ในขณะที่การเกษตรเคมีก้าวหน้า การเกษตรแบบดั้งเดิม หรือเกษตรอินทรีย์ก็ตกต่ำ
ความก้าวหน้าของเกษตรเคมีถึงขั้นสูงสุด นั่นคือการก้าวสู่จุดอิ่มตัวอันเนื่องจากการพัฒนาไม่หยุดยั้ง ผลลัพธ์จากการพัฒนาเพื่อมุ่งหวังความเจริญก้าวหน้าอีกด้านหนึ่ง กลับกลายเป็นความเสื่อมถอย
จากที่มีฤทธิ์ด้านบวก เช่น การเพิ่มผลผลิต การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช อีกด้านกลับเป็นฤทธิ์ด้านลบ เช่น พิษภัยต่อดิน ต่อน้ำ ต่อแมลงที่เป็นประโยชน์ต่อพืช รวมถึงมนุษย์ผู้บริโภคอาหาร
แนวโน้มเช่นนี้เกิดขึ้นทั่วโลก ตั้งแต่ประเทศมหาอำนาจที่เป็นต้นคิดเกษตรเคมี ไม่ว่า สหรัฐอเมริกา ยุโรป เพราะเมื่อชีวิตไม่ปลอดภัยแล้ว เกษตรเคมีที่ว่าดีนักหนาก็ต้องเผชิญแรงกดดันต่อต้านหนักมือขึ้น
แม้ในประเทศไทยที่ได้ชื่อว่า ใช้เคมีเกษตรมากมาย และอยู่ในวัฐจักรของเกษตรเคมีมาโดยตลอด 40-50 ปี พิษภัยของเกษตรเคมีส่งผลกระเทือนต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ใช้ กระทบต่อประชาชนในฐานะผู้บริโภค กระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย
กระทั่งวงจรเศรษฐกิจ อาทิ การส่งออกสินค้าอาหาร หรือสินค้าเกษตร ย่อมได้รับผลสะเทือนไม่แพ้กัน
นโยบายรัฐบาลไทย ที่เคยสนับสนุนเกษตรเคมีมายาวนาน ถึงขณะนี้ต้องยอมรับว่า ต้องปรับเปลี่ยนทิศทาง หันมาสนับสนุนการใช้เกษตรอินทรีย์ในการผลิตพืชเกษตร หรือพืชอาหารกันมากขึ้น จากเดิมที่เคยเห็นดีเห็นงามกับเกษตรเคมีฝ่ายเดียว
ทั้งปลอดภัย ทั้งต้นทุนต่ำ และทำให้เกษตรกรอยู่รอด ลืมตาอ้าปากได้ เทียบกับเกษตรเคมีที่ใช้พร่ำเพรื่อ ไม่บันยะบันยัง เท่ากับนำไปสู่ความหายนะนั่นเอง
ฉลอง เทพวิทักษ์กิจ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน บอกว่า กรมพัฒนาที่ดิน เห็นถึงประโยชน์จากการใช้กระบวนการอินทรีย์ในการพัฒนาดิน เพียงแต่ได้ปรับเป็นเกษตรอินทรีย์แบบดั้งเดิมมาเป็นเกษตรอินทรีย์แบบก้าวหน้า เช่น การพัฒนาสารเร่งพด.สูตรต่างๆ เพื่อใช้ในการนำไปผลิตปุ๋ยอินทรีย์รูปแบบต่างๆได้ในเวลารวดเร็วกว่ากระบวนการตามธรรมชาติ
แนวทางของกรมพัฒนาที่ดิน เน้นการฝึกอบรมเกษตรกรให้หันมาใส่ใจกับการพัฒนาดินให้มีคุณภาพดี โดยใช้กระบวนการอินทรีย์ทั้งหลาย เช่น การผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
ฉลองกล่าวว่า ด้วยข้อจำกัดนี้ กรมพัฒนาที่ดินจึงคิดอ่านหาวิธีทำให้การฝึกอบรมกระจายได้ในวงกว้างแบบไร้ขีดจำกัด เพียงแต่มีคอมพิวเตอร์เตอร์ที่เชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เนทเท่านั้น
มีบางคนห่วงว่า เกษตรกร อาจเข้าไม่ถึงหลักสูตรe-learning แต่ฉลองบอกว่า ปัจจุบันสำนักงานเกษตรตำบล หรือหลายหน่วยงานในพื้นที่มีอินเทอร์เนทใช้กันมาก เกษตรกรบางครอบครัวก็มีเป็นของตัวเอง อีกทั้งลูกหลานที่เรียนหนังสือก็รู้วิธีใช้ ดังนั้นจึงไม่น่าห่วง ในทางตรงข้าม หลักสูตรนี้ ทำให้คนอาชีพอื่นที่ไม่ใช่เกษตรกรพลอยเข้าถึงข้อมูลได้ด้วย
หลักสูตรเกษตรอินทรีย์ e-learning ในชั้นต้น มีด้วยกัน 6 เรื่อง ประกอบด้วยการผลิตปุ๋ยหมัก การผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ การผลิตสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช การผลิตจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช การผลิตสารบำบัดน้ำเสีย และน้ำกลิ่นเหม็น และหญ้าแฝกอนุรักษ์ดินและน้ำ ทั้งนี้จะมีการใช้สารเร่งพด.ชนิดต่างๆเพื่อให้เร่งการผลิตเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ผู้สนใจสามารถเข้าถึงหลักสูตร e-learning โดยการเข้าสู่เวบเซท์กรมพัฒนาที่ดิน www.dd.go.th ค้นหาเมนู Academic Service Center หรือ e-learning เมื่อลงทะเบียนเสร็จ ก็สามารถเข้าสู่บทเรียนได้ทันที
