นักวิจัยเตือนแม่ที่ดื่มระหว่างตั้งครรภ์จะฟื้นตัวหลังคลอดช้ากว่า และไม่ค่อยผูกพันกับลูกน้อยที่ให้กำเนิดมา โดยผลกระทบนี้เกิดขึ้นได้แม้ว่าที่คุณแม่ดื่มไวน์แค่เป็นครั้งคราวเท่านั้น
การศึกษานี้เป็นหนึ่งในการศึกษาฉบับแรกๆ ที่มุ่งที่ผลกระทบจากแอลกอฮอล์ต่อสุขภาพของแม่แทนที่จะเป็นลูก โดยนักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยโรเบิร์ต กอร์ดอนในอะเบอร์ดีน สก็อตแลนด์ ได้ศึกษาผู้หญิง 130 คนตั้งแต่ระยะกลางของการตั้งครรภ์จนถึงช่วงสามเดือนหลังคลอด
สิ่งที่พบคือ กลุ่มตัวอย่าง 1 ใน 3 ดื่มเครื่องดื่มมึนเมาระหว่างตั้งครรภ์ โดยไม่ถึงครึ่งหนึ่งของกลุ่มนี้ดื่ม 1-2 หน่วย หรือเท่ากับเบียร์ครึ่งพินท์หรือไวน์ 1 แก้ว เดือนละไม่เกินหนึ่งครั้ง
กลุ่มตัวอย่างจำนวนเท่าๆ กันดื่มสัปดาห์ละ 1-2 หน่วย ขณะที่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเล็กๆ ดื่มสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
เมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ดื่มเลย นักวิจัยพบว่าแม่ที่ดื่มระหว่างตั้งครรภ์มีปัญหาในการพัฒนาความรู้สึกผูกพันกับลูกน้อยที่เพิ่งคลอดออกมา
เอลิดห์ ดันแคน ผู้นำการวิจัย อธิบายในที่ประชุมประจำปีบริติช ไซโคโลจิคัล โซไซตี้ในไบรตันว่า สาเหตุอาจเป็นเพราะบุตรของสตรีที่ดื่มขณะตั้งครรภ์มีปัญหาเชิงพฤติกรรม
“การศึกษาในอดีตพบว่าเด็กที่แม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์ อาจมีปัญหาในเชิงพฤติกรรมเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ทว่า การศึกษาของเราพบว่าปัญหาอาจเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิด
“นอกจากนั้น เรายังพบว่าผู้ที่ดื่มต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลหลังคลอดนานกว่า แม้ไม่ได้มีปัญหาระหว่างทำคลอดมากไปกว่าผู้ที่ไม่ดื่มเลยก็ตาม และทารกที่เกิดจากแม่ที่ดื่มขณะท้องมีแนวโน้มคลอดก่อนกำหนดหรือน้ำหนักน้อยกว่าปกติ”
ดันแคนเสริมว่า กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับที่ถือว่าต่ำมาก ไม่ใช่นักดื่มที่มีปัญหาหรือติดเหล้าแต่อย่างใด แต่กลับต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลนานกว่าที่ควร
“ปกติแล้ว นักวิจัยจะพุ่งประเด็นไปที่ทารก ข้อมูลการค้นพบของเราที่มุ่งที่ตัวแม่จึงถือเป็นข้อมูลใหม่ในเรื่องนี้”
ดร.แคทรินา ฟอร์บส์-แมกเคย์ จากมหาวิทยาลัยโรเบิร์ต กอร์ดอน สำทับว่า “งานวิจัยนี้ตอกย้ำว่าการดื่มแม้เพียงเล็กน้อยระหว่างตั้งครรภ์ส่งผลลบต่อผู้หญิง
“การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เพียงทำให้แม่ต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีผลโดยตรงต่อความผูกพันระหว่างแม่กับลูกด้วย”
ทั้งนี้ ว่าที่คุณแม่ส่วนใหญ่ได้รับคำเตือนเกี่ยวกับผลร้ายจากการดื่มมามากมาย
แพทย์บางคนระบุว่าการดื่มแม้เพียงเล็กน้อยสามารถทำอันตรายต่อทารกในครรภ์ เช่น อาจนำไปสู่ปัญหาทารกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของความผิดปกติของหัวใจและไต หูหนวก และสมองถูกทำลาย
ผู้เชี่ยวชาญและองค์กรมากมายแนะนำให้ว่าที่คุณแม่งดแอลกอฮอล์ในช่วงสามเดือนแรกที่ตั้งครรภ์ แต่ถ้าจะดื่มก็ไม่ควรเกินสัปดาห์ละสี่หน่วย บ้างบอกว่าไม่น่าเกิน 1-2 หน่วยและไม่เกินสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แต่ทางที่ดีไม่ควรดื่มเลยตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์
