นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย กล่าวถึงการเตรียมการรับมืออุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ว่า ในช่วงสงกรานต์ปีที่แล้ว มีผู้เสียชีวิตประมาณ 368 คน ซึ่งอุบัติเหตุเกิดขึ้น 4,800 ครั้ง สาเหตุหลักคือเมาสุราและขี่มอเตอร์ไซด์ ช่วงที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือเวลา 16.00 น.-20.00 น. นั่นคือช่วงเมาแล้วสนุกสนานกัน โดยอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นในถนนสายรองตามหมู้บ้านดังนั้น ปีนี้จะเพิ่มจุดตรวจมากขึ้น จากปีที่แล้วมีจุดตรวจ 7,000 แห่ง โดยจะเน้นในถนนสายรอง ตามหมู่บ้าน โดยให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตั้งจุดตรวจตามชุมชน ซึ่งจุดตรวจนี้ไม่ได้ทำหน้าที่จับกุม แต่ทำหน้าที่เฝ้าระวัง ป้องกัน และคอยเตือนคนเหล่านี้ว่า เวลาเมา อย่าขี่มอเตอร์ไซด์ซิ่ง คิดว่า การเพิ่มจุดตรวจ ทำให้การเสียชีวิตและอุบัติเหตุลดลง
นายวัชระ กรรณิกา รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า ที่ประชุมครม. มีมติเห็นชอบแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2552 ระหว่างวันที่ 10-16 เม.ย. ขอศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน โดยได้มอบให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ โดยมีเป้าหมายดำเนินการ เพื่อลดจำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ ให้ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2551 ซึ่งมี อุบัติเหตุ 4,423 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 368 คน ผู้บาดเจ็บ 4,803 คน
โดยให้หน่วยส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน 8 มาตรการ ได้แก่ มาตรการด้านการบริหารจัดการ มาตรการด้านการป้องกันปรามปราม มาตรการด้านสังคมและชุมชน มาตรการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนและรถยนต์ มาตรการด้าน การช่วยเหลือ กู้ชีพ กู้ภัย มาตรการด้านการจราจรและการอำนวยความสะดวกในการเดินทาง มาตรการรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนัก และ มาตรการด้านการรายงานผลและวิเคราะห์ข้อมูล เป็นแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายในการลดความสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน ของประชาชน และเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยของประชาชน ตลอดจนนำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน
นายวัชระ กล่าวอีกว่า ช่วงเตรียมความพร้อม (ระหว่างวันที่ 16-31 มีนาคม 2552) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่รับผิดชอบงาน ความปลอดภัยทางถนนเตรียมความพร้อมโดยจัดประชุมคณะกรรมการ ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด จัดทำแผนปฏิบัติการในภาพรวมของจังหวัด ทั้งด้านการปฏิบัติและงบประมาณ โดยบูรณาการความร่วมมือของ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาชน และองค์กรเอกชน
สำหรับช่วงปฏิบัติการเข้มข้น (ระหว่างวันที่ 1-9 เมษายน 2552) ให้เน้นหนักในด้านการบังคับใช้กฎหมายจราจรอย่างจริงจังและเข้มงวด ประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินคดีในโทษขั้นสูงสุด กรณีทำผิดกฎหมายจราจรทางบก และกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี กระทำผิด ผู้ปกครองอาจได้รับโทษตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 การกำหนดพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ (Zoning) รวมทั้งจัดให้มีการซักซ้อมแผนรับมืออุบัติเหตุใหญ่ และการติดต่อสื่อสาร
นายวัชระ กล่าวด้วยว่า ในช่วงดำเนินการรณรงค์ในช่วงเทศกาล (ระหว่างวันที่ 10-16 เมษายน 2552) ให้ปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน อย่างต่อเนื่อง ตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจร่วมแบบบูรณาการ และจัดชุดตระเวนตรวจ เพื่อตรวจจับอย่างเข้มงวด และดำเนินคดีในโทษขั้นสูงสุด ให้เน้นหนักการบังคับใช้กฎหมายบนเส้นทางสายหลัก (ทางหลวงแผ่นดิน) ระหว่างวันที่ 10-11 เมษายน 2552 และวันที่ 15-16 เมษายน 2552 และบนเส้นทางสายรอง (ทางหลวงชนบท ถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถนนของหน่วยงานอื่น ๆ) ให้เน้นหนักระหว่างวันที่ 12-14 เมษายน 2552 รวมทั้งมอบหมายให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งจุดสกัดกั้นชุมชน หมู่บ้าน และตั้งหน่วยสนับสนุนและบริการประชาชนระดับพื้นที่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางและสภาพการจราจร โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติ
นายวัชระ กรรณิกา รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า ที่ประชุมครม. มีมติเห็นชอบแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2552 ระหว่างวันที่ 10-16 เม.ย. ขอศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน โดยได้มอบให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ โดยมีเป้าหมายดำเนินการ เพื่อลดจำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ ให้ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2551 ซึ่งมี อุบัติเหตุ 4,423 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 368 คน ผู้บาดเจ็บ 4,803 คน
โดยให้หน่วยส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน 8 มาตรการ ได้แก่ มาตรการด้านการบริหารจัดการ มาตรการด้านการป้องกันปรามปราม มาตรการด้านสังคมและชุมชน มาตรการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนและรถยนต์ มาตรการด้าน การช่วยเหลือ กู้ชีพ กู้ภัย มาตรการด้านการจราจรและการอำนวยความสะดวกในการเดินทาง มาตรการรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนัก และ มาตรการด้านการรายงานผลและวิเคราะห์ข้อมูล เป็นแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายในการลดความสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน ของประชาชน และเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยของประชาชน ตลอดจนนำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน
นายวัชระ กล่าวอีกว่า ช่วงเตรียมความพร้อม (ระหว่างวันที่ 16-31 มีนาคม 2552) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่รับผิดชอบงาน ความปลอดภัยทางถนนเตรียมความพร้อมโดยจัดประชุมคณะกรรมการ ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด จัดทำแผนปฏิบัติการในภาพรวมของจังหวัด ทั้งด้านการปฏิบัติและงบประมาณ โดยบูรณาการความร่วมมือของ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาชน และองค์กรเอกชน
สำหรับช่วงปฏิบัติการเข้มข้น (ระหว่างวันที่ 1-9 เมษายน 2552) ให้เน้นหนักในด้านการบังคับใช้กฎหมายจราจรอย่างจริงจังและเข้มงวด ประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินคดีในโทษขั้นสูงสุด กรณีทำผิดกฎหมายจราจรทางบก และกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี กระทำผิด ผู้ปกครองอาจได้รับโทษตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 การกำหนดพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ (Zoning) รวมทั้งจัดให้มีการซักซ้อมแผนรับมืออุบัติเหตุใหญ่ และการติดต่อสื่อสาร
นายวัชระ กล่าวด้วยว่า ในช่วงดำเนินการรณรงค์ในช่วงเทศกาล (ระหว่างวันที่ 10-16 เมษายน 2552) ให้ปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน อย่างต่อเนื่อง ตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจร่วมแบบบูรณาการ และจัดชุดตระเวนตรวจ เพื่อตรวจจับอย่างเข้มงวด และดำเนินคดีในโทษขั้นสูงสุด ให้เน้นหนักการบังคับใช้กฎหมายบนเส้นทางสายหลัก (ทางหลวงแผ่นดิน) ระหว่างวันที่ 10-11 เมษายน 2552 และวันที่ 15-16 เมษายน 2552 และบนเส้นทางสายรอง (ทางหลวงชนบท ถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถนนของหน่วยงานอื่น ๆ) ให้เน้นหนักระหว่างวันที่ 12-14 เมษายน 2552 รวมทั้งมอบหมายให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งจุดสกัดกั้นชุมชน หมู่บ้าน และตั้งหน่วยสนับสนุนและบริการประชาชนระดับพื้นที่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางและสภาพการจราจร โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติ