หลังจากกระทรวงมหาดไทยได้ทราบปัญหาเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินที่มีการร้องเรียนกันอย่างกว้างขวาง ก็ได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี และล่าสุดรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการดำเนินการเรื่องปฏิรูปที่ดิน โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และตั้งอนุกรรมการขึ้นช่วยงานอีก 6 ชุด
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางมาเป็นเวลายาวนานเต็มทีและความจริงก็เป็นเรื่องที่เป็นปัญหาหมักหมมสั่งสมมายาวนาน จนกระทั่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นปัญหาระดับชาติปัญหาหนึ่งที่ไม่เคยแก้ไขได้สำเร็จเลย
ดังนั้นการปฏิรูปที่ดินครั้งใหม่ตามมติคณะรัฐมนตรีที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในคราวนี้จึงเป็นที่หวังของผู้คนเป็นอันมาก และเป็นที่หวังด้วยว่าจักสามารถปลดแอกประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ 2 ใน 3 ของประเทศให้พ้นจากความลำบากยากจน ขาดแคลน และล้าหลังได้สำเร็จ
ก่อนอื่นก็ต้องรู้และเข้าใจสภาพพื้นฐานของปัญหาการปฏิรูปที่ดินเสียก่อนใน 2 ประการคือ
ประการแรก แผ่นดินประเทศไทยของเรานี้มีเนื้อที่รวมกันเหลืออยู่ 320 ล้านไร่
พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า พระผู้มีพระปรีชาญาณอันประเสริฐ ได้ทรงกำหนดพระบรมราโชบายในเรื่องนี้ไว้และทรงดำเนินพระบรมราโชบายนั้นให้เห็นมาก่อนหน้าแล้ว
หลังเสด็จกลับจากประพาสยุโรป ทรงมีพระราชดำริว่าชาวยุโรปเขามีความมั่งคั่งเพราะเขามีเรียลเอสเตท (Real Estate หรือโฉนดที่ดิน) เป็นหลักแสดงความมั่งคั่งและฐานะ
ทรงเห็นว่าสับเยก (พลเมือง) ของสยามยากจน ขาดแคลนและล้าหลังก็เพราะไม่มีเรียลเอสเตท การที่จะทำให้ชาวสยามมีความมั่งคั่งจึงต้องเริ่มต้นที่การทำให้มีเรียลเอสเตท ดังนั้นจึงมีพระบรมราโชบายให้ออกโฉนดที่ดินแก่พสกนิกรทั่วประเทศ โดยเริ่มต้นที่จังหวัดอยุธยาเป็นแห่งแรก
หลังจากพระราชทานโฉนดที่ดินฉบับแรกนับเนื่องถึงบัดนี้ได้มีการออกโฉนดและเอกสารสิทธิ์ทุกประเภทรวมกันแล้วประมาณ 120 ล้านไร่ หรือประมาณ 1 ใน 3 ของที่ดินของทั้งประเทศ
แต่ที่ดินที่เหลืออีก 2 ใน 3 นั้นรัฐโดยส่วนราชการต่างๆ ได้ประกาศเข้าถือครองเป็นของรัฐ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายหลายฉบับ ทั้งๆ ที่พื้นที่จำนวนมากมีราษฎรปกครองทำประโยชน์อยู่แล้ว กระทั่งเป็นบ้านเป็นเมือง มีสถานที่ราชการ ที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ สถานีอนามัย ตลอดจนถนนหนทาง ไฟฟ้า ประปา
ที่ดินอันเป็นเขตปฏิรูปที่ดินทั้งหมดนั้นก็อยู่ในส่วนหนึ่งของที่ดิน 2 ใน 3 ของประเทศดังกล่าว
เพราะเหตุที่ที่ดินในพื้นที่ 2 ใน 3 ของประเทศเป็นของรัฐ ดังนั้นใครจะอยู่อาศัยทำมาหากินหรือสร้างประโยชน์ประการใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ กลายเป็นการอยู่อาศัยโดยผิดกฎหมาย และทำให้ประชาชนในพื้นที่ 2 ใน 3 ของประเทศไทยกลายเป็นคนผิดกฎหมาย ซึ่งไม่มีประเทศไหนเขาจะปล่อยไว้อย่างนี้
ประการที่สอง คนไทยที่อยู่ในแผ่นดินเกิดของตนเองในส่วนพื้นที่ 2 ใน 3 ดังกล่าวนั้น นอกจากกลายเป็นคนผิดกฎหมายแล้ว ยังเท่ากับถูกลงโทษทัณฑ์ไปตลอดกัลปาวสาน เป็นการลงโทษทัณฑ์ถึง 2 สถาน
สถานแรก ถูกลงโทษทัณฑ์เกี่ยวกับพื้นที่ว่าพื้นที่นั้นจะพัฒนาลงทุนสร้างกิจการหรือสร้างงานใดๆ ไม่ได้ ซื้อขายหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนอะไรไม่ได้ทั้งนั้น ใช้เป็นหลักประกันหนี้สินอะไรก็ไม่ได้ ถ้าทำไปก็ไม่มีผลตามกฎหมาย ต้องใช้บังคับกันเองเหมือนบ้านป่าเมืองเถื่อน พื้นที่เหล่านั้นจึงกลายเป็นพื้นที่ล้าหลัง ทุรกันดาร และแร้นแค้น
สถานสอง ถูกลงโทษให้ยากจน เพราะเมื่อทำกิจการใดๆ ไม่ได้ ลงทุนไม่ได้ ก็ไม่มีการจ้างงาน กลายเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน ที่อาศัยดินฟ้าอากาศตามธรรมชาติทำมาหากิน จึงยากจนดักดานไปตลอดชาติ มิหนำซ้ำกฎหมายยังบังคับให้คนทั้งหลายที่อยู่ในพื้นที่เหล่านี้ต้องเป็นคนยากจนยากไร้เท่านั้น หากใครมั่งมีศรีสุขมีฐานะดีขึ้นมาก็จะถูกจับตาเพราะกลายเป็นคนขาดคุณสมบัติที่จะอยู่อาศัยในแผ่นดินนี้
กลายเป็นว่าคนที่จะอาศัยในแผ่นดินนี้จะต้องเป็นคนยากจน ยากไร้ อนาถา ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้รัฐต้องส่งเสริมให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุข และรัฐบาลทุกรัฐบาลก็มีนโยบายจะทำนุบำรุงราษฎรให้มั่งคั่งร่ำรวย
ที่ดินที่จะปฏิรูปที่ดินก็เป็นส่วนหนึ่งที่ตกอยู่ภายใต้สภาพดังกล่าว
หลายปีที่ผ่านมานี้สำนักงานปฏิรูปที่ดินได้พบปัญหาดังกล่าวอย่างชัดเจน ว่านี่คือต้นเหตุและต้นตอสำคัญของความยากจน ขาดแคลน และล้าหลังของประเทศชาติและประชาชน จึงได้เตรียมการแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับความเป็นจริงและรัฐธรรมนูญ
แต่ก็ไม่มีรัฐบาลไหนมีความกล้าหาญพอ กลับไปทำในเรื่องการฉ้อราษฎร์บังหลวงเพื่อความมั่งคั่งของตนและพวกพ้องเสียมากกว่าที่จะแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติและประชาชน จึงทำให้ปัญหานี้ยืดเยื้อเรื้อรังและตกทอดมาถึงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในวันนี้
ดังนั้นปัญหาการปฏิรูปที่ดินจึงมีศูนย์กลางของปัญหาดังต่อไปนี้
ข้อหนึ่ง เป็นปัญหาของการไม่มีเรียลเอสเตทตามกระแสพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน และถูกต้องห้ามมิให้ใช้ทำการอื่น ซื้อขายเปลี่ยนมือไม่ได้ ใช้เป็นหลักประกันหนี้สินไม่ได้ จึงเป็นต้นเหตุของความยากจน ขาดแคลนและล้าหลัง เพราะพัฒนาไม่ได้ ลงทุนไม่ได้ จ้างงานไม่ได้ ใช้เป็นหลักประกันหนี้สินและแสดงฐานะอะไรไม่ได้
ปัญหาหลักประการนี้จึงต้องแก้ไขกฎหมายให้มีการออกเอกสารสิทธิ์แก่ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ให้สามารถใช้ทำประโยชน์ได้ตามความเป็นจริงของสภาพที่ดิน ไม่ต้องบังคับให้ทำแต่เกษตรกรรมอย่างเดียว
พื้นที่ใดทำการเกษตรได้ก็ทำการเกษตรไป พื้นที่ใดทำการอุตสาหกรรม หรือพาณิชยกรรมหรือบริการได้ก็ทำไป การไปบังคับให้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ที่มีแต่หินลูกรัง เป็นบาปเป็นกรรมที่ทำกับราษฎรยิ่งนัก
