ASTVผู้จัดการรายวัน – วอร์รูม “หวัดหมู” ถกสถานการณ์วันต่อวัน “วิทยา” ชงรัฐบาลตั้งคณะกรรมการระดับชาติรับมือ พร้อมสั่งกระจายยาทุกจังหวัด ยันรองรับผู้ป่วยอย่างน้อย 3 แสนรายและผลิตได้ใหม่อีก 1 ล้านเม็ด สธ.รายงานสถานการณ์-ชงแผนเข้าครม.วันนี้ ขณะที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเผยเชื้อมีความรุนแรงน้อยกว่าไข้หวัดนก ตายน้อยกว่า 10 เท่า แต่มีอำนาจการแพร่กระจายเชื้อรวดเร็วมากกว่า ขณะที่ภาคเอกชนหวั่นโรคแพร่เข้าไทยซ้ำเติมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและส่งออก จี้รัฐบาลเร่งหามาตรการคุมเข้มด่วน “พาณิชย์” เผยคนไทยยังกินเมนูหมูตามปกติ ท่องเที่ยวหวังพลิกวิกฤติเป็นโอกาส
วานนี้ (27 เม.ย.) มีการประชุมความร่วมมือระหว่างตัวแทนองค์การอนามัยโลก กรมควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลจุฬาฯ ศิริราชพยาบาล องค์การเภสัชกรรม ด่านตรวจคนเข้าเมือง เพื่อติดตามสถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดที่เม็กซิโก โดยเป็นการประชุมผ่านทางระบบดาวเทียมเชื่อมโยงกับสำนักควบคุมป้องกันโรคประจำ 12 เขตทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารในภูมิภาครับทราบมาตรการป้องกันและควบคุมโรคของไทยต่อเชื้อดังกล่าวพร้อมกัน และอยู่ในทิศทางเดียวกัน
**วอร์รูมประเมินสถานการณ์ทุกวัน
นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมเห็นตรงกันว่า ตามที่ข้อมูลที่ได้รับรายงานทั้งหมดในขณะนี้ ไข้หวัดใหญ่ดังกล่าว ไม่ใช่ไข้หวัดที่แพร่จากหมูสู่คน แต่เป็นไข้หวัดใหญ่ที่ติดจากคนสู่คน ดังนั้นการใช้ชื่อ “ไข้หวัดหมู” อาจสร้างความตระหนก จึงขอให้ใช้คำว่า “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ระบาดจากเม็กซิโก” หรือ “ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก” ซึ่งจะต้องรอคำยืนยันชื่อเรียกจากองค์การอนามัยโลกอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่าในขณะนี้โรคดังกล่าวยังไม่แพร่ระบาดเข้าสู่ประเทศไทย
ขณะนี้ได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการของสธ.ที่กรมควบคุมโรค ซึ่งจะมีการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องทุกวัน เพื่อประเมินสถานการณ์และความเสี่ยงเชื้อกระจายเข้าสู่ประเทศ และปรับปรุงเร่งรัดมาตรการป้องกันและแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์
**ออก 5 มาตรการสู้
นายวิทยากล่าวต่อกว่า สธ.ออก 5 มาตรการในการรับมือดังนี้ 1. การเฝ้าระวังโรคมีความเข้มแข็ง เพื่อตรวจค้นหาผู้ป่วยได้อย่างครบถ้วน และไวที่สุดเพื่อควบคุมได้อย่างรวดเร็ว โดยมีทีมเฝ้าระวังและสอบสวนเคลื่อนที่เร็วกว่า 1,000 ทีม ครอบคลุมทุกจังหวัดและอำเภอ 2. การตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ และรายงานผลยืนยันภายใน 4 ชั่วโมง จำนวน 14 แห่ง มีรถตรวจยืนยันเชื้อเคลื่อนที่ 6 คัน ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3. การดูแลรักษาผู้ป่วย ต้องวินิจฉัยเร็ว รักษาได้อย่างทันท่วงที มีห้องแยกการดูแลผู้ป่วยทุกแห่ง
4.การเตรียมเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งไทยมียาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ สำรองไว้ 3.2 ล้านเม็ด และยังไม่มีปัญหาการดื้อยา หากจำเป็นต้องใช้เพิ่มสามารถให้องค์กรเภสัชกรรมผลิตได้อีกอย่างรวดเร็ว มีหน้ากากอนามัยชนิดเอ็น 95 กว่า 5 แสนชิ้น หน้ากากอนามัยทั่วไปเกือบ 3 ล้านชิ้น จะสั่งซื้อยาและอุปกรณ์เหล่านี้เพิ่มเติม มาตรการที่ 5 คือการให้ข้อมูลประชาชน ให้รู้สถานการณ์ที่ถูกต้องและรู้วิธีในการป้องกันโรคอย่างครบถ้วน ทางเว็บไซต์ www.moph.go.th และ http:// blid.ddc.moph.go.th และตั้งศูนย์บริการข่าวสารทาง 02-5903333 ตลอด 24 ชั่วโมง
นายวิทยากล่าวต่อว่า สธ.จะเสนอครม. ให้แต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อให้มีการประสานงานกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมทั้งสั่งเตรียมพร้อมศูนย์พิสูจน์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยมีรถโมบายยูนิตตรวจโรคเคลื่อนที่ที่จะลงไปในจุดที่แพร่ระบาด เพื่อทำการตรวจพิสูจน์ 24 ชม. เพื่อให้ความพร้อมในทุกจังหวัด ทุกโรงพยาบาลอำเภอ
ทั้งนี้ โรคดังกล่าวสามารถใช้ยาโอเซลทามิเวียร์หรือทามิฟลูในการรักษาอาการเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดนก โดยในขณะนี้ได้สั่งให้มีการกระจายยาทั่วทุกจังหวัดแล้ว ซึ่งปริมาณยาสามารถรองรับผู้ป่วยอย่างน้อย 300,000 ราย โดยที่องค์การเภสัชกรรมสามารถผลิตเพิ่มได้ 1,000,000 เม็ด
**ตั้งเทอร์โมสแกน 3 สนามบิน
วันเดียวกัน นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วยนายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เดินทางทางไปตรวจเยี่ยมการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโกที่สนามบินสุวรรณภูมิ
นายวิทยา กล่าวว่า มาตรการในการดูแลผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศที่เป็นแหล่งระบาดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค โดยได้มีการติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิเทอร์โมแสกนในสนามบินนานาชาติทั้ง 3 แห่ง คือ สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินเชียงใหม่และสนามบินภูเก็ต เพื่อเฝ้าระวังผู้โดยสารที่เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีการแพร่ระบาด เช่น เม็กซิโก สหรัฐ และแคนนาดา ซึ่งหากองค์การอนามัยโลกประกาศเพิ่มระดับความรุนแรงของโรคจากระดับ 3 ที่มีการติดต่อจากคนสู่คน เป็นวงแคบไม่แพร่หลาย เป็นระดับ 4 ที่มีการติดต่อจากคนสู่คนกว้างขวาง ภายในประเทศ อาจต้องเพิ่มมาตรการเฝ้าระวังที่เข้มงวดมากขึ้น โดยมีการจัดพื้นที่ให้มีการคัดกรองผู้โดยสารเฉพาะเที่ยวบิน เช่น อเมริกา แคนนาดา เป็นช่องทางพิเศษ เพื่อป้องกันโรคไม่ให้แพร่กระจายไปยังผู้อื่น
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ข้อมูลที่สธ.จะนำเสนอต่อครม.ในวันที่ 28 เม.ย.จะเป็นเรื่องสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้น รวมถึงมาตรการของสธ.และของประเทศไทยที่ดำเนินการป้องกันโรคว่าดำเนินการอะไรไปแล้วบ้าง ซึ่งจะใช้แผนแม่บทเดิมกับมาตรการการป้องกันโรคไข้หวัดนก แต่จะตัดในส่วนของมาตรการการควบคุมสัตว์ปีกทิ้ง เพื่อมาปรับใช้กับการระบาดไข้หวัดใหญ่เม็กซิโกนี้
อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูสถานการณ์จากองค์การอนามัยอีกครั้ง หากมีการเลื่อนระดับความรุนแรงคงจำเป็นต้องทำเอกสารคู่มือแจกประชาชนประมาณ 1 แสนเล่ม
**สุวรรณภูมิเข้ม ยันไม่พบผู้โดยสารติดเชื้อ
นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กล่าวว่า ท่าอากาศยานร่วมกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิจำนวน 3 เครื่อง ที่บริเวณขาเข้า ซึ่งเป็นจุดที่ตรวจหนังสือเดินทาง 3 จุด โดยมีเจ้าหน้าที่ตรวจทุกคนที่เดินทางเข้าเมือง หากพบว่าผู้ที่เดินทางเข้ามาผ่านเครื่องดังกล่าวมีอุณหภูมิเกิน 36 องศาเซลเซียสขึ้นไป จะมีสัญญาณไฟแดง หากผู้เข้าเมืองคนใดมีอุณหภูมิสูงเกิน ก็จะมีแพทย์เชิญตัวแยกออกมาสอบถามประวัติ อาการป่วย หลังจากนั้นก็จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ ว่า จะดำเนินการอย่างไร อาจจะนำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด
นายเสรีรัตน์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้สายการบินที่บินตรงจากเม็กซิโก อันเป็นประเทศที่กำลังมีการแพร่ระบาด ไม่มีเที่ยวบินมายังประเทศไทย แต่ผู้โดยสารที่อาจจะต่อเครื่องที่เมืองต่างๆ โดยในวันนี้มี 8 เที่ยวบินที่ต้องเฝ้าระวัง เป็นเที่ยวบินที่มาจากโตเกียว ปารีส ลอนดอน ชิคาโก แฟรงก์เฟิร์ต ดูไบ เทกซัส แอลเอ และนอกจากนี้ ผู้โดยสารจาก 8 เที่ยวบินเฝ้าระวังและผู้โดยสารอื่นที่เดินผ่านเครื่องเทอร์โมสแกนแล้วมีสัญญาณ จะได้รับบัตรเฮลท์ การ์ด ซึ่งเป็นคำเตือนเกี่ยวกับโรคติดต่อจากทางท่าอากาศยานด้วย
**บินไทยคุมเข้มเที่ยวบินปท.เสี่ยง
พล.อ.อ. ณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส และรักษาการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯมีความพร้อมที่จะปฏิบัติตามมาตรการของ สธ.อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเที่ยวบินของบริษัทฯ ที่เข้า-ออกประเทศที่มีความเสี่ยง อาทิ สหรัฐอเมริกา ซึ่งการบินไทยทำการบินในเส้นทางไป – กลับ กรุงเทพฯ – ลอสแองเจลิส ทุกวันๆละ 1 เที่ยวบิน
นอกจากนี้ฝ่ายบริหารบริษัทฯได้กำหนดมาตรการในการป้องกันโรคระบาดดังกล่าว โดยคำนึงถึงมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการผู้โดยสารและการดำเนินการด้านสุขลักษณะ เพื่อให้มีการรักษาความสะอาดสูงสุด ในการให้บริการทั้งบนเครื่องบินและการบริการภาคพื้นดิน ซึ่งรายละเอียดจะประกาศให้ทราบต่อไป
