ASTV ผู้จัดการรายวัน-บอร์ดกทพ.ไม่ยอมเสียค่าโง่ซ้ำซาก ตั้งคณะทำงานประมวลข้อมูลข้อพิพาทระหว่างกทพ.กับบีอีซีแอล หวังเสนอครม.ปลดล็อกมติครม.เดิม ที่เอื้อบีอีซีแอลทุกทาง ทั้งชดเชยผลต่างรายได้กว่า 1.8 หมื่นล้านบาท ให้สิทธิรับส่วนแบ่งรายได้ 40% อีก 8 ปี 8 เดือนหลังสิ้นสุดสัญญา หลังศาลฎีกาตัดสินให้กทพ.ชนะคดีขึ้นค่าผ่านทางแล้ว
นายสมชาย จารุเกษมรัตนะ รักษาการผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกทพ.เมื่อวันที่ 12 มีค.2552 ที่ผ่านมา ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นเพื่อประมวลข้อมูลเกี่ยวกับข้อพิพาทระหว่างกทพ. กับบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีซีแอล กรณีที่บีอีซีแอลยื่นฟ้องการปรับอัตราค่าผ่านทางพิเศษไม่เป็นไปตามสัญญาเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอยกเลิกมติครม.ก่อนหน้านี้ ที่เห็นชอบหลักการการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งและข้อพิพาทดังกล่าว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เนื่องจากศาลฎีกาพิพากษาให้กทพ.เป็นผู้ชนะคดีที่บีอีซีแอลฟ้องร้อง จึงถือว่าข้อพิพาทมีข้อยุติแล้ว
นายมณเฑียร กุลธำรง รองผู้ว่าการฯ ฝ่ายกฎหมายและกรรมสิทธิ์ที่ดิน กทพ. กล่าวว่า บอร์ดต้องการให้ดูข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทดังกล่าวให้รอบคอบก่อนทั้งข้อดี ข้อเสีย และให้เสนอบอร์ดอีกครั้งก่อนเสนอครม. ซึ่งคาดว่าคณะอนุกรรมการจะสรุปข้อมูลเสนอบอร์ดได้ในการประชุมเดือนเม.ย.นี้
ทั้งนี้ มติครม.เห็นชอบในหลักการผลการเจรจากับบีอีซีแอล แต่เมื่อศาลฏีกาตัดสินออกมาแล้วก็ถือว่าข้อพิพาทยุติ ส่วนการเจรจาดังกล่าวก็ไม่ต้องนำมาปฎิบัติ
ก่อนหน้านี้ บีอีซีแอล ได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาขอให้ศาลมีคำสั่งให้กทพ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาโครงการทางด่วนขั้นที่ 2 ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ โดยศาลฏีกาเห็นว่า คำวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการที่บีอีซีแอลเสนอขอตั้งอนุญาโตตุลาการซ้ำเป็นชุดที่สองและชี้ขาดว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ยกเลิกการขึ้นค่าผ่านทางและเปลี่ยนแปลงลดอัตราค่าผ่านทางใหม่ ไม่สอดคล้องกับสัญญานั้น เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการทำลายหลักการสำคัญของพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 23 วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า ให้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณีโดยสิ้นเชิง ดังนั้น จึงถือว่าคณะอนุญาโตตุลาการชุดแรก ซึ่งมีนายโสภณ รัตนากร อดีตประธานศาลฎีกาเป็นประธานทำคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2542 ที่เห็นว่าประกาศกระทรวงมหาดไทย ที่ยกเลิกการขึ้นค่าผ่านทางและเปลี่ยนแปลงลดอัตราค่าผ่านทางใหม่ชอบแล้ว เพราะสอดคล้องกับสัญญาของการขึ้นค่าผ่าทาง
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2551 ซึ่งก่อนการพิพากษาของศาลฏีกา บีอีซีแอลได้มีหนังสือถึงกทพ.ขอเปิดเจรจาเพื่อหาข้อยุติข้อพิพาทดังกล่าว ซึ่งบอร์ดได้ตั้งอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณา และเมื่อวันที่ 5 ก.ย.2551 บอร์ดมีมติเห็นชอบผลการเจรจาดังกล่าว และเสนอครม.โดยครม.มีมติเมื่อวันที่ 9 ก.ย.2551 เห็นชอบในหลักการการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งและข้อพิพาทดังกล่าว เพื่อลดความเสี่ยงของกทพ.ที่ไม่ต้องชำระผลต่างรายได้เต็มจำนวน 78,350 ล้านบาท หากศาลฎีกาชี้ขาดว่ากทพ.ปฎิบัติไม่ถูกต้องตามสัญญา ตามที่บีอีซีแอลเรียกร้อง
โดยผลเจรจาสรุป 1.จะชดเชยให้บีอีซีแอล 70% ของผลต่างรายได้ตั้งแต่วันที่ 24 ต.ค. 2541 – 29 ก.พ.2563 คิดเป็นมูลค่า ณ ปีปัจจุบัน 2551 เป็นเงิน 18,086 ล้านบาท ณ อัตราคิดลด 9% ข้อ 2.ให้สิทธิ์ในการรับส่วนแบ่งรายได้ 40% ของค่าผ่านทางแต่ละวัน ภายหลังสัญญาสิ้นสุดเป็นเวลา 8 ปี 8 เดือน 3.กทพ.มีสิทธิ์เป็นผู้บริหารจัดการทางด่วนขั้นที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว หลังสัญญาทางด่วนขั้นที่ 2 สิ้นสุด ในปี 2563 ทางด่วนส่วน ดี บีอีซีแอล จะเป็นผู้บริหารโครงการและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายไปตามสัญญา
นายสมชาย จารุเกษมรัตนะ รักษาการผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกทพ.เมื่อวันที่ 12 มีค.2552 ที่ผ่านมา ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นเพื่อประมวลข้อมูลเกี่ยวกับข้อพิพาทระหว่างกทพ. กับบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีซีแอล กรณีที่บีอีซีแอลยื่นฟ้องการปรับอัตราค่าผ่านทางพิเศษไม่เป็นไปตามสัญญาเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอยกเลิกมติครม.ก่อนหน้านี้ ที่เห็นชอบหลักการการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งและข้อพิพาทดังกล่าว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เนื่องจากศาลฎีกาพิพากษาให้กทพ.เป็นผู้ชนะคดีที่บีอีซีแอลฟ้องร้อง จึงถือว่าข้อพิพาทมีข้อยุติแล้ว
นายมณเฑียร กุลธำรง รองผู้ว่าการฯ ฝ่ายกฎหมายและกรรมสิทธิ์ที่ดิน กทพ. กล่าวว่า บอร์ดต้องการให้ดูข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทดังกล่าวให้รอบคอบก่อนทั้งข้อดี ข้อเสีย และให้เสนอบอร์ดอีกครั้งก่อนเสนอครม. ซึ่งคาดว่าคณะอนุกรรมการจะสรุปข้อมูลเสนอบอร์ดได้ในการประชุมเดือนเม.ย.นี้
ทั้งนี้ มติครม.เห็นชอบในหลักการผลการเจรจากับบีอีซีแอล แต่เมื่อศาลฏีกาตัดสินออกมาแล้วก็ถือว่าข้อพิพาทยุติ ส่วนการเจรจาดังกล่าวก็ไม่ต้องนำมาปฎิบัติ
ก่อนหน้านี้ บีอีซีแอล ได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาขอให้ศาลมีคำสั่งให้กทพ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาโครงการทางด่วนขั้นที่ 2 ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ โดยศาลฏีกาเห็นว่า คำวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการที่บีอีซีแอลเสนอขอตั้งอนุญาโตตุลาการซ้ำเป็นชุดที่สองและชี้ขาดว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ยกเลิกการขึ้นค่าผ่านทางและเปลี่ยนแปลงลดอัตราค่าผ่านทางใหม่ ไม่สอดคล้องกับสัญญานั้น เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการทำลายหลักการสำคัญของพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 23 วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า ให้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณีโดยสิ้นเชิง ดังนั้น จึงถือว่าคณะอนุญาโตตุลาการชุดแรก ซึ่งมีนายโสภณ รัตนากร อดีตประธานศาลฎีกาเป็นประธานทำคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2542 ที่เห็นว่าประกาศกระทรวงมหาดไทย ที่ยกเลิกการขึ้นค่าผ่านทางและเปลี่ยนแปลงลดอัตราค่าผ่านทางใหม่ชอบแล้ว เพราะสอดคล้องกับสัญญาของการขึ้นค่าผ่าทาง
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2551 ซึ่งก่อนการพิพากษาของศาลฏีกา บีอีซีแอลได้มีหนังสือถึงกทพ.ขอเปิดเจรจาเพื่อหาข้อยุติข้อพิพาทดังกล่าว ซึ่งบอร์ดได้ตั้งอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณา และเมื่อวันที่ 5 ก.ย.2551 บอร์ดมีมติเห็นชอบผลการเจรจาดังกล่าว และเสนอครม.โดยครม.มีมติเมื่อวันที่ 9 ก.ย.2551 เห็นชอบในหลักการการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งและข้อพิพาทดังกล่าว เพื่อลดความเสี่ยงของกทพ.ที่ไม่ต้องชำระผลต่างรายได้เต็มจำนวน 78,350 ล้านบาท หากศาลฎีกาชี้ขาดว่ากทพ.ปฎิบัติไม่ถูกต้องตามสัญญา ตามที่บีอีซีแอลเรียกร้อง
โดยผลเจรจาสรุป 1.จะชดเชยให้บีอีซีแอล 70% ของผลต่างรายได้ตั้งแต่วันที่ 24 ต.ค. 2541 – 29 ก.พ.2563 คิดเป็นมูลค่า ณ ปีปัจจุบัน 2551 เป็นเงิน 18,086 ล้านบาท ณ อัตราคิดลด 9% ข้อ 2.ให้สิทธิ์ในการรับส่วนแบ่งรายได้ 40% ของค่าผ่านทางแต่ละวัน ภายหลังสัญญาสิ้นสุดเป็นเวลา 8 ปี 8 เดือน 3.กทพ.มีสิทธิ์เป็นผู้บริหารจัดการทางด่วนขั้นที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว หลังสัญญาทางด่วนขั้นที่ 2 สิ้นสุด ในปี 2563 ทางด่วนส่วน ดี บีอีซีแอล จะเป็นผู้บริหารโครงการและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายไปตามสัญญา