ประเทศไทยได้มีการลงนามในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) ไปแล้วเมื่อเดือนพ.ค.2551 ที่ผ่านมา โดยข้อตกลงฯ ดังกล่าวได้มีผลบังคับใช้แล้วกับญี่ปุ่น และอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ พม่า เวียดนาม ลาว บรูไน และมาเลเซีย ซึ่งได้ยื่นสัตยาบันสารไปแล้ว ยังขาดไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และกัมพูชา
โดยในส่วนของไทย ร่างข้อตกลงฯ ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไปแล้วเมื่อ ต.ค. 2551 ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยเพื่อรองรับการบังคับใช้ ซึ่งคาดว่าจะมีผลใช้บังคับกลางปี 2552 นี้
ทีนี้ ลองกลับมาดูข้อตกลงฯ ฉบับนี้กันบ้างว่า ไทยได้อะไรเพิ่มเติม และผู้ส่งออกไทย จะสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง นอกเหนือไปจากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ที่ได้มีการลงนามและมีผลบังคับใช้ไปก่อนหน้านี้แล้ว
ในด้านการเปิดตลาด พบว่า สินค้าร้อยละ 90 ของมูลค่าการนำเข้าของญี่ปุ่นจากอาเซียนในปัจจุบันจะลดภาษีเป็นศูนย์ ทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ โดยไทยจะได้ประโยชน์เพิ่มเติมเมื่อเทียบกับความตกลง JTEPA ได้แก่ การเปิดตลาดสินค้าเพิ่มขึ้น เร็วขึ้นอีก 70 รายการ คิดเป็นมูลค่า 53 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าที่สำคัญ เช่น ผลิตภัณฑ์จากปลา กล้วย ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ไม้อัด ไม้แปรรูป เป็นต้น
ทั้งนี้ เมื่อแยกรายละเอียดให้ลึกลงไป จะมองเห็นโอกาสของผู้ส่งออกไทยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นสินค้าผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และผลไม้แห้ง เช่น มะพร้าว กล้วย มะม่วง ฝรั่ง ทุเรียน มะละกอ ภาษีปัจจุบัน 1.5-7.5% จะยกเลิกภาษีทันที ผักสด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง เช่น หอมหัวเล็ก บล๊อกเคอรี่ หน่อไม้ฝรั่ง เห็ดมัตสุตาเคะ พริกไทยบดหรือป่น พริกแคปซิกัมแห้งหรือป่น ภาษีปัจจุบัน 3-6% จะยกเลิกภาษีทันที สินค้าประมง เช่น กุ้ง ปู ปลาหมึกยักษ์แช่แข็ง แมงกระพรุน ภาษีปัจจุบัน 1-7% ยกเลิกภาษีทันทีหรือลดจนเป็น 0% ภายใน 5-7 ปี
สินค้าเกษตร และเกษตรแปรรูป เช่น ปลาปรุงแต่ง กุ้ง และปลาหมึกแปรรูป ภาษีปัจจุบัน 4.8-9.6% ยกเลิกภาษีทันทีหรือเป็น 0 ภายใน 5-7 ปี ผลไม้กระป๋องและแปรรูป น้ำผลไม้ ภาษีปัจจุบัน 6-25.5% ยกเลิกภาษีทันที หรือลดจนเป็น 0 ภายในปี 5-15 ปี ผักกระป๋องและแปรรูป เช่น เห็ดแปรรูป ข้าวโพดหวาน ผักและหน่อไม้ 7.5-18% ยกเลิกภาษีทันทีหรือลดจนเป็น 0 ภายใน 7-10 ปี สิ่งปรุงรสอาหาร เช่น ซอสต่างๆ เครื่องแกง 7-2-10.5% ยกเลิกภาษีทันที หรือลดจนเป็น 0 ภายใน 7-10 ปี
