ASTVผู้จัดการรายวัน - 2 พยาบาลวัยเกษียณเข้าร้องเรียน ป.ป.ท. ให้เร่งตรวจสอบการบริหารของผู้บริหาร กบข. พร้อมเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายที่ทำให้ต้องขาดทุนถึงคนละ 5 หมื่นบาท แฉถูกกล่อมจะได้เงินล้านใช้บั้นปลายชีวิต ค้านบอร์ด กบข.ตั้งกรรมการขึ้นตรวจสอบกันเองไม่โปร่งใส ขณะที่ รมว.ยุติธรรมยัน ป.ป.ท.เข้าตรวจสอบ กบข.ได้ เผยถกร่วมกันวันนี้
วานนี้ (23 มี.ค.) ที่กระทรวงยุติธรรม นางสิมากานต์ วรเดชวิญญู พยาบาลวิชาชีพ ระดับ 8 และ น.ส.รุจิรา สมบูรณ์ พยาบาลวิชาชีพ ระดับ 7 นักวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเกษียณอายุราชการเมื่อเดือนตุลาคม 2551 และเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากกรณีผลประโยชน์ตอบแทนเงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ลดลงเป็นจำนวนเงินกว่า 50,000 บาท โดยผู้เสียหายทั้งสองได้เข้ายื่นเรื่องร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เพื่อร้องขอให้ตรวจสอบการบริหารเงินกองทุนกบข. และเรียกร้องให้ผู้บริหาร กบข. ชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่ข้าราชการที่เกษียณอายุในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
นางสิมากานต์เปิดเผยว่า ก่อนสมัครเป็นสมาชิก กบข.ได้รับคำยืนยันว่าจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนหลังเกษียณอายุกว่า 1,000,000 บาท แต่เมื่อครบกำหนดเกษียณอายุสมาชิกกบข.กลับได้รับเงินบำนาญโดยเฉลี่ยน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข.เฉลี่ยเดือนละ 4,000-5,000 บาท อีกทั้งผลประกอบการในปี 2551 ที่ผ่านมายังมีตัวเลขผลประโยชน์ติดลบอีกกว่า 50,000 บาท ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบเงินในกองทุนประกันสังคมที่มีภาระต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล สมาชิกยังไม่เสียผลประโยชน์ ขณะที่ กบข.ไม่มีต้นทุนเรื่องสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลแต่กลับมีตัวเลขผลประโยชน์ติดลบ ดังนั้น ผู้บริหาร กบข.ต้องตอบสมาชิกให้ได้ว่าจะเยียวยาความเสียหายอย่างไร
"การที่บอร์ดกบข.แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นตรวจสอบเป็นการภายใน ถือว่าไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใส และไม่เหมาะสม ตนเป็นห่วงสมาชิก กบข.ที่ยังไม่เกษียณ ว่าในอนาคตต้นทุนอาจติดลบ อีกทั้งสมาชิกไม่สามารถลาออกได้ จึงเรียกร้องให้มีการปรับโครงสร้าง กบข.ให้มีผู้เชี่ยวชาญในด้านการลงทุนที่แท้จริง เพื่อให้ความเสียหายเกิดขึ้นน้อยที่สุด ในส่วนกรรมการ กบข.และผู้บริหาร กบข.ต้องสามารถตรวจสอบได้"
สำหรับกรรมการชุดปัจจุบันที่บริหารจนเงินติดลบควรพิจารณาตัวเอง เนื่องจากการบริหารงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ยังมีกำไร เชื่อว่าเป็นเพราะสหกรณ์ออมทรัพย์มีการเลือกตั้งและเปลี่ยนผู้บริหารทุกปี ขณะที่ผู้บริหาร กบข.อยู่ในตำแหน่งต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2540
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการ ป.ป.ท.เปิดเผยว่าจะเข้าพบนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อนำเสนอผลการตรวจสอบเบื้องต้นกรณีการลงทุนของ กบข. รวมทั้งจะเสนอให้ รมว.ยุติธรรมอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อตรวจสอบกระแสการเงินของ กบข. ประกอบด้วย กรมสอบสวนคดีพิเศษ, สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, ป.ป.ท. และหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุน ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบจากหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ป.ป.ท. จะส่งเรื่องการเสนอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. รวมถึงกรณีการตั้งคณะกรรมการ 7 หน่วยงาน เข้าร่วมดำเนินการตรวจสอบการลงทุนของ กบข. เข้าหารือกับตนที่รัฐสภาในวันนี้ (24 มี.ค.) โดย รมว.ยุติธรรมยืนยันว่า ป.ป.ท. สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้
***"ปกรณ์" ชี้สอบ กบข.ไม่ทำหุ้นผันผวน
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) มีการตั้งคณะกรรมการจากกระทรวงการคลังและคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อตรวจสอบพอร์ตการลงทุนของกบข. นั้น เชื่อว่าผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง จะสามารถสรุปออกมาได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน โดยมองว่าหากผลการตรวจสอบมีบทสรุปออกมาอย่างชัดเจน จะไม่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของนักลงทุน ทั้งสถาบันและกองทุนต่างๆที่จะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น
