รอยเตอร์- นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการใหญ่ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ " อังค์ถัด" ออกมาระบุว่า การประชุมสุดยอดกลุ่มจี-20 เมื่อสัปดาห์ที่แล้วช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคธุรกิจจนอาจทำให้ระยะเวลาของการถดถอยทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะสั้นลง อย่างไรก็ตาม ยังเร็วเกินไปที่ประเทศต่างๆจะได้เห็น "หน่ออ่อนของการฟื้นตัว"ในเวลานี้
ดร.ศุภชัยกล่าวในการแถลงข่าวที่นครเจนีวา ในสวิตเซอร์แลนด์เมื่อวันอังคาร (7) โดยระบุว่า บรรดาผู้นำกลุ่มจี-20 จะต้องดำเนินมาตรการต่างๆตามที่ที่ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้เพราะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อความน่าเชื่อถือของบรรดาผู้นำเหล่านี้เป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม การที่ผู้นำจากนานาประเทศมาหารือเพื่อหาทางจัดการแก้ไขปัญหาก็ถือเป็นสัญญาณในเชิงบวก
ดร.ศุภชัยระบุว่า ผลสำเร็จที่เห็นได้ทันทีจากการประชุมจี-20 ที่กรุงลอนดอนคือการกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมั่น แต่มาตรการต่างๆที่มีการเห็นชอบในที่ประชุมนั้นอาจจะต้องใช้ระยะเวลาอีกหลายเดือนกว่าจะเห็นผล และมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจโลกจะดีขึ้นในปี 2010
โดยอดีตรองนายกรัฐมนตรีของไทยและอดีตผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลกผู้นี้ระบุว่า ถ้าการถดถอยทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนี้ถูกนำมาเปรียบเทียบกับตัวอักษร "L" การประชุมจี-20 ที่ผ่านมาอาจจะทำให้ทั่วโลกเชื่อว่า ฐานของตัว "L" จะสั้นลงกว่าที่หลายฝ่ายกลัวกันก่อนหน้านี้ และมีความเป็นไปได้ที่ประเทศในเอเชียจะเริ่มหลุดพ้นจากภาวะถดถอยภายในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
ดร.ศุภชัยมองว่าปัญหาหนี้เสียในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ถือเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากกว่าปัญหาหนี้เสียในระบบธนาคาร เนื่องจากหนี้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯในเวลานี้มีปริมาณสูงถึงร้อยละ 130-150 ของรายได้ส่วนบุคคล และชาวอเมริกันในขณะนี้ตกอยู่ภายใต้แรงกดดันที่ต้องเก็บเงินไว้ชำระหนี้ดังกล่าว ทำให้เป็นการยากที่ชาวอเมริกันจะนำเงินออกมาใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาวะถดถอย
ขณะที่ประเทศในเอเชีย ต่างมีวัฒนธรรมที่นิยมการออมเงินและระมัดระวังในการใช้จ่ายมานานนับศตวรรษ เพราะชาวเอเชียต้องการเก็บเงินไว้ใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตรหลานของตน เช่นเดียวกับการเก็บออมเพื่อป้องกันตนเองจากความหายนะทางเศรษฐกิจ
ดังนั้น ดร.ศุภชัย มองว่า การจัดทำแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียจำเป็นต้องอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อสร้างความมั่นคงทางสังคมให้กับประชาชนในรูปแบบต่างๆ เช่น เงินบำนาญ ซึ่งจะช่วยลดความจำเป็นของการระมัดระวังในการเก็บออมเงินของชาวเอเชีย
ดร.ศุภชัยกล่าวในการแถลงข่าวที่นครเจนีวา ในสวิตเซอร์แลนด์เมื่อวันอังคาร (7) โดยระบุว่า บรรดาผู้นำกลุ่มจี-20 จะต้องดำเนินมาตรการต่างๆตามที่ที่ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้เพราะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อความน่าเชื่อถือของบรรดาผู้นำเหล่านี้เป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม การที่ผู้นำจากนานาประเทศมาหารือเพื่อหาทางจัดการแก้ไขปัญหาก็ถือเป็นสัญญาณในเชิงบวก
ดร.ศุภชัยระบุว่า ผลสำเร็จที่เห็นได้ทันทีจากการประชุมจี-20 ที่กรุงลอนดอนคือการกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมั่น แต่มาตรการต่างๆที่มีการเห็นชอบในที่ประชุมนั้นอาจจะต้องใช้ระยะเวลาอีกหลายเดือนกว่าจะเห็นผล และมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจโลกจะดีขึ้นในปี 2010
โดยอดีตรองนายกรัฐมนตรีของไทยและอดีตผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลกผู้นี้ระบุว่า ถ้าการถดถอยทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนี้ถูกนำมาเปรียบเทียบกับตัวอักษร "L" การประชุมจี-20 ที่ผ่านมาอาจจะทำให้ทั่วโลกเชื่อว่า ฐานของตัว "L" จะสั้นลงกว่าที่หลายฝ่ายกลัวกันก่อนหน้านี้ และมีความเป็นไปได้ที่ประเทศในเอเชียจะเริ่มหลุดพ้นจากภาวะถดถอยภายในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
ดร.ศุภชัยมองว่าปัญหาหนี้เสียในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ถือเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากกว่าปัญหาหนี้เสียในระบบธนาคาร เนื่องจากหนี้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯในเวลานี้มีปริมาณสูงถึงร้อยละ 130-150 ของรายได้ส่วนบุคคล และชาวอเมริกันในขณะนี้ตกอยู่ภายใต้แรงกดดันที่ต้องเก็บเงินไว้ชำระหนี้ดังกล่าว ทำให้เป็นการยากที่ชาวอเมริกันจะนำเงินออกมาใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาวะถดถอย
ขณะที่ประเทศในเอเชีย ต่างมีวัฒนธรรมที่นิยมการออมเงินและระมัดระวังในการใช้จ่ายมานานนับศตวรรษ เพราะชาวเอเชียต้องการเก็บเงินไว้ใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตรหลานของตน เช่นเดียวกับการเก็บออมเพื่อป้องกันตนเองจากความหายนะทางเศรษฐกิจ
ดังนั้น ดร.ศุภชัย มองว่า การจัดทำแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียจำเป็นต้องอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อสร้างความมั่นคงทางสังคมให้กับประชาชนในรูปแบบต่างๆ เช่น เงินบำนาญ ซึ่งจะช่วยลดความจำเป็นของการระมัดระวังในการเก็บออมเงินของชาวเอเชีย