ASTVผู้จัดการรายวัน -บริษัทเหล้าเตรียมล็อบบี้ "อภิสิทธิ์" ยื่นหนังสือค้านห้ามขายเหล้า- เบียร์ช่วงสงกรานต์ อ้างกระทบเศรษฐกิจ ขณะที่สมาคมภัตตาคารไทยขอนายกฯ เว้นร้านอาหาร โรงแรม แฉมีอีแอบหนุนร้านค้าระดมพลเคลื่อนไหวกดดัน ทั้งๆที่ปากบอกไม่เดือดร้อน ด้านสธ.เตรียมสรุปคุมห้ามขาย 3 วัน 12-14 เม.ย. นี้ ให้นายกฯ ตัดสินสัปดาห์หน้า เครือข่ายองค์กรงดเหล้าหนุนนายกฯขึ้นภาษีน้ำเมา-บุหรี่
แหล่งข่าวจากกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจแอลกอฮอล์ กล่าวว่า กลุ่มผู้ผลิตและนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้มีการหารือนอกรอบเกี่ยวกับการที่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะออกมาตรการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยในเร็วๆ นี้กลุ่มผู้ประกอบการทำหนังสือชี้แจงไปยังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ว่าไม่เห็นด้วยกับมาตรการห้ามจำหน่าย เพราะเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด แม้ว่าจะมีการห้ามจำหน่ายแต่ก็ยังสามารถดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อยู่ดีโดยการซื้อเตรียมไว้ล่วงหน้า และที่สำคัญ สธ. ระบุว่าต้องการห้ามจำหน่ายเพื่อลดอุบัติเหตุ ซึ่งอุบัติเหตุส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นตามหัวเมือง และเกิดกับกลุ่มเด็กวัยรุ่น ซึ่งปกติไม่สามารถซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อยู่แล้ว
“การแก้ปัญหาที่ถูกต้องควรจะรณรงค์ให้ความรู้ สร้างจิตสำนึกเรื่องดื่มไม่ขับ จะดีกว่ามาตรการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพราะหากออกมาตรการควบคุมจริง จะเกิดผลกระทบต่อหลายธุรกิจ ทั้งการท่องเที่ยว ร้านค้า ผับ บาร์ รวมถึงกลุ่มสื่อด้วย เพราะไม่สามารถลงโฆษณาได้ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ เป็นเทศกาลสังสรรค์ รื่นเริง ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาใช้จ่ายเงินกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น” แหล่งข่าวกล่าว
ด้านนางปวรวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทยและตัวแทนผู้ประกอบการร้านอาหาร กล่าวว่า ในวันที่ 12 มีนาคมนี้ ผู้ประกอบการร้านอาหารและโรงแรมจะเดินทางไปยื่นข้อเสนอให้กับนายกรัฐมนตรี และในวันที่ 23 มีนาคม สมาคมฯ จะเชิญ สธ. มาอธิบายและให้นโยบายกับผู้ประกอบการเพื่อให้ปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง โดยสมาคมฯ เห็นด้วยที่จะต้องมีการควบคุมแต่ควรมีทางออกให้สำหรับผู้ประกอบการที่มีใบอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพราะในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้ควรมีทางออกให้สำหรับธุรกิจ โดยข้อเสนอครั้งนี้ เป็นการคุยกันด้วยเหตุผล ไม่ใช่การระดมคนเพื่อกดดันรัฐบาลแต่อย่างใด
“ไม่เห็นด้วยกับบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ในประเทศบางรายที่อยู่เบื้องหลังการระดมคนเพื่อเคลื่อนไหวกดดัน ทั้งที่ในการประชุมซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเชิญทุกฝ่ายมาให้ความเห็น บริษัทดังกล่าวบอกว่าไม่เดือดร้อน แต่กลับอยู่เบื้องหลัง ซึ่งอาจทำให้เกิดความแตกแยกได้ โดยบริษัทดังกล่าวมีการให้เงินส่งเสริมการขายกับร้านค้า 1% ทำให้ร้านบางส่วนออกมาเคลื่อนไหวโดยมีบริษัทดังกล่าวอยู่เบื้องหลัง และอยากถามหาจริยธรรมของผู้ผลิตด้วย เพราะหลังกฎหมายประกาศใช้ก็ยังมีการละเมิดจัดการขายในสถานที่ราชการ วัด และใช้นักกฎหมายตีความเข้าข้างตัวเองอยู่ ”นางปวรวรรณ กล่าว
ขณะที่ นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า ในวันที่ 10 มีนาคมนี้ จะมีการหารือร่วมกับนายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับมาตรการการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อสรุปเป็นความเห็นของ สธ. ว่าจะเสนอห้ามจำหน่ายในวันใดบ้าง โดยเบื้องต้น จะมีการเสนอห้ามจำหน่าย 3 วัน คือ ตั้งแต่วันที่ 12-14 เมษายน เป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด เพราะเป็นวันที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุด
“หากสธ. กำหนดห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่านี้ ก็จะกระทบถึงธุรกิจการท่องเที่ยวและกลายเป็นปัญหาเชิงเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้ สธ. จะเร่งสรุปมติเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้ เพื่อนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งคาดว่าจะมีการประชุมในสัปดาห์หน้า เพื่อให้ออกมาตรการบังคับใช้ทันเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้ เพราะหากไม่ทัน ก็จะถูกโจมตีได้ว่ารัฐบาลไม่ทำอะไรเลย” นายมานิต กล่าว
***หนุนนายกฯขึ้นภาษีน้ำเมา-บุหรี่
วานนี้ (9 มี.ค.) สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย (สสท.) เครือข่ายองค์กรงดเหล้า คณะทำงานแก้ปัญหาการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้มายื่นหนังสือสนับสนุนแนวคิดของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ให้มีการขึ้นภาษีสุราและบุหรี่ ผ่าน น.พ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง โดย นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสภาส่งเสริมสุขภาพไทย สนับสนุนให้กระทรวงการคลังปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ทั้งระบบ โดยเสนอให้รัฐบาลเก็บภาษีบุหรี่เต็มเพดานคือ ร้อยละ 80 ของราคาขายปลีก เพื่อเก็บภาษีอย่างเต็มที่และจะทำให้ประชาชนสูบบุหรี่ลดลง
เครือข่ายองค์กรงดเหล้า นำโดยนายสงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า สนับสนุนรัฐบาลให้ขึ้นภาษีสินค้าบาป เพราะจะเป็นการจำกัดการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสร้างความเป็นธรรมให้สังคม เพราะผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีสูงถึง 200,000 ล้านบาทต่อปี ดังนั้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ต้องเสียภาษีคืนกลับสู่สังคมมากเป็นเงาตามตัว
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล ประธานคณะทำงานแก้ปัญหาการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา ยื่นจดหมายเปิดผนึกเสนอให้กรมสรรพสามิตยุติการออกใบอนุญาตจำหน่ายสุราในบริเวณหอพักเอกชนรอบสถานศึกษา ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยวิธีเร่ขายตามรถเข็น และแผงลอยขายเหล้าปั่นตามหน้ามหาวิทยาลัย และขอให้กระทรวงการคลัง กำหนดเขต 500 เมตร จากสถานศึกษาเป็นสถานที่ควบคุมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเคร่งครัด.
*****
แหล่งข่าวจากกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจแอลกอฮอล์ กล่าวว่า กลุ่มผู้ผลิตและนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้มีการหารือนอกรอบเกี่ยวกับการที่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะออกมาตรการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยในเร็วๆ นี้กลุ่มผู้ประกอบการทำหนังสือชี้แจงไปยังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ว่าไม่เห็นด้วยกับมาตรการห้ามจำหน่าย เพราะเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด แม้ว่าจะมีการห้ามจำหน่ายแต่ก็ยังสามารถดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อยู่ดีโดยการซื้อเตรียมไว้ล่วงหน้า และที่สำคัญ สธ. ระบุว่าต้องการห้ามจำหน่ายเพื่อลดอุบัติเหตุ ซึ่งอุบัติเหตุส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นตามหัวเมือง และเกิดกับกลุ่มเด็กวัยรุ่น ซึ่งปกติไม่สามารถซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อยู่แล้ว
“การแก้ปัญหาที่ถูกต้องควรจะรณรงค์ให้ความรู้ สร้างจิตสำนึกเรื่องดื่มไม่ขับ จะดีกว่ามาตรการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพราะหากออกมาตรการควบคุมจริง จะเกิดผลกระทบต่อหลายธุรกิจ ทั้งการท่องเที่ยว ร้านค้า ผับ บาร์ รวมถึงกลุ่มสื่อด้วย เพราะไม่สามารถลงโฆษณาได้ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ เป็นเทศกาลสังสรรค์ รื่นเริง ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาใช้จ่ายเงินกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น” แหล่งข่าวกล่าว
