นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าว วานนี้ (12 มี.ค.) ถึงการเดินทาง เยือนประเทศอังกฤษระหว่างวันที่ 13--15 มี.ค.ว่า หากมีการสอบถามเรื่อง สิทธิมนุษยชนก็พร้อมชี้แจง เพราะหากทางอังกฤษได้รับข่าวสารเฉพาะสื่อบางส่วน โดยเฉพาะสื่อต่างประเทศที่รายงาน อาจจะด้านเดียว ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ชี้แจง แต่เรื่องหลักที่จะพูดคงจะเป็นเรื่อง เตรียมความพร้อมประชุม G20 ที่จะฟังเสียงจากเราและเรื่องความสัมพันธ์ทวิภาคี การค้าการลงทุน เพราะตนจะพบนักลงทุนและเปิดงานท่องเที่ยวด้วย
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าในวันเสาร์ที่ 14 มี.ค. เวลา 10.30-11.45 น.(ตามเวลาท้องถิ่น) นายอภิสิทธิ์ จะกล่าวสุนทรพจน์ท์ที่เซนจอห์นคอลเลจ มหาวิทยาลัยออกฟอร์ด โดยสุนทรพจน์ได้ร่างเสร็จแล้ว ซึ่งหัวข้อการกล่าว เป็นเรื่องการบริหารความท้าทายประชาธิปไตยไทย ซึ่งเป็นหัวข้อที่ ทางมหาวิทยาลัยออกฟอร์ดเขาเชิญมา โดยนายกฯ จะพูดถึงเหตุการณ์สมัย 14 ต.ค. พฤษภาทมิฬ และการปฏิวัติ 19 ก.ย. ซึ่งจะให้ข้อคิดส่วนตัวจากท่านนายกฯว่าท่านเห็นอย่างไร มีเหตุปัจจัยอย่างไร
จากนั้นจะกล่าวถึงความท้าทายของประชาธิปไตย ทั้งเรื่องการเลือกตั้ง การบริหารอำนาจของรัฐบาล เรื่องของสภา และภาคประชาชน โดยจะชี้ให้เห็นว่า ประชาธิปไตยของเราเป็นขั้นเป็นตอนและเป็นการพัฒนาที่มีแรงผลักดันโดยประชาชน นิสิต นักศึกษา โดยนายกฯจะบอกชาวอังกฤษว่าคนไทยมีหลักการและยึดมั่นในประชาธิปไตย ยอมที่จะเสี่ยงภัย ยอมที่จะเผชิญกับอันตรายบนท้องถนนเพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย และตอนท้ายของสุนทรพจน์ท่านก็จะบอกว่าเราจะไปทางไหนหลังจากมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วย นอกจากนี้นายกฯยังจะกล่าวถึงการเข้ามาบริหารประเทศด้วยการลงคะแนนของสภาอย่างโปร่งใส และต่างประเทศเริ่มเชื่อมั่นไทย ภายหลังการประชุมอาเซียนซัมมิท
นายปณิธาน กล่าวด้วยว่า ที่อังกฤษก็มีคนไม่เห็นด้วยกับนายอภิสิทธิ์ ทั้งนักวิชาการ และกลุ่มคนหลากหลาย ซึ่งเราก็ได้ส่งจดหมายเชิญให้เขามาฟังนายกฯ โดยส่งไปตามอีเมลที่เขาหมุนเวียนอินเตอร์เน็ต ก็หวังว่าจะถึงคนไทย หรือคนต่างชาติกลุ่มนั้นซึ่งมีจำนวนไม่มาก แต่เราก็ต้องการฟังเสียงส่วนน้อย
เข้าใจว่าหลายคนที่ไม่เห็นด้วยไปฟังการบรรยายเรื่องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของนักวชิการทำไทยคนหนึ่งแล้วก็มีผู้ดำเนินรายการคนหนึ่งซึ่งเป็นนักวิจัย และเป็นผู้สอนอยู่ที่ม.อ๊อกฟอร์ดก็ได้ส่งหนังสือเวียนชักจูงไม่ให้คนไปฟังนายกฯ โดยตั้งข้อสังเกตว่ารัฐบาลไม่เป็นประชาธิปไตย มาจากพรรคการเมืองที่ไม่ได้รับการยอมรับ หรือว่ารัฐบาลมีมาตรการที่เข้มข้นกับผู้อพยพอย่างโรฮิงญา เราก็ต้องไปชี้แจงและพูดคุยกัน
วันเดียวกัน นายพร้อมพงษ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย นำจดหมายของ ศ.ลี โจนส์ ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประทศ ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ที่ส่งไปถึงผู้บริหารของมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด เพื่อคัดค้านการที่นายอภิสิทธิ์ จะไปกล่าวสุนทรพจน์ในวันที่ 14 มี.ค. มาแถลงข่าว
