“เสนียดหู อดสูปาก สำรากสถุลถ่อย พล่อยๆ อภิปราย ฉิบหายโกหก นรกจกเปรตสภา!!!!”
ท่านผู้อ่านที่เคารพ ช่วยกันตริตรองเอาเองเถิดว่า นี่มันอะไรกัน ใคร อะไร ที่ไหน และเมื่อไร
โปรดอย่าเหมาว่า ผมหมายถึง เหตุเกิดในวันที่ 19 มีนาคม 2552 ที่สภาหัวควาย ตกสระอา โดยผู้แทนอยุธยา ลูกพรรคบิดาสุนัขเสื้อแดงเท่านั้น ผิดครับ
ในขณะเดียวกัน ท่านผู้อ่านจะต้องไม่ท้อถอยอย่างน้อย เราได้เห็น อภิสิทธิ์ ถือโอกาสใช้ “มาตรฐานทองคำ” ในการอภิปรายตอบฝ่ายค้านในรัฐสภา กะทัดรัดด้วยอรรถและพยัญชนะถูกถ้วนในภาษาไทยของผู้มีสมบัติผู้ดีและสติปัญญาบริบูรณ์
คำโบราณว่า “Action speaks louder than voice : การกระทำเสียงดังกว่าคำพูด” นอกเหนือไปจากวาทศิลป์และบุคลิกอันชูใจครั้งนี้ ผมอยากเห็นผลงานจากการกระทำของ อภิสิทธิ์
ผมหน้าบานที่ได้เห็น “มาตรฐานทองคำ” อันเดียวกันนี้จากข่าวต่างประเทศ ในคราวที่ อภิสิทธิ์ไปเยือนอังกฤษ ถ้าหาก อภิสิทธิ์ล้ม เฉลิมขึ้น มาเป็นนายกฯ ผม เห็น จะต้องย้ายไปอยู่ลาว
นับย้อนหลังจาก รสช.ยกเว้น อดีตนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน มาตรฐานของ นายกรัฐมนตรีคนก่อนๆ รวมทั้งเทพเจ้าของขบวนการสุนัขเสื้อแดง แม้จะไปคว้าปริญญาเอกมาจากเท็กซัสอีก 10 ใบ ก็ไม่มีทางเปรียบได้กับ นายกฯ อภิสิทธิ์ ผมเสียดายที่ พรรคประชาธิปัตย์ ผลิตคนอย่างอภิสิทธิ์ได้น้อยกว่า ผลิตนักการเมืองน้ำเน่าไปเที่ยวแจก นักหนา
มาตรฐานรัฐสภาของเราเป็นอย่างไร ตอบได้ว่า มาตรฐานรัฐสภาของเราต่ำ จนไม่อยากจะเรียกว่ารัฐสภา
ท่านผู้อ่านที่เคารพ ในประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็นระบบประธานาธิบดี หรือระบบรัฐสภา สถาบันนิติบัญญัติเป็นองค์กรที่มีความสำคัญและอำนาจมากที่สุดในบรรดาอำนาจอธิปไตยทั้งสาม
หากจะดูเผินๆ ประธานาธิบดีอเมริกันมีอำนาจมาก เป็นผู้นำโลก แต่เอาเข้าจริงๆแล้ว ประธานาธิบดีแทบทำอะไรไม่ได้เลย ถ้าหากสภาคองเกรสไม่ยอมอนุมัติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงิน เรื่องตำแหน่งหรือเรื่องอื่นใด ท่านที่ติดตามข่าวโอบามาคงจะเห็นแล้วว่ากว่าเขาจะขออนุมัติอะไรได้มันช่างยากเย็นเสียเหลือเกิน
ระบบอเมริกัน ประธานาธิบดีมิใช่หัวหน้าพรรคเสียด้วย เวลานี้ใครเป็นหัวหน้าพรรคเดโมแครต ใครเป็นหัวหน้าพรรครีพับลิกันแทบจะไม่มีใครรู้ ไม่เชื่อลองถามดูก็ได้ ในทางสัญลักษณ์ ประธานาธิบดีซึ่งได้เสียงเลือกตั้งมาตั้งหกสิบกว่าล้านเสียงกับ ส.ส.ซึ่งได้คะแนนไม่ถึง 2 หมื่น ประธานาธิบดีกลับจะต้องเรียก ส.ส.ว่า ใต้เท้าหรือ ฯพณฯ ในขณะที่ ส.ส.เรียกประธานาธิบดีว่า คุณประธานาธิบดี หรือ Mr.President เท่านั้น
