หลังจากงานชุมนุมที่สมุย ก็มีข่าวออกมาว่าพันธมิตรฯ จะตั้งพรรคการเมือง เท่าที่ทราบผู้คนในภาคใต้สนับสนุนพันธมิตรฯ มากที่สุด รองลงมาก็ได้แก่ ภาคตะวันออก
ก่อนจะให้ความเห็นว่า พันธมิตรฯ ควรตั้งพรรคการเมืองหรือไม่นั้น ผมขอทบทวนลักษณะพิเศษของการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรฯ อีกครั้งหนึ่ง
ผมเคยวิเคราะห์ว่า การเมืองไทยนั้นเป็นการเมืองที่ปราศจากการเคลื่อนไหว (politics without movement) การเคลื่อนไหวนี้หมายถึง การเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่อง
คณะราษฎรก็มีการเคลื่อนไหวเหมือนกัน แต่เป็นการเคลื่อนไหวในวงแคบๆ และมีระยะเวลาสั้น แม้ผู้เข้าร่วมจะรู้จักกัน แต่ก็ยังไม่มีการยอมรับการนำของคนหนึ่งคนใด เมื่อทำการสำเร็จแล้วจึงแบ่งออกเป็นหลายฝ่าย และมีการกวาดล้างกันเอง จนกระทั่งเกิดการรัฐประหารปี 2490 ตลอดระยะเวลา 15 ปี ก็มีการกบฏ การลอบฆ่า และการเนรเทศผู้ก่อการหลายคนออกนอกประเทศ
การเมืองไทยนับแต่นั้นมาก็ตกอยู่ในมือของทหาร และข้าราชการ ซึ่งแม้จะมีพรรคการเมือง แต่ก็มีไว้เพราะกฎหมายกำหนด เพื่อแข่งขันในการเลือกตั้งเท่านั้น มีพรรคประชาธิปัตย์ที่พยายามตั้งสาขาพรรค แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากเท่าใดนัก
การเมืองไทยจึงมีลักษณะการก่อตัวเฉพาะด้านบน โดยด้านประชาชนไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วม ไปๆ มาๆ พรรคการเมืองส่วนใหญ่ก็กลายเป็นกลไกการเมืองส่วนตัวผู้ซึ่งมีฐานคะแนนเสียงแน่นหนา ได้รับการเลือกตั้งทุกครั้งก็จะตั้งพรรค และเพราะมีคะแนนเสียงแน่นอนในเขตเลือกตั้งของตนเอง ก็สามารถไปช่วยลูกพรรคหาเสียงได้
แต่การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ นั้น เป็นการเคลื่อนไหวจากส่วนล่าง แม้จะมี “แกนนำ” แต่แกนนำก็เป็นผู้ประสานงาน การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ มีความชัดเจน มีศัตรูร่วมที่เห็นได้ชัด และมีประเด็นสำคัญที่มีการอธิบายขยายความให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมเข้าใจ ผู้เข้าร่วมมาจากหลายอาชีพ หลายจังหวัดผู้ประกอบการอาชีพอิสระมีจำนวนมาก และมีการศึกษาสูง
ผู้เข้าร่วมชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ก็คือพลังในสังคมที่พรรคการเมืองไม่ได้ไประดมสรรพกำลัง
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นการเคลื่อนไหวของผู้รังเกียจการเมือง ลักษณะของเป้าหมายเป็นไปในทางการเข้ามาแก้ไขปัญหาเรื้อรังของชาติมากกว่าอย่างอื่น
ลีลาท่วงทีในการชุมนุมมีการผสมผสานวิถีพุทธและอหิงสา ทำให้การเคลื่อนไหวมีพลังมากขึ้น
เหตุที่การเคลื่อนไหวมีความเข้มแข็ง ก็เพราะมีปัจจัยเกื้อหนุนหลายประการคือ
มีแกนนำที่มีบุคลิภาพและความสามารถในการเลือกประเด็น และอธิบายขยายความได้ดี การพูดมีความเข้าใจควบคู่ไปกับความเพลิดเพลินสนุกสนาน
เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมให้คนขึ้นมาพูดบนเวที มีรายการหลากหลาย และมีการแสดงตัวของกลุ่มต่างๆ