**อันตรายน้อยกว่าหวัดนกแต่แพร่เชื้อเร็วกว่า
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ถือเป็นครั้งแรกที่องค์การอนามัยโลก ประกาศภาวะฉุกเฉินระดับนานาชาติ หลังจากออกประกาศครั้งที่มีการระบาดของโรคซาร์ส เมื่อปี 2546 ถือเป็นการส่งสัญญาณเตรียมความพร้อมในทุกประเทศให้รับมือกับการระบาดของโรค ซึ่งแม้จะเป็นสายพันธุ์ใหม่ แต่หากวินิจฉัยโรคได้เร็ว ก็จะสามารถรักษาได้ทัน โดยยืนยันว่าเชื้อ H1N1 แม้จะเป็นสายพันธุ์ที่พบในประเทศไทย แต่มีความแตกต่างกัน เพราะสายพันธุ์ H1N1 ในประเทศเม็กซิโก ที่มีความรุนแรงมากขึ้น เพราะมีการกลายพันธุ์ ซึ่งเป็นธรรมดาของเชื้อไวรัส ทั้งนี้ จากการตรวจแยกเชื้อของประเทศไทยในสายพันธุ์ดังกล่าว ไม่พบการกลายพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญ
“ในปีที่ผ่านมา ไทยพบเชื้อชนิด H3N2 มากกว่า H1N1 ซึ่งเชื้อไข้หวัดใหญ่ H1N1 มีอัตราการตายในปีที่ผ่านมาเพียง 0.5% ซึ่งในประเทศเม็กซิโก แม้จะมีอัตราการติดเชื้อสูง แต่ก็มีอัตราการตายต่ำ และประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อทราบว่าเป็นเชื้อชนิดใดก็สามารถป้องกันได้และยังไม่มีอัตราการเสียชีวิต”นพ.คำนวณ กล่าว
ด้าน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า ไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโกเป็นสายพันธุ์ H1N1 ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาได้ตรวจคัดแยกเชื้อได้จากผู้ป่วย เมื่อเปรียบเทียบสายพันธุ์ จึงพบว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบในคนมาก่อน แต่เมื่อวิเคราะห์จากพันธุกรรมหรือยีน พบว่า มีบรรพบุรุษมาจากเชื้อไข้หวัดในหมู และยังมีพันธุกรรมบางส่วนที่คล้ายกับเชื้อไข้หวัดในคน และนก ด้วย แต่ในอดีตทีผ่านมาไม่เคยสามารถแยกเชื้อไวรัสออกจากหมูได้
“เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่พบ มีความรุนแรงของโรคน้อยกว่าไข้หวัดนก เพราะมีอัตราการเสียชีวิตเพียง ร้อยละ 6.4 เท่านั้น หรือน้อยกว่า 10 เท่า แต่มีอำนาจการแพร่กระจายเชื้อมากกว่า และรวดเร็วมากกว่า ซึ่งมีความเป็นได้สูงว่าจะติดต่อจากคนสู่คน เพราะเพียงเวลาแค่ 1 เดือนมีผู้ป่วยมากถึง 1,000 กว่าคน ส่วนไข้หวัดนกมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 60 แต่ไม่ติดต่อจากคนสู่คน ส่วนไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในประเทศไทย มีอัตราการเสียชีวิตน้อยมากเพียง 1 ใน ผู้ป่วย 10,000 คนเท่านั้น โดยมีความคล้ายคลึงกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 ในเม็กซิโก ร้อยละ 75” ศ.นพ.ยงกล่าว
ศ.นพ.ยง กล่าวว่า สาเหตุที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากนั้น ถือเป็นเรื่องธรรมชาติของการระบาดโรคใหม่ ที่ยังไม่ทราบว่าป่วยจากสาเหตุใด และป่วยเพราะอะไร และจนถึงขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบต้นตอของระบาดว่ามาจากสาเหตุใด จึงทำให้การรักษาล่าช้าไม่ทันการ สำหรับการรักษา ใช้แนวทางการรักษาเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วไป และสามารถใช้ยาต้านไวรัสโอเซลทามาเวียร์ ซึ่งเป็นยาชนิดเดียวกับยารักษาโรคไข้หวัดนกได้ โดนผู้ป่วยจะต้องได้รับยาต้านไวรัสภายในเวลา 48 ชั่วโมง หลังมีอาการป่วย จึงจะได้ผล
**คาดคนตาย 142.1 ล.ถ้าระบาดหนัก
ศ. เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ กล่าวว่า เมื่อเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ของโลกที่ผ่านมาจะพบผู้ป่วย 10-40% ของประชากร โดยการระบาดจะเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ประมาณ 1-2 เดือน และจะกระจายทั่วโลก ภายในเวลา 6-8 เดือน ส่งผลให้การรักษาพยาบาลไม่เพียงพอเกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ถ้าระบาดไม่รุนแรงจะมีผู้ป่วยเสียชีวิตทั่วโลก 1.4 ล้านคน ถ้ารุนแรง จะมีผู้เสียชีวิต 142.2 ล้านคน ทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานครั้งใหญ่ ภาคธุรกิจ
อนึ่ง สำหรับไทย มีการคาดการณ์จำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่เป็น 2 ระดับ คือ คาดการณ์ขั้นต่ำ หากเกิดการระบาดจะมีผู้ป่วยอย่างน้อย 6.5 ล้านคน เสียชีวิต 65,000 -650,000 คน คาดการณ์ขั้นสูงคือมีผู้ป่วย 26 ล้านคน เสียชีวิต 260,000 -2.6 ล้านคน โดยในแต่ละปีประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ประมาณ 700,000 – 900,000 คน