เชื่อมั้ยครับ
นายกรัฐมนตรีในระบบรัฐสภาที่มาจาการเลือกของ ส.ส.นั้นกลับใหญ่กว่า ถึงแม้จะมีฐานะเท่ากับผู้แทนคนอื่น แต่ก็นับว่าเต้ยกว่าเพราะเป็นหัวแถว อย่างที่เรียกว่า เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่เท่ากัน First among Equals มีอำนาจทั้งในและนอกสภาในฐานะหัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรี ได้มีการศึกษาเปรียบเทียบว่าอำนาจบริหารของนายกรัฐมนตรีอังกฤษนั้นมีมากกว่าประธานาธิบดีอเมริกัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษเป็น ฯพณฯ หัวเจ้าท่าน หรือ The Right Honourable ในขณะที่ ส.ส.บางคนอาจจะเป็น ฯพณฯ คือ The Honourable แต่หลายคนเป็น Mr. & Mrs. หรือ คุณ ส.ส.เฉยๆ ก็มี
สรุปว่าสภานิติบัญญัติมีอำนาจมาก เมื่อมีอำนาจมากก็มีโอกาสผิดพลาดมากหรือทำชั่วมาก ตามสุภาษิตที่ว่า “Power Corrupts, Absolute Power Corrupts Absolutely” จึงเกิดปัญหาว่าทำอย่างไรจึงจะควบคุมมิให้ ส.ส.หรือสภานิติบัญญัติทำความเสียหายให้กับบ้านเมืองและสถาบัน
คำตอบเรื่องนี้มีอยู่มากมายหลากหลายมิติ แต่ทุกคำตอบจะหาได้จากการวิจัยศึกษาและบทความที่รวมกันอยู่ใน หมวดวิชาที่เรียกว่า Legislative Behavior ได้แก่การศึกษาพฤติกรรมของ ส.ส.และสถาบันนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นหมวดใหญ่ของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์และกฎหมายรัฐธรรมนูญในอเมริกา อังกฤษ และยุโรป แต่เมืองไทยเรียนกันน้อยมากหรือแทบไม่มีสอนเลย เมืองไทยจึงมีอวิชชาและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ ส.ส.สภาและพรรคการเมืองอยู่ใหญ่หลวง แม้แต่ในหมู่นักการเมืองเอง
วิธีคุมประพฤติ สร้างความรับผิดชอบและความสามารถให้ ส.ส.กับสถาบันนิติบัญญัตินั้นมีอยู่มากมาย แต่ที่ได้ผลที่สุดน่าจะเป็นการควบคุมตนเองด้วยสามัญสำนึกและจรรยาบรรณของผู้แทนราษฎร และหมู่คณะหรือพรรคที่จะอบรมและตักเตือนหมู่คณะให้อยู่ใน “กรอบของความประพฤติ : Code of Conducts” ซึ่งในกรณีที่ล่วงละเมิดอาจจะมี “ Ethics Committee หรือกรรมาธิการฝ่ายจริยธรรม” ของพรรคและของสภาคอยตรวจสอบกันอยู่ นอกจากนั้น ก็มีจารีตประเพณี ข้อบังคับ กฎระเบียบ และกฎหมาย อยู่เหนือขึ้นไปตามลำดับ
