เอเอฟพี - ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐฯ ใช้ระยะเวลา 100 วันแรกแห่งการดำรงตำแหน่งของเขาซึ่งจะครบพอดีในวันพรุ่งนี้(29) ในการวางเค้าโครงของความทะเยอทะยานต่างๆ ที่เขาต้องการจะกระทำในยุคของเขา ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสหรัฐฯทั้งด้านภายในประเทศ และทั้งบทบาทบนเวทีโลก
กระนั้นก็ตาม ความมุ่งมาตรปรารถนาของผู้นำสหรัฐฯผู้นี้ ก็ยังต้องเผชิญการทดสอบอย่างหนักหน่วง ทั้งจากวิกฤตเศรษฐกิจอันสาหัส, เล่ห์เหลี่ยมกโลบายทั้งของเพื่อนมิตรและของศัตรูในต่างแดนของอเมริกา, รวมทั้งสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่ไม่เอื้ออำนวยภายในประเทศ
"เป็นที่ชัดเจนแล้วว่านี่คือวาระที่มีความทะเยอทะยานสูงที่สุด อย่างน้อยก็นับตั้งแต่ทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา" จูเลียน เซลเซอร์ นักประวัติศาสตร์และนักรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยพรินส์ตันให้ความเห็น
แม้ว่าโอบามาจะต้องรับช่วงมรดกวิกฤตการณ์ที่หนักหนากว่าผู้นำสหรัฐฯ คนก่อนๆ แต่ดูเหมือนว่าเขายังมีกำลังใจอยู่เต็มเปี่ยม โดยที่ผ่านมารัฐบาลของเขาได้เข้าไปแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่าสูงถึง 787,000 ล้านดอลลาร์ แถมยังกำลังเตรียมเข็นแผนปฏิรูปด้านสิ่งแวดล้อมและระบบการรักษาพยาบาลให้เดินหน้าต่อไปด้วย
ส่วนการเมืองภายนอกประเทศ โอบามาเลิกใช้นโยบายแบบวางโตในอดีต และเน้นการสร้างความร่วมมือกันมากขึ้น เขาทำให้รัสเซียยอมรับ และเขาก็เป็นฝ่ายเปิดตัวเองออกสู่โลกมุสลิม อีกทั้งยังให้คำมั่นว่าจะยุติความเป็นศัตรูกับอิหร่านและคิวบาที่มีมานานหลายทศวรรษด้วย
นอกจากนั้น เขายังริเริ่มเปลี่ยนนโยบายขั้นพื้นฐานต่อจีน เม็กซิโก และคิวบา ยอมขอโทษชาติยุโรปที่สหรัฐฯ เคยแสดงอาการ "หยิ่งยโส" เขาสั่งการให้ปิดค่ายกักกันนักโทษที่อ่าวกวนตานาโม ประกาศให้การทรมานนักโทษเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และสั่งถอนทหารออกจากอิรัก
โอบามาสั่งเพิ่มกำลังทหารเข้าไปในอัฟกานิสถานและปากีสถาน ยกเลิกการปฏิเสธเข้าร่วมแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหรัฐฯ และเรียกร้องให้ทั่วโลกยุติการสร้างอาวุธนิวเคลียร์
ทอม เดอ ลูกา ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยฟอร์ดแฮม กล่าวถึงนโยบายด้านการต่างประเทศของโอบามาว่า "มีขอบข่ายกว้างไกลอย่างน่าทึ่งมาก และชี้ให้เห็นชัดเจนถึงความมั่นใจในตนเองอย่างสูงยิ่งที่โอบามามีต่อตนเองและต่อรัฐบาลของเขา"
ก่อนหน้านี้โอบามาในวัย 47 ปี เคยถูกคู่แข่งโจมตีระหว่างหาเสียงว่าขาดประสบการณ์การทำงาน มาวันนี้เขากลับแสดงฝีมือของประธานาธิบดีด้วยสไตล์การทำงานที่ไม่เหมือนใคร และทีมงานของเขาก็สร้างผลงานทางการเมืองได้อย่างโดดเด่น
