กระทรวงการท่องเที่ยวฯปลื้ม ยูเอ็นดับบลิวทีโอยกไทยเป็นกรณีตัวอย่างที่น่าศึกษา เรื่องมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการท่องเที่ยวในภาวะที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต เตรียมยกโขยงดูงานที่ไทยกลางปีนี้ ขณะที่ “ศศิธารา” ผงาดยึดเวทีงานไอทีบีแจงรายละเอียดทุกโครงการให้ 145 ชาติได้รับฟัง ด้านความคืบหน้าโครงการช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวฯ แบงก์พาณิชย์ตกลงให้เงื่อนไขดอกเบี้ยMLR-1
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า จากการที่ได้ ร่วมประชุมกับคณะกรรมการองค์กรธุรกิจท่องเที่ยวโลก ภูมิภาคเอเชีย (ยูเอ็นดับบลิวทีโอ) โดยได้เล่าถึงมาตรการที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประกอบการท่องเที่ยวเพื่อให้พ้นภาวะวิกฤต โดยเฉพาะโครงการ ช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการปิดท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง พบว่า คณะกรรมการในที่ประชุมแสดงความสนใจมาตรการของไทยเป็นอย่างมาก
ดังนั้นคณะกรรมการยูเอ็นดับบลิวทีโอจึงเห็นตรงกันว่าจะยกประเทศไทยเป็นกรณีตัวอย่างของการเยียวยาภาคเอกชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภาวะวิกฤตเพื่อให้ประเทศอื่นๆนำไปเป็นตัวอย่างปรับใช้ในประเทศของตัวเอง ซึ่งในงานส่งเสริมการขายด้านการท่องเที่ยว ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน หรือ ไอทีบี ในวันที่ 13 มี.ค.นี้ ตนจะนำรายละเอียดของโครงการนี้ ไปอธิบายให้สมาชิกยูเอ็นดับบลิวทีโอ รวม 145 ชาติ รับฟังด้วย และภายในเดือน มิ.ย.-ก.ย.นี้ ไทยได้รับเป็นเจ้าภาพในการต้อนรับสมาชิกของยูเอ็นดับบลิวทีโอซึ่งจะเดินทางเข้ามาเยี่ยมชมการทำงานของโครงการ พร้อมกับการติดตามความสำเร็จของมาตรการช่วยเหลือภาคเอกชนที่รัฐบาลไทยได้ช่วยเหลือแก่กลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ด้านความคืบหน้าของโครงการช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวฯ ล่าสุด ธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการทุกแห่งแจ้งว่า ตกลงที่จะปล่อยสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม ในอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี หรือเอ็มแอลอาร์ -1 ต่อปี โดยเรียกเก็บจากผู้ประกอบการ ในอัตราเอ็มแอลอาร์ -3 ต่อปี ที่เหลืออีก 2% ให้ธนาคารพาณิชย์ไปเบิกกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(ธพว.) ในอัตรา 2% ต่อปี รวม 2 ปี
พร้อมกันนี้ที่ประชุมยังกำหนดให้วันที่ 17 มี.ค. นี้ เป็นวันจัดแถลงข่าวความร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ในโครงการนี้อย่างเป็นทางการ พร้อมเปิด ให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าร่วมโครงการขอสินเชื่อ มารับเอกสารสำหรับยื่นขอสินเชื่อในโครงการ ส่วนระหว่างนี้จะให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ไปติดต่อ คณะทำงานในสายธุรกิจของตนใน 4 คณะทำงาน ได้แก่ แอตต้า สมาคมโรงแรมไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.)และสมาคมภัตตาคารไทย เพื่อเตรียมหลักฐานประกอบการกู้ยืมให้พร้อมก่อน
“ภายใน 31 มี.ค.ต้องยื่นเอกสารให้ครบ โดยกระทรวงจะผ่อนผันให้ถึง30เม.ย.ในกรณีผู้ยื่นยังนำเอกสารมาไม่ครบแต่ได้ยื่นความต้องการไว้ก่อนวันที่ 31 มี.ค.แล้ว เท่านั้น ทั้งนี้ธนาคารพาณิชย์จะเป็นผู้กำหนดว่าระยะเวลาผ่อนชำระของผู้ประกอบการจะเป็นกี่ปีแต่ไม่เกิน 10 ปี โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้เพียง 2 ปีแรกเท่านั้น รวมวงเงินปล่อยกู้ทั้งสิ้น 5,000 ล้านบาท ส่วนกรณีผู้ประกอบการที่มีขนาดลงทุนเกิน 200 ล้านบาทต้องการจะเข้าร่วมโครงการด้วยนั้น เบื้องต้นต้องขอให้โครงการเฟสแรกนี้ผ่านพ้นไปก่อนแล้วค่อยกลับมาพิจารณากันอีกครั้งว่ารัฐบาลจะยินดีให้การสนับสนุนอีกหรือไม่” ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯกล่าว
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า จากการที่ได้ ร่วมประชุมกับคณะกรรมการองค์กรธุรกิจท่องเที่ยวโลก ภูมิภาคเอเชีย (ยูเอ็นดับบลิวทีโอ) โดยได้เล่าถึงมาตรการที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประกอบการท่องเที่ยวเพื่อให้พ้นภาวะวิกฤต โดยเฉพาะโครงการ ช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการปิดท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง พบว่า คณะกรรมการในที่ประชุมแสดงความสนใจมาตรการของไทยเป็นอย่างมาก
ดังนั้นคณะกรรมการยูเอ็นดับบลิวทีโอจึงเห็นตรงกันว่าจะยกประเทศไทยเป็นกรณีตัวอย่างของการเยียวยาภาคเอกชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภาวะวิกฤตเพื่อให้ประเทศอื่นๆนำไปเป็นตัวอย่างปรับใช้ในประเทศของตัวเอง ซึ่งในงานส่งเสริมการขายด้านการท่องเที่ยว ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน หรือ ไอทีบี ในวันที่ 13 มี.ค.นี้ ตนจะนำรายละเอียดของโครงการนี้ ไปอธิบายให้สมาชิกยูเอ็นดับบลิวทีโอ รวม 145 ชาติ รับฟังด้วย และภายในเดือน มิ.ย.-ก.ย.นี้ ไทยได้รับเป็นเจ้าภาพในการต้อนรับสมาชิกของยูเอ็นดับบลิวทีโอซึ่งจะเดินทางเข้ามาเยี่ยมชมการทำงานของโครงการ พร้อมกับการติดตามความสำเร็จของมาตรการช่วยเหลือภาคเอกชนที่รัฐบาลไทยได้ช่วยเหลือแก่กลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ด้านความคืบหน้าของโครงการช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวฯ ล่าสุด ธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการทุกแห่งแจ้งว่า ตกลงที่จะปล่อยสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม ในอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี หรือเอ็มแอลอาร์ -1 ต่อปี โดยเรียกเก็บจากผู้ประกอบการ ในอัตราเอ็มแอลอาร์ -3 ต่อปี ที่เหลืออีก 2% ให้ธนาคารพาณิชย์ไปเบิกกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(ธพว.) ในอัตรา 2% ต่อปี รวม 2 ปี
พร้อมกันนี้ที่ประชุมยังกำหนดให้วันที่ 17 มี.ค. นี้ เป็นวันจัดแถลงข่าวความร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ในโครงการนี้อย่างเป็นทางการ พร้อมเปิด ให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าร่วมโครงการขอสินเชื่อ มารับเอกสารสำหรับยื่นขอสินเชื่อในโครงการ ส่วนระหว่างนี้จะให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ไปติดต่อ คณะทำงานในสายธุรกิจของตนใน 4 คณะทำงาน ได้แก่ แอตต้า สมาคมโรงแรมไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.)และสมาคมภัตตาคารไทย เพื่อเตรียมหลักฐานประกอบการกู้ยืมให้พร้อมก่อน
“ภายใน 31 มี.ค.ต้องยื่นเอกสารให้ครบ โดยกระทรวงจะผ่อนผันให้ถึง30เม.ย.ในกรณีผู้ยื่นยังนำเอกสารมาไม่ครบแต่ได้ยื่นความต้องการไว้ก่อนวันที่ 31 มี.ค.แล้ว เท่านั้น ทั้งนี้ธนาคารพาณิชย์จะเป็นผู้กำหนดว่าระยะเวลาผ่อนชำระของผู้ประกอบการจะเป็นกี่ปีแต่ไม่เกิน 10 ปี โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้เพียง 2 ปีแรกเท่านั้น รวมวงเงินปล่อยกู้ทั้งสิ้น 5,000 ล้านบาท ส่วนกรณีผู้ประกอบการที่มีขนาดลงทุนเกิน 200 ล้านบาทต้องการจะเข้าร่วมโครงการด้วยนั้น เบื้องต้นต้องขอให้โครงการเฟสแรกนี้ผ่านพ้นไปก่อนแล้วค่อยกลับมาพิจารณากันอีกครั้งว่ารัฐบาลจะยินดีให้การสนับสนุนอีกหรือไม่” ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯกล่าว