อย่าไปอ้างความกลัวว่าถ้าให้เอกสารสิทธิ์แล้วจะมีการขายที่ดิน ซึ่งเป็นความกลัวแบบกุ้ง หรือกระต่ายโง่ เพียงแค่เปรียบเทียบกับที่ดินฝั่งตรงกันข้ามถนนของที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งมีเอกสารสิทธิ์ ซื้อได้ ขายได้ แล้วตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำไมไม่กลัวที่ดินดังกล่าวว่าจะมีการซื้อขายบ้าง
ทั้งการซื้อขายนั้นเป็นความดีความงาม เงินตราจะมีค่าเพราะการปริวัตรฉันใด ที่ดินจะมีคุณค่าเพราะมีการซื้อขายได้ฉันนั้น หากที่ดินซื้อขายไม่ได้จะมีราคาคุณค่าได้อย่างไรเล่า
ข้อสอง การจัดหาที่ทำกินให้แก่ผู้ไม่มีที่ดินเป็นคนละเรื่องกับการปฏิรูปที่ดิน
การปฏิรูปที่ดินคือการจัดรูปที่ดินให้ใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมกับพื้นที่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ลัทธิที่ดินแปลงเล็กเสมอไป ให้ดูตัวอย่างแนวทางเกษตรกรรมทันสมัยของจีนที่ครบวงจร ล้วนต้องใช้เนื้อที่นับหมื่นไร่ และในรูปวิสาหกิจชุมชน หรือวิสาหกิจการเกษตรทันสมัย ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้างความอยู่ดีกินดีให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้ว
การปฏิรูปที่ดินคือการใช้ประโยชน์ในที่ดินให้สอดคล้องกับสภาพที่ดิน ไม่ใช่การบังคับให้ต้องทำการเกษตรอย่างเดียว ซึ่งขัดกับความจริง เพราะคนไทยประกอบอาชีพหลากหลาย ไฉนจะต้องบังคับให้เขาเลิกอาชีพอื่นมาทำอาชีพเกษตรเล่า และอาชีพเกษตรกรรมนั้นมันวิเศษนักหนานักหรือ แค่ที่เป็นอยู่ยังรับมือม็อบเรียกร้องให้ประกันพืชผลไม่พออีกหรือ
การจัดที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรก็เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องจัดหาที่ทำกินให้แก่ราษฎร และต้องมุ่งหวังผลที่ทำให้ราษฎรมีความอยู่ดีกินดี มีความมั่งคั่งด้วย
การไปจัดที่ดินในที่แห้งแล้งหรือมีแต่ลูกรัง แบ่งให้ราษฎรคนละ 10 ไร่ 15 ไร่ ไม่ใช่การช่วยเหลือราษฎร แต่นั่นเป็นการฝังราษฎรทั้งเป็นและฝังไว้จนชั่วลูกหลานเหลนโหลนให้ลำบากยากจนอนาถาไม่มีที่สิ้นสุด
รัฐสามารถจัดที่ดินทำกินให้ราษฎรโดยการเป็นสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินได้ โดยทำให้มีรายได้ประจำที่แน่นอน ทำให้มีรายได้มากกว่ารายจ่ายอยู่เสมอ และมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคง
ทำได้อย่างนี้คนยากคนจนในชนบทโดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรที่ไร้ที่ทำกินก็จะพ้นจากความลำบากยากจน และผู้คนที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินแบบผิดกฎหมายเพราะไม่ได้ทำเกษตรกรรมก็ดี หรือไม่มีฐานะเป็นคนอนาถาก็ดี ก็จะได้มีกรรมสิทธิ์ที่ดินและทำประโยชน์ได้ตามความเหมาะสมแก่สภาพ ทั้งจะเป็นฐานะอันเป็นเรียลเอสเตทดังกระแสพระราชดำรินั้น
เหล่านี้คือเรื่องที่นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปที่ดินครั้งใหม่ควรจะได้พิจารณาโดยแยบคาย ก็จักเป็นอาณาประโยชน์แก่ชาติและประชาชนถ้วนหน้ากัน.
