนที่ไม่ได้เดินทางไปเม็กซิโก
กระทรวงสาธารณสุขเยอรมนีแถลงวานนี้ว่า พยาบาลผู้หนึ่งในแคว้นบาวาเรีย ซึ่งไม่ได้เดินทางไปยังเม็กซิโกในระยะเร็ววันนี้ แต่ทำหน้าที่พยาบาลคนไข้ผู้หนึ่งซึ่งติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เอ (เอช1เอ็น1) ได้ติดเชื้อร้ายนี้แล้ว
ทั้งนี้ นอกจากพยาบาลผู้นี้แล้ว ยังมีในเยอรมนียังมีผู้ติดเชื้อที่ทางการประเทศนี้ยืนยันแล้วอีก 4 ราย
นอกจากนั้น โฆษกกรมส่งเสริมและคุ้มครองสุขภาพ ของรัฐโนวาสโกเชีย ประเทศแคนาดา ได้แถลงในวันพฤหัสบดีว่า พบผู้ติดเชื้อรายแรกที่ได้รับเชื้อจากคนสู่คนภายในแคนาดาเอง โดยเหยื่อรายนี้ติดเชื้อจากนักศึกษาคนหนึ่งที่เพิ่งเดินทางกลับจากเม็กซิโก แต่ทั้งสองรายนี้ต่างแสดงอาการค่อนข้างเบาบาง
อนึ่ง หัวหน้าผู้บริหารเขตฮ่องกง โดนัลด์ จาง แถลงวานนี้ว่า พบผู้ติดเชื้อไข้หวัดหมูที่ยืนยันแน่นอนแล้วรายแรกในฮ่องกง โดยเขาผู้นี้เป็นชาวเม็กซิโกซึ่งเดินทางจากประเทศนั้นผ่านนครเซี่ยงไฮ้ มาถึงฮ่องกงเมื่อวันพฤหัสบดี
ส่วนโฆษกของคณะกรรมการสาธารณสุขเดนมาร์ก ก็แจ้งวานนี้เช่นกันว่า พบผู้ติดเชื้อซึ่งมีการตรวจยืนยันแล้วเป็นรายแรก ทว่าไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อผู้นี้
ภายหลังการแพร่ระบาดของ“ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” ได้ทำให้ประชาชนจำนวนมากเกิดความวิตกกังวลกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งหลังจากได้มีการโทรศัพท์ไปสอบถามยังองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ก็พบว่า มีประชาชนโทรศัพท์เข้ามาติดต่อขอสั่งซื้อยาโอเซลทามิเวียร์ ที่อภ.ผลิตได้ในชื่อ จีพีโอ เอ ฟลู และวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่จำนวนมาก โดยประชาชนให้เหตุผลว่า ต้องการนำยาดังกล่าวซื้อติดบ้านไว้ หากมีการระบาดจะได้ทานยาเพื่อป้องกันและไม่ให้มีอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต
น.ส.ศิริวรรณ เอียวพันธ์ ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ อภ.กล่าวว่า เท่าที่ทราบข้อมูลแค่เฉพาะร้านขายยาของ อภ.ที่สาขาหน้า อภ.ถนนพระราม 6 จะมีประชาชนโทรเข้ามาสอบถาม และสั่งซื้อยาโอเซลทามิเวียร์ เป็นหลายสิบสายต่อวัน เนื่องจากความวิตกกังวลต่อข่าวการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทั่วโลก ซึ่งอภ.ต้องชี้แจงไปว่า ยาดังกล่าวสำหรับการรักษาโรค ไม่ใช่เพื่อการป้องกัน และที่สำคัญยังไม่มีการระบาดในประเทศไทย
นอกจากนี้ อภ.มีหน้าที่ในการผลิตเพียงอย่างเดียว เพื่อส่งมอบยาให้แก่กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข ในการกระจายยาไปยังสถานพยาบาล โดยมีแพทย์เป็นผู้วินิจฉัยว่า ควรจะได้รับยาชนิดนั้นหรือไม่ ซึ่ง อภ.ไม่มีหน้าที่จำหน่ายยาดังกล่าวแต่อย่างใด ส่วนวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ไม่สามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ได้
“มีประชาชนโทรศัพท์มาเป็นจำนวนมาก แค่เฉพาะสาขาที่ถนนพระราม 6 วันละหลายสิบสาย ยังไม่รวมสาขาอื่นๆอีก 11 สาขา ซึ่งบางครั้งก็เป็นประชาชนโทรมาสอบถามเพื่อที่จะซื้อไว้ป้องกัน บางรายก็จะซื้อพกติดตัวไว้ เพราะจะเดินทางไปต่างประเทศ หรือบางครั้งมีบริษัทต่างชาติในไทยติดต่อขอซื้อไปให้พนักงานทาน ซึ่งยังถือว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดๆ จึงอยากประชาสัมพันธ์มาให้ทราบว่า หน้าที่กระจายยาดังกล่าวไม่ใช่เป็นของอภ. และยาดังกล่าวเป็นยาสำหรับการรักษา ไม่ใช่ป้องกัน และสธ.ได้เตรียมความพร้อมไว้เพียงพอสำหรับการระบาดแล้ว"
