วานนี้ ( 20 เม.ย.) นาย เชาวนะ ไตรมาส รองเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ เลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ แถลงถึงกรณี การลอบยิงวัตถุระเบิดเข้าใส่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อช่วงเช้ามืดวันที่ 13 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยนายเชาวนะ กล่าวว่าข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ดังกล่าวสรุปได้ว่า มีการใช้เครื่องยิงวัตถุระเบิดเข้ามาภายในบริเวณอาคารที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญ ด้านถนนจักรเพชร 3 ครั้ง คือ 1.เป็นเศษวัตถุระเบิดตกเข้ามาบริเวณด้านหน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ 2. เป็นลูกระเบิดที่ยังไม่ระเบิดตกเข้ามาบริเวณด้านหน้าป้อมยามรักษาความปลอดภัย และ 3. เป็นวัตถุระเบิดตกเข้าบริเวณอาคารสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทั้งใน และนอกอาคารเป็นบริเวณกว้าง มีเจ้าหน้าที่ทหาร ที่มาช่วยดูแลรักษาความปลอดภัยบาดเจ็บ 1 นาย ซึ่งหลังจากเหตุการณ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มาเก็บพยานหลักฐาน และสำนักงานศาลได้มอบหมายเจ้าหน้าที่ไปให้ปากคำในฐานะผู้เสียหายที่ สน.พระราชวัง เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเป็นสถาบันของประเทศ และประชาชน ทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยคดีเพื่อความยุติธรรมตามกฎหมายเพื่อสร้างความสงบสุขให้แก่ประชาชนในราชอาณาจักร การกระทำเช่นนี้ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในทางที่ดี โดยเฉพาะในยามที่ประเทศต้องการความสามัคคี จึงขอให้ประชาชน ช่วยกันป้องกัน ดูแลเป็นหูเป็นตา ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้กับองค์กรหรือบุคคลใดในประเทศ หากมีปัญหาใด ขอให้ใช้กระบวนการและวิถีทางที่ถูกต้องชอบธรรมเป็นไปตามกฎหมายเพื่อความสงบสุขของชาติ และเพื่อรักษาภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ ให้เป็นที่ยอมรับของนานาอารยะประเทศต่อไป
ด้านนายพสิษฐ์ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด น่าจะเกิดจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความไม่พอใจให้กับบุคคลบางกลุ่ม ซึ่งทางตุลาการ ก็คาดการณ์ไว้แล้วว่า อาจจะเกิดกรณีอย่างนี้ขึ้น ตั้งแต่เกิดการโยนระเบิดที่บ้านนายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้ว จึงได้อนุมัติให้จ้างทีมรักษาความปลอดภัยของตุลาการขึ้น แต่เป็นที่น่าสงสัยว่า เหตุใดเมื่อเป็นที่คาดการณ์ได้อยู่แล้ว แต่ทำไมทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กลับไม่ได้สนใจ และส่งกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจมาดูแลสำนักงานศาลอย่างจำกัด
"อยากถามทาง สตช.ว่าจะมีมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยของสำนักงานศาล ตุลาการ และข้าราชการของศาลรัฐธรรมนูญอย่างไร ส่วนเรื่องการขอความช่วยเหลือจากทหาร ในการรักษาความปลอดภัยนั้น คงต้องหารือในเชิงลึกอีกครั้ง เพราะขณะเกิดเหตุเป็นช่วงที่มีการประกาศ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินอยู่ด้วย นอกจากนี้อาวุธสงครามที่ก่อเหตุครั้งนี้กลางเมืองหลวง ก็เป็นที่น่าสงสัยว่า มีการเคลื่อนย้ายอาวุธสงครามอย่างนี้ได้อย่างไร และไม่แน่ใจว่ากรณีนี้เป็นอาวุธเป็นเดียวกับที่ก่อเหตุบุกยิง นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ หรือไม่ ซึ่งตนต้องฝากความห่วงใยไปให้นายสนธิด้วย"
