ที่รัฐสภา วานนี้ (23 เม.ย.) ตัวแทน กลุ่ม 40 ส.ว. นำโดยนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา นางรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว. สรรหา และนายประเสริฐ ชิตพงษ์ ส.ว.สงขลา ร่วมแถลงข่าว
นายไพบูลย์ กล่าวว่า กลุ่ม 40 ส.ว. ได้หารือเกี่ยวกับประเด็นการเตรียมเสนอ แก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งทางกลุ่ม 40 ส.ว. มีความเห็นตรงกันว่า ยังไม่ควรพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยขอให้รอระยะเวลาไปไม่น้อยกว่า 2 ปี เนื่องจาก 1.การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในช่วงนี้จะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิดให้กับประชาชน ทำให้มีการชุมนุมเคลื่อนไหวคัดค้าน และสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญจนทำให้กระทบกับการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ ของรัฐบาล และจะทำให้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น
2.การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 237 เพื่อคืนสิทธิเลือกตั้งให้กรรมการ บริหารพรรคที่ถูกยุบให้มีสิทธิเลือกตั้งตามเดิม เราเห็นว่าไม่ควรแก้ไขในเวลานี้ หากจำเป็นต้องพิจารณาก็ขอให้พิจารณาก่อนที่สภาฯจะครบวาระ เพราะการคืนสิทธิเลือกตั้งในขณะนี้ไม่สามารถตอบคำถามให้สังคมได้ และยืนยันว่าประเทศไม่ควรจะมีการเลือกตั้งในเร็วๆ นี้ เนื่องจากจำเป็นต้องมีรัฐบาลแก้ไขวิกฤต เศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
3.ในกรณีของมาตรา 190 นั้นไม่จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะสามารถออกกฎหมายตามข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญมาแก้ไขปัญหาได้ และหากมีปัญหาก็สามารถส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้
ดังนั้นการแก้ไขรัฐธรรรมนูญในขณะนี้ไม่ก่อประโยชน์ให้ประเทศชาติ และประชาชน และจะไปเข้าทางของกลุ่มที่ต้องการให้มีการปั่นป่วนในสังคมไทย และนำไปสู่การเรียกร้องให้ยุบสภาของกลุ่มบุคคลดังกล่าว หากส.ส.หรือ ส.ว. คนใดยังคงเดินหน้ายื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลุ่ม 40 ส.ว.จะรวบรวมรายชื่อส.ว. เพื่อยื่นถอดถอน ส.ส.และส.ว.ที่ลงรายชื่อ เพราะถือว่ามีการกระทำที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 ในเรื่องผลประโยชน์ขัดกันทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะการแก้ไข มาตรา 237 เพื่อคืนสิทธิกรรมการบริหารพรรคนั้น ชัดเจนว่าหวังประโยชน์ให้ พรรคการเมืองที่สังกัด ดังนั้นหากยื่นญัตติเมื่อใด เราจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญเมื่อนั้น นายไพบูลย์ กล่าว
รศ.ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ในฐานะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ กวช. กล่าวว่าประเด็นการนิรโทษกรรมนั้น ตนมองว่าเป็นเรื่องเลอะเทอะ ต้องดูว่าอะไรผิดอะไรถูก นี่คือวิถีประชาธิปไตย คือ การยอมรับความหลากหลาย ความคิดเห็นที่แตก แต่ต้องมีความถูกต้อง ถึงเป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ แต่จะใช้ประนีประนอมกันแบบนี้ไม่ได้ ดังนั้น ขั้นสุดท้ายของประชาธิปไตยต้องหันมาหาความยุติธรรม ว่าคืออะไร แต่ปัจจุบันทุกคนไม่ยอมรับความยุติธรรม หากผิดก็คิดเพียงแต่จะแก้รัฐธรรมนูญอย่างเดียว ซึ่งคนในกลุ่มนี้เห็นว่า ควรไปอ่านหนังสือ เวนิสวานิชบ้าง จะได้รับรู้ความหมายของการได้มาซึ่งความยุติธรรม
รศ.ศรีศักดิ์ กล่าวว่า ถึงการใช้คำพูดของ ส.ส.และ ส.ว.ในการประชุมร่วมรัฐสภา ว่า ส.ส.และ ส.ว.ที่เรียกกันว่าผู้ทรงเกียารติ แต่การใช้ภาษรในสภา ที่มีการถ่ายทอดสด ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ (ช่อง11) ให้ประชาชนทั่วประเทศชม มีการใช้ถ่อยคำว่าร้ายกันในสภา ซึ่งเป็นสถานที่อันทรงเกียรติ แล้วจะเรียกว่าตัวเองเป็นผู้ทรงเกียรติมากน้อยแค่ไหน ในเมื่อตัวเองเป็นผู้ทรงเกียรต ิแต่ใช้คำพูดหยาบคาย งี่เง่า
ถ้าพูดแรงๆ ก็คือ เป็นคำพูดที่ถ่อยมาก ออกมาจากปาก ส.ส. มาโดยตลอด พูดจายั่วยุ เพื่ออะไร ในอดีตที่ผ่านมาการประชุมสภาประเทศไทย มีการอภิปรายด้วยคำพูดที่สุภาพมากกว่านี้ แม้จะมีการโต้แย้งกันก็ตาม อยากจะฝากให้นักการเมืองไทย ควรจะต้องตระหนัก และมีจิตสำนึกในการเป็นนักการเมืองให้มากกว่านี้ เพราะนักการเมืองเป็นผู้ที่ประชาชนให้ความศรัทธาและไว้วางใจเลือกมาเป็นผู้แทนในการบริหารบ้านเมือง
นายไพบูลย์ กล่าวว่า กลุ่ม 40 ส.ว. ได้หารือเกี่ยวกับประเด็นการเตรียมเสนอ แก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งทางกลุ่ม 40 ส.ว. มีความเห็นตรงกันว่า ยังไม่ควรพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยขอให้รอระยะเวลาไปไม่น้อยกว่า 2 ปี เนื่องจาก 1.การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในช่วงนี้จะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิดให้กับประชาชน ทำให้มีการชุมนุมเคลื่อนไหวคัดค้าน และสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญจนทำให้กระทบกับการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ ของรัฐบาล และจะทำให้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น
2.การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 237 เพื่อคืนสิทธิเลือกตั้งให้กรรมการ บริหารพรรคที่ถูกยุบให้มีสิทธิเลือกตั้งตามเดิม เราเห็นว่าไม่ควรแก้ไขในเวลานี้ หากจำเป็นต้องพิจารณาก็ขอให้พิจารณาก่อนที่สภาฯจะครบวาระ เพราะการคืนสิทธิเลือกตั้งในขณะนี้ไม่สามารถตอบคำถามให้สังคมได้ และยืนยันว่าประเทศไม่ควรจะมีการเลือกตั้งในเร็วๆ นี้ เนื่องจากจำเป็นต้องมีรัฐบาลแก้ไขวิกฤต เศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
3.ในกรณีของมาตรา 190 นั้นไม่จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะสามารถออกกฎหมายตามข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญมาแก้ไขปัญหาได้ และหากมีปัญหาก็สามารถส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้
ดังนั้นการแก้ไขรัฐธรรรมนูญในขณะนี้ไม่ก่อประโยชน์ให้ประเทศชาติ และประชาชน และจะไปเข้าทางของกลุ่มที่ต้องการให้มีการปั่นป่วนในสังคมไทย และนำไปสู่การเรียกร้องให้ยุบสภาของกลุ่มบุคคลดังกล่าว หากส.ส.หรือ ส.ว. คนใดยังคงเดินหน้ายื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลุ่ม 40 ส.ว.จะรวบรวมรายชื่อส.ว. เพื่อยื่นถอดถอน ส.ส.และส.ว.ที่ลงรายชื่อ เพราะถือว่ามีการกระทำที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 ในเรื่องผลประโยชน์ขัดกันทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะการแก้ไข มาตรา 237 เพื่อคืนสิทธิกรรมการบริหารพรรคนั้น ชัดเจนว่าหวังประโยชน์ให้ พรรคการเมืองที่สังกัด ดังนั้นหากยื่นญัตติเมื่อใด เราจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญเมื่อนั้น นายไพบูลย์ กล่าว
รศ.ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ในฐานะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ กวช. กล่าวว่าประเด็นการนิรโทษกรรมนั้น ตนมองว่าเป็นเรื่องเลอะเทอะ ต้องดูว่าอะไรผิดอะไรถูก นี่คือวิถีประชาธิปไตย คือ การยอมรับความหลากหลาย ความคิดเห็นที่แตก แต่ต้องมีความถูกต้อง ถึงเป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ แต่จะใช้ประนีประนอมกันแบบนี้ไม่ได้ ดังนั้น ขั้นสุดท้ายของประชาธิปไตยต้องหันมาหาความยุติธรรม ว่าคืออะไร แต่ปัจจุบันทุกคนไม่ยอมรับความยุติธรรม หากผิดก็คิดเพียงแต่จะแก้รัฐธรรมนูญอย่างเดียว ซึ่งคนในกลุ่มนี้เห็นว่า ควรไปอ่านหนังสือ เวนิสวานิชบ้าง จะได้รับรู้ความหมายของการได้มาซึ่งความยุติธรรม
รศ.ศรีศักดิ์ กล่าวว่า ถึงการใช้คำพูดของ ส.ส.และ ส.ว.ในการประชุมร่วมรัฐสภา ว่า ส.ส.และ ส.ว.ที่เรียกกันว่าผู้ทรงเกียารติ แต่การใช้ภาษรในสภา ที่มีการถ่ายทอดสด ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ (ช่อง11) ให้ประชาชนทั่วประเทศชม มีการใช้ถ่อยคำว่าร้ายกันในสภา ซึ่งเป็นสถานที่อันทรงเกียรติ แล้วจะเรียกว่าตัวเองเป็นผู้ทรงเกียรติมากน้อยแค่ไหน ในเมื่อตัวเองเป็นผู้ทรงเกียรต ิแต่ใช้คำพูดหยาบคาย งี่เง่า
ถ้าพูดแรงๆ ก็คือ เป็นคำพูดที่ถ่อยมาก ออกมาจากปาก ส.ส. มาโดยตลอด พูดจายั่วยุ เพื่ออะไร ในอดีตที่ผ่านมาการประชุมสภาประเทศไทย มีการอภิปรายด้วยคำพูดที่สุภาพมากกว่านี้ แม้จะมีการโต้แย้งกันก็ตาม อยากจะฝากให้นักการเมืองไทย ควรจะต้องตระหนัก และมีจิตสำนึกในการเป็นนักการเมืองให้มากกว่านี้ เพราะนักการเมืองเป็นผู้ที่ประชาชนให้ความศรัทธาและไว้วางใจเลือกมาเป็นผู้แทนในการบริหารบ้านเมือง