ทั้งนี้ การจัดตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจขึ้นมาดูแลนั้น ถือว่าเป็นเรื่องดีที่จะช่วยชี้แจงความโปร่งใส ให้ปัญหาทุกอย่างคลี่คลาย เนื่องจากที่ผ่านมา การดำเนินงานของกบข.ก็มีความโปร่งใสและทำงานภายใต้มติของคณะกรรมการและกรอบของกฎหมายอยู่ก่อนแล้ว โดยเชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบต่อการลงทุนใดๆ รวมถึงกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเอง ก็มีกลยุทธ์ในการลงทุนและมีหลักเกณฑ์การลงทุนที่ชัดเจนเป็นพื้นฐานในตัวเองอยู่แล้ว คือการเลือกลงทุนในหุ้นที่มีพื้นฐานดี
นอกจากนี้ ในช่วงที่ดัชนีหุ้นตกลงก็ถือเป็นจังหวะดี ที่กองทุนส่วนใหญ่จะเข้ามาซื้อหุ้นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ช่วงที่ผ่านมา ทางกบข.อาจจะมีการขาดทุนจากการลงทุนในตลาดหุ้นบ้าง แต่ก็เชื่อว่ายังมีนโยบายและสัดส่วนที่ยังสามารถนำไปลงทุนในตลาดหุ้นต่อไปได้อีก
"ตามหลักการ เห็นด้วยกับแนวทางที่จะมีการดำเนินการตรวจสอบ เนื่องจากทุกอย่างต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของคณะกรรมการที่จะเข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริง เราคงยังตอบหรือสรุปอะไรไม่ได้ ต้องรอให้เป็นไปตามหน้าที่ของผู้ที่ดูแลเท่านั้น ในส่วนของตลาดนั้นยังไม่มีบทสรุปว่าจะส่งใครเข้าไปดูแล เนื่องจากต้องรอการหารือก่อน สำหรับเรื่องของดัชนีตลาดหุ้นที่ผันผวนอย่างรุนแรงจากช่วงที่ผ่านมา เรามองว่าเป็นผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกและสถาบันการเงินโลกที่เกิดขึ้น กรณีดังกล่าวคงไม่ใช่ประเด็นหลัก " นายปกรณ์ กล่าว
ด้านนายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้จัดการกองทุนที่บริหารเงินลงทุนของกบข. กล่าวว่า บลจ.เอ็มเอฟซี ได้รับเงินบริหารในส่วนของตราสารหนี้ ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินลงทุนประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท โดยในช่วงที่มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบผลการดำเนินงาน กบข.ที่ขาดทุนอยู่ในขณะนี้ เงินลงทุนในส่วนดังกล่าว ยังลงทุนอยู่ตามปกติ ไม่มีคำชี้แจงหรือผลต่อการลงทุนแต่อย่างใด.
วานนี้ (23 มี.ค.) ที่กระทรวงยุติธรรม นางสิมากานต์ วรเดชวิญญู พยาบาลวิชาชีพ ระดับ 8 และ น.ส.รุจิรา สมบูรณ์ พยาบาลวิชาชีพ ระดับ 7 นักวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเกษียณอายุราชการเมื่อเดือนตุลาคม 2551 และเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากกรณีผลประโยชน์ตอบแทนเงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ลดลงเป็นจำนวนเงินกว่า 50,000 บาท โดยผู้เสียหายทั้งสองได้เข้ายื่นเรื่องร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เพื่อร้องขอให้ตรวจสอบการบริหารเงินกองทุนกบข. และเรียกร้องให้ผู้บริหาร กบข. ชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่ข้าราชการที่เกษียณอายุในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
นางสิมากานต์เปิดเผยว่า ก่อนสมัครเป็นสมาชิก กบข.ได้รับคำยืนยันว่าจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนหลังเกษียณอายุกว่า 1,000,000 บาท แต่เมื่อครบกำหนดเกษียณอายุสมาชิกกบข.กลับได้รับเงินบำนาญโดยเฉลี่ยน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข.เฉลี่ยเดือนละ 4,000-5,000 บาท อีกทั้งผลประกอบการในปี 2551 ที่ผ่านมายังมีตัวเลขผลประโยชน์ติดลบอีกกว่า 50,000 บาท ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบเงินในกองทุนประกันสังคมที่มีภาระต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล สมาชิกยังไม่เสียผลประโยชน์ ขณะที่ กบข.ไม่มีต้นทุนเรื่องสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลแต่กลับมีตัวเลขผลประโยชน์ติดลบ ดังนั้น ผู้บริหาร กบข.ต้องตอบสมาชิกให้ได้ว่าจะเยียวยาความเสียหายอย่างไร
"การที่บอร์ดกบข.แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นตรวจสอบเป็นการภายใน ถือว่าไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใส และไม่เหมาะสม ตนเป็นห่วงสมาชิก กบข.ที่ยังไม่เกษียณ ว่าในอนาคตต้นทุนอาจติดลบ อีกทั้งสมาชิกไม่สามารถลาออกได้ จึงเรียกร้องให้มีการปรับโครงสร้าง กบข.ให้มีผู้เชี่ยวชาญในด้านการลงทุนที่แท้จริง เพื่อให้ความเสียหายเกิดขึ้นน้อยที่สุด ในส่วนกรรมการ กบข.และผู้บริหาร กบข.ต้องสามารถตรวจสอบได้"
