xs
xsm
sm
md
lg

จับผิดวิชามารตำรวจปูดซีโฟร์ให้ร้ายน้องโบว์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

น้องโบว์ หลังถูกระเบิดแก๊สน้ำตา สภาพคว่ำหน้าหันหลังให้ บช.น.สะพายกระเป๋าที่ยังสภาพดี
จากกรณีที่สื่อบางฉบับและสำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยผลการตรวจพิสูจน์การเสียชีวิตของ น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ หรือ น้องโบว์ ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายกลุ่มผู้ชุมนุม เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 โดยระบุว่า พบสารซีโฟร์ ท่ามกลางความเคลือบแคลงสงสัยของหลายฝ่ายของเจตนาของตำรวจดังกล่าว"ASTVผู้จัดการรายวัน"ขอประมวสข้อเท็จจริงทั้งหมดที่เกิดขึ้นเพื่อสะท้อนการทำงานของตำรวจ ดังนี้

1.โดยนัยของข่าวจาก สนว.ตร.(สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ หรือเดิม คือกองพิสูจน์หลักฐาน) คือ (1) จงใจให้คนอ่านข่าวคนดูข่าวเข้าใจว่าน้องโบว์อาจเสียชีวิตจากระเบิดซีโฟร์ ไม่ใช่แก๊สน้ำตา โดยการบอกว่า พบแต่สารซีโฟร์ ไม่พบสารอาร์ดีเอ็กซ์ ซึ่งอยุ่ในแก๊สน้ำตา และ (2) จงใจให้คนอ่านข่าวคนดูข่าวเข้าใจว่าผลการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์เพิ่งเสร็จสิ้น (ฉะนั้น ป.ป.ช. ที่กำลังจะชี้มูลกรณี 7 ต.ค. 2551 จะต้องพิจารณา ถ้า ป.ป.ช. ชี้มูลว่า ตร.ผิด แสดงว่าไม่รับฟังหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จากฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา) เป็นการซ้ำรอยวาทกรรมเดิม ของ พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง อดีตรองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)ที่ว่าน้องโบว์อาจพกระเบิดมาเอง

2. ทั้ง ๆที่เรื่องนี้เป็นผลการพิสูจน์หลักฐานเก่า เสร็จตั้งแต่วันที่ 10 ต.ค. 2551 โดย พ.ต.ท.สมภพ พุฒศรี นักวิทยาศาสตร์ (สบ 3 ) พิสูจน์จากหลักฐานเพียง 3 ชิ้น คือเสื้อชั้นนอก เสื้อชั้นใน และกางเกงยีนส์ ของน้องโบว์ ไม่ได้รวมกับผลการชันสูตรศพ และหลักฐานแวดล้อมอื่น ๆ

3.ที่มาของข่าวในวันแรกที่ปรากฎในหน้าหนังสือพิมพ์ (ข่าวสด,มติชน,) คืออังคารที่ 25 ก.พ. 2552 ไม่ชัดเจนว่าใครเป็นคนแถลง เป็นการเขียนในลักษณะ "รายงานข่าว" แสดงว่าเป็นการจงใจปล่อยข่าวของตำรวจ - ร่วมกับนักข่าวสายตำรวจที่มีอคติต่อพันธมิตร-ต่อมาในวันเดียวกัน จึงเป็นการให้สัมภาษณ์ของ พล.ต.ท.ดนัยธร วงศ์ไทย ผบช.สนว.ตร. โดยได้คายความจริงออกมาว่า ที่เพิ่งแถลง เพราะ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.เพิ่งมอบหมายให้ชี้แจง เพื่อป้องกันความสับสน

4.เหมือนกับพูดว่า "เจอแต่น้ำเชื่อม-ไม่เจอน้ำตาล" หรือ "เจอแต่แกนนำพันธมิตร ไม่เจอนายสนธิ ลิ้มทองกุล"

5.การพิสูจน์หลักฐานของ สนว.ตร.พิสูจน์แค่เสื้อผ้า 3 ชิ้น ต้องนำมารวมกับผลการชันสูตรพลิกศพ และหลักฐานแวดล้อมอื่น ๆ อีกมากเฉพาะการชันสูตรพลิกศพโดย พล.อ.ต.นพ.วิชาญ เบี้ยวนิ่ม หัวหน้าหน่วยนิติเวช ภาควิชาพยาธิวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี (หนึ่งในคณะอนุกรรมาธิการของวุฒิสภา) ระบุไว้ในรายงานของอนุกรรมาธิการว่า "ในกรณีของน.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒินั้น ได้ถูกส่งตัวมาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยได้ส่งเข้าไปที่ห้องฉุกเฉิก และมีการใส่ท่อช่วยหายใจสำหรับช่วยชีวิตเมื่อเข้าห้องฉุกเฉิก แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเสียชีวิตตั้งแต่ก่อนมาถึงโรงพยาบาลแล้ว - โดยในช่วงที่เข้าไปในห้องชันสูตรศพ เจ้าหน้าที่ชันสูตรศพจะมีความรู้สึกแสบตามากต้องทำการล้างศพหลายครั้ง จึงทำการชันสูตรศพได้ และในขณะที่ชันสูตรศพ มีแก๊สน้ำตาลอยคละคลุ้งอยู่เป็นจำนวนมาก กระจายไปในระยะประมาณ 1-2 เมตร" เรื่องที่ว่าไม่โดนแก๊สน้ำตานั้นจึงเป็นอันตกไปแน่นอน แต่สาเหตุที่เสียชีวิต ไม่ใช่เพราะดมแก๊สน้ำตา แต่เสียชีวิตเพราะแรงระเบิด ซึ่งก็คือ เสียชีวิตเพราะระเบิดแก๊สน้ำตา