ผลสำรวจของยูเอสเอ ทูเดย์/แกลลัพ ระบุว่าประชาชน 56 เปอร์เซ็นต์เห็นว่าโอบามาทำงานได้อย่างดีเลิศหรืออยู่ในขั้นดี ขณะที่ฟ็อกซ์ นิวส์ก็รายงานผลสำรวจการยอมรับผลงานของเขาสูงถึง 62 เปอร์เซ็นต์
อย่างไรก็ตาม การพูดถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเรื่องง่าย ในขณะที่การลงมือทำกลับไม่ง่ายเหมือนคำพูด โอบามายอมรับว่าอเมริกานั้นเป็น "เรือใหญ่กลางมหาสมุทร ไม่ใช่เรือเร็วลำเล็กๆ จึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชนิดหน้ามือเป็นหลังมือได้ในทันที"
นอกจากนั้น โอบามายังจะต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ด้านต่างประเทศอย่างเต็มรูปต่อไป ขณะที่ความริเริ่มใหม่ๆ ของเขา ไม่ว่าจะเป็นการหันหน้าเข้าเจรจากับอิหร่าน การต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ตลอดจนการแก้ปัญหาเกาหลีเหนือ ล้วนแต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องภายนอกด้วย ตัวอย่างล่าสุดก็คือการที่โอบามาไม่สามารถโน้มน้าวให้นาโต้เพิ่มกำลังทหารเข้าไปในอัฟกานิสถานจำนวนมากได้ในระหว่างการเยือนยุโรปที่ผ่านมา
ทว่า รอเบิร์ต กิบส์ โฆษกทำเนียบขาวมองว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรนั้นยังต้องอาศัยเวลาพิสูจน์ เขาบอกว่า "การเดินทางเยือนต่างประเทศสองครั้งแรกของประธานาธิบดีโอบามาได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ของอเมริกาในเรื่องความเป็นผู้นำและการให้สัญญาว่าจะส่งเสริมให้เกิดผลประโยชน์แห่งชาติร่วมกัน ซึ่งทำให้เรารู้สึกปลอดภัย มั่นคง และเข้มแข็งมากกว่าเดิม"
กระนั้นก็ตาม ความมุ่งมาตรปรารถนาของผู้นำสหรัฐฯผู้นี้ ก็ยังต้องเผชิญการทดสอบอย่างหนักหน่วง ทั้งจากวิกฤตเศรษฐกิจอันสาหัส, เล่ห์เหลี่ยมกโลบายทั้งของเพื่อนมิตรและของศัตรูในต่างแดนของอเมริกา, รวมทั้งสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่ไม่เอื้ออำนวยภายในประเทศ
"เป็นที่ชัดเจนแล้วว่านี่คือวาระที่มีความทะเยอทะยานสูงที่สุด อย่างน้อยก็นับตั้งแต่ทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา" จูเลียน เซลเซอร์ นักประวัติศาสตร์และนักรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยพรินส์ตันให้ความเห็น
แม้ว่าโอบามาจะต้องรับช่วงมรดกวิกฤตการณ์ที่หนักหนากว่าผู้นำสหรัฐฯ คนก่อนๆ แต่ดูเหมือนว่าเขายังมีกำลังใจอยู่เต็มเปี่ยม โดยที่ผ่านมารัฐบาลของเขาได้เข้าไปแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่าสูงถึง 787,000 ล้านดอลลาร์ แถมยังกำลังเตรียมเข็นแผนปฏิรูปด้านสิ่งแวดล้อมและระบบการรักษาพยาบาลให้เดินหน้าต่อไปด้วย
ส่วนการเมืองภายนอกประเทศ โอบามาเลิกใช้นโยบายแบบวางโตในอดีต และเน้นการสร้างความร่วมมือกันมากขึ้น เขาทำให้รัสเซียยอมรับ และเขาก็เป็นฝ่ายเปิดตัวเองออกสู่โลกมุสลิม อีกทั้งยังให้คำมั่นว่าจะยุติความเป็นศัตรูกับอิหร่านและคิวบาที่มีมานานหลายทศวรรษด้วย
