เอเอฟพี/เอเยนซีส์ - จุดยืนที่แตกต่างกันในแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกดูเหมือนจะร้าวลึกมากขึ้นเมื่อวานนี้(1) ซึ่งเป็นวันก่อนหน้ากำหนดการประชุมสุดยอดกลุ่มจี 20 ประเทศที่กรุงลอนดอน โดยฝรั่งเศสกับเยอรมนีเรียกร้องให้ออกมาตรการที่ขึงขังจริงจังไม่ใช่การประนีประนอมอันอ่อนแอ ขณะที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ กล่าวเตือนว่า สหรัฐฯจะยุติไม่เป็น "ผู้บริโภคผู้ไม่รู้จักพอ" อีกต่อไปแล้ว ทางด้านกลุ่มผู้ประท้วงจำนวนหลายพันคนได้เกิดปะทะกับตำรวจ ขณะพยายามบุกเข้าไปในย่านธนาคารของเมืองหลวงอังกฤษ
ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี ของฝรั่งเศส ซึ่งกำลังขู่ว่าจะเดินประท้วงออกจากที่ประชุมสุดยอดลอนดอนที่จะจัดขึ้นในวันนี้(2) หากเห็นว่าไม่มีผลเป็นชิ้นเป็นอัน ได้กล่าวย้ำว่าทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนีต่างปฏิเสธไม่ยอมรับร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมกลุ่มจี-20 ในเนื้อหาปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูประบบการเงิน และการเล่นงานดินแดนที่เป็นแหล่งหลบภาษี ตลอดจนการจัดการกับการจ่ายโบนัสในบริษัทต่างๆ
ทางด้านโอบามา และนายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ของอังกฤษ ผู้ซึ่งพยายามดิ้นรนหาทางอุดช่วงห่างของความคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่างผู้นำต่างๆ ได้พยายามพูดจาลดน้ำหนักของความแตกแยกกัน แต่ก็ยืนยันว่าวิกฤตที่การประชุมระดับผู้นำคราวนี้ต้องการแก้ไขนั้น มีขนาดขอบเขตมหึมายิ่ง
"ขออย่าได้เข้าใจผิด พวกเรานั้นกำลังเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุดนับแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา และเศรษฐกิจโลกในเวลานี้ก็มีการเชื่อมโยงพัวพันระหว่างกันโดยพื้นฐาน จนกระทั่งพวกเราจะรับมือกับปัญหาความท้าทายคราวนี้ได้ก็ด้วยการร่วมมือกันเท่านั้น" โอบามาบอก
แต่เขาก็ยืนยันว่า ขณะที่ซัมมิตคราวนี้มีหน้าที่ต้องสร้าง "ผลลัพธ์อันเป็นเนื้อเป็นหนังที่สุดเท่าที่สามารถกระทำได้" แต่ "ความแตกแยกระหว่างฝ่ายต่างๆ ก็มีการเน้นย้ำมากเกินไปและเป็นไปอย่างกว้างขวาง"
โอบามากล่าวว่า ทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการจัดระเบียบควบคุมระบบการเงิน ต่างก็มีความจำเป็น แต่เขาก็บอกด้วยว่าสหรัฐฯคงไม่สามารถแบกรับความรับผิดชอบทุกอย่างในเรื่องการสร้างให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจระลอกใหม่
สหรัฐฯนั้นจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาการขาดดุลด้านต่างๆ อย่างมหาศาล จนกระทั่งขณะที่โลกมองเห็นอเมริกามานานนมว่าเป็น "ผู้บริโภคผู้ไม่รู้จักพอ" แต่สิ่งนี้จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไป โอบามากล่าว
ตลอดคืนวันอังคาร(31) คณะเจ้าหน้าที่ของ จี-20 ใช้เวลาเจรจาต่อรองกันเพื่อหาข้อยุติร่วมกันในเรื่องเนื้อหาของแถลงการณ์ร่วม
แต่ซาร์โกซีกล่าวว่า คณะเจ้าหน้าที่เหล่านี้ยังไม่สามารถตกลงกันได้ โดยที่ทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี ยังไม่พอใจข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการเงิน
"ผมจะไม่เอาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องกับการประชุมสุดยอดจอมปลอม ซึ่งจะสรุปด้วยถ้อยแถลงที่ไร้แก่นสาร ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม" ผู้นำฝรั่งเศสกล่าวระหว่างการให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุแห่งหนึ่งของฝรั่งเศส และเสริมว่าเขาและนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล แห่งเยอรมนี เห็นพ้องกันว่าร่างแถลงการณ์เบื้องต้นยังไม่เป็นที่น่าพอใจ
ทางด้านแมร์เคิลก็ได้ประกาศจุดยืนว่า ไม่เห็นด้วยกับมาตรการหลายอย่างที่เสนอโดยสหรัฐฯและอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอัดฉีดงบประมาณเข้าสู่ระบบเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ขณะที่นายกรัฐมนตรีทาโร อาโซะของญี่ปุ่นกล่าวว่า การอัดฉีดงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่จำเป็นและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
"ด้วยประสบการณ์ตรงเป็นเวลากว่า 15 ปี เราทราบว่ามาตรการนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง บางประเทศ เช่น สหรัฐฯและสหภาพยุโรป เพิ่งเผชิญกับสถานการณ์แบบนี้เป็นครั้งแรก จึงอาจไม่เข้าใจว่าจำเป็นอย่างไร" นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นกล่าวระหว่างการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์
ประท้วงรุนแรงในลอนดอน
เมื่อวานนี้มีผู้ประท้วงที่โกรธกริ้วจำนวนหลายพันคน บุกฝ่าแถวตำรวจเข้าไปในย่านการเงินสำคัญของกรุงลอนดอน และทุบทำลายสาขาสำคัญแห่งหนึ่งของ รอยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ (อาร์บีเอส) ซึ่งถูกทางการโอนกิจการเข้าเป็นของรัฐในปีที่แล้ว
นอกจากนั้น ยังมีนักเคลื่อนไหวต่อต้านทุนนิยมและต่อต้านสงครามกลุ่มอื่นๆ เข้าต่อสู้กับตำรวจ, สาดสี และระเบิดควัน, ขวด, กระป๋อง, และรองเท้า เข้าใส่ตำรวจที่ตรึงอยู่ด้านนอกของธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ ขณะเดียวกัน ก็มีกลุ่มผู้ประท้วงอีกราว 2,000 คนไปชุมนุมอยู่ที่ด้านนอกของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ โดยที่มีตำรวจหลายร้อยคนคอยพิทักษ์รักษาอยู่เช่นกัน
ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี ของฝรั่งเศส ซึ่งกำลังขู่ว่าจะเดินประท้วงออกจากที่ประชุมสุดยอดลอนดอนที่จะจัดขึ้นในวันนี้(2) หากเห็นว่าไม่มีผลเป็นชิ้นเป็นอัน ได้กล่าวย้ำว่าทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนีต่างปฏิเสธไม่ยอมรับร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมกลุ่มจี-20 ในเนื้อหาปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูประบบการเงิน และการเล่นงานดินแดนที่เป็นแหล่งหลบภาษี ตลอดจนการจัดการกับการจ่ายโบนัสในบริษัทต่างๆ
ทางด้านโอบามา และนายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ของอังกฤษ ผู้ซึ่งพยายามดิ้นรนหาทางอุดช่วงห่างของความคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่างผู้นำต่างๆ ได้พยายามพูดจาลดน้ำหนักของความแตกแยกกัน แต่ก็ยืนยันว่าวิกฤตที่การประชุมระดับผู้นำคราวนี้ต้องการแก้ไขนั้น มีขนาดขอบเขตมหึมายิ่ง
"ขออย่าได้เข้าใจผิด พวกเรานั้นกำลังเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุดนับแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา และเศรษฐกิจโลกในเวลานี้ก็มีการเชื่อมโยงพัวพันระหว่างกันโดยพื้นฐาน จนกระทั่งพวกเราจะรับมือกับปัญหาความท้าทายคราวนี้ได้ก็ด้วยการร่วมมือกันเท่านั้น" โอบามาบอก