ด้านนางปวรวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทยและตัวแทนผู้ประกอบการร้านอาหาร กล่าวว่า ในวันที่ 12 มีนาคมนี้ ผู้ประกอบการร้านอาหารและโรงแรมจะเดินทางไปยื่นข้อเสนอให้กับนายกรัฐมนตรี และในวันที่ 23 มีนาคม สมาคมฯ จะเชิญ สธ. มาอธิบายและให้นโยบายกับผู้ประกอบการเพื่อให้ปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง โดยสมาคมฯ เห็นด้วยที่จะต้องมีการควบคุมแต่ควรมีทางออกให้สำหรับผู้ประกอบการที่มีใบอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพราะในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้ควรมีทางออกให้สำหรับธุรกิจ โดยข้อเสนอครั้งนี้ เป็นการคุยกันด้วยเหตุผล ไม่ใช่การระดมคนเพื่อกดดันรัฐบาลแต่อย่างใด
“ไม่เห็นด้วยกับบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ในประเทศบางรายที่อยู่เบื้องหลังการระดมคนเพื่อเคลื่อนไหวกดดัน ทั้งที่ในการประชุมซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเชิญทุกฝ่ายมาให้ความเห็น บริษัทดังกล่าวบอกว่าไม่เดือดร้อน แต่กลับอยู่เบื้องหลัง ซึ่งอาจทำให้เกิดความแตกแยกได้ โดยบริษัทดังกล่าวมีการให้เงินส่งเสริมการขายกับร้านค้า 1% ทำให้ร้านบางส่วนออกมาเคลื่อนไหวโดยมีบริษัทดังกล่าวอยู่เบื้องหลัง และอยากถามหาจริยธรรมของผู้ผลิตด้วย เพราะหลังกฎหมายประกาศใช้ก็ยังมีการละเมิดจัดการขายในสถานที่ราชการ วัด และใช้นักกฎหมายตีความเข้าข้างตัวเองอยู่ ”นางปวรวรรณ กล่าว
ขณะที่ นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า ในวันที่ 10 มีนาคมนี้ จะมีการหารือร่วมกับนายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับมาตรการการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อสรุปเป็นความเห็นของ สธ. ว่าจะเสนอห้ามจำหน่ายในวันใดบ้าง โดยเบื้องต้น จะมีการเสนอห้ามจำหน่าย 3 วัน คือ ตั้งแต่วันที่ 12-14 เมษายน เป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด เพราะเป็นวันที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุด
“หากสธ. กำหนดห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่านี้ ก็จะกระทบถึงธุรกิจการท่องเที่ยวและกลายเป็นปัญหาเชิงเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้ สธ. จะเร่งสรุปมติเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้ เพื่อนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งคาดว่าจะมีการประชุมในสัปดาห์หน้า เพื่อให้ออกมาตรการบังคับใช้ทันเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้ เพราะหากไม่ทัน ก็จะถูกโจมตีได้ว่ารัฐบาลไม่ทำอะไรเลย” นายมานิต กล่าว
***หนุนนายกฯขึ้นภาษีน้ำเมา-บุหรี่
วานนี้ (9 มี.ค.) สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย (สสท.) เครือข่ายองค์กรงดเหล้า คณะทำงานแก้ปัญหาการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้มายื่นหนังสือสนับสนุนแนวคิดของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ให้มีการขึ้นภาษีสุราและบุหรี่ ผ่าน น.พ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง โดย นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสภาส่งเสริมสุขภาพไทย สนับสนุนให้กระทรวงการคลังปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ทั้งระบบ โดยเสนอให้รัฐบาลเก็บภาษีบุหรี่เต็มเพดานคือ ร้อยละ 80 ของราคาขายปลีก เพื่อเก็บภาษีอย่างเต็มที่และจะทำให้ประชาชนสูบบุหรี่ลดลง
เครือข่ายองค์กรงดเหล้า นำโดยนายสงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า สนับสนุนรัฐบาลให้ขึ้นภาษีสินค้าบาป เพราะจะเป็นการจำกัดการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสร้างความเป็นธรรมให้สังคม เพราะผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีสูงถึง 200,000 ล้านบาทต่อปี ดังนั้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ต้องเสียภาษีคืนกลับสู่สังคมมากเป็นเงาตามตัว
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล ประธานคณะทำงานแก้ปัญหาการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา ยื่นจดหมายเปิดผนึกเสนอให้กรมสรรพสามิตยุติการออกใบอนุญาตจำหน่ายสุราในบริเวณหอพักเอกชนรอบสถานศึกษา ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยวิธีเร่ขายตามรถเข็น และแผงลอยขายเหล้าปั่นตามหน้ามหาวิทยาลัย และขอให้กระทรวงการคลัง กำหนดเขต 500 เมตร จากสถานศึกษาเป็นสถานที่ควบคุมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเคร่งครัด.
*****