**เอกชนผวาไข้หวัดหมูซ้ำเติมศก.
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวว่า การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่เม็กซิโกขณะนี้ภาครัฐจะต้องเร่งคุมเข้มตรวจสอบบุคคลที่เข้าประเทศผ่านสนามบินเป็นกรณีพิเศษหากเชื้อหลุดเข้ามาแพร่กระจายผ่านนักท่องเที่ยวเชื่อว่าจะผลส่งกระทบต่อไทยอย่างหนัก
โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและส่งออกสินค้าอาหารซึ่งหากปัจจัยดังกล่าวกระทบอีกครั้งจะเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยอีกครั้งหนึ่ง
“ เศรษฐกิจไทยเจอหลายปัจจัยแล้วทั้งเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ความวุ่นวายทางการเมือง หากเจอปัญหานี้อีกเศรษฐกิจไทยพังแน่กว่าจะฟื้นตัวคงต้องใช้เวลาอีกพอสมควร กระทรวงสาธารณสุขควรเร่งหามาตรการรับมือล่วงหน้าเพื่อป้องกันไว้ก่อน”นายสันติกล่าว
นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ส.อ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้ว่า โรคไข้หวัดเม็กซิโกที่เกิดขึ้นเมื่อเทียบกับโรคไข้หวัดนกที่ระบาดในไก่แล้วถือว่าได้รับผลกระทบกับการส่งออกอาหารของไทยน้อยกว่า สำหรับภาพรวมการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-มี.ค.52)ในด้านปริมาณปรับลดลง 5.1% น้อยกว่าที่กระทรวงพาณิชย์เคยการณ์ไว้ว่าจะขยายตัว 8.3% แต่ในด้านมูลค่าปรับลดลงถึง 20% เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง แต่ก็มีสินค้าบางกลุ่มที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นเช่น กุ้ง สินค้าไก่สดแช่แข็งและแปรรูป เพราะได้รับอานิสงส์จากราคาต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ลดลง
*** คนไทยบริโภคเนื้อหมูปกติ
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า พฤติกรรมการบริโภคเนื้อหมูในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล หลังองค์การอนามัยโลก (WHO) ออกประกาศเตือนให้ทั่วโลกระวังการระบาดโรคไข้หวัดหมูว่า ประชาชนส่วนใหญ่ไม่วิตกกังวลเหมือนตอนไข้หวัดนกระบาด และยังบริโภคอาหารประเภทหมูตามปกติ โดยแผงหมูตามตลาดสด และร้านขายอาหารประเภทเนื้อหมู เช่น ข้าวหมูแดงหมูกรอบ ขาหมู ก๋วยเตี๋ยวหมู ร้านข้าวแกง และอาหารตามสั่ง คนยังบริโภคตามปกติ และร้านค้าส่วนใหญ่ยังสั่งซื้อหมูเท่าเดิม นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า การระบาดไข้หวัดหมูไม่น่ากระทบถึงไทย เพราะไทยเป็นผู้ผลิตสุกรและบริโภคภายในประเทศเองเกือบทั้งหมด มีการนำเข้าสุกรจากต่างประเทศน้อยมาก อีกทั้ง สธ.ยังมีมาตรการ ตรวจสอบการนำเข้าเป็นอย่างดี แต่ระหว่างนี้กรมฯ จะร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและเกษตรกรเข้าใจถึงการระบาดของโรคไข้หวัดหมูและวิธีป้องกัน ส่วนผลกระทบต่อการบริโภคหมูอาจมีผลทางจิตวิทยาให้ประชาชนลดการบริโภคลงบ้าง แต่ไม่มากถึงขั้นให้เนื้อหมูราคาตก
ส่วนการแก้ปัญหาเนื้อหมูราคาแพง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะนำเรื่องเข้าหารือที่ประชุมครม.วันที่ 28 เม.ย.นี้ ซึ่งกรมฯ จะเตรียมข้อมูลราคาสุกร ปัญหาไข้หวัดหมูและผลกระทบต่อภารบริโภคชี้แจงให้ ครม.รับทราบ โดยสาเหตุที่สุกรราคาแพงเนื่องจากขณะนี้อากาศร้อนทำให้หมูเติบโตช้า โดยปีนี้คาดว่าจำนวนสุกรจะหายจากระบบ 3-4 แสนตัว เหลือ 11.4 ล้านตัวเท่านั้น และเชื่อว่าปัญหาหมูขาดตลาดจะเกิดระยะสั้น ช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค.ซึ่งเป็นประจำทุกปี โดยในวันที่ 29 เม.ย.นี้ กรมฯจะร่วมหารือกับตัวแทนผู้เลี้ยงสุกร เพื่อทบทวนราคาสุกรและการปรับโครงสร้างราคาใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเป็นธรรมต่อผู้เกี่ยวข้องยิ่งขึ้น
*** การันตีเนื้อหมูปลอดภัย
น.สพ.นรินทร์ ร่มลำดวน รองกรรมการผู้จัดการ ด้านสุขภาพสัตว์ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ( ซีพีเอฟ) กล่าวว่า โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในคน ที่กำลังระบาดอยู่ในประเทศเม็กซิโกนั้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆทั้งสิ้นกับสุกร และเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คนเท่านั้น ซึ่งหนทางที่จะเข้าสู่เมืองไทยได้ มีเพียงช่องทางเดียวคือ คน ที่เดินทางมาจากประเทศดังกล่าว
นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า แม้ว่าปัญหาไข้หวัดหมู ไม่เกี่ยวกับสุกรแต่อย่างใด และเป็นคนละสายพันธุ์ที่มีในประเทศไทย แต่เพื่อความไม่ประมาท ทางผู้เลี้ยงสุกรควรจะระมัดระวังการเข้า-ออกฟาร์มอย่างเต็มที่ ไม่ให้เชื้อโรคติดเข้าไปในฟาร์มได้