“โอเซลทามิเวียร์” ไม่ขายตามร้านขายยา
ภก.ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์ ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ขณะนี้มียา 2 ตัว คือโอเซลทามิเวียร์ชนิดรับประทาน ซึ่งอภ. สามารถผลิต ราคาไม่แพง และซานามิเวียร์ ที่เป็นชนิดพ่น แต่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ มีราคาแพง ส่วนประสิทธิภาพการรักษานั้นไม่แตกต่างกัน
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาพบว่า การใช้ยาดังกล่าวก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยาดังกล่าวไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่หากมีอาการเป็นไข้ ตัวร้อน มีประวัติการสัมผัสผู้ป่วย หรือเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
ใช้ชื่อ’ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่2009’
วานนี้(1 พ.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ซึ่งวานนี้นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุขได้มีคำสั่งจัดตั้งศูนย์บัญชาการ เตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์ การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ของกระทรวง ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
นพ.ปราชญ์ กล่าวว่า ขณะนี้องค์การอนามัยโลก ได้เปลี่ยนการเรียกชื่อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จากที่เคยเรียกว่า ไข้หวัดหมู หรือ สไวน์ ฟลู (Swine Flu) และไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก เป็น “ไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1” (Influenza A H1N1) ซึ่งต่อไปนี้ สธ.จะใช้ชื่อคล้ายกับขององค์การอนามัยโลก แต่เพิ่มคำว่า สายพันธุ์ใหม่ 2009 คือ “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ 2009 เอช 1 เอ็น 1” หรือชื่อย่อว่า “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009”
คนไทยในเม็กซิโกขอกลับ 14 ราย
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดสธ. กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงต่างประเทศได้รายงานว่ามีคนไทยในเม็กซิโก ที่แสดงความประสงค์จะเดินทางกลับประเทศ ในวันอาทิตย์ที่ 3 พ.ค. เวลา 23.00 น. จำนวน 14 ราย ซึ่งเป็นนักเรียนโครงการแลกเปลี่ยน 7 คน และอาสาสมัครอีก 7 คน และอาจมีคนที่จะแสดงความประสงค์เดินทางเพิ่มอีก
โดยกระทรวงต่างประเทศจะเป็นผู้ประสาน และรายงานให้ สธ.รับทราบ เพื่อเตรียมพร้อมในการจัดหน่วยแพทย์ไปรอรับที่สนามบิน เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด หากพบว่ามีไข้จะนำส่งโรงพยาบาลบำราศนราดูร เพื่อตรวจสอบอาการต่อไป หากไม่มีไข้ จะถามความสมัครใจว่า จะกลับบ้านแต่อยู่ภายใต้การดูแลจากกระทรวง หรือเข้าพักในสถานที่ที่เตรียมไว้ให้ เพื่อรอดูอาการ
“แม้ว่าระยะฟักตัวของเชื้อจะมีโอกาสแพร่เชื้อได้ แต่ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำกว่าระยะที่มีการแสดงอาการแล้ว เพราะจำนวนเชื้อมีอัตราต่างกันมาก ต้องอยู่ในระยะใกล้ชิดมากจึงจะมีความเสี่ยง”นพ.ไพจิตร์ กล่าว
เรียกผู้ว่าฯประชุมด่วน 6 พ.ค.
นพ.ปราชญ์กล่าวว่า สธ.จะจัดประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดในวันพุธที่ 6 พ.ค.นี้ เพื่อจัดการซ้อมแผนรับมือหากเกิดการระบาดใหญ่ ระหว่างสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กับกรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในด้านการแพทย์ ซึ่งสิ่งที่ สธ.จะต้องเคร่งครัดคือ การป้องกันปัญหาการดื้อยาต้านไวรัส โอเซลทาร์มิเวียร์ (Oseltamivir) ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีปัญหา เนื่องจากยาดังกล่าวต้องใช้โดยแพทย์สั่ง มีเฉพาะในสถานพยาบาล ไม่มีจำหน่ายในร้านขายยา นอกจากนั้น ในวันจันทร์ที่ 4 พ.ค.นี้ กรมการแพทย์จะจัดประชุมแพทย์ผู้รักษาและผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วประเทศ ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์
จุฬาฯพัฒนาวิธีแบบเรียลไทม์สำเร็จ
วันเดียวกัน ที่จุฬาลงกรณ์ฯ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวถึงสถานการณ์ปัจจุบันของไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 ว่าคณะแพทย์ศาสตร์จุฬาฯ ได้พัฒนาออกแบบวิธีการตรวจหาสารพันธุ กรรมของยีนในเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชนิด A สายพันธุ์ H1N1 2009 แบบเรียลไทม์ (Real time PCR) ซึ่งสามารถตรวจวิเคราะห์ผลภายใน 4-6 ชั่วโมงสำเร็จ โดยสามารถทราบผลการตรวจทันทีว่า เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิด A สายพันธุ์ H1N1 2009 หรือไม่ ต่างจากวิธีการตรวจหาสารพันธุกรรม (PCR) ที่ต้องใช้เวลาตรวจหาสารพันธุกรรมเป็นเวลานาน
“ขณะนี้ได้ประสานกรมควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา ให้ส่งต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่เป็นเชื้อตายที่ถูกทำลายแล้วไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้ ไม่มีการติดต่ออย่างเด็ดขาด โดยจะมาถึงไทยภายในสัปดาห์นี้ หรืออย่างช้าที่สุดในวันที่ 4 พ.ค. เพื่อนำมาตรวจหาสารพันธุกรรม (RNA) ในห้องปฏิบัติการพร้อมขยายเชื้อไวรัสเพื่อทำการศึกษาต่อไปด้วย” ศ.นพ.ยง กล่าว
ถ้าระดับ 6 ต้องใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ศ.นพ.ยง กล่าวอีก หากองค์การอนามัยโลก มีการประกาศยกระดับสถานการณ์ระบาดรุนแรงถึงระดับ 6 ซึ่งมีการระบาดข้ามทวีปแพร่ทั่วโลก เกิดเป็นมหัตภัยจะส่งผลกระทบถึงไทยด้วย ในส่วนของโรงพยาบาลต่างๆ ทุกแห่ง มีกลยุทธ์ในการรับมือ โดยเตรียม พร้อมทั้งห้องแยกเชื้อสำหรับผู้ป่วยที่ได้มาตรฐานสากล รวมทั้งไม่รับผู้ป่วยที่ไม่เร่งด่วน โดยโรงพยาบาลจุฬาฯ มีการซ้อมแผนปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม หากเกิดความวุ่นวายขึ้น รัฐบาลอาจจำเป็นต้องมีการประกาศใช้พ.ร.ก.ในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมโรค
สั่งอารักขาเข้มรมต.สธ.อาเซียน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเตรียมพร้อมเรื่องความปลอดภัยในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนระหว่างวันที่ 7-8 พ.ค.ว่า ขณะนี้โลกกำลังร่วมมือกันเฝ้าระวังและอาเซียนควรจะผนึกกำลังกัน เพราะไทยเคยเป็นแบบอย่างที่ดีในช่วงของการร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อรับมือโรคซาร์ส และไข้หวัดนก จึงเป็นการประชุมที่รัฐบาลจะเดินหน้าจัดให้ดีที่สุด
เมื่อถามว่า ช่วงวันที่ 7-8 พ.ค. ใกล้เคียงกับช่วงที่กลุ่มคนเสื้อแดงนัดชุมนุมใหญ่ จะมีปัญหาหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขอให้ผู้ชุมนุมอยู่ในกรอบของกฎหมาย แต่รัฐบาลจะไม่ประมาท โดยจะทบทวนบทเรียนในอดีตมาใช้ในการทำงาน
“อนุพงษ์” มั่นใจปลอดภัย 100%
วานนี้ (1พ.ค.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมในการดูแลรักษาความปลอดภัยในการประชุมระดับรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนในวันที่ 7-9 พ.ค.