นายกฯ อภิสิทธิ์ได้กล่าวไว้อย่างถูกต้องว่า นักการเมืองควรคำนึงถึงจริยธรรมมากกว่ากฎหมาย หมายความว่า นักการเมืองต้องมีมาตรฐานทางศีลธรรมและจริยธรรมสูง ไม่ควรมีการล่วงละเมิดจรรยาบรรณ และเมื่อมีก็ต้องใช้หิริโอตตัปปะของตนเองและหมู่คณะเป็นข้อยุติ ไม่ต้องอ้างหลักกฎหมายหรือคอยให้ศาลตัดสิน
ถ้าถามผมว่ามีความเห็นอย่างไรที่ได้ฟังการอภิปรายในวันที่ 19 มีนาคมนี้ ผมขอตอบตรงๆ ว่า มาตรฐานของรัฐสภาไทยตกต่ำ คุณภาพของการอภิปรายและการรักษามารยาทและข้อบังคับสู้ของลาวและเวียดนามก็ยังมิได้ อย่าไปเทียบอังกฤษอเมริกันให้ยากเลย
ผมเข้าใจดีว่าทำไมเมืองไทยจึงประชุมไม่เป็น parliament procedures หรือวิธีการประชุมแบบสภา ซึ่งฝรั่งเขาสอนตั้งแต่ประถมต้น ในมหาวิทยาลัยของเราก็ยังไม่มีเรียน
ความตกต่ำนั้น ในสาระสำคัญมี 2 เรื่อง คือ ภาวะด้อยสมบัติผู้ดีในการเลือกใช้ถ้อยคำและกิริยามารยาทในการอภิปราย หนึ่ง และการมีข้อบังคับการประชุมที่ด้อยพัฒนาและล้าหลัง อีกหนึ่ง ข้อบังคับที่ด้อยพัฒนานี้จะทำให้เกิดการประท้วงและตีความตลอดเวลา และตกเป็นเหยื่อของผู้ที่ควบคุมการประชุมหรือผู้เข้าประชุม ที่จะทำให้การประชุมเป็นประชาธิปไตยก็ได้ เป็นอนาธิปไตย (คือ ยุ่งตายห่า) ก็ได้ หรือเป็นเผด็จการ มัดมือชก ก็ได้
ในปี 2516 ผมได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพของการอภิปรายและการปฏิบัติงานของรัฐสภา โดยเปรียบเทียบสภายุคคณะราษฎร คือตั้งแต่ปี 2476 ถึงปี 2489 กับสภายุครัฐประหาร คือตั้งแต่ปี 2490 ถึงปี 2513 ผลปรากฏแจ้งชัดว่า คุณภาพของการอภิปรายและการปฏิบัติงานยุครัฐประหารตกต่ำและเทียบมิได้เลยกับยุคคณะราษฎร ซึ่งคุณสมบัติและการศึกษาเป็นทางการของ ส.ส.ต่ำกว่า ผมสันนิษฐานว่า ถ้าหากเราจะเทียบยุคปัจจุบันด้วย ยุคนี้น่าจะเลื่อมทรามกว่ายุครัฐประหารด้วยซ้ำ
เรื่องนี้ ผมได้เขียนไว้ในหนังสือเรื่องผู้แทนราษฎร พิมพ์ในปี 2517 ผมเป็นบรรณาธิการและมีผู้ร่วมเขียนร่วมแปลอีกหลายท่านทั้งหมดเป็นคณาจารย์จากนิด้า
ความเสื่อมทรามที่สืบทอดมานี้ ผมว่าเกิดมาตั้งแต่รัฐประหารและดำเนินมาจนถึงยุคปัจจุบัน มีการหยุดคั่นบ้าง แต่ในที่สุดก็กลับเข้ารอยเดิมเพราะโครงสร้างทางการเมืองแบบอำนาจและทุนนิยมครอบงำ มีพรรคการเมืองแบบ “แก๊งเลือกตั้ง” ที่บรรดาหัวหน้าแก๊งตั้งขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง แบบ “รวบศูนย์-รวมอำนาจ-เป็นทาสหัวหน้า” เป็นตัวการสำคัญ ส่งเสริมให้เกิดผู้แทนน้ำเน่าและองครักษ์พิทักษ์นายอย่างที่เห็นๆ