นอกจากนี้รัฐบาลควรสั่งงดการนำเข้าเครื่องในและชิ้นส่วนสุกร รวมทั้งพ่อแม่พันธุ์สุกรจากต่างประเทศ เช่น สหรัฐ ยุโรป และออสเตรเลีย ทันทีเป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันปัญหาการเกิดโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นตามมา
**ท่องเที่ยวพลิกหวัดหมูเป็นโอกาส
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการ(บอร์ด)การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) กล่าวว่า กรณีการระบาดของไข้หวัดหมูในเม็กซิโก ซึ่งขณะนี้มีทีท่าที่จะระบาดวงกว้างไปทั่วโลกนั้น หากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย สามารถสร้างระบบการป้องกันที่ดี จะเป็นผลดีต่อการท่องเที่ยวของไทยและไทยสามารถใช้วิกฤตนี้เป็นโอกาสพลิกฟื้นสถานการณ์นักท่องเที่ยวให้กลับคืนมาเร็วกว่าที่คิดได้ เพราะช่วงการระบาดของโรคซาร์ส และไข้หวัดนก ที่ผ่านมา ประเทศไทยนับว่ามีระบบการป้องกันที่ดีและไม่มีการแพร่ระบาดในประเทศไทย จนได้รับคำชมเชยจากองค์การอนามัยโลก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียน จึงน่าจะใช้จุดแข็งนี้ในการโฆษณาประเทศไทยเพื่อเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาเที่ยวที่ประเทศไทยได้
มีเป้าหมาย 3 ตลาดหลัก คือ ตลาดระยะใกล้ย่านอาเซียน ตลาดระยะกลาง เดินทางไม่เกิน 6 ชั่วโมง เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และออสเตรเลีย เป็นต้น และ ตลาดคนไทยในประเทศ ทั้งนี้เพราะตลาดระยะไกลขณะนี้ไม่ใช่ฤดูการท่องเที่ยวของเขาและรัฐบาลบางประเทศ เช่น เม็กซิโก และอเมริกา ต้องการควบคุมการระบาดของโรค จึงไม่ต้องการให้ประชากรเดินทางออกไปไหนทั้งสิ้น
วานนี้ (27 เม.ย.) มีการประชุมความร่วมมือระหว่างตัวแทนองค์การอนามัยโลก กรมควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลจุฬาฯ ศิริราชพยาบาล องค์การเภสัชกรรม ด่านตรวจคนเข้าเมือง เพื่อติดตามสถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดที่เม็กซิโก โดยเป็นการประชุมผ่านทางระบบดาวเทียมเชื่อมโยงกับสำนักควบคุมป้องกันโรคประจำ 12 เขตทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารในภูมิภาครับทราบมาตรการป้องกันและควบคุมโรคของไทยต่อเชื้อดังกล่าวพร้อมกัน และอยู่ในทิศทางเดียวกัน
**วอร์รูมประเมินสถานการณ์ทุกวัน
นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมเห็นตรงกันว่า ตามที่ข้อมูลที่ได้รับรายงานทั้งหมดในขณะนี้ ไข้หวัดใหญ่ดังกล่าว ไม่ใช่ไข้หวัดที่แพร่จากหมูสู่คน แต่เป็นไข้หวัดใหญ่ที่ติดจากคนสู่คน ดังนั้นการใช้ชื่อ “ไข้หวัดหมู” อาจสร้างความตระหนก จึงขอให้ใช้คำว่า “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ระบาดจากเม็กซิโก” หรือ “ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก” ซึ่งจะต้องรอคำยืนยันชื่อเรียกจากองค์การอนามัยโลกอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่าในขณะนี้โรคดังกล่าวยังไม่แพร่ระบาดเข้าสู่ประเทศไทย
ขณะนี้ได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการของสธ.ที่กรมควบคุมโรค ซึ่งจะมีการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องทุกวัน เพื่อประเมินสถานการณ์และความเสี่ยงเชื้อกระจายเข้าสู่ประเทศ และปรับปรุงเร่งรัดมาตรการป้องกันและแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์
**ออก 5 มาตรการสู้
นายวิทยากล่าวต่อกว่า สธ.ออก 5 มาตรการในการรับมือดังนี้ 1. การเฝ้าระวังโรคมีความเข้มแข็ง เพื่อตรวจค้นหาผู้ป่วยได้อย่างครบถ้วน และไวที่สุดเพื่อควบคุมได้อย่างรวดเร็ว โดยมีทีมเฝ้าระวังและสอบสวนเคลื่อนที่เร็วกว่า 1,000 ทีม ครอบคลุมทุกจังหวัดและอำเภอ 2. การตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ และรายงานผลยืนยันภายใน 4 ชั่วโมง จำนวน 14 แห่ง มีรถตรวจยืนยันเชื้อเคลื่อนที่ 6 คัน ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3. การดูแลรักษาผู้ป่วย ต้องวินิจฉัยเร็ว รักษาได้อย่างทันท่วงที มีห้องแยกการดูแลผู้ป่วยทุกแห่ง
4.การเตรียมเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งไทยมียาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ สำรองไว้ 3.2 ล้านเม็ด และยังไม่มีปัญหาการดื้อยา หากจำเป็นต้องใช้เพิ่มสามารถให้องค์กรเภสัชกรรมผลิตได้อีกอย่างรวดเร็ว มีหน้ากากอนามัยชนิดเอ็น 95 กว่า 5 แสนชิ้น หน้ากากอนามัยทั่วไปเกือบ 3 ล้านชิ้น จะสั่งซื้อยาและอุปกรณ์เหล่านี้เพิ่มเติม มาตรการที่ 5 คือการให้ข้อมูลประชาชน ให้รู้สถานการณ์ที่ถูกต้องและรู้วิธีในการป้องกันโรคอย่างครบถ้วน ทางเว็บไซต์ www.moph.go.th และ http:// blid.ddc.moph.go.th และตั้งศูนย์บริการข่าวสารทาง 02-5903333 ตลอด 24 ชั่วโมง