สินค้าอุตสากรรม เช่น สินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ภาษีปัจจุบัน 3.5-14.2% ยกเลิกภาษีทันที อัญมณีและเครื่องประดับ 2.7-10% ยกเลิกภาษีทันที ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า 3.3-4.8% ยกเลิกภาษีทันที ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์พลาสติก 3.1% ลดภาษีจนเป็น 0 ภายใน 5 ปี ไม้และผลิตภัณฑ์ 6-8.5% ลดภาษีลงจนเหลือร้อยละ 5 ภายใน 10 ปี เคมีภัณฑ์อนินทรีย์และอินทรีย์ 2.6-6% ยกเลิกภาษีทัน รองเท้าและชิ้นส่วน 3.4-30% บางรายการคงภาษีไว้ บางรายการลดภาษีลงหรือยกเลิกภายใน 7-10 ปี เครื่องหนัง 3.3-16% ลดภาษีจนเหลือร้อยละ 0 ภายใน 10 ปี
นอกจากนี้ ยังได้ประโยชน์ในเรื่องการสะสมแหล่งกำเนิดสินค้าจากประเทศสมาชิกอาเซียน - ญี่ปุ่น โดยเงื่อนไขการได้แหล่งกำเนิดสินค้าแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1.สินค้าที่ไม่ได้ใช้วัตถุดิบจากภายนอกประเทศสมาชิก AJCEP แยกเป็นสินค้าที่ได้มาทั้งหมดหรือผลิตทั้งหมดในประเทศผู้ส่งออก (Wholly produced or wholly - obtained) เช่น สัตว์มีชีวิตที่เกิดและโตในประเทศ พืชและส่วนของพืชที่ปลูกและเก็บเกี่ยวในประเทศ และสินค้าที่ผ่านการผลิตทั้งหมดในประเทศผู้ส่งออกโดยใช้วัตถุดิบที่ได้ถิ่นกำเนิดจากประเทศสมาชิก AJCEP
2.สินค้าที่ใช้วัตถุดิบจากภายนอกประเทศสมาชิก AJCEP มี 2 กฎ คือ 2.1 กฎทั่วไป (General rule) คือต้องมีมูลค่าเพิ่มในภาคี (อาเซียน – ญี่ปุ่น) Regional Valued Content (RVC) อย่างต่ำร้อยละ 40 หรือกฎการเปลี่ยนพิกัดสินค้าในระดับ 4 หลัก ( Change in Tariff Heading : CTH) 2.2 กฎถิ่นกำเนิดเฉพาะรายสินค้า (Product Specific Rules : PSR) มี 3 เงื่อนไขหลักๆ คือ1.กฎการเปลี่ยนพิกัด (Change in Tariff Classification : CTC ) 2.กฎมูลค่าเพิ่มในภูมิภาค (Regional Valued Content : RVC) 3. กฎการผลิตเฉพาะเจาะจง (a specific manufacturing)โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของรายการสินค้าทั้งหมด
ที่สำคัญ ไทยยังมีเกราะป้องกัน สามารถใช้มาตรการปกป้องเพื่อการป้องกันหรือคุ้มครองความเสียหายอย่างร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ และเพื่ออำนวยต่อการปรับตัวของอุตสาหกรรมภายใน หากความเสียหายนั้นเป็นผลจากข้อผูกพันภายใต้ความตกลงฯ นี้
เป็นที่ชัดเจนว่าความตกลง AJCEP ที่จะมีผลบังคับใช้ในราวกลางปี 2552 นี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการส่งออกสำหรับสินค้าไทยตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เพียงแต่ว่าผู้ส่งออกของไทยจะใช้โอกาสที่ว่านั้นหรือไม่ และได้เตรียมความพร้อมในการบุกเจาะตลาดไว้แล้วหรือยัง เพราะโอกาสเปิดกว้างให้แล้ว หากไม่ใช้ ก็จะเสียประโยชน์เสียตลาดได้ ผู้ส่งออกที่มีความประสงค์ขอรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถค้นหาได้ที่ www.dft.go.th หรือสายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ 1385 หรือสอบถามโดยตรงได้ที่สำนักสิทธิประโยชน์ทางการค้า โทรศัพท์ 0-2547-5098