พล.อ. อนุพงศ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. เปิดเผยภายหลังการกระชุมความมั่นคงฯว่า ที่ประชุมหารือเรื่องการรักษาความปลอดภัยในการประชุมสาธารณสุขอาเซียนที่กทม. ในวันที่ 7-8 พ.ค.นี้ โดยเห็นชอบให้กระทรวงกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบ โดยให้ใช้กำลังพลทุกภาคส่วนเข้ามารักษาความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม กำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นกำลังหลักในการรักษาความปลอดภัย โดยทหารจะปฏิบัติงานในฐานะผู้ช่วยเจ้าพนักงาน ซึ่งมั่นใจ 100% ว่าการประชุมสาธารณสุขอาเซียน จะปลอดภัยที่สุด
สต๊อกยาอาเซียนมีกว่า 20 ล้านเม็ด
นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยถึงการสต๊อกยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ว่า ในส่วนของไทยมีสต๊อกอยู่ประมาณ 5 ล้านเม็ด ขณะนี้กำลังให้องค์การเภสัชกรรมผลิตเพิ่มอีก 1 ล้านเม็ด เพื่อให้ได้ประมาณ 10 % ของประชากร ขณะที่สิงคโปร์มีการสต๊อกยาต้านไวรัสไว้ถึง 5 ล้านเม็ด ส่วนประเทศอื่นๆ ก็มีการสต๊อกยาบางส่วนไว้แล้ว ทั้งนี้ คาดว่าในส่วนของประเทศอาเซียนน่าจะมีสต๊อกยาโอเซลทามิเวียร์ประมาณ ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านเม็ด
ถ่ายทอดสดประชุมฯรมว.สธ.อาเซียน+3
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน กล่าวว่า ขณะนี้กำลังประสานกับกรมควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา (CDC)เพื่อที่จะถ่ายทอดสดวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์จากการประชุมรมต.สาธารณสุขอาเซียน+3 หารือกับเจ้าหน้าที่ของซีดีซี เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ แนวทางการสอบสวนโรค การควบคุมโรค การป้องกัน รักษา และปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยโรค ซึ่งจะติดต่อให้มีการเชื่อมโยงกับคณะแพทย์และทีมสอบสวนโรคของประเทศในอาเซียนโดยตรงกับประเทศที่มีการระบาด
เม็กซิโกระบุเชื้อไม่ร้ายแรง
รัฐมนตรีสาธารณสุข โฮเซ อังเฆล กอร์โดบา ของเม็กซิโก แถลงข่าววานนี้(1 พ.ค.)ระบุว่า เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ปะทุขึ้นก่อนเพื่อนในเม็กซิโกนั้น "ไม่ได้ร้ายแรง"เหมือนกับที่หวั่นกลัวกันในตอนแรก
เขาบอกว่า เป็นโชคดีที่ไวรัสไข้หวัดใหญ่เอช1เอ็น1สายพันธุ์ใหม่นี้ ไม่ได้มีฤทธิ์รุนแรงเหมือนกรณีไข้หวัดนก ซึ่งทำให้ผู้ติดเชื้อมีอัตราเสียชีวิตถึงเกือบๆ 70% โดยแม้ไวรัสล่าสุดนี้จะแพร่ระบาดกว้างขวางกว่าเชื้อไข้หวัดนก แต่ก็สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาต่อต้านไวรัสตั้งแต่เนิ่นๆ "ถ้าการรักษามีการให้ยากันตั้งแต่วันแรกเลย" รัฐมนตรีผู้นี้กล่าว
เม็กซิโกยังให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อล่าสุดว่า มีผู้ติดเชื้อ 328 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิตไป 15 คน ตัวเลขเหล่านี้สูงขึ้นกว่าที่แถลงในวันพฤหัสบดี ซึ่งระบุว่า มีผู้ติดเชื้อ 300 คน และเสียชีวิต 12 คน
ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีสาธารณสุขผู้นี้แถลงว่า บรรดาโรงพยาบาลภาครัฐ ซึ่งรับรักษาผู้ติดเชื้อถึงราวครึ่งหนึ่งของประเทศนั้น เมื่อวันพฤหัสบดีรับคนไข้ที่มีอาการไข้หวัดใหญ่อย่างรุนแรงเพียง 46 ราย ลดต่ำฮวบฮาบจากเมื่อวันที่ 20 เมษายน ซึ่งมีถึง 212 ราย "เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดกำลังใจ" เขากล่าว
เม็กซิโกซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น การระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ เริ่มการหยุดงานเป็นเวลา 5 วันตั้งแต่วานนี้ โดยที่สำนักงานและธุรกิจส่วนใหญ่ ต่างพากันปิดทำการ ทางการหวังที่จะใช้การหยุดงานเป็นมาตรการหนึ่ง ในการยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อร้าย
WHOยังไม่ยกระดับความรุนแรง
องค์การอนามัยโลก(WHO)ระบุในเว็บไซต์ของตนเมื่อวันพฤหัสบดี(30 เม.ย.)ว่า ต่อไปนี้ ทางองค์การจะเรียกชื่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ที่กำลังสำแดงฤทธิ์อย่างน่าหวาดหวั่นเวลานี้ว่า "ไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (เอช1เอ็น1)" หรือ " influenza A (H1N1)"
ก่อนหน้านี้ WHO แจ้งว่ากำลังพิจารณาตรวจสอบชื่อเชื้อไวรัสที่เรียกขานว่า "ไข้หวัดใหญ่หมู" (swine flu) ภายหลังได้รับคำร้องเรียนว่า ชื่อดังกล่าวเป็นเหตุให้การค้าเนื้อหมูต้องได้รับความเสียหายอย่างไม่เป็นธรรม
เมื่อวันพุธ ( 29 เม.ย.) ทางการสหรัฐฯก็แถลงว่า ได้ตัดสินใจให้เรียกเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เอ/เอช1เอ็น1 สายพันธุ์ใหม่ที่ปะทุขึ้นครั้งแรกในเม็กซิโกนี้ว่า "ไข้หวัดใหญ่ 2009 เอช1เอ็น1" หรือ "2009 H1N1 flu"
วานนี้(1) ทางด้านโฆษกองค์การอนามัยโลก (WHO) ธอมัส อับราฮัม แถลงว่า ขณะนี้ทางองค์การยังไม่มีกำหนดนัดหมายใดๆ เพื่อประชุมคณะกรรมการฉุกเฉิน อันเป็นหน่วยงานที่ให้คำแนะนำในเรื่องการประกาศระดับเตือนภัยโรคระบาด
คณะกรรมการฉุกเฉิน ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ ทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ผู้อำนวยการใหญ่ WHO มาร์กาเร็ต ชาน ว่าสมควรจะเปลี่ยนแปลงระดับการเตือนภัยโรคระบาดหรือไม่ โดยที่ครั้งหลังสุดที่ WHO ประกาศในเรื่องนี้คือ เมื่อวันพุธ (29เม.ย.)ที่ยกระดับการเตือนภัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ เอช1เอ็น1 คราวนี้จากระดับ 4 เป็นระดับ 5 และการที่ยังไม่มีนัดหมายประชุมคณะกรรมการฉุกเฉิน จึงส่อนัยว่าในช่วงนี้จะยังไม่มีการประกาศยกระดับการเตือนภัยโรคระบาดจากระดับ 5 สู่ระดับ 6 อันเป็นระดับสูงสุด
ติดเชื้อ 331 คนใน 11 ประเทศ
องค์การอนามัยโลกระบุในคำแถลง ซึ่งนำออกเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของตนวานนี้ว่า เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่เปลี่ยนมาใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ไข้หวัดใหญ่ เอ (เอช1เอ็น1) ในขณะนี้เป็นที่ยืนยันชัดเจนว่ามีผู้ติดเชื้อ 331 คนใน 11 ประเทศ ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตไป 10 ราย