นายวิทยากล่าวต่อว่า สธ.จะเสนอครม. ให้แต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อให้มีการประสานงานกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมทั้งสั่งเตรียมพร้อมศูนย์พิสูจน์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยมีรถโมบายยูนิตตรวจโรคเคลื่อนที่ที่จะลงไปในจุดที่แพร่ระบาด เพื่อทำการตรวจพิสูจน์ 24 ชม. เพื่อให้ความพร้อมในทุกจังหวัด ทุกโรงพยาบาลอำเภอ
ทั้งนี้ โรคดังกล่าวสามารถใช้ยาโอเซลทามิเวียร์หรือทามิฟลูในการรักษาอาการเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดนก โดยในขณะนี้ได้สั่งให้มีการกระจายยาทั่วทุกจังหวัดแล้ว ซึ่งปริมาณยาสามารถรองรับผู้ป่วยอย่างน้อย 300,000 ราย โดยที่องค์การเภสัชกรรมสามารถผลิตเพิ่มได้ 1,000,000 เม็ด
**ตั้งเทอร์โมสแกน 3 สนามบิน
วันเดียวกัน นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วยนายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เดินทางทางไปตรวจเยี่ยมการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโกที่สนามบินสุวรรณภูมิ
นายวิทยา กล่าวว่า มาตรการในการดูแลผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศที่เป็นแหล่งระบาดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค โดยได้มีการติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิเทอร์โมแสกนในสนามบินนานาชาติทั้ง 3 แห่ง คือ สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินเชียงใหม่และสนามบินภูเก็ต เพื่อเฝ้าระวังผู้โดยสารที่เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีการแพร่ระบาด เช่น เม็กซิโก สหรัฐ และแคนนาดา ซึ่งหากองค์การอนามัยโลกประกาศเพิ่มระดับความรุนแรงของโรคจากระดับ 3 ที่มีการติดต่อจากคนสู่คน เป็นวงแคบไม่แพร่หลาย เป็นระดับ 4 ที่มีการติดต่อจากคนสู่คนกว้างขวาง ภายในประเทศ อาจต้องเพิ่มมาตรการเฝ้าระวังที่เข้มงวดมากขึ้น โดยมีการจัดพื้นที่ให้มีการคัดกรองผู้โดยสารเฉพาะเที่ยวบิน เช่น อเมริกา แคนนาดา เป็นช่องทางพิเศษ เพื่อป้องกันโรคไม่ให้แพร่กระจายไปยังผู้อื่น
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ข้อมูลที่สธ.จะนำเสนอต่อครม.ในวันที่ 28 เม.ย.จะเป็นเรื่องสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้น รวมถึงมาตรการของสธ.และของประเทศไทยที่ดำเนินการป้องกันโรคว่าดำเนินการอะไรไปแล้วบ้าง ซึ่งจะใช้แผนแม่บทเดิมกับมาตรการการป้องกันโรคไข้หวัดนก แต่จะตัดในส่วนของมาตรการการควบคุมสัตว์ปีกทิ้ง เพื่อมาปรับใช้กับการระบาดไข้หวัดใหญ่เม็กซิโกนี้
อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูสถานการณ์จากองค์การอนามัยอีกครั้ง หากมีการเลื่อนระดับความรุนแรงคงจำเป็นต้องทำเอกสารคู่มือแจกประชาชนประมาณ 1 แสนเล่ม
**สุวรรณภูมิเข้ม ยันไม่พบผู้โดยสารติดเชื้อ
นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กล่าวว่า ท่าอากาศยานร่วมกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิจำนวน 3 เครื่อง ที่บริเวณขาเข้า ซึ่งเป็นจุดที่ตรวจหนังสือเดินทาง 3 จุด โดยมีเจ้าหน้าที่ตรวจทุกคนที่เดินทางเข้าเมือง หากพบว่าผู้ที่เดินทางเข้ามาผ่านเครื่องดังกล่าวมีอุณหภูมิเกิน 36 องศาเซลเซียสขึ้นไป จะมีสัญญาณไฟแดง หากผู้เข้าเมืองคนใดมีอุณหภูมิสูงเกิน ก็จะมีแพทย์เชิญตัวแยกออกมาสอบถามประวัติ อาการป่วย หลังจากนั้นก็จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ ว่า จะดำเนินการอย่างไร อาจจะนำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด
นายเสรีรัตน์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้สายการบินที่บินตรงจากเม็กซิโก อันเป็นประเทศที่กำลังมีการแพร่ระบาด ไม่มีเที่ยวบินมายังประเทศไทย แต่ผู้โดยสารที่อาจจะต่อเครื่องที่เมืองต่างๆ โดยในวันนี้มี 8 เที่ยวบินที่ต้องเฝ้าระวัง เป็นเที่ยวบินที่มาจากโตเกียว ปารีส ลอนดอน ชิคาโก แฟรงก์เฟิร์ต ดูไบ เทกซัส แอลเอ และนอกจากนี้ ผู้โดยสารจาก 8 เที่ยวบินเฝ้าระวังและผู้โดยสารอื่นที่เดินผ่านเครื่องเทอร์โมสแกนแล้วมีสัญญาณ จะได้รับบัตรเฮลท์ การ์ด ซึ่งเป็นคำเตือนเกี่ยวกับโรคติดต่อจากทางท่าอากาศยานด้วย
**บินไทยคุมเข้มเที่ยวบินปท.เสี่ยง
พล.อ.อ. ณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส และรักษาการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯมีความพร้อมที่จะปฏิบัติตามมาตรการของ สธ.อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเที่ยวบินของบริษัทฯ ที่เข้า-ออกประเทศที่มีความเสี่ยง อาทิ สหรัฐอเมริกา ซึ่งการบินไทยทำการบินในเส้นทางไป – กลับ กรุงเทพฯ – ลอสแองเจลิส ทุกวันๆละ 1 เที่ยวบิน