โดยในส่วนของไทย ร่างข้อตกลงฯ ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไปแล้วเมื่อ ต.ค. 2551 ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยเพื่อรองรับการบังคับใช้ ซึ่งคาดว่าจะมีผลใช้บังคับกลางปี 2552 นี้
ทีนี้ ลองกลับมาดูข้อตกลงฯ ฉบับนี้กันบ้างว่า ไทยได้อะไรเพิ่มเติม และผู้ส่งออกไทย จะสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง นอกเหนือไปจากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ที่ได้มีการลงนามและมีผลบังคับใช้ไปก่อนหน้านี้แล้ว
ในด้านการเปิดตลาด พบว่า สินค้าร้อยละ 90 ของมูลค่าการนำเข้าของญี่ปุ่นจากอาเซียนในปัจจุบันจะลดภาษีเป็นศูนย์ ทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ โดยไทยจะได้ประโยชน์เพิ่มเติมเมื่อเทียบกับความตกลง JTEPA ได้แก่ การเปิดตลาดสินค้าเพิ่มขึ้น เร็วขึ้นอีก 70 รายการ คิดเป็นมูลค่า 53 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าที่สำคัญ เช่น ผลิตภัณฑ์จากปลา กล้วย ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ไม้อัด ไม้แปรรูป เป็นต้น
ทั้งนี้ เมื่อแยกรายละเอียดให้ลึกลงไป จะมองเห็นโอกาสของผู้ส่งออกไทยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นสินค้าผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และผลไม้แห้ง เช่น มะพร้าว กล้วย มะม่วง ฝรั่ง ทุเรียน มะละกอ ภาษีปัจจุบัน 1.5-7.5% จะยกเลิกภาษีทันที ผักสด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง เช่น หอมหัวเล็ก บล๊อกเคอรี่ หน่อไม้ฝรั่ง เห็ดมัตสุตาเคะ พริกไทยบดหรือป่น พริกแคปซิกัมแห้งหรือป่น ภาษีปัจจุบัน 3-6% จะยกเลิกภาษีทันที สินค้าประมง เช่น กุ้ง ปู ปลาหมึกยักษ์แช่แข็ง แมงกระพรุน ภาษีปัจจุบัน 1-7% ยกเลิกภาษีทันทีหรือลดจนเป็น 0% ภายใน 5-7 ปี
สินค้าเกษตร และเกษตรแปรรูป เช่น ปลาปรุงแต่ง กุ้ง และปลาหมึกแปรรูป ภาษีปัจจุบัน 4.8-9.6% ยกเลิกภาษีทันทีหรือเป็น 0 ภายใน 5-7 ปี ผลไม้กระป๋องและแปรรูป น้ำผลไม้ ภาษีปัจจุบัน 6-25.5% ยกเลิกภาษีทันที หรือลดจนเป็น 0 ภายในปี 5-15 ปี ผักกระป๋องและแปรรูป เช่น เห็ดแปรรูป ข้าวโพดหวาน ผักและหน่อไม้ 7.5-18% ยกเลิกภาษีทันทีหรือลดจนเป็น 0 ภายใน 7-10 ปี สิ่งปรุงรสอาหาร เช่น ซอสต่างๆ เครื่องแกง 7-2-10.5% ยกเลิกภาษีทันที หรือลดจนเป็น 0 ภายใน 7-10 ปี