มีการบริจาคเงิน สิ่งของ และของกิน ผู้มาร่วมชุมนุมเป็นผู้ให้ จึงมีความรู้สึกผูกพันเป็นเจ้าของ
มีการสร้างสัญลักษณ์ เช่น เสื้อ และสิ่งของต่างๆ
แม้จะมีสัญลักษณ์หลายอย่าง แต่ก็มีสัญลักษณ์หลักคือ เสื้อสีเหลือง
มีสื่อ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และเคเบิลทีวีเป็นของตนเอง ทำให้สามารถใช้ประโยชน์สื่อได้รอบด้านเต็มรูปแบบ
หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว ASTV และหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการ ได้ดำเนินการต่อเนื่อง ทำให้การเคลื่อนไหวไม่ขาดตอน การชุมนุมยืดเยื้อหลายเดือนทำให้เกิดประสบการณ์ร่วม โดยเฉพาะการร่วมกันเผชิญกับภยันตรายหลายครั้ง ทั้งจากฝ่ายรัฐ และฝ่ายสนับสนุนทักษิณ
ขณะนี้หนังสือพิมพ์ผู้จัดการได้ให้ผู้ประกาศข่าวที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวเขียนคอลัมน์ประจำ และเปิดหน้าข่าวพันธมิตรฯ ซึ่งมีการลงข่าวสารจัดงาน และการนำเรื่องราวของพันธมิตรฯ ในจังหวัดต่างๆ มาลง ทำให้เกิด “ชุมชนพันธมิตรฯ” ขึ้น
พันธมิตรฯ ในหลายจังหวัดได้จัดงานชุมนุมมีผู้เข้าร่วมนับหมื่นทั่วประเทศ
ความต่อเนื่องนี้สำคัญ แม้จะมีปัญหากันบ้างแต่ก็เท่ากับเป็นการทดสอบภาวะการนำของแกนนำในต่างจังหวัด
ไม่ว่าพันธมิตรฯ จะตั้งพรรคหรือไม่ แต่ได้มีการสร้างพื้นฐานของพรรคการเมืองที่ควรจะเป็น และประเทศไทยไม่เคยมีขึ้นแล้ว
ข้อขัดข้องในการตั้งพรรคนั้นอยู่ที่การมองปัญหา ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า การไม่เป็นพรรคการเมือง ไม่เกี่ยวข้องกับการเข้าไปมีอำนาจในระบบการเมือง อยู่นอกระบบและคอยเฝ้าระวัง ตลอดจนเคลื่อนไหวเพื่อแก้ปัญหาจะเหมาะกว่า
อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า บทบาทนี้คือการเกี่ยวข้องกับการเมืองเพียงครึ่งเดียว เพราะไม่สามารถริเริ่มผลักดันการเปลี่ยนแปลงได้
ฝ่ายที่เห็นว่าควรตั้งพรรคการเมือง ก็หาวิธีการที่เห็นว่าจะรักษา “ความบริสุทธิ์” ไว้ได้คือ แกนนำจะไม่มีตำแหน่งทางการเมือง และผู้เข้าไปดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะไม่รับเงินเดือน หรือบริจาคเงินเดือนให้พรรค
พันธมิตรฯ ยังมีเวลาอีกระยะหนึ่ง ผมเห็นว่าการจัดงานชุมนุม และมีกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเมืองคือ การให้แกนนำและผู้ที่เคยขึ้นเวทีไปอภิปราย หากทำไปเรื่อยๆ ก็จะเป็นการทดสอบความยั่งยืนของผู้สนับสนุนได้
การที่สนธิ ลิ้มทองกุล มาออกรายการตอนเช้าวันจันทร์-ศุกร์ ก็เป็นเรื่องที่ดี ทำให้ ASTV มีคนดูมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่จะมีผลต่อการตั้งพรรคก็คือ การที่รัฐธรรมนูญไม่บังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรค พันธมิตรฯ ก็สามารถสมัครในนามผู้สมัครอิสระได้ ต่อเมื่อตัดสินใจได้แน่นอนก็สามารถรวมตัวเป็นพรรคได้
เป็นเรื่องแปลกที่กลุ่มคนซึ่งมีการดำเนินงานใกล้เคียงกับพรรคการเมืองในความหมายที่แท้จริงมากที่สุดกลับลังเล