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางมาเป็นเวลายาวนานเต็มทีและความจริงก็เป็นเรื่องที่เป็นปัญหาหมักหมมสั่งสมมายาวนาน จนกระทั่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นปัญหาระดับชาติปัญหาหนึ่งที่ไม่เคยแก้ไขได้สำเร็จเลย
ดังนั้นการปฏิรูปที่ดินครั้งใหม่ตามมติคณะรัฐมนตรีที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในคราวนี้จึงเป็นที่หวังของผู้คนเป็นอันมาก และเป็นที่หวังด้วยว่าจักสามารถปลดแอกประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ 2 ใน 3 ของประเทศให้พ้นจากความลำบากยากจน ขาดแคลน และล้าหลังได้สำเร็จ
ก่อนอื่นก็ต้องรู้และเข้าใจสภาพพื้นฐานของปัญหาการปฏิรูปที่ดินเสียก่อนใน 2 ประการคือ
ประการแรก แผ่นดินประเทศไทยของเรานี้มีเนื้อที่รวมกันเหลืออยู่ 320 ล้านไร่
พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า พระผู้มีพระปรีชาญาณอันประเสริฐ ได้ทรงกำหนดพระบรมราโชบายในเรื่องนี้ไว้และทรงดำเนินพระบรมราโชบายนั้นให้เห็นมาก่อนหน้าแล้ว
หลังเสด็จกลับจากประพาสยุโรป ทรงมีพระราชดำริว่าชาวยุโรปเขามีความมั่งคั่งเพราะเขามีเรียลเอสเตท (Real Estate หรือโฉนดที่ดิน) เป็นหลักแสดงความมั่งคั่งและฐานะ
ทรงเห็นว่าสับเยก (พลเมือง) ของสยามยากจน ขาดแคลนและล้าหลังก็เพราะไม่มีเรียลเอสเตท การที่จะทำให้ชาวสยามมีความมั่งคั่งจึงต้องเริ่มต้นที่การทำให้มีเรียลเอสเตท ดังนั้นจึงมีพระบรมราโชบายให้ออกโฉนดที่ดินแก่พสกนิกรทั่วประเทศ โดยเริ่มต้นที่จังหวัดอยุธยาเป็นแห่งแรก
หลังจากพระราชทานโฉนดที่ดินฉบับแรกนับเนื่องถึงบัดนี้ได้มีการออกโฉนดและเอกสารสิทธิ์ทุกประเภทรวมกันแล้วประมาณ 120 ล้านไร่ หรือประมาณ 1 ใน 3 ของที่ดินของทั้งประเทศ
แต่ที่ดินที่เหลืออีก 2 ใน 3 นั้นรัฐโดยส่วนราชการต่างๆ ได้ประกาศเข้าถือครองเป็นของรัฐ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายหลายฉบับ ทั้งๆ ที่พื้นที่จำนวนมากมีราษฎรปกครองทำประโยชน์อยู่แล้ว กระทั่งเป็นบ้านเป็นเมือง มีสถานที่ราชการ ที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ สถานีอนามัย ตลอดจนถนนหนทาง ไฟฟ้า ประปา
ที่ดินอันเป็นเขตปฏิรูปที่ดินทั้งหมดนั้นก็อยู่ในส่วนหนึ่งของที่ดิน 2 ใน 3 ของประเทศดังกล่าว
เพราะเหตุที่ที่ดินในพื้นที่ 2 ใน 3 ของประเทศเป็นของรัฐ ดังนั้นใครจะอยู่อาศัยทำมาหากินหรือสร้างประโยชน์ประการใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ กลายเป็นการอยู่อาศัยโดยผิดกฎหมาย และทำให้ประชาชนในพื้นที่ 2 ใน 3 ของประเทศไทยกลายเป็นคนผิดกฎหมาย ซึ่งไม่มีประเทศไหนเขาจะปล่อยไว้อย่างนี้
ประการที่สอง คนไทยที่อยู่ในแผ่นดินเกิดของตนเองในส่วนพื้นที่ 2 ใน 3 ดังกล่าวนั้น นอกจากกลายเป็นคนผิดกฎหมายแล้ว ยังเท่ากับถูกลงโทษทัณฑ์ไปตลอดกัลปาวสาน เป็นการลงโทษทัณฑ์ถึง 2 สถาน