สินค้าอุตสากรรม เช่น สินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ภาษีปัจจุบัน 3.5-14.2% ยกเลิกภาษีทันที อัญมณีและเครื่องประดับ 2.7-10% ยกเลิกภาษีทันที ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า 3.3-4.8% ยกเลิกภาษีทันที ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์พลาสติก 3.1% ลดภาษีจนเป็น 0 ภายใน 5 ปี ไม้และผลิตภัณฑ์ 6-8.5% ลดภาษีลงจนเหลือร้อยละ 5 ภายใน 10 ปี เคมีภัณฑ์อนินทรีย์และอินทรีย์ 2.6-6% ยกเลิกภาษีทัน รองเท้าและชิ้นส่วน 3.4-30% บางรายการคงภาษีไว้ บางรายการลดภาษีลงหรือยกเลิกภายใน 7-10 ปี เครื่องหนัง 3.3-16% ลดภาษีจนเหลือร้อยละ 0 ภายใน 10 ปี
นอกจากนี้ ยังได้ประโยชน์ในเรื่องการสะสมแหล่งกำเนิดสินค้าจากประเทศสมาชิกอาเซียน - ญี่ปุ่น โดยเงื่อนไขการได้แหล่งกำเนิดสินค้าแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1.สินค้าที่ไม่ได้ใช้วัตถุดิบจากภายนอกประเทศสมาชิก AJCEP แยกเป็นสินค้าที่ได้มาทั้งหมดหรือผลิตทั้งหมดในประเทศผู้ส่งออก (Wholly produced or wholly - obtained) เช่น สัตว์มีชีวิตที่เกิดและโตในประเทศ พืชและส่วนของพืชที่ปลูกและเก็บเกี่ยวในประเทศ และสินค้าที่ผ่านการผลิตทั้งหมดในประเทศผู้ส่งออกโดยใช้วัตถุดิบที่ได้ถิ่นกำเนิดจากประเทศสมาชิก AJCEP
2.สินค้าที่ใช้วัตถุดิบจากภายนอกประเทศสมาชิก AJCEP มี 2 กฎ คือ 2.1 กฎทั่วไป (General rule) คือต้องมีมูลค่าเพิ่มในภาคี (อาเซียน – ญี่ปุ่น) Regional Valued Content (RVC) อย่างต่ำร้อยละ 40 หรือกฎการเปลี่ยนพิกัดสินค้าในระดับ 4 หลัก ( Change in Tariff Heading : CTH) 2.2 กฎถิ่นกำเนิดเฉพาะรายสินค้า (Product Specific Rules : PSR) มี 3 เงื่อนไขหลักๆ คือ1.กฎการเปลี่ยนพิกัด (Change in Tariff Classification : CTC ) 2.กฎมูลค่าเพิ่มในภูมิภาค (Regional Valued Content : RVC) 3. กฎการผลิตเฉพาะเจาะจง (a specific manufacturing)โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของรายการสินค้าทั้งหมด
ที่สำคัญ ไทยยังมีเกราะป้องกัน สามารถใช้มาตรการปกป้องเพื่อการป้องกันหรือคุ้มครองความเสียหายอย่างร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ และเพื่ออำนวยต่อการปรับตัวของอุตสาหกรรมภายใน หากความเสียหายนั้นเป็นผลจากข้อผูกพันภายใต้ความตกลงฯ นี้
เป็นที่ชัดเจนว่าความตกลง AJCEP ที่จะมีผลบังคับใช้ในราวกลางปี 2552 นี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการส่งออกสำหรับสินค้าไทยตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เพียงแต่ว่าผู้ส่งออกของไทยจะใช้โอกาสที่ว่านั้นหรือไม่ และได้เตรียมความพร้อมในการบุกเจาะตลาดไว้แล้วหรือยัง เพราะโอกาสเปิดกว้างให้แล้ว หากไม่ใช้ ก็จะเสียประโยชน์เสียตลาดได้ ผู้ส่งออกที่มีความประสงค์ขอรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถค้นหาได้ที่ www.dft.go.th หรือสายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ 1385 หรือสอบถามโดยตรงได้ที่สำนักสิทธิประโยชน์ทางการค้า โทรศัพท์ 0-2547-5098