วิธีแก้เรื่องนี้ทำได้โดยอาศัย อริยสัจ 4 เป็นหลัก และถ้าหากนายกฯ อภิสิทธิ์มีความเป็นผู้นำและมีความเข้าใจ บางอย่างก็แก้ได้ทันทีโดยไม่ต้องแก้กฎหมายหรือระเบียบใดๆ เพียงแต่นายกรัฐมนตรีรวบรวมความกล้า ยอมให้มีวาระ Prime Minister’s Questions แบบอังกฤษ ที่นายกฯ จะเข้าไปตอบหัวหน้าฝ่ายค้านและ ส.ส.สัปดาห์ละครั้ง เป็นการทำการบ้านอย่างดีที่สุดของทั้งสองฝ่ายและประชาชนก็จะเข้าใจการบริหารบ้านเมืองดีขึ้น ถ้านายกฯ อภิสิทธิ์ทำได้ นอกจากความพร่ำเพรื่อไร้กาลเทศะของการเปิดอภิปรายทั่วไปจะลดลง ผมว่าพวกฝ่ายค้านก็จะพากันวิ่งหางจุกตูด เพราะพวกนี้รู้ว่ายิ่งพูดก็ยิ่งจะเข้าเนื้อ ตนมีแต่ความขี้เกียจและความตะกละเป็นเจ้าเรือน ฉุยไปฉายมาเพื่อคอยจังหวะฉกฉวยอำนาจและเงินเท่านั้น ไม่สามารถทำอะไรที่เป็นแก่นสารด้วยความรู้และข้อมูลที่เป็นจริงได้
นายยุวรัตน์ กมลเวชช อดีต กกต.คนดัง บอกว่าตราบใดที่ ส.ส.แบบนี้ยังคงมีอยู่ ตราบนั้นเมืองไทยไม่มีทางเป็นประชาธิปไตย จะต้องห้ามมิให้ ส.ส.เก่าสมัครผู้แทนอย่างน้อย 10 ปีจึงจะแก้ปัญหาได้
ผมได้ฟังการอภิปรายครั้งนี้แล้ว ถึงจะไม่เชื่อสูตรในการแก้ปัญหาของนายยุวรัตน์ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความเสื่อมทรามของประชาธิปไตยส่วนหนึ่งมาจาก ส.ส.และสภาจกเปรตนี่เอง
ท่านผู้อ่านที่เคารพ ช่วยกันตริตรองเอาเองเถิดว่า นี่มันอะไรกัน ใคร อะไร ที่ไหน และเมื่อไร
โปรดอย่าเหมาว่า ผมหมายถึง เหตุเกิดในวันที่ 19 มีนาคม 2552 ที่สภาหัวควาย ตกสระอา โดยผู้แทนอยุธยา ลูกพรรคบิดาสุนัขเสื้อแดงเท่านั้น ผิดครับ
ในขณะเดียวกัน ท่านผู้อ่านจะต้องไม่ท้อถอยอย่างน้อย เราได้เห็น อภิสิทธิ์ ถือโอกาสใช้ “มาตรฐานทองคำ” ในการอภิปรายตอบฝ่ายค้านในรัฐสภา กะทัดรัดด้วยอรรถและพยัญชนะถูกถ้วนในภาษาไทยของผู้มีสมบัติผู้ดีและสติปัญญาบริบูรณ์
คำโบราณว่า “Action speaks louder than voice : การกระทำเสียงดังกว่าคำพูด” นอกเหนือไปจากวาทศิลป์และบุคลิกอันชูใจครั้งนี้ ผมอยากเห็นผลงานจากการกระทำของ อภิสิทธิ์
ผมหน้าบานที่ได้เห็น “มาตรฐานทองคำ” อันเดียวกันนี้จากข่าวต่างประเทศ ในคราวที่ อภิสิทธิ์ไปเยือนอังกฤษ ถ้าหาก อภิสิทธิ์ล้ม เฉลิมขึ้น มาเป็นนายกฯ ผม เห็น จะต้องย้ายไปอยู่ลาว
นับย้อนหลังจาก รสช.ยกเว้น อดีตนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน มาตรฐานของ นายกรัฐมนตรีคนก่อนๆ รวมทั้งเทพเจ้าของขบวนการสุนัขเสื้อแดง แม้จะไปคว้าปริญญาเอกมาจากเท็กซัสอีก 10 ใบ ก็ไม่มีทางเปรียบได้กับ นายกฯ อภิสิทธิ์ ผมเสียดายที่ พรรคประชาธิปัตย์ ผลิตคนอย่างอภิสิทธิ์ได้น้อยกว่า ผลิตนักการเมืองน้ำเน่าไปเที่ยวแจก นักหนา