ทั้งนี้ ในสหรัฐฯมีผู้ติดเชื้อที่พิสูจน์ยืนยันแล้ว 109 ราย โดยรายหนึ่งเสียชีวิต ส่วนที่เม็กซิโก มีรายที่ยืนยันแล้ว 156 ราย โดยเสียชีวิตไป 9 คน สำหรับในประเทศอื่นๆ มี แคนาดา 34 ราย, สเปน 13 ราย, สหราชอาณาจักร 8 ราย, เยอรมนี 3 ราย, เนเธอร์แลนด์ 1 ราย, สวิตเซอร์แลนด์ 1 ราย, ออสเตรีย 1 ราย, อิสราเอล 2 ราย, และนิวซีแลนด์ 3 ราย
อย่างไรก็ตาม มีหลายประเทศให้ตัวเลขซึ่งสูงกว่าของ WHO ตัวอย่างเช่น เม็กซิโกระบุว่า มีผู้เสียชีวิตโดยต้องสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสร้ายนี้ถึง 176 คน และในจำนวนนี้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบยืนยันแล้วมี 12 ราย ยอดผู้ติดเชื้ออย่างเป็นทางการคราวนี้ของ WHO ซึ่งอาศัยผลตรวจทางห้องทดลองที่พิเศษเจาะจงอย่างยิ่งมายืนยันนั้น รวมถึงผู้ติดเชื้อรายหนึ่งในสเปน ซึ่งติดเชื้อต่อมาจากผู้เดินทางกลับจากเม็กซิโก ลักษณะเช่นนี้บ่งชี้ว่า เชื้อไวรัสที่กำลังระบาดในสเปน มีการติดต่อจากคนสู่คนภายในประเทศนี้เองแล้ว
ทั้งนี้ เมื่อถูกสอบถามถึงการระบาดในสเปนนี้ โฆษก WHO ได้บอกกับผู้สื่อข่าวในเวลาต่อมาว่า "เรายังไม่มีหลักฐานว่า มีการแพร่เชื้อแบบเกิดขึ้นภายในชุมชนในยุโรปเลย กรณีนี้ไม่ใช่เป็นการแพร่เชื้อจากคนสู่คน ซึ่งเกิดขึ้นภายในชุมชน อันมีลักษณะยั่งยืน”
" เราจำเป็นต้องให้แน่ใจว่า มันตั้งหลักมั่นอยู่ในชุมชนแล้วจริงๆ ไม่ใช่เป็นเพียงกรณีการพลัดหลงของผู้เดินทางคนหนึ่งที่ส่งต่อเชื้อไวรัสไปยังบุคคลคนหนึ่งหรือสองคน"
อันที่จริง นอกจากที่สเปนแล้ว เยอรมนีก็เป็นชาติยุโรปอีกรายหนึ่งซึ่งระบุว่า มีการแพร่เชื้อสู่คนที่ไม่ได้เดินทางไปเม็กซิโก
กระทรวงสาธารณสุขเยอรมนีแถลงวานนี้ว่า พยาบาลผู้หนึ่งในแคว้นบาวาเรีย ซึ่งไม่ได้เดินทางไปยังเม็กซิโกในระยะเร็ววันนี้ แต่ทำหน้าที่พยาบาลคนไข้ผู้หนึ่งซึ่งติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เอ (เอช1เอ็น1) ได้ติดเชื้อร้ายนี้แล้ว
ทั้งนี้ นอกจากพยาบาลผู้นี้แล้ว ยังมีในเยอรมนียังมีผู้ติดเชื้อที่ทางการประเทศนี้ยืนยันแล้วอีก 4 ราย
นอกจากนั้น โฆษกกรมส่งเสริมและคุ้มครองสุขภาพ ของรัฐโนวาสโกเชีย ประเทศแคนาดา ได้แถลงในวันพฤหัสบดีว่า พบผู้ติดเชื้อรายแรกที่ได้รับเชื้อจากคนสู่คนภายในแคนาดาเอง โดยเหยื่อรายนี้ติดเชื้อจากนักศึกษาคนหนึ่งที่เพิ่งเดินทางกลับจากเม็กซิโก แต่ทั้งสองรายนี้ต่างแสดงอาการค่อนข้างเบาบาง
อนึ่ง หัวหน้าผู้บริหารเขตฮ่องกง โดนัลด์ จาง แถลงวานนี้ว่า พบผู้ติดเชื้อไข้หวัดหมูที่ยืนยันแน่นอนแล้วรายแรกในฮ่องกง โดยเขาผู้นี้เป็นชาวเม็กซิโกซึ่งเดินทางจากประเทศนั้นผ่านนครเซี่ยงไฮ้ มาถึงฮ่องกงเมื่อวันพฤหัสบดี
ส่วนโฆษกของคณะกรรมการสาธารณสุขเดนมาร์ก ก็แจ้งวานนี้เช่นกันว่า พบผู้ติดเชื้อซึ่งมีการตรวจยืนยันแล้วเป็นรายแรก ทว่าไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อผู้นี้