สถานแรก ถูกลงโทษทัณฑ์เกี่ยวกับพื้นที่ว่าพื้นที่นั้นจะพัฒนาลงทุนสร้างกิจการหรือสร้างงานใดๆ ไม่ได้ ซื้อขายหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนอะไรไม่ได้ทั้งนั้น ใช้เป็นหลักประกันหนี้สินอะไรก็ไม่ได้ ถ้าทำไปก็ไม่มีผลตามกฎหมาย ต้องใช้บังคับกันเองเหมือนบ้านป่าเมืองเถื่อน พื้นที่เหล่านั้นจึงกลายเป็นพื้นที่ล้าหลัง ทุรกันดาร และแร้นแค้น
สถานสอง ถูกลงโทษให้ยากจน เพราะเมื่อทำกิจการใดๆ ไม่ได้ ลงทุนไม่ได้ ก็ไม่มีการจ้างงาน กลายเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน ที่อาศัยดินฟ้าอากาศตามธรรมชาติทำมาหากิน จึงยากจนดักดานไปตลอดชาติ มิหนำซ้ำกฎหมายยังบังคับให้คนทั้งหลายที่อยู่ในพื้นที่เหล่านี้ต้องเป็นคนยากจนยากไร้เท่านั้น หากใครมั่งมีศรีสุขมีฐานะดีขึ้นมาก็จะถูกจับตาเพราะกลายเป็นคนขาดคุณสมบัติที่จะอยู่อาศัยในแผ่นดินนี้
กลายเป็นว่าคนที่จะอาศัยในแผ่นดินนี้จะต้องเป็นคนยากจน ยากไร้ อนาถา ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้รัฐต้องส่งเสริมให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุข และรัฐบาลทุกรัฐบาลก็มีนโยบายจะทำนุบำรุงราษฎรให้มั่งคั่งร่ำรวย
ที่ดินที่จะปฏิรูปที่ดินก็เป็นส่วนหนึ่งที่ตกอยู่ภายใต้สภาพดังกล่าว
หลายปีที่ผ่านมานี้สำนักงานปฏิรูปที่ดินได้พบปัญหาดังกล่าวอย่างชัดเจน ว่านี่คือต้นเหตุและต้นตอสำคัญของความยากจน ขาดแคลน และล้าหลังของประเทศชาติและประชาชน จึงได้เตรียมการแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับความเป็นจริงและรัฐธรรมนูญ
แต่ก็ไม่มีรัฐบาลไหนมีความกล้าหาญพอ กลับไปทำในเรื่องการฉ้อราษฎร์บังหลวงเพื่อความมั่งคั่งของตนและพวกพ้องเสียมากกว่าที่จะแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติและประชาชน จึงทำให้ปัญหานี้ยืดเยื้อเรื้อรังและตกทอดมาถึงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในวันนี้
ดังนั้นปัญหาการปฏิรูปที่ดินจึงมีศูนย์กลางของปัญหาดังต่อไปนี้
ข้อหนึ่ง เป็นปัญหาของการไม่มีเรียลเอสเตทตามกระแสพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน และถูกต้องห้ามมิให้ใช้ทำการอื่น ซื้อขายเปลี่ยนมือไม่ได้ ใช้เป็นหลักประกันหนี้สินไม่ได้ จึงเป็นต้นเหตุของความยากจน ขาดแคลนและล้าหลัง เพราะพัฒนาไม่ได้ ลงทุนไม่ได้ จ้างงานไม่ได้ ใช้เป็นหลักประกันหนี้สินและแสดงฐานะอะไรไม่ได้
ปัญหาหลักประการนี้จึงต้องแก้ไขกฎหมายให้มีการออกเอกสารสิทธิ์แก่ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ให้สามารถใช้ทำประโยชน์ได้ตามความเป็นจริงของสภาพที่ดิน ไม่ต้องบังคับให้ทำแต่เกษตรกรรมอย่างเดียว
พื้นที่ใดทำการเกษตรได้ก็ทำการเกษตรไป พื้นที่ใดทำการอุตสาหกรรม หรือพาณิชยกรรมหรือบริการได้ก็ทำไป การไปบังคับให้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ที่มีแต่หินลูกรัง เป็นบาปเป็นกรรมที่ทำกับราษฎรยิ่งนัก
