ASTVผู้จัดการรายวัน – กระทรวงการคลังเผยจ่ายเช็คช่วยชาติล็อตแรกไปแล้วกว่า 8 ล้านฉบับ ประชาชนนำเช็คไปขึ้นเงินแล้ว 71.82% วงเงิน 1.16 หมื่นล้านบาท พร้อมสั่งการตรวจสอบผู้มีสิทธิรับเช็คที่ตกสำรวจจากการจ่ายครั้งแรก เตรียมจ่ายเพิ่มเติมอีก 6 กลุ่มตามมติครม. ขณะที่กรมบัญชีกลางสำรวจพฤติกรรมการใช้เช็คว่ามีการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่
นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการจ่ายเช็คช่วยชาติให้กับผู้ประกันตนและข้าราชการที่มีรายได้ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาทนั้น กระทรวงการคลังได้ดำเนินการจัดพิมพ์เช็คฯ ในรอบแรกไปแล้ว 8,094,615 ฉบับ แบ่งเป็นของผู้ประกันตน 7,129,245 ฉบับ บุคลากรภาครัฐ 728,149 ฉบับ และผู้รับบำนาญ 237,221 ฉบับ
ทั้งนี้กระทรวงการคลังได้ดำเนินการจ่ายเช็คไปแล้วโดยเป็นส่วนของผู้ประกันตน 6.5 ล้านฉบับ บุคลากรภาครัฐครบทั้งหมด และผู้รับบำนาญ 182,323 ฉบับ โดยประชาชนได้นำเช็คฯ ไปขึ้นเงินกับธนาคารแล้ว 5,813,911 ฉบับ คิดเป็น 71.82% หรือคิดเป็นเงิน 11,627.82 ล้านบาท ผู้ประกันตนขึ้นเงิน 5,304,908 ฉบับ บุคลากรภาครัฐ 265,103 ฉบับ ผู้รับบำนาญ 153,900 ฉบับ สำหรับผู้รับบำนาญที่ยังไม่ได้รับเช็คสามารถไปขอรับได้ที่กรมบัญชีกลาง และสำนักงานคลังจังหวัดทั่วประเทศจนถึงวันที่ 23 มิ.ย.นี้
โดยได้มอบหมายให้กรมบัญชีกลางเร่งสำรวจตรวจสอบว่าประชาชนที่เข้าข่ายได้รับเช็คช่วยชาติกลุ่มแรกยังมีที่ตกหล่นอีกหรือไม่ โดยมีหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบอีกครั้ง หากมีเพิ่มเติมจะแจ้งให้ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(หาชน)BBL จัดพิมพ์เช็คฯให้ต่อไป และให้เตรียมพร้อมสำหรับอีก 6 กลุ่มที่จะมีสิทธิได้รับเช็คฯเพิ่มเติม
ทั้งนี้คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้มีมติเพิ่มเติมเมื่อวันที่17 มี.ค.52 ประกอบด้วย บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ บุคลากรขององค์การมหาชน ทหารเกณฑ์ของกระทรวงกลาโหม บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชน และบุคลากรขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพื่อจะได้ประชุมหารือเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินต่อไป
น.ส.สุทธิรัตน์ รัตนโชติ รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า หลังจากนี้จะเร่งตรวจสอบเพิ่มเติมว่าการนำเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคารของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมในโครงการรับเช็คช่วยชาตินั้นมีมากน้อยอย่างไร แม้ตัวเลขดังกล่าวจะไม่ได้แสดงถึงยอดการใช้จ่ายเงินจากเช็คฯทั้งหมด แต่ก็เป็นแนวทางให้เห็นถึงการนำเงินไปใช้จ่ายหรือนำเงินไปเก็บไว้ เพื่อพิจารณาถึงผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของการแจกเช็ค 2 พันบาทว่าสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจจากการหมุนของเงินได้หลายรอบหรือไม่
สำหรับโครงการเช็คช่วยชาตินั้นรัฐบาลได้มีนโยบายให้จ่ายเงินช่วยเหลือค่าครองชีพให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นบุคลากรภาครัฐ และผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ในวันที่ 26 มีนาคม 2552 – 8 เมษายน 2552 โดยจ่ายเงินเป็น “เช็คช่วยชาติ” ให้รายละ 2,000 บาท และคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552 เห็นชอบหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชน และบุคลากรภาครัฐ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
โดยผู้มีสิทธิได้รับเช็คช่วยชาติ ช่วยเหลือค่าครองชีพ ประกอบด้วย ประชาชน และบุคลากรภาครัฐ ซึ่งมีรายได้หรือค่าจ้างต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ดังนี้ ผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ได้แก่
ผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 ผู้ประกันตน ตามมาตรา 38 ที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2551 และยังได้รับความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายประกันสังคม ต่อไปอีก 6 เดือน
บุคลากรภาครัฐ ประกอบด้วย ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการทหาร ตำรวจ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว (เฉพาะงบบุคลากร) เจ้าหน้าที่ของรัฐอื่น ข้าราชการบำนาญ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ สมาชิกกองอาสารักษาดินแดง อาสาสมัครทหารพราน