ในที่สุด พันธมิตรฯ คงต้องแปรสภาพเป็นพรรคการเมือง ส่วนที่ไม่อยากเป็นพรรค ก็ยังคงเป็นกลุ่มอิทธิพลได้ และน่าจะทำหน้าที่ตรวจสอบส่วนที่เป็นพรรคการเมืองได้
ก่อนจะให้ความเห็นว่า พันธมิตรฯ ควรตั้งพรรคการเมืองหรือไม่นั้น ผมขอทบทวนลักษณะพิเศษของการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรฯ อีกครั้งหนึ่ง
ผมเคยวิเคราะห์ว่า การเมืองไทยนั้นเป็นการเมืองที่ปราศจากการเคลื่อนไหว (politics without movement) การเคลื่อนไหวนี้หมายถึง การเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่อง
คณะราษฎรก็มีการเคลื่อนไหวเหมือนกัน แต่เป็นการเคลื่อนไหวในวงแคบๆ และมีระยะเวลาสั้น แม้ผู้เข้าร่วมจะรู้จักกัน แต่ก็ยังไม่มีการยอมรับการนำของคนหนึ่งคนใด เมื่อทำการสำเร็จแล้วจึงแบ่งออกเป็นหลายฝ่าย และมีการกวาดล้างกันเอง จนกระทั่งเกิดการรัฐประหารปี 2490 ตลอดระยะเวลา 15 ปี ก็มีการกบฏ การลอบฆ่า และการเนรเทศผู้ก่อการหลายคนออกนอกประเทศ
การเมืองไทยนับแต่นั้นมาก็ตกอยู่ในมือของทหาร และข้าราชการ ซึ่งแม้จะมีพรรคการเมือง แต่ก็มีไว้เพราะกฎหมายกำหนด เพื่อแข่งขันในการเลือกตั้งเท่านั้น มีพรรคประชาธิปัตย์ที่พยายามตั้งสาขาพรรค แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากเท่าใดนัก
การเมืองไทยจึงมีลักษณะการก่อตัวเฉพาะด้านบน โดยด้านประชาชนไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วม ไปๆ มาๆ พรรคการเมืองส่วนใหญ่ก็กลายเป็นกลไกการเมืองส่วนตัวผู้ซึ่งมีฐานคะแนนเสียงแน่นหนา ได้รับการเลือกตั้งทุกครั้งก็จะตั้งพรรค และเพราะมีคะแนนเสียงแน่นอนในเขตเลือกตั้งของตนเอง ก็สามารถไปช่วยลูกพรรคหาเสียงได้
แต่การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ นั้น เป็นการเคลื่อนไหวจากส่วนล่าง แม้จะมี “แกนนำ” แต่แกนนำก็เป็นผู้ประสานงาน การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ มีความชัดเจน มีศัตรูร่วมที่เห็นได้ชัด และมีประเด็นสำคัญที่มีการอธิบายขยายความให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมเข้าใจ ผู้เข้าร่วมมาจากหลายอาชีพ หลายจังหวัดผู้ประกอบการอาชีพอิสระมีจำนวนมาก และมีการศึกษาสูง
ผู้เข้าร่วมชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ก็คือพลังในสังคมที่พรรคการเมืองไม่ได้ไประดมสรรพกำลัง
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นการเคลื่อนไหวของผู้รังเกียจการเมือง ลักษณะของเป้าหมายเป็นไปในทางการเข้ามาแก้ไขปัญหาเรื้อรังของชาติมากกว่าอย่างอื่น
ลีลาท่วงทีในการชุมนุมมีการผสมผสานวิถีพุทธและอหิงสา ทำให้การเคลื่อนไหวมีพลังมากขึ้น
เหตุที่การเคลื่อนไหวมีความเข้มแข็ง ก็เพราะมีปัจจัยเกื้อหนุนหลายประการคือ
มีแกนนำที่มีบุคลิภาพและความสามารถในการเลือกประเด็น และอธิบายขยายความได้ดี การพูดมีความเข้าใจควบคู่ไปกับความเพลิดเพลินสนุกสนาน
เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมให้คนขึ้นมาพูดบนเวที มีรายการหลากหลาย และมีการแสดงตัวของกลุ่มต่างๆ
มีการบริจาคเงิน สิ่งของ และของกิน ผู้มาร่วมชุมนุมเป็นผู้ให้ จึงมีความรู้สึกผูกพันเป็นเจ้าของ
มีการสร้างสัญลักษณ์ เช่น เสื้อ และสิ่งของต่างๆ
แม้จะมีสัญลักษณ์หลายอย่าง แต่ก็มีสัญลักษณ์หลักคือ เสื้อสีเหลือง
มีสื่อ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และเคเบิลทีวีเป็นของตนเอง ทำให้สามารถใช้ประโยชน์สื่อได้รอบด้านเต็มรูปแบบ
หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว ASTV และหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการ ได้ดำเนินการต่อเนื่อง ทำให้การเคลื่อนไหวไม่ขาดตอน การชุมนุมยืดเยื้อหลายเดือนทำให้เกิดประสบการณ์ร่วม โดยเฉพาะการร่วมกันเผชิญกับภยันตรายหลายครั้ง ทั้งจากฝ่ายรัฐ และฝ่ายสนับสนุนทักษิณ
ขณะนี้หนังสือพิมพ์ผู้จัดการได้ให้ผู้ประกาศข่าวที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวเขียนคอลัมน์ประจำ และเปิดหน้าข่าวพันธมิตรฯ ซึ่งมีการลงข่าวสารจัดงาน และการนำเรื่องราวของพันธมิตรฯ ในจังหวัดต่างๆ มาลง ทำให้เกิด “ชุมชนพันธมิตรฯ” ขึ้น
พันธมิตรฯ ในหลายจังหวัดได้จัดงานชุมนุมมีผู้เข้าร่วมนับหมื่นทั่วประเทศ
ความต่อเนื่องนี้สำคัญ แม้จะมีปัญหากันบ้างแต่ก็เท่ากับเป็นการทดสอบภาวะการนำของแกนนำในต่างจังหวัด
ไม่ว่าพันธมิตรฯ จะตั้งพรรคหรือไม่ แต่ได้มีการสร้างพื้นฐานของพรรคการเมืองที่ควรจะเป็น และประเทศไทยไม่เคยมีขึ้นแล้ว
ข้อขัดข้องในการตั้งพรรคนั้นอยู่ที่การมองปัญหา ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า การไม่เป็นพรรคการเมือง ไม่เกี่ยวข้องกับการเข้าไปมีอำนาจในระบบการเมือง อยู่นอกระบบและคอยเฝ้าระวัง ตลอดจนเคลื่อนไหวเพื่อแก้ปัญหาจะเหมาะกว่า
อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า บทบาทนี้คือการเกี่ยวข้องกับการเมืองเพียงครึ่งเดียว เพราะไม่สามารถริเริ่มผลักดันการเปลี่ยนแปลงได้
ฝ่ายที่เห็นว่าควรตั้งพรรคการเมือง ก็หาวิธีการที่เห็นว่าจะรักษา “ความบริสุทธิ์” ไว้ได้คือ แกนนำจะไม่มีตำแหน่งทางการเมือง และผู้เข้าไปดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะไม่รับเงินเดือน หรือบริจาคเงินเดือนให้พรรค
พันธมิตรฯ ยังมีเวลาอีกระยะหนึ่ง ผมเห็นว่าการจัดงานชุมนุม และมีกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเมืองคือ การให้แกนนำและผู้ที่เคยขึ้นเวทีไปอภิปราย หากทำไปเรื่อยๆ ก็จะเป็นการทดสอบความยั่งยืนของผู้สนับสนุนได้
การที่สนธิ ลิ้มทองกุล มาออกรายการตอนเช้าวันจันทร์-ศุกร์ ก็เป็นเรื่องที่ดี ทำให้ ASTV มีคนดูมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่จะมีผลต่อการตั้งพรรคก็คือ การที่รัฐธรรมนูญไม่บังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรค พันธมิตรฯ ก็สามารถสมัครในนามผู้สมัครอิสระได้ ต่อเมื่อตัดสินใจได้แน่นอนก็สามารถรวมตัวเป็นพรรคได้
เป็นเรื่องแปลกที่กลุ่มคนซึ่งมีการดำเนินงานใกล้เคียงกับพรรคการเมืองในความหมายที่แท้จริงมากที่สุดกลับลังเล
ในที่สุด พันธมิตรฯ คงต้องแปรสภาพเป็นพรรคการเมือง ส่วนที่ไม่อยากเป็นพรรค ก็ยังคงเป็นกลุ่มอิทธิพลได้ และน่าจะทำหน้าที่ตรวจสอบส่วนที่เป็นพรรคการเมืองได้