มาตรฐานรัฐสภาของเราเป็นอย่างไร ตอบได้ว่า มาตรฐานรัฐสภาของเราต่ำ จนไม่อยากจะเรียกว่ารัฐสภา
ท่านผู้อ่านที่เคารพ ในประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็นระบบประธานาธิบดี หรือระบบรัฐสภา สถาบันนิติบัญญัติเป็นองค์กรที่มีความสำคัญและอำนาจมากที่สุดในบรรดาอำนาจอธิปไตยทั้งสาม
หากจะดูเผินๆ ประธานาธิบดีอเมริกันมีอำนาจมาก เป็นผู้นำโลก แต่เอาเข้าจริงๆแล้ว ประธานาธิบดีแทบทำอะไรไม่ได้เลย ถ้าหากสภาคองเกรสไม่ยอมอนุมัติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงิน เรื่องตำแหน่งหรือเรื่องอื่นใด ท่านที่ติดตามข่าวโอบามาคงจะเห็นแล้วว่ากว่าเขาจะขออนุมัติอะไรได้มันช่างยากเย็นเสียเหลือเกิน
ระบบอเมริกัน ประธานาธิบดีมิใช่หัวหน้าพรรคเสียด้วย เวลานี้ใครเป็นหัวหน้าพรรคเดโมแครต ใครเป็นหัวหน้าพรรครีพับลิกันแทบจะไม่มีใครรู้ ไม่เชื่อลองถามดูก็ได้ ในทางสัญลักษณ์ ประธานาธิบดีซึ่งได้เสียงเลือกตั้งมาตั้งหกสิบกว่าล้านเสียงกับ ส.ส.ซึ่งได้คะแนนไม่ถึง 2 หมื่น ประธานาธิบดีกลับจะต้องเรียก ส.ส.ว่า ใต้เท้าหรือ ฯพณฯ ในขณะที่ ส.ส.เรียกประธานาธิบดีว่า คุณประธานาธิบดี หรือ Mr.President เท่านั้น
เชื่อมั้ยครับ
นายกรัฐมนตรีในระบบรัฐสภาที่มาจาการเลือกของ ส.ส.นั้นกลับใหญ่กว่า ถึงแม้จะมีฐานะเท่ากับผู้แทนคนอื่น แต่ก็นับว่าเต้ยกว่าเพราะเป็นหัวแถว อย่างที่เรียกว่า เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่เท่ากัน First among Equals มีอำนาจทั้งในและนอกสภาในฐานะหัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรี ได้มีการศึกษาเปรียบเทียบว่าอำนาจบริหารของนายกรัฐมนตรีอังกฤษนั้นมีมากกว่าประธานาธิบดีอเมริกัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษเป็น ฯพณฯ หัวเจ้าท่าน หรือ The Right Honourable ในขณะที่ ส.ส.บางคนอาจจะเป็น ฯพณฯ คือ The Honourable แต่หลายคนเป็น Mr. & Mrs. หรือ คุณ ส.ส.เฉยๆ ก็มี
สรุปว่าสภานิติบัญญัติมีอำนาจมาก เมื่อมีอำนาจมากก็มีโอกาสผิดพลาดมากหรือทำชั่วมาก ตามสุภาษิตที่ว่า “Power Corrupts, Absolute Power Corrupts Absolutely” จึงเกิดปัญหาว่าทำอย่างไรจึงจะควบคุมมิให้ ส.ส.หรือสภานิติบัญญัติทำความเสียหายให้กับบ้านเมืองและสถาบัน