โดยเนื้อหาระบุว่า การที่นายอภิสิทธิ์จะไปกล่าวสุนทรพจน์นั้นไม่มีความเหมาะสม เพราะรัฐบาลไม่ได้มาจากวิถีของประชาธิปไตย แต่มาจากการปฎิวัติรัฐประหาร และยังมีการกระทำอันไม่เป็นประชาธิปไตยหลายข้อเช่น การใช้กฎหมายหมิ่นฯสถาบันในการกำจัดฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง การจับผู้อพยพชาวโรฮิงญาใส่เรือปล่อยทิ้ง ไว้กลางทะเล ทั้งนี้แม้มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดจะภูมิใจที่นายอภิสิทธิ์เป็นศิษย์เก่า ที่ได้เป็นนายกฯของไทย แต่ก็น่าอายที่จะเชิญบุคคลนี้มาพูดเรื่องประชาธิปไตย เพราะความเป็นจริงประชาธิปไตยไม่มีอยู่จริงในประเทศไทยวันนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ ศจ.ลี โจนส์ นั้น เป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญของ นายใจ อึ้งภากรณ์ ผู้เขียนบทความเรื่องแถลงการณ์แดงสยาม และกำลังหนีคดีหมิ่นเบื้องสูง ไปอยู่อังกฤษ นอกจากนี้ และยังเป็น 1 ในนักวิชาการที่ร่วมลงชื่อ ให้ยกเลิกกฎหมาย อาญา มาตรา 112 ว่าด้วยการหมิ่นประมาทสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่ ศ.ลี โจนส์ คัดค้านการกล่าวสุนทรพจน์ของนายอภิสิทธิ์ โดยอ้างว่าได้ตำแหน่งนายกฯ มาโดยไม่ชอบธรรมถือเป็นความเห็นของนักวิชาการเพียงคนเดียว จากการสืบประวัติพบว่า ศ.ลี โจนส์ เป็นนักเคลื่อนไหวในแถบพม่าและไทย ซึ่งมีความสนิทสนมกับ นายใจ อึ้งภากรณ์ ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่าเป็นความพยายามของนายใจ และซ
ลีโจนส์ อย่างไรก็ตามการคัดค้านไม่ให้นาย อภิสิทธิ์ กล่าวสุนทรพจน์ไม่เป็นผล เพราะทางมหาวิทยาลัยได้ตอบรับมาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดี ถ้าหากนาย ใจ มาร่วมรับฟัง และจะได้ชี้แจงข้อเท็จจริง และทำความเข้าใจด้วย
การออกมาให้ข้อมูลของพรรคเพื่อไทย ถือว่าเป็นการดิสเครดิต นายอภิสิทธิ์ และสร้างความไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งมีการ
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าในวันเสาร์ที่ 14 มี.ค. เวลา 10.30-11.45 น.(ตามเวลาท้องถิ่น) นายอภิสิทธิ์ จะกล่าวสุนทรพจน์ท์ที่เซนจอห์นคอลเลจ มหาวิทยาลัยออกฟอร์ด โดยสุนทรพจน์ได้ร่างเสร็จแล้ว ซึ่งหัวข้อการกล่าว เป็นเรื่องการบริหารความท้าทายประชาธิปไตยไทย ซึ่งเป็นหัวข้อที่ ทางมหาวิทยาลัยออกฟอร์ดเขาเชิญมา โดยนายกฯ จะพูดถึงเหตุการณ์สมัย 14 ต.ค. พฤษภาทมิฬ และการปฏิวัติ 19 ก.ย. ซึ่งจะให้ข้อคิดส่วนตัวจากท่านนายกฯว่าท่านเห็นอย่างไร มีเหตุปัจจัยอย่างไร
จากนั้นจะกล่าวถึงความท้าทายของประชาธิปไตย ทั้งเรื่องการเลือกตั้ง การบริหารอำนาจของรัฐบาล เรื่องของสภา และภาคประชาชน โดยจะชี้ให้เห็นว่า ประชาธิปไตยของเราเป็นขั้นเป็นตอนและเป็นการพัฒนาที่มีแรงผลักดันโดยประชาชน นิสิต นักศึกษา โดยนายกฯจะบอกชาวอังกฤษว่าคนไทยมีหลักการและยึดมั่นในประชาธิปไตย ยอมที่จะเสี่ยงภัย ยอมที่จะเผชิญกับอันตรายบนท้องถนนเพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย และตอนท้ายของสุนทรพจน์ท่านก็จะบอกว่าเราจะไปทางไหนหลังจากมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วย นอกจากนี้นายกฯยังจะกล่าวถึงการเข้ามาบริหารประเทศด้วยการลงคะแนนของสภาอย่างโปร่งใส และต่างประเทศเริ่มเชื่อมั่นไทย ภายหลังการประชุมอาเซียนซัมมิท