ความก้าวหน้าของเกษตรเคมีถึงขั้นสูงสุด นั่นคือการก้าวสู่จุดอิ่มตัวอันเนื่องจากการพัฒนาไม่หยุดยั้ง ผลลัพธ์จากการพัฒนาเพื่อมุ่งหวังความเจริญก้าวหน้าอีกด้านหนึ่ง กลับกลายเป็นความเสื่อมถอย
จากที่มีฤทธิ์ด้านบวก เช่น การเพิ่มผลผลิต การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช อีกด้านกลับเป็นฤทธิ์ด้านลบ เช่น พิษภัยต่อดิน ต่อน้ำ ต่อแมลงที่เป็นประโยชน์ต่อพืช รวมถึงมนุษย์ผู้บริโภคอาหาร
แนวโน้มเช่นนี้เกิดขึ้นทั่วโลก ตั้งแต่ประเทศมหาอำนาจที่เป็นต้นคิดเกษตรเคมี ไม่ว่า สหรัฐอเมริกา ยุโรป เพราะเมื่อชีวิตไม่ปลอดภัยแล้ว เกษตรเคมีที่ว่าดีนักหนาก็ต้องเผชิญแรงกดดันต่อต้านหนักมือขึ้น
แม้ในประเทศไทยที่ได้ชื่อว่า ใช้เคมีเกษตรมากมาย และอยู่ในวัฐจักรของเกษตรเคมีมาโดยตลอด 40-50 ปี พิษภัยของเกษตรเคมีส่งผลกระเทือนต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ใช้ กระทบต่อประชาชนในฐานะผู้บริโภค กระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย
กระทั่งวงจรเศรษฐกิจ อาทิ การส่งออกสินค้าอาหาร หรือสินค้าเกษตร ย่อมได้รับผลสะเทือนไม่แพ้กัน
นโยบายรัฐบาลไทย ที่เคยสนับสนุนเกษตรเคมีมายาวนาน ถึงขณะนี้ต้องยอมรับว่า ต้องปรับเปลี่ยนทิศทาง หันมาสนับสนุนการใช้เกษตรอินทรีย์ในการผลิตพืชเกษตร หรือพืชอาหารกันมากขึ้น จากเดิมที่เคยเห็นดีเห็นงามกับเกษตรเคมีฝ่ายเดียว
ทั้งปลอดภัย ทั้งต้นทุนต่ำ และทำให้เกษตรกรอยู่รอด ลืมตาอ้าปากได้ เทียบกับเกษตรเคมีที่ใช้พร่ำเพรื่อ ไม่บันยะบันยัง เท่ากับนำไปสู่ความหายนะนั่นเอง
ฉลอง เทพวิทักษ์กิจ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน บอกว่า กรมพัฒนาที่ดิน เห็นถึงประโยชน์จากการใช้กระบวนการอินทรีย์ในการพัฒนาดิน เพียงแต่ได้ปรับเป็นเกษตรอินทรีย์แบบดั้งเดิมมาเป็นเกษตรอินทรีย์แบบก้าวหน้า เช่น การพัฒนาสารเร่งพด.สูตรต่างๆ เพื่อใช้ในการนำไปผลิตปุ๋ยอินทรีย์รูปแบบต่างๆได้ในเวลารวดเร็วกว่ากระบวนการตามธรรมชาติ
แนวทางของกรมพัฒนาที่ดิน เน้นการฝึกอบรมเกษตรกรให้หันมาใส่ใจกับการพัฒนาดินให้มีคุณภาพดี โดยใช้กระบวนการอินทรีย์ทั้งหลาย เช่น การผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
ฉลองกล่าวว่า ด้วยข้อจำกัดนี้ กรมพัฒนาที่ดินจึงคิดอ่านหาวิธีทำให้การฝึกอบรมกระจายได้ในวงกว้างแบบไร้ขีดจำกัด เพียงแต่มีคอมพิวเตอร์เตอร์ที่เชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เนทเท่านั้น
มีบางคนห่วงว่า เกษตรกร อาจเข้าไม่ถึงหลักสูตรe-learning แต่ฉลองบอกว่า ปัจจุบันสำนักงานเกษตรตำบล หรือหลายหน่วยงานในพื้นที่มีอินเทอร์เนทใช้กันมาก เกษตรกรบางครอบครัวก็มีเป็นของตัวเอง อีกทั้งลูกหลานที่เรียนหนังสือก็รู้วิธีใช้ ดังนั้นจึงไม่น่าห่วง ในทางตรงข้าม หลักสูตรนี้ ทำให้คนอาชีพอื่นที่ไม่ใช่เกษตรกรพลอยเข้าถึงข้อมูลได้ด้วย
หลักสูตรเกษตรอินทรีย์ e-learning ในชั้นต้น มีด้วยกัน 6 เรื่อง ประกอบด้วยการผลิตปุ๋ยหมัก การผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ การผลิตสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช การผลิตจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช การผลิตสารบำบัดน้ำเสีย และน้ำกลิ่นเหม็น และหญ้าแฝกอนุรักษ์ดินและน้ำ ทั้งนี้จะมีการใช้สารเร่งพด.ชนิดต่างๆเพื่อให้เร่งการผลิตเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ผู้สนใจสามารถเข้าถึงหลักสูตร e-learning โดยการเข้าสู่เวบเซท์กรมพัฒนาที่ดิน www.dd.go.th ค้นหาเมนู Academic Service Center หรือ e-learning เมื่อลงทะเบียนเสร็จ ก็สามารถเข้าสู่บทเรียนได้ทันที