คำตอบเรื่องนี้มีอยู่มากมายหลากหลายมิติ แต่ทุกคำตอบจะหาได้จากการวิจัยศึกษาและบทความที่รวมกันอยู่ใน หมวดวิชาที่เรียกว่า Legislative Behavior ได้แก่การศึกษาพฤติกรรมของ ส.ส.และสถาบันนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นหมวดใหญ่ของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์และกฎหมายรัฐธรรมนูญในอเมริกา อังกฤษ และยุโรป แต่เมืองไทยเรียนกันน้อยมากหรือแทบไม่มีสอนเลย เมืองไทยจึงมีอวิชชาและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ ส.ส.สภาและพรรคการเมืองอยู่ใหญ่หลวง แม้แต่ในหมู่นักการเมืองเอง
วิธีคุมประพฤติ สร้างความรับผิดชอบและความสามารถให้ ส.ส.กับสถาบันนิติบัญญัตินั้นมีอยู่มากมาย แต่ที่ได้ผลที่สุดน่าจะเป็นการควบคุมตนเองด้วยสามัญสำนึกและจรรยาบรรณของผู้แทนราษฎร และหมู่คณะหรือพรรคที่จะอบรมและตักเตือนหมู่คณะให้อยู่ใน “กรอบของความประพฤติ : Code of Conducts” ซึ่งในกรณีที่ล่วงละเมิดอาจจะมี “ Ethics Committee หรือกรรมาธิการฝ่ายจริยธรรม” ของพรรคและของสภาคอยตรวจสอบกันอยู่ นอกจากนั้น ก็มีจารีตประเพณี ข้อบังคับ กฎระเบียบ และกฎหมาย อยู่เหนือขึ้นไปตามลำดับ
นายกฯ อภิสิทธิ์ได้กล่าวไว้อย่างถูกต้องว่า นักการเมืองควรคำนึงถึงจริยธรรมมากกว่ากฎหมาย หมายความว่า นักการเมืองต้องมีมาตรฐานทางศีลธรรมและจริยธรรมสูง ไม่ควรมีการล่วงละเมิดจรรยาบรรณ และเมื่อมีก็ต้องใช้หิริโอตตัปปะของตนเองและหมู่คณะเป็นข้อยุติ ไม่ต้องอ้างหลักกฎหมายหรือคอยให้ศาลตัดสิน
ถ้าถามผมว่ามีความเห็นอย่างไรที่ได้ฟังการอภิปรายในวันที่ 19 มีนาคมนี้ ผมขอตอบตรงๆ ว่า มาตรฐานของรัฐสภาไทยตกต่ำ คุณภาพของการอภิปรายและการรักษามารยาทและข้อบังคับสู้ของลาวและเวียดนามก็ยังมิได้ อย่าไปเทียบอังกฤษอเมริกันให้ยากเลย
ผมเข้าใจดีว่าทำไมเมืองไทยจึงประชุมไม่เป็น parliament procedures หรือวิธีการประชุมแบบสภา ซึ่งฝรั่งเขาสอนตั้งแต่ประถมต้น ในมหาวิทยาลัยของเราก็ยังไม่มีเรียน
ความตกต่ำนั้น ในสาระสำคัญมี 2 เรื่อง คือ ภาวะด้อยสมบัติผู้ดีในการเลือกใช้ถ้อยคำและกิริยามารยาทในการอภิปราย หนึ่ง และการมีข้อบังคับการประชุมที่ด้อยพัฒนาและล้าหลัง อีกหนึ่ง ข้อบังคับที่ด้อยพัฒนานี้จะทำให้เกิดการประท้วงและตีความตลอดเวลา และตกเป็นเหยื่อของผู้ที่ควบคุมการประชุมหรือผู้เข้าประชุม ที่จะทำให้การประชุมเป็นประชาธิปไตยก็ได้ เป็นอนาธิปไตย (คือ ยุ่งตายห่า) ก็ได้ หรือเป็นเผด็จการ มัดมือชก ก็ได้