6.ผลการสอบสวนของอนุกรรมาธิการ ส.ว. ที่มี ศ.นพ.วิรัติ พาณิชพงษ์ เป็นประธาน พล.อ.ต.นพ.วิชาญ เบี้ยวนิ่ม (แพทย์ผู้ผ่าศพชันสูตร) และส.ว.กลุ่ม 40 อาทิ นายคำนูณ สิทธิสมาน นายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นอนุกรรมาธิการ และมีผุ้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์ และอาวุธอย่าง พล.ต.ท.อัมพร จารุจินดา เป็นที่ปรึกษา ไม่ได้ละเลยประเด็นน้องโบว์ถูกกล่าวหาว่าพกระเบิดมาเอง แต่ได้พบกระเป๋าสะพายติดตัวน้องโบว์ด้วย อยู่ในสภาพดี มีทั้งภาพถ่ายและหลักฐานกระเป๋าใบจริงยืนยัน จึงสรุปในรายงานว่าเป็นไปไม่ได้ที่น้องโบว์จะพกระเบิดมาเอง "หากมีการพกระเบิดไว้ในกระเป๋าสะพาน ไม่ว่าจะเป็นระเบิดลูกเกลี้ยง หรือระเบิดปิงปอง เมื่อเกิดระเบิดขึ้นกระเป๋าจะไม่คงอยู่ในสภาพดี รวมทั้งจะพบเศษโลหะติดอยุ่ตามร่างกาย แต่สภาพในขณะที่นำส่งมายังโรงพยาบาล กระเป๋ายังอยุ่ในสภาพดี"(ดูภาพประกอบ)

7.อนุกรรมาธิการ ส.ว. ที่ก่อตั้งขึ้นมา เพราะต้องการทำกรณีน้องโบว์ให้ประจักษ์ชัด (เพราะเธอเป็นสัญลักษณ์ เป็นวีรสตรี ที่แม้แต่แม่ของแผ่นดินก็ยังทรงยกย่อง ) สรุปหลักฐานสภาพแวดล้อมในตอนท้ายของรายงานว่า "จากการบอกเล่าและภาพข่าวที่ปรากฎออกมา คือภาพที่มีผุ้พบน้องโบว์ภายหลังจากการยิงลูกระเบิดแก๊สน้ำตาแล้วนั้น พบว่า น้องโบว์อยุ่ในลักษณะหมอบคุกเข่าลงอยุ่บนถนน และจากการมาประมวลภาพจำลองเหตุการณ์นั้น น้องโบว์อยู่ในท่าดังกล่าวโดยหันเท้าไปทาง บช.น. และหันศีรษะไปทางสวนอัมพร ประกอบกับบาดแผลที่อยู่บริเวณระหว่างหน้าอกกับซอกแขน ซึ่งเป็นการระเบิดใกล้ตัวแต่ไม่ชิดลำตัวนั้น สันนิษฐานได้ว่าทิศทางการยิงลูกระเบิดแก๊สน้ำตา พุ่งออกมาจาก บช.น.แล้วตกกระทบที่พื้นข้างตัวของน้องโบว์ หลังจากนั้นจึงแฉลบไปที่บริเวณรักแร้ จึงทำให้เกิดบาดแผลดังกล่าว"

8.ข้อสังเกตของคณะอนุกรรมาธิการอีกประการที่น่าสนใจมาก ก็คือระเบิดแก๊สน้ำตาจากจีนที่มี Booster หนัก 7 กรัมนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าหมดอายุใช้งาน (5 ปี) ไปหลายปี ทำไมตำรวจจงใจจะเบิกมาใช้ ความจริงก็คือ ที่ว่า "หมดอายุ" นั้นคือหมดอายุในส่วนของสารแก๊สน้ำตา ที่อาจจะให้ผลลดน้อยลง แต่ในส่วนของตัวระเบิดที่มีลักษณะ เป็นซีโฟร์ขนาดย่อม ๆ ไม่หมดอายุง่าย ๆ มีอายุอานุภาพระเบิดอยู่ ได้เกิน 100 ปี - ถ้าจงใจเบิกระเบิดแก๊สน้ำตา ที่ตัวสารแก๊สน้อตาหมดอายุหรือเสื่อมสภาพ แต่ตัวซีโฟร์ขนาดย่อม ๆ ยังมีอานุภาพร้ายแรง อาจจะเท่ากับมีเจตนาฆ่า - ปัญหาคือรู้หรือไม่รู้โง่หรือจงใจแกล้งโง่