การศึกษานี้เป็นหนึ่งในการศึกษาฉบับแรกๆ ที่มุ่งที่ผลกระทบจากแอลกอฮอล์ต่อสุขภาพของแม่แทนที่จะเป็นลูก โดยนักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยโรเบิร์ต กอร์ดอนในอะเบอร์ดีน สก็อตแลนด์ ได้ศึกษาผู้หญิง 130 คนตั้งแต่ระยะกลางของการตั้งครรภ์จนถึงช่วงสามเดือนหลังคลอด
สิ่งที่พบคือ กลุ่มตัวอย่าง 1 ใน 3 ดื่มเครื่องดื่มมึนเมาระหว่างตั้งครรภ์ โดยไม่ถึงครึ่งหนึ่งของกลุ่มนี้ดื่ม 1-2 หน่วย หรือเท่ากับเบียร์ครึ่งพินท์หรือไวน์ 1 แก้ว เดือนละไม่เกินหนึ่งครั้ง
กลุ่มตัวอย่างจำนวนเท่าๆ กันดื่มสัปดาห์ละ 1-2 หน่วย ขณะที่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเล็กๆ ดื่มสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
เมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ดื่มเลย นักวิจัยพบว่าแม่ที่ดื่มระหว่างตั้งครรภ์มีปัญหาในการพัฒนาความรู้สึกผูกพันกับลูกน้อยที่เพิ่งคลอดออกมา
เอลิดห์ ดันแคน ผู้นำการวิจัย อธิบายในที่ประชุมประจำปีบริติช ไซโคโลจิคัล โซไซตี้ในไบรตันว่า สาเหตุอาจเป็นเพราะบุตรของสตรีที่ดื่มขณะตั้งครรภ์มีปัญหาเชิงพฤติกรรม
“การศึกษาในอดีตพบว่าเด็กที่แม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์ อาจมีปัญหาในเชิงพฤติกรรมเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ทว่า การศึกษาของเราพบว่าปัญหาอาจเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิด
“นอกจากนั้น เรายังพบว่าผู้ที่ดื่มต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลหลังคลอดนานกว่า แม้ไม่ได้มีปัญหาระหว่างทำคลอดมากไปกว่าผู้ที่ไม่ดื่มเลยก็ตาม และทารกที่เกิดจากแม่ที่ดื่มขณะท้องมีแนวโน้มคลอดก่อนกำหนดหรือน้ำหนักน้อยกว่าปกติ”
ดันแคนเสริมว่า กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับที่ถือว่าต่ำมาก ไม่ใช่นักดื่มที่มีปัญหาหรือติดเหล้าแต่อย่างใด แต่กลับต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลนานกว่าที่ควร
“ปกติแล้ว นักวิจัยจะพุ่งประเด็นไปที่ทารก ข้อมูลการค้นพบของเราที่มุ่งที่ตัวแม่จึงถือเป็นข้อมูลใหม่ในเรื่องนี้”
ดร.แคทรินา ฟอร์บส์-แมกเคย์ จากมหาวิทยาลัยโรเบิร์ต กอร์ดอน สำทับว่า “งานวิจัยนี้ตอกย้ำว่าการดื่มแม้เพียงเล็กน้อยระหว่างตั้งครรภ์ส่งผลลบต่อผู้หญิง
“การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เพียงทำให้แม่ต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีผลโดยตรงต่อความผูกพันระหว่างแม่กับลูกด้วย”
ทั้งนี้ ว่าที่คุณแม่ส่วนใหญ่ได้รับคำเตือนเกี่ยวกับผลร้ายจากการดื่มมามากมาย
แพทย์บางคนระบุว่าการดื่มแม้เพียงเล็กน้อยสามารถทำอันตรายต่อทารกในครรภ์ เช่น อาจนำไปสู่ปัญหาทารกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของความผิดปกติของหัวใจและไต หูหนวก และสมองถูกทำลาย
ผู้เชี่ยวชาญและองค์กรมากมายแนะนำให้ว่าที่คุณแม่งดแอลกอฮอล์ในช่วงสามเดือนแรกที่ตั้งครรภ์ แต่ถ้าจะดื่มก็ไม่ควรเกินสัปดาห์ละสี่หน่วย บ้างบอกว่าไม่น่าเกิน 1-2 หน่วยและไม่เกินสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แต่ทางที่ดีไม่ควรดื่มเลยตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์