ในปี 2516 ผมได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพของการอภิปรายและการปฏิบัติงานของรัฐสภา โดยเปรียบเทียบสภายุคคณะราษฎร คือตั้งแต่ปี 2476 ถึงปี 2489 กับสภายุครัฐประหาร คือตั้งแต่ปี 2490 ถึงปี 2513 ผลปรากฏแจ้งชัดว่า คุณภาพของการอภิปรายและการปฏิบัติงานยุครัฐประหารตกต่ำและเทียบมิได้เลยกับยุคคณะราษฎร ซึ่งคุณสมบัติและการศึกษาเป็นทางการของ ส.ส.ต่ำกว่า ผมสันนิษฐานว่า ถ้าหากเราจะเทียบยุคปัจจุบันด้วย ยุคนี้น่าจะเลื่อมทรามกว่ายุครัฐประหารด้วยซ้ำ
เรื่องนี้ ผมได้เขียนไว้ในหนังสือเรื่องผู้แทนราษฎร พิมพ์ในปี 2517 ผมเป็นบรรณาธิการและมีผู้ร่วมเขียนร่วมแปลอีกหลายท่านทั้งหมดเป็นคณาจารย์จากนิด้า
ความเสื่อมทรามที่สืบทอดมานี้ ผมว่าเกิดมาตั้งแต่รัฐประหารและดำเนินมาจนถึงยุคปัจจุบัน มีการหยุดคั่นบ้าง แต่ในที่สุดก็กลับเข้ารอยเดิมเพราะโครงสร้างทางการเมืองแบบอำนาจและทุนนิยมครอบงำ มีพรรคการเมืองแบบ “แก๊งเลือกตั้ง” ที่บรรดาหัวหน้าแก๊งตั้งขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง แบบ “รวบศูนย์-รวมอำนาจ-เป็นทาสหัวหน้า” เป็นตัวการสำคัญ ส่งเสริมให้เกิดผู้แทนน้ำเน่าและองครักษ์พิทักษ์นายอย่างที่เห็นๆ
วิธีแก้เรื่องนี้ทำได้โดยอาศัย อริยสัจ 4 เป็นหลัก และถ้าหากนายกฯ อภิสิทธิ์มีความเป็นผู้นำและมีความเข้าใจ บางอย่างก็แก้ได้ทันทีโดยไม่ต้องแก้กฎหมายหรือระเบียบใดๆ เพียงแต่นายกรัฐมนตรีรวบรวมความกล้า ยอมให้มีวาระ Prime Minister’s Questions แบบอังกฤษ ที่นายกฯ จะเข้าไปตอบหัวหน้าฝ่ายค้านและ ส.ส.สัปดาห์ละครั้ง เป็นการทำการบ้านอย่างดีที่สุดของทั้งสองฝ่ายและประชาชนก็จะเข้าใจการบริหารบ้านเมืองดีขึ้น ถ้านายกฯ อภิสิทธิ์ทำได้ นอกจากความพร่ำเพรื่อไร้กาลเทศะของการเปิดอภิปรายทั่วไปจะลดลง ผมว่าพวกฝ่ายค้านก็จะพากันวิ่งหางจุกตูด เพราะพวกนี้รู้ว่ายิ่งพูดก็ยิ่งจะเข้าเนื้อ ตนมีแต่ความขี้เกียจและความตะกละเป็นเจ้าเรือน ฉุยไปฉายมาเพื่อคอยจังหวะฉกฉวยอำนาจและเงินเท่านั้น ไม่สามารถทำอะไรที่เป็นแก่นสารด้วยความรู้และข้อมูลที่เป็นจริงได้
นายยุวรัตน์ กมลเวชช อดีต กกต.คนดัง บอกว่าตราบใดที่ ส.ส.แบบนี้ยังคงมีอยู่ ตราบนั้นเมืองไทยไม่มีทางเป็นประชาธิปไตย จะต้องห้ามมิให้ ส.ส.เก่าสมัครผู้แทนอย่างน้อย 10 ปีจึงจะแก้ปัญหาได้
ผมได้ฟังการอภิปรายครั้งนี้แล้ว ถึงจะไม่เชื่อสูตรในการแก้ปัญหาของนายยุวรัตน์ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความเสื่อมทรามของประชาธิปไตยส่วนหนึ่งมาจาก ส.ส.และสภาจกเปรตนี่เอง