สำหรับกรรมการชุดปัจจุบันที่บริหารจนเงินติดลบควรพิจารณาตัวเอง เนื่องจากการบริหารงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ยังมีกำไร เชื่อว่าเป็นเพราะสหกรณ์ออมทรัพย์มีการเลือกตั้งและเปลี่ยนผู้บริหารทุกปี ขณะที่ผู้บริหาร กบข.อยู่ในตำแหน่งต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2540
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการ ป.ป.ท.เปิดเผยว่าจะเข้าพบนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อนำเสนอผลการตรวจสอบเบื้องต้นกรณีการลงทุนของ กบข. รวมทั้งจะเสนอให้ รมว.ยุติธรรมอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อตรวจสอบกระแสการเงินของ กบข. ประกอบด้วย กรมสอบสวนคดีพิเศษ, สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, ป.ป.ท. และหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุน ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบจากหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ป.ป.ท. จะส่งเรื่องการเสนอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. รวมถึงกรณีการตั้งคณะกรรมการ 7 หน่วยงาน เข้าร่วมดำเนินการตรวจสอบการลงทุนของ กบข. เข้าหารือกับตนที่รัฐสภาในวันนี้ (24 มี.ค.) โดย รมว.ยุติธรรมยืนยันว่า ป.ป.ท. สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้
***"ปกรณ์" ชี้สอบ กบข.ไม่ทำหุ้นผันผวน
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) มีการตั้งคณะกรรมการจากกระทรวงการคลังและคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อตรวจสอบพอร์ตการลงทุนของกบข. นั้น เชื่อว่าผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง จะสามารถสรุปออกมาได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน โดยมองว่าหากผลการตรวจสอบมีบทสรุปออกมาอย่างชัดเจน จะไม่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของนักลงทุน ทั้งสถาบันและกองทุนต่างๆที่จะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น
ทั้งนี้ การจัดตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจขึ้นมาดูแลนั้น ถือว่าเป็นเรื่องดีที่จะช่วยชี้แจงความโปร่งใส ให้ปัญหาทุกอย่างคลี่คลาย เนื่องจากที่ผ่านมา การดำเนินงานของกบข.ก็มีความโปร่งใสและทำงานภายใต้มติของคณะกรรมการและกรอบของกฎหมายอยู่ก่อนแล้ว โดยเชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบต่อการลงทุนใดๆ รวมถึงกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเอง ก็มีกลยุทธ์ในการลงทุนและมีหลักเกณฑ์การลงทุนที่ชัดเจนเป็นพื้นฐานในตัวเองอยู่แล้ว คือการเลือกลงทุนในหุ้นที่มีพื้นฐานดี
นอกจากนี้ ในช่วงที่ดัชนีหุ้นตกลงก็ถือเป็นจังหวะดี ที่กองทุนส่วนใหญ่จะเข้ามาซื้อหุ้นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ช่วงที่ผ่านมา ทางกบข.อาจจะมีการขาดทุนจากการลงทุนในตลาดหุ้นบ้าง แต่ก็เชื่อว่ายังมีนโยบายและสัดส่วนที่ยังสามารถนำไปลงทุนในตลาดหุ้นต่อไปได้อีก
"ตามหลักการ เห็นด้วยกับแนวทางที่จะมีการดำเนินการตรวจสอบ เนื่องจากทุกอย่างต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของคณะกรรมการที่จะเข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริง เราคงยังตอบหรือสรุปอะไรไม่ได้ ต้องรอให้เป็นไปตามหน้าที่ของผู้ที่ดูแลเท่านั้น ในส่วนของตลาดนั้นยังไม่มีบทสรุปว่าจะส่งใครเข้าไปดูแล เนื่องจากต้องรอการหารือก่อน สำหรับเรื่องของดัชนีตลาดหุ้นที่ผันผวนอย่างรุนแรงจากช่วงที่ผ่านมา เรามองว่าเป็นผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกและสถาบันการเงินโลกที่เกิดขึ้น กรณีดังกล่าวคงไม่ใช่ประเด็นหลัก " นายปกรณ์ กล่าว
ด้านนายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้จัดการกองทุนที่บริหารเงินลงทุนของกบข. กล่าวว่า บลจ.เอ็มเอฟซี ได้รับเงินบริหารในส่วนของตราสารหนี้ ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินลงทุนประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท โดยในช่วงที่มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบผลการดำเนินงาน กบข.ที่ขาดทุนอยู่ในขณะนี้ เงินลงทุนในส่วนดังกล่าว ยังลงทุนอยู่ตามปกติ ไม่มีคำชี้แจงหรือผลต่อการลงทุนแต่อย่างใด.