สำหรับกลุ่มบุคคลอีก 6 กลุ่ม ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2552) ได้แก่ บุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคลากรขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ทหารเกณฑ์ของกระทรวงกลาโหม บุคลากรของหน่วยงานรูปแบบพิเศษ (องค์กรมหาชน) พนักงานรัฐวิสาหกิจ ครู บุคลากรด้านการศึกษาในโรงเรียนเอกชน
นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการจ่ายเช็คช่วยชาติให้กับผู้ประกันตนและข้าราชการที่มีรายได้ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาทนั้น กระทรวงการคลังได้ดำเนินการจัดพิมพ์เช็คฯ ในรอบแรกไปแล้ว 8,094,615 ฉบับ แบ่งเป็นของผู้ประกันตน 7,129,245 ฉบับ บุคลากรภาครัฐ 728,149 ฉบับ และผู้รับบำนาญ 237,221 ฉบับ
ทั้งนี้กระทรวงการคลังได้ดำเนินการจ่ายเช็คไปแล้วโดยเป็นส่วนของผู้ประกันตน 6.5 ล้านฉบับ บุคลากรภาครัฐครบทั้งหมด และผู้รับบำนาญ 182,323 ฉบับ โดยประชาชนได้นำเช็คฯ ไปขึ้นเงินกับธนาคารแล้ว 5,813,911 ฉบับ คิดเป็น 71.82% หรือคิดเป็นเงิน 11,627.82 ล้านบาท ผู้ประกันตนขึ้นเงิน 5,304,908 ฉบับ บุคลากรภาครัฐ 265,103 ฉบับ ผู้รับบำนาญ 153,900 ฉบับ สำหรับผู้รับบำนาญที่ยังไม่ได้รับเช็คสามารถไปขอรับได้ที่กรมบัญชีกลาง และสำนักงานคลังจังหวัดทั่วประเทศจนถึงวันที่ 23 มิ.ย.นี้
โดยได้มอบหมายให้กรมบัญชีกลางเร่งสำรวจตรวจสอบว่าประชาชนที่เข้าข่ายได้รับเช็คช่วยชาติกลุ่มแรกยังมีที่ตกหล่นอีกหรือไม่ โดยมีหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบอีกครั้ง หากมีเพิ่มเติมจะแจ้งให้ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(หาชน)BBL จัดพิมพ์เช็คฯให้ต่อไป และให้เตรียมพร้อมสำหรับอีก 6 กลุ่มที่จะมีสิทธิได้รับเช็คฯเพิ่มเติม
ทั้งนี้คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้มีมติเพิ่มเติมเมื่อวันที่17 มี.ค.52 ประกอบด้วย บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ บุคลากรขององค์การมหาชน ทหารเกณฑ์ของกระทรวงกลาโหม บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชน และบุคลากรขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพื่อจะได้ประชุมหารือเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินต่อไป
น.ส.สุทธิรัตน์ รัตนโชติ รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า หลังจากนี้จะเร่งตรวจสอบเพิ่มเติมว่าการนำเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคารของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมในโครงการรับเช็คช่วยชาตินั้นมีมากน้อยอย่างไร แม้ตัวเลขดังกล่าวจะไม่ได้แสดงถึงยอดการใช้จ่ายเงินจากเช็คฯทั้งหมด แต่ก็เป็นแนวทางให้เห็นถึงการนำเงินไปใช้จ่ายหรือนำเงินไปเก็บไว้ เพื่อพิจารณาถึงผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของการแจกเช็ค 2 พันบาทว่าสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจจากการหมุนของเงินได้หลายรอบหรือไม่
สำหรับโครงการเช็คช่วยชาตินั้นรัฐบาลได้มีนโยบายให้จ่ายเงินช่วยเหลือค่าครองชีพให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นบุคลากรภาครัฐ และผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ในวันที่ 26 มีนาคม 2552 – 8 เมษายน 2552 โดยจ่ายเงินเป็น “เช็คช่วยชาติ” ให้รายละ 2,000 บาท และคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552 เห็นชอบหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชน และบุคลากรภาครัฐ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
โดยผู้มีสิทธิได้รับเช็คช่วยชาติ ช่วยเหลือค่าครองชีพ ประกอบด้วย ประชาชน และบุคลากรภาครัฐ ซึ่งมีรายได้หรือค่าจ้างต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ดังนี้ ผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ได้แก่
ผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 ผู้ประกันตน ตามมาตรา 38 ที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2551 และยังได้รับความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายประกันสังคม ต่อไปอีก 6 เดือน
บุคลากรภาครัฐ ประกอบด้วย ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการทหาร ตำรวจ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว (เฉพาะงบบุคลากร) เจ้าหน้าที่ของรัฐอื่น ข้าราชการบำนาญ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ สมาชิกกองอาสารักษาดินแดง อาสาสมัครทหารพราน
สำหรับกลุ่มบุคคลอีก 6 กลุ่ม ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2552) ได้แก่ บุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคลากรขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ทหารเกณฑ์ของกระทรวงกลาโหม บุคลากรของหน่วยงานรูปแบบพิเศษ (องค์กรมหาชน) พนักงานรัฐวิสาหกิจ ครู บุคลากรด้านการศึกษาในโรงเรียนเอกชน