นายปณิธาน กล่าวด้วยว่า ที่อังกฤษก็มีคนไม่เห็นด้วยกับนายอภิสิทธิ์ ทั้งนักวิชาการ และกลุ่มคนหลากหลาย ซึ่งเราก็ได้ส่งจดหมายเชิญให้เขามาฟังนายกฯ โดยส่งไปตามอีเมลที่เขาหมุนเวียนอินเตอร์เน็ต ก็หวังว่าจะถึงคนไทย หรือคนต่างชาติกลุ่มนั้นซึ่งมีจำนวนไม่มาก แต่เราก็ต้องการฟังเสียงส่วนน้อย
เข้าใจว่าหลายคนที่ไม่เห็นด้วยไปฟังการบรรยายเรื่องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของนักวชิการทำไทยคนหนึ่งแล้วก็มีผู้ดำเนินรายการคนหนึ่งซึ่งเป็นนักวิจัย และเป็นผู้สอนอยู่ที่ม.อ๊อกฟอร์ดก็ได้ส่งหนังสือเวียนชักจูงไม่ให้คนไปฟังนายกฯ โดยตั้งข้อสังเกตว่ารัฐบาลไม่เป็นประชาธิปไตย มาจากพรรคการเมืองที่ไม่ได้รับการยอมรับ หรือว่ารัฐบาลมีมาตรการที่เข้มข้นกับผู้อพยพอย่างโรฮิงญา เราก็ต้องไปชี้แจงและพูดคุยกัน
วันเดียวกัน นายพร้อมพงษ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย นำจดหมายของ ศ.ลี โจนส์ ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประทศ ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ที่ส่งไปถึงผู้บริหารของมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด เพื่อคัดค้านการที่นายอภิสิทธิ์ จะไปกล่าวสุนทรพจน์ในวันที่ 14 มี.ค. มาแถลงข่าว
โดยเนื้อหาระบุว่า การที่นายอภิสิทธิ์จะไปกล่าวสุนทรพจน์นั้นไม่มีความเหมาะสม เพราะรัฐบาลไม่ได้มาจากวิถีของประชาธิปไตย แต่มาจากการปฎิวัติรัฐประหาร และยังมีการกระทำอันไม่เป็นประชาธิปไตยหลายข้อเช่น การใช้กฎหมายหมิ่นฯสถาบันในการกำจัดฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง การจับผู้อพยพชาวโรฮิงญาใส่เรือปล่อยทิ้ง ไว้กลางทะเล ทั้งนี้แม้มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดจะภูมิใจที่นายอภิสิทธิ์เป็นศิษย์เก่า ที่ได้เป็นนายกฯของไทย แต่ก็น่าอายที่จะเชิญบุคคลนี้มาพูดเรื่องประชาธิปไตย เพราะความเป็นจริงประชาธิปไตยไม่มีอยู่จริงในประเทศไทยวันนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ ศจ.ลี โจนส์ นั้น เป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญของ นายใจ อึ้งภากรณ์ ผู้เขียนบทความเรื่องแถลงการณ์แดงสยาม และกำลังหนีคดีหมิ่นเบื้องสูง ไปอยู่อังกฤษ นอกจากนี้ และยังเป็น 1 ในนักวิชาการที่ร่วมลงชื่อ ให้ยกเลิกกฎหมาย อาญา มาตรา 112 ว่าด้วยการหมิ่นประมาทสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่ ศ.ลี โจนส์ คัดค้านการกล่าวสุนทรพจน์ของนายอภิสิทธิ์ โดยอ้างว่าได้ตำแหน่งนายกฯ มาโดยไม่ชอบธรรมถือเป็นความเห็นของนักวิชาการเพียงคนเดียว จากการสืบประวัติพบว่า ศ.ลี โจนส์ เป็นนักเคลื่อนไหวในแถบพม่าและไทย ซึ่งมีความสนิทสนมกับ นายใจ อึ้งภากรณ์ ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่าเป็นความพยายามของนายใจ และซ
ลีโจนส์ อย่างไรก็ตามการคัดค้านไม่ให้นาย อภิสิทธิ์ กล่าวสุนทรพจน์ไม่เป็นผล เพราะทางมหาวิทยาลัยได้ตอบรับมาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดี ถ้าหากนาย ใจ มาร่วมรับฟัง และจะได้ชี้แจงข้อเท็จจริง และทำความเข้าใจด้วย
การออกมาให้ข้อมูลของพรรคเพื่อไทย ถือว่าเป็นการดิสเครดิต นายอภิสิทธิ์ และสร้างความไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งมีการ