อย่าไปอ้างความกลัวว่าถ้าให้เอกสารสิทธิ์แล้วจะมีการขายที่ดิน ซึ่งเป็นความกลัวแบบกุ้ง หรือกระต่ายโง่ เพียงแค่เปรียบเทียบกับที่ดินฝั่งตรงกันข้ามถนนของที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งมีเอกสารสิทธิ์ ซื้อได้ ขายได้ แล้วตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำไมไม่กลัวที่ดินดังกล่าวว่าจะมีการซื้อขายบ้าง
ทั้งการซื้อขายนั้นเป็นความดีความงาม เงินตราจะมีค่าเพราะการปริวัตรฉันใด ที่ดินจะมีคุณค่าเพราะมีการซื้อขายได้ฉันนั้น หากที่ดินซื้อขายไม่ได้จะมีราคาคุณค่าได้อย่างไรเล่า
ข้อสอง การจัดหาที่ทำกินให้แก่ผู้ไม่มีที่ดินเป็นคนละเรื่องกับการปฏิรูปที่ดิน
การปฏิรูปที่ดินคือการจัดรูปที่ดินให้ใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมกับพื้นที่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ลัทธิที่ดินแปลงเล็กเสมอไป ให้ดูตัวอย่างแนวทางเกษตรกรรมทันสมัยของจีนที่ครบวงจร ล้วนต้องใช้เนื้อที่นับหมื่นไร่ และในรูปวิสาหกิจชุมชน หรือวิสาหกิจการเกษตรทันสมัย ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้างความอยู่ดีกินดีให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้ว
การปฏิรูปที่ดินคือการใช้ประโยชน์ในที่ดินให้สอดคล้องกับสภาพที่ดิน ไม่ใช่การบังคับให้ต้องทำการเกษตรอย่างเดียว ซึ่งขัดกับความจริง เพราะคนไทยประกอบอาชีพหลากหลาย ไฉนจะต้องบังคับให้เขาเลิกอาชีพอื่นมาทำอาชีพเกษตรเล่า และอาชีพเกษตรกรรมนั้นมันวิเศษนักหนานักหรือ แค่ที่เป็นอยู่ยังรับมือม็อบเรียกร้องให้ประกันพืชผลไม่พออีกหรือ
การจัดที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรก็เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องจัดหาที่ทำกินให้แก่ราษฎร และต้องมุ่งหวังผลที่ทำให้ราษฎรมีความอยู่ดีกินดี มีความมั่งคั่งด้วย
การไปจัดที่ดินในที่แห้งแล้งหรือมีแต่ลูกรัง แบ่งให้ราษฎรคนละ 10 ไร่ 15 ไร่ ไม่ใช่การช่วยเหลือราษฎร แต่นั่นเป็นการฝังราษฎรทั้งเป็นและฝังไว้จนชั่วลูกหลานเหลนโหลนให้ลำบากยากจนอนาถาไม่มีที่สิ้นสุด
รัฐสามารถจัดที่ดินทำกินให้ราษฎรโดยการเป็นสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินได้ โดยทำให้มีรายได้ประจำที่แน่นอน ทำให้มีรายได้มากกว่ารายจ่ายอยู่เสมอ และมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคง
ทำได้อย่างนี้คนยากคนจนในชนบทโดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรที่ไร้ที่ทำกินก็จะพ้นจากความลำบากยากจน และผู้คนที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินแบบผิดกฎหมายเพราะไม่ได้ทำเกษตรกรรมก็ดี หรือไม่มีฐานะเป็นคนอนาถาก็ดี ก็จะได้มีกรรมสิทธิ์ที่ดินและทำประโยชน์ได้ตามความเหมาะสมแก่สภาพ ทั้งจะเป็นฐานะอันเป็นเรียลเอสเตทดังกระแสพระราชดำรินั้น
เหล่านี้คือเรื่องที่นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปที่ดินครั้งใหม่ควรจะได้พิจารณาโดยแยบคาย ก็จักเป็นอาณาประโยชน์แก่ชาติและประชาชนถ้วนหน้ากัน.