แต่เขาก็ยืนยันว่า ขณะที่ซัมมิตคราวนี้มีหน้าที่ต้องสร้าง "ผลลัพธ์อันเป็นเนื้อเป็นหนังที่สุดเท่าที่สามารถกระทำได้" แต่ "ความแตกแยกระหว่างฝ่ายต่างๆ ก็มีการเน้นย้ำมากเกินไปและเป็นไปอย่างกว้างขวาง"
โอบามากล่าวว่า ทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการจัดระเบียบควบคุมระบบการเงิน ต่างก็มีความจำเป็น แต่เขาก็บอกด้วยว่าสหรัฐฯคงไม่สามารถแบกรับความรับผิดชอบทุกอย่างในเรื่องการสร้างให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจระลอกใหม่
สหรัฐฯนั้นจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาการขาดดุลด้านต่างๆ อย่างมหาศาล จนกระทั่งขณะที่โลกมองเห็นอเมริกามานานนมว่าเป็น "ผู้บริโภคผู้ไม่รู้จักพอ" แต่สิ่งนี้จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไป โอบามากล่าว
ตลอดคืนวันอังคาร(31) คณะเจ้าหน้าที่ของ จี-20 ใช้เวลาเจรจาต่อรองกันเพื่อหาข้อยุติร่วมกันในเรื่องเนื้อหาของแถลงการณ์ร่วม
แต่ซาร์โกซีกล่าวว่า คณะเจ้าหน้าที่เหล่านี้ยังไม่สามารถตกลงกันได้ โดยที่ทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี ยังไม่พอใจข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการเงิน
"ผมจะไม่เอาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องกับการประชุมสุดยอดจอมปลอม ซึ่งจะสรุปด้วยถ้อยแถลงที่ไร้แก่นสาร ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม" ผู้นำฝรั่งเศสกล่าวระหว่างการให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุแห่งหนึ่งของฝรั่งเศส และเสริมว่าเขาและนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล แห่งเยอรมนี เห็นพ้องกันว่าร่างแถลงการณ์เบื้องต้นยังไม่เป็นที่น่าพอใจ
ทางด้านแมร์เคิลก็ได้ประกาศจุดยืนว่า ไม่เห็นด้วยกับมาตรการหลายอย่างที่เสนอโดยสหรัฐฯและอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอัดฉีดงบประมาณเข้าสู่ระบบเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ขณะที่นายกรัฐมนตรีทาโร อาโซะของญี่ปุ่นกล่าวว่า การอัดฉีดงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่จำเป็นและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
"ด้วยประสบการณ์ตรงเป็นเวลากว่า 15 ปี เราทราบว่ามาตรการนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง บางประเทศ เช่น สหรัฐฯและสหภาพยุโรป เพิ่งเผชิญกับสถานการณ์แบบนี้เป็นครั้งแรก จึงอาจไม่เข้าใจว่าจำเป็นอย่างไร" นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นกล่าวระหว่างการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์
ประท้วงรุนแรงในลอนดอน
เมื่อวานนี้มีผู้ประท้วงที่โกรธกริ้วจำนวนหลายพันคน บุกฝ่าแถวตำรวจเข้าไปในย่านการเงินสำคัญของกรุงลอนดอน และทุบทำลายสาขาสำคัญแห่งหนึ่งของ รอยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ (อาร์บีเอส) ซึ่งถูกทางการโอนกิจการเข้าเป็นของรัฐในปีที่แล้ว
นอกจากนั้น ยังมีนักเคลื่อนไหวต่อต้านทุนนิยมและต่อต้านสงครามกลุ่มอื่นๆ เข้าต่อสู้กับตำรวจ, สาดสี และระเบิดควัน, ขวด, กระป๋อง, และรองเท้า เข้าใส่ตำรวจที่ตรึงอยู่ด้านนอกของธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ ขณะเดียวกัน ก็มีกลุ่มผู้ประท้วงอีกราว 2,000 คนไปชุมนุมอยู่ที่ด้านนอกของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ โดยที่มีตำรวจหลายร้อยคนคอยพิทักษ์รักษาอยู่เช่นกัน