นอกจากนี้ฝ่ายบริหารบริษัทฯได้กำหนดมาตรการในการป้องกันโรคระบาดดังกล่าว โดยคำนึงถึงมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการผู้โดยสารและการดำเนินการด้านสุขลักษณะ เพื่อให้มีการรักษาความสะอาดสูงสุด ในการให้บริการทั้งบนเครื่องบินและการบริการภาคพื้นดิน ซึ่งรายละเอียดจะประกาศให้ทราบต่อไป
**อันตรายน้อยกว่าหวัดนกแต่แพร่เชื้อเร็วกว่า
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ถือเป็นครั้งแรกที่องค์การอนามัยโลก ประกาศภาวะฉุกเฉินระดับนานาชาติ หลังจากออกประกาศครั้งที่มีการระบาดของโรคซาร์ส เมื่อปี 2546 ถือเป็นการส่งสัญญาณเตรียมความพร้อมในทุกประเทศให้รับมือกับการระบาดของโรค ซึ่งแม้จะเป็นสายพันธุ์ใหม่ แต่หากวินิจฉัยโรคได้เร็ว ก็จะสามารถรักษาได้ทัน โดยยืนยันว่าเชื้อ H1N1 แม้จะเป็นสายพันธุ์ที่พบในประเทศไทย แต่มีความแตกต่างกัน เพราะสายพันธุ์ H1N1 ในประเทศเม็กซิโก ที่มีความรุนแรงมากขึ้น เพราะมีการกลายพันธุ์ ซึ่งเป็นธรรมดาของเชื้อไวรัส ทั้งนี้ จากการตรวจแยกเชื้อของประเทศไทยในสายพันธุ์ดังกล่าว ไม่พบการกลายพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญ
“ในปีที่ผ่านมา ไทยพบเชื้อชนิด H3N2 มากกว่า H1N1 ซึ่งเชื้อไข้หวัดใหญ่ H1N1 มีอัตราการตายในปีที่ผ่านมาเพียง 0.5% ซึ่งในประเทศเม็กซิโก แม้จะมีอัตราการติดเชื้อสูง แต่ก็มีอัตราการตายต่ำ และประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อทราบว่าเป็นเชื้อชนิดใดก็สามารถป้องกันได้และยังไม่มีอัตราการเสียชีวิต”นพ.คำนวณ กล่าว
ด้าน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า ไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโกเป็นสายพันธุ์ H1N1 ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาได้ตรวจคัดแยกเชื้อได้จากผู้ป่วย เมื่อเปรียบเทียบสายพันธุ์ จึงพบว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบในคนมาก่อน แต่เมื่อวิเคราะห์จากพันธุกรรมหรือยีน พบว่า มีบรรพบุรุษมาจากเชื้อไข้หวัดในหมู และยังมีพันธุกรรมบางส่วนที่คล้ายกับเชื้อไข้หวัดในคน และนก ด้วย แต่ในอดีตทีผ่านมาไม่เคยสามารถแยกเชื้อไวรัสออกจากหมูได้
“เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่พบ มีความรุนแรงของโรคน้อยกว่าไข้หวัดนก เพราะมีอัตราการเสียชีวิตเพียง ร้อยละ 6.4 เท่านั้น หรือน้อยกว่า 10 เท่า แต่มีอำนาจการแพร่กระจายเชื้อมากกว่า และรวดเร็วมากกว่า ซึ่งมีความเป็นได้สูงว่าจะติดต่อจากคนสู่คน เพราะเพียงเวลาแค่ 1 เดือนมีผู้ป่วยมากถึง 1,000 กว่าคน ส่วนไข้หวัดนกมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 60 แต่ไม่ติดต่อจากคนสู่คน ส่วนไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในประเทศไทย มีอัตราการเสียชีวิตน้อยมากเพียง 1 ใน ผู้ป่วย 10,000 คนเท่านั้น โดยมีความคล้ายคลึงกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 ในเม็กซิโก ร้อยละ 75” ศ.นพ.ยงกล่าว
ศ.นพ.ยง กล่าวว่า สาเหตุที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากนั้น ถือเป็นเรื่องธรรมชาติของการระบาดโรคใหม่ ที่ยังไม่ทราบว่าป่วยจากสาเหตุใด และป่วยเพราะอะไร และจนถึงขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบต้นตอของระบาดว่ามาจากสาเหตุใด จึงทำให้การรักษาล่าช้าไม่ทันการ สำหรับการรักษา ใช้แนวทางการรักษาเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วไป และสามารถใช้ยาต้านไวรัสโอเซลทามาเวียร์ ซึ่งเป็นยาชนิดเดียวกับยารักษาโรคไข้หวัดนกได้ โดนผู้ป่วยจะต้องได้รับยาต้านไวรัสภายในเวลา 48 ชั่วโมง หลังมีอาการป่วย จึงจะได้ผล
**คาดคนตาย 142.1 ล.ถ้าระบาดหนัก
ศ. เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ กล่าวว่า เมื่อเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ของโลกที่ผ่านมาจะพบผู้ป่วย 10-40% ของประชากร โดยการระบาดจะเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ประมาณ 1-2 เดือน และจะกระจายทั่วโลก ภายในเวลา 6-8 เดือน ส่งผลให้การรักษาพยาบาลไม่เพียงพอเกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ถ้าระบาดไม่รุนแรงจะมีผู้ป่วยเสียชีวิตทั่วโลก 1.4 ล้านคน ถ้ารุนแรง จะมีผู้เสียชีวิต 142.2 ล้านคน ทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานครั้งใหญ่ ภาคธุรกิจ
อนึ่ง สำหรับไทย มีการคาดการณ์จำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่เป็น 2 ระดับ คือ คาดการณ์ขั้นต่ำ หากเกิดการระบาดจะมีผู้ป่วยอย่างน้อย 6.5 ล้านคน เสียชีวิต 65,000 -650,000 คน คาดการณ์ขั้นสูงคือมีผู้ป่วย 26 ล้านคน เสียชีวิต 260,000 -2.6 ล้านคน โดยในแต่ละปีประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ประมาณ 700,000 – 900,000 คน