นอกจากนั้น เขายังริเริ่มเปลี่ยนนโยบายขั้นพื้นฐานต่อจีน เม็กซิโก และคิวบา ยอมขอโทษชาติยุโรปที่สหรัฐฯ เคยแสดงอาการ "หยิ่งยโส" เขาสั่งการให้ปิดค่ายกักกันนักโทษที่อ่าวกวนตานาโม ประกาศให้การทรมานนักโทษเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และสั่งถอนทหารออกจากอิรัก
โอบามาสั่งเพิ่มกำลังทหารเข้าไปในอัฟกานิสถานและปากีสถาน ยกเลิกการปฏิเสธเข้าร่วมแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหรัฐฯ และเรียกร้องให้ทั่วโลกยุติการสร้างอาวุธนิวเคลียร์
ทอม เดอ ลูกา ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยฟอร์ดแฮม กล่าวถึงนโยบายด้านการต่างประเทศของโอบามาว่า "มีขอบข่ายกว้างไกลอย่างน่าทึ่งมาก และชี้ให้เห็นชัดเจนถึงความมั่นใจในตนเองอย่างสูงยิ่งที่โอบามามีต่อตนเองและต่อรัฐบาลของเขา"
ก่อนหน้านี้โอบามาในวัย 47 ปี เคยถูกคู่แข่งโจมตีระหว่างหาเสียงว่าขาดประสบการณ์การทำงาน มาวันนี้เขากลับแสดงฝีมือของประธานาธิบดีด้วยสไตล์การทำงานที่ไม่เหมือนใคร และทีมงานของเขาก็สร้างผลงานทางการเมืองได้อย่างโดดเด่น
ผลสำรวจของยูเอสเอ ทูเดย์/แกลลัพ ระบุว่าประชาชน 56 เปอร์เซ็นต์เห็นว่าโอบามาทำงานได้อย่างดีเลิศหรืออยู่ในขั้นดี ขณะที่ฟ็อกซ์ นิวส์ก็รายงานผลสำรวจการยอมรับผลงานของเขาสูงถึง 62 เปอร์เซ็นต์
อย่างไรก็ตาม การพูดถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเรื่องง่าย ในขณะที่การลงมือทำกลับไม่ง่ายเหมือนคำพูด โอบามายอมรับว่าอเมริกานั้นเป็น "เรือใหญ่กลางมหาสมุทร ไม่ใช่เรือเร็วลำเล็กๆ จึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชนิดหน้ามือเป็นหลังมือได้ในทันที"
นอกจากนั้น โอบามายังจะต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ด้านต่างประเทศอย่างเต็มรูปต่อไป ขณะที่ความริเริ่มใหม่ๆ ของเขา ไม่ว่าจะเป็นการหันหน้าเข้าเจรจากับอิหร่าน การต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ตลอดจนการแก้ปัญหาเกาหลีเหนือ ล้วนแต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องภายนอกด้วย ตัวอย่างล่าสุดก็คือการที่โอบามาไม่สามารถโน้มน้าวให้นาโต้เพิ่มกำลังทหารเข้าไปในอัฟกานิสถานจำนวนมากได้ในระหว่างการเยือนยุโรปที่ผ่านมา
ทว่า รอเบิร์ต กิบส์ โฆษกทำเนียบขาวมองว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรนั้นยังต้องอาศัยเวลาพิสูจน์ เขาบอกว่า "การเดินทางเยือนต่างประเทศสองครั้งแรกของประธานาธิบดีโอบามาได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ของอเมริกาในเรื่องความเป็นผู้นำและการให้สัญญาว่าจะส่งเสริมให้เกิดผลประโยชน์แห่งชาติร่วมกัน ซึ่งทำให้เรารู้สึกปลอดภัย มั่นคง และเข้มแข็งมากกว่าเดิม"