นายพสิษฐ์ กล่าวอีกว่า ตุลาการทุกคน ขอยืนยันว่าไม่มีใครหวั่นไหวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และพร้อมจะทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นสถาบันศาลต่อไป ยืนยันได้ว่า แม้ผลการวินิจฉัยในคดีต่างๆ อาจจะก่อให้เกิดความไม่พอใจกับกลุ่มบุคคลต่างๆ ก็เป็นการทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา และเป็นดุลพินิจที่แท้จริงของตุลาการ ไม่มีการครอบงำอย่างใดทั้งสิ้น
สำหรับบรรยากาศโดยรอบของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ มีเจ้าหน้าที่ทหาร และตำรวจคอยดูแลรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ทั้งในเรื่องการตรวจตรายานพาหนะ และบุคคลเข้าออก นอกจากนี้ในจุดที่มีการระเบิด บริเวณชั้น 2 ของอาคารสำนักงานศาลนั้น อยู่ใกล้กับห้องทำงานของนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเป็นสถาบันของประเทศ และประชาชน ทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยคดีเพื่อความยุติธรรมตามกฎหมายเพื่อสร้างความสงบสุขให้แก่ประชาชนในราชอาณาจักร การกระทำเช่นนี้ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในทางที่ดี โดยเฉพาะในยามที่ประเทศต้องการความสามัคคี จึงขอให้ประชาชน ช่วยกันป้องกัน ดูแลเป็นหูเป็นตา ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้กับองค์กรหรือบุคคลใดในประเทศ หากมีปัญหาใด ขอให้ใช้กระบวนการและวิถีทางที่ถูกต้องชอบธรรมเป็นไปตามกฎหมายเพื่อความสงบสุขของชาติ และเพื่อรักษาภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ ให้เป็นที่ยอมรับของนานาอารยะประเทศต่อไป
ด้านนายพสิษฐ์ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด น่าจะเกิดจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความไม่พอใจให้กับบุคคลบางกลุ่ม ซึ่งทางตุลาการ ก็คาดการณ์ไว้แล้วว่า อาจจะเกิดกรณีอย่างนี้ขึ้น ตั้งแต่เกิดการโยนระเบิดที่บ้านนายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้ว จึงได้อนุมัติให้จ้างทีมรักษาความปลอดภัยของตุลาการขึ้น แต่เป็นที่น่าสงสัยว่า เหตุใดเมื่อเป็นที่คาดการณ์ได้อยู่แล้ว แต่ทำไมทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กลับไม่ได้สนใจ และส่งกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจมาดูแลสำนักงานศาลอย่างจำกัด
"อยากถามทาง สตช.ว่าจะมีมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยของสำนักงานศาล ตุลาการ และข้าราชการของศาลรัฐธรรมนูญอย่างไร ส่วนเรื่องการขอความช่วยเหลือจากทหาร ในการรักษาความปลอดภัยนั้น คงต้องหารือในเชิงลึกอีกครั้ง เพราะขณะเกิดเหตุเป็นช่วงที่มีการประกาศ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินอยู่ด้วย นอกจากนี้อาวุธสงครามที่ก่อเหตุครั้งนี้กลางเมืองหลวง ก็เป็นที่น่าสงสัยว่า มีการเคลื่อนย้ายอาวุธสงครามอย่างนี้ได้อย่างไร และไม่แน่ใจว่ากรณีนี้เป็นอาวุธเป็นเดียวกับที่ก่อเหตุบุกยิง นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ หรือไม่ ซึ่งตนต้องฝากความห่วงใยไปให้นายสนธิด้วย"
นายพสิษฐ์ กล่าวอีกว่า ตุลาการทุกคน ขอยืนยันว่าไม่มีใครหวั่นไหวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และพร้อมจะทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นสถาบันศาลต่อไป ยืนยันได้ว่า แม้ผลการวินิจฉัยในคดีต่างๆ อาจจะก่อให้เกิดความไม่พอใจกับกลุ่มบุคคลต่างๆ ก็เป็นการทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา และเป็นดุลพินิจที่แท้จริงของตุลาการ ไม่มีการครอบงำอย่างใดทั้งสิ้น
สำหรับบรรยากาศโดยรอบของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ มีเจ้าหน้าที่ทหาร และตำรวจคอยดูแลรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ทั้งในเรื่องการตรวจตรายานพาหนะ และบุคคลเข้าออก นอกจากนี้ในจุดที่มีการระเบิด บริเวณชั้น 2 ของอาคารสำนักงานศาลนั้น อยู่ใกล้กับห้องทำงานของนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