**เอกชนผวาไข้หวัดหมูซ้ำเติมศก.
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวว่า การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่เม็กซิโกขณะนี้ภาครัฐจะต้องเร่งคุมเข้มตรวจสอบบุคคลที่เข้าประเทศผ่านสนามบินเป็นกรณีพิเศษหากเชื้อหลุดเข้ามาแพร่กระจายผ่านนักท่องเที่ยวเชื่อว่าจะผลส่งกระทบต่อไทยอย่างหนัก
โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและส่งออกสินค้าอาหารซึ่งหากปัจจัยดังกล่าวกระทบอีกครั้งจะเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยอีกครั้งหนึ่ง
“ เศรษฐกิจไทยเจอหลายปัจจัยแล้วทั้งเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ความวุ่นวายทางการเมือง หากเจอปัญหานี้อีกเศรษฐกิจไทยพังแน่กว่าจะฟื้นตัวคงต้องใช้เวลาอีกพอสมควร กระทรวงสาธารณสุขควรเร่งหามาตรการรับมือล่วงหน้าเพื่อป้องกันไว้ก่อน”นายสันติกล่าว
นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ส.อ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้ว่า โรคไข้หวัดเม็กซิโกที่เกิดขึ้นเมื่อเทียบกับโรคไข้หวัดนกที่ระบาดในไก่แล้วถือว่าได้รับผลกระทบกับการส่งออกอาหารของไทยน้อยกว่า สำหรับภาพรวมการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-มี.ค.52)ในด้านปริมาณปรับลดลง 5.1% น้อยกว่าที่กระทรวงพาณิชย์เคยการณ์ไว้ว่าจะขยายตัว 8.3% แต่ในด้านมูลค่าปรับลดลงถึง 20% เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง แต่ก็มีสินค้าบางกลุ่มที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นเช่น กุ้ง สินค้าไก่สดแช่แข็งและแปรรูป เพราะได้รับอานิสงส์จากราคาต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ลดลง
*** คนไทยบริโภคเนื้อหมูปกติ
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า พฤติกรรมการบริโภคเนื้อหมูในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล หลังองค์การอนามัยโลก (WHO) ออกประกาศเตือนให้ทั่วโลกระวังการระบาดโรคไข้หวัดหมูว่า ประชาชนส่วนใหญ่ไม่วิตกกังวลเหมือนตอนไข้หวัดนกระบาด และยังบริโภคอาหารประเภทหมูตามปกติ โดยแผงหมูตามตลาดสด และร้านขายอาหารประเภทเนื้อหมู เช่น ข้าวหมูแดงหมูกรอบ ขาหมู ก๋วยเตี๋ยวหมู ร้านข้าวแกง และอาหารตามสั่ง คนยังบริโภคตามปกติ และร้านค้าส่วนใหญ่ยังสั่งซื้อหมูเท่าเดิม นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า การระบาดไข้หวัดหมูไม่น่ากระทบถึงไทย เพราะไทยเป็นผู้ผลิตสุกรและบริโภคภายในประเทศเองเกือบทั้งหมด มีการนำเข้าสุกรจากต่างประเทศน้อยมาก อีกทั้ง สธ.ยังมีมาตรการ ตรวจสอบการนำเข้าเป็นอย่างดี แต่ระหว่างนี้กรมฯ จะร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและเกษตรกรเข้าใจถึงการระบาดของโรคไข้หวัดหมูและวิธีป้องกัน ส่วนผลกระทบต่อการบริโภคหมูอาจมีผลทางจิตวิทยาให้ประชาชนลดการบริโภคลงบ้าง แต่ไม่มากถึงขั้นให้เนื้อหมูราคาตก
ส่วนการแก้ปัญหาเนื้อหมูราคาแพง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะนำเรื่องเข้าหารือที่ประชุมครม.วันที่ 28 เม.ย.นี้ ซึ่งกรมฯ จะเตรียมข้อมูลราคาสุกร ปัญหาไข้หวัดหมูและผลกระทบต่อภารบริโภคชี้แจงให้ ครม.รับทราบ โดยสาเหตุที่สุกรราคาแพงเนื่องจากขณะนี้อากาศร้อนทำให้หมูเติบโตช้า โดยปีนี้คาดว่าจำนวนสุกรจะหายจากระบบ 3-4 แสนตัว เหลือ 11.4 ล้านตัวเท่านั้น และเชื่อว่าปัญหาหมูขาดตลาดจะเกิดระยะสั้น ช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค.ซึ่งเป็นประจำทุกปี โดยในวันที่ 29 เม.ย.นี้ กรมฯจะร่วมหารือกับตัวแทนผู้เลี้ยงสุกร เพื่อทบทวนราคาสุกรและการปรับโครงสร้างราคาใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเป็นธรรมต่อผู้เกี่ยวข้องยิ่งขึ้น
*** การันตีเนื้อหมูปลอดภัย
น.สพ.นรินทร์ ร่มลำดวน รองกรรมการผู้จัดการ ด้านสุขภาพสัตว์ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ( ซีพีเอฟ) กล่าวว่า โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในคน ที่กำลังระบาดอยู่ในประเทศเม็กซิโกนั้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆทั้งสิ้นกับสุกร และเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คนเท่านั้น ซึ่งหนทางที่จะเข้าสู่เมืองไทยได้ มีเพียงช่องทางเดียวคือ คน ที่เดินทางมาจากประเทศดังกล่าว
นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า แม้ว่าปัญหาไข้หวัดหมู ไม่เกี่ยวกับสุกรแต่อย่างใด และเป็นคนละสายพันธุ์ที่มีในประเทศไทย แต่เพื่อความไม่ประมาท ทางผู้เลี้ยงสุกรควรจะระมัดระวังการเข้า-ออกฟาร์มอย่างเต็มที่ ไม่ให้เชื้อโรคติดเข้าไปในฟาร์มได้
นอกจากนี้รัฐบาลควรสั่งงดการนำเข้าเครื่องในและชิ้นส่วนสุกร รวมทั้งพ่อแม่พันธุ์สุกรจากต่างประเทศ เช่น สหรัฐ ยุโรป และออสเตรเลีย ทันทีเป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันปัญหาการเกิดโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นตามมา
**ท่องเที่ยวพลิกหวัดหมูเป็นโอกาส
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการ(บอร์ด)การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) กล่าวว่า กรณีการระบาดของไข้หวัดหมูในเม็กซิโก ซึ่งขณะนี้มีทีท่าที่จะระบาดวงกว้างไปทั่วโลกนั้น หากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย สามารถสร้างระบบการป้องกันที่ดี จะเป็นผลดีต่อการท่องเที่ยวของไทยและไทยสามารถใช้วิกฤตนี้เป็นโอกาสพลิกฟื้นสถานการณ์นักท่องเที่ยวให้กลับคืนมาเร็วกว่าที่คิดได้ เพราะช่วงการระบาดของโรคซาร์ส และไข้หวัดนก ที่ผ่านมา ประเทศไทยนับว่ามีระบบการป้องกันที่ดีและไม่มีการแพร่ระบาดในประเทศไทย จนได้รับคำชมเชยจากองค์การอนามัยโลก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียน จึงน่าจะใช้จุดแข็งนี้ในการโฆษณาประเทศไทยเพื่อเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาเที่ยวที่ประเทศไทยได้
มีเป้าหมาย 3 ตลาดหลัก คือ ตลาดระยะใกล้ย่านอาเซียน ตลาดระยะกลาง เดินทางไม่เกิน 6 ชั่วโมง เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และออสเตรเลีย เป็นต้น และ ตลาดคนไทยในประเทศ ทั้งนี้เพราะตลาดระยะไกลขณะนี้ไม่ใช่ฤดูการท่องเที่ยวของเขาและรัฐบาลบางประเทศ เช่น เม็กซิโก และอเมริกา ต้องการควบคุมการระบาดของโรค จึงไม่ต้องการให้ประชากรเดินทางออกไปไหนทั้งสิ้น