                               ความจริง

1.ข่าวที่ออกมาว่าไม่พบ อาร์ดีเอ็กซ์ (ซึ่งอยู่ในแก๊สน้ำตา) นั้น - จงใจโกหก เพราะในรายงานของ พ.ต.ท.สมภพ พุฒิศรี ฉบับวันที่ 10 ต.ค. 2551 ของจริง ระบุว่า "...ตรวจพบสารเคมีที่เป็นวัตถุระเบิด ซีโฟร์ ติดอยู่ที่ของกลางรายการที่ 1 และ 2 (เสื้อยืดสีเหลืองและเสื้อชั้นในสีครีม)ตรวจพบสารเคมีชนิด อาร์ดีเอ็กซ์ ซึ่งเป็นสารประกอบของวัตถุระเบิด ติดอยู่ที่ของกลางรายการที่ 3 (กางเกงยีนส์ขายาวสีน้ำเงิน)..."

2.ต้องเข้าใจว่า "แก๊สน้ำตา" แท้จริงแล้วต้องเรียกว่า "ระเบิดแก๊สน้ำตา" โดยเฉพาะระเบิดแก๊สน้ำตาเป็น Bursting Type จุดระเบิดแบบชนวนถ่วงเวลา ชนิด High Explosive เพื่อทำหน้าที่จุดระเบิดดินขยายการระเบิด (Booster) จำนวน 7 กรัม มีส่วนประกอบของสารอาร์ดีเอ็กซ์ ผสมอยู่ด้วย สารอาร์ดีเอ็กซ์ นี้เป็นสารที่ผสมอยู่ในระเบิดแทบทุกชนิด รวมทั้ง ซีโฟร์ ที่มีส่วนผสมของสารอาร์ดีเอ็กซ์ อยู่ถึงกว่า 90 % เพราะฉะนั้นการพูดหรือการเขียนรายงานว่า "...พบสารเคมีที่เป็นวัตถุระเบิด ซีโฟร์ " และ "พบสารเคมีชนิด อาร์ดีเอ็กซ์ ซึ่งเป็นสารประกอบของวัตถุระเบิด..." จึงเข้าข่าย Half truth propaganda คือพูดความจริงครึ่งเดียว เพื่อให้คนที่ไม่มีความรู้พื้นฐานในเรื่องวิชาการเฉพาะเช่นนี้คิดต่อเอาเองโดยเข้าใจผิด ในกรณีนี้คือคิดว่าเป็น "ระเบิด" ไม่ใช่ "แก๊สน้ำตา" ทั้ง ๆ ที่มันคือสิ่งที่ต้องเรียกให้ถูกต้องว่า "ระเบิดแก๊สน้ำตา" ที่มีส่วนผสมของ อาร์ดีเอ็กซ์

3.ทั้งรายงานของตำรวจ และคำแถลงของตำรวจ จงใจจะแยก "ระเบิด" ออกมาจาก "(ระเบิด)แก๊สน้ำตา" จงใจแจะแยก "ซีโฟร์" ออกมาจากสาร "อาร์ดีเอ็กซ์" ทั้ง ๆ ที่อาร์ดีเอ็กซ์ เป็นสารที่อยู่ใน Booster 7 กรัมของระเบิดแก๊สน้ำตา และเป็นส่วนประกอบกว่า 90 % ของ ซีโฟร์ ข่าวทั้ง ๆ ที่การตรวจสอบเสร็จตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2551 ก็เพราะ ผบ.ตร.สั่งให้แถลง

4. ระยะเวลาที่แถลงข่าวนี้ "บังเอิญอย่างร้ายกาจ" ที่ใกล้เคียงกับเวลาที่ ป.ป.ช.จะชี้มูลความผิดกรณีนักการเมืองและตำรวจถูกกล่าวหาว่าจงใจฆ่าประชาชนในเหตุการณ์ 7 ต.ค. 2551 และมีแนวโน้มสูงมากว่า ป.ป.ช. จะชี้ว่าตำรวจมีความผิด

5.พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. ได้พูดทางโทรศัพท์กับบางคน เมื่อเช้าวันที่ 26 ก.พ. 2552 ในเชิงออกตัวว่า ไม่ได้จงใจจะให้ข่าวเพื่อเบี่ยงเบนผลการตัดสินจาก ป.ป.ช. ที่ใกล้จะออกมา - แต่เป็นเพราะตนเพิ่งรู้จริง ๆว่ามีผลการตรวจสอบอยู่ใน สนว.ตร. เมื่อรู้จึงบอกให้แถลง เพราะเป็นเรื่องที่ประชาชนควรรู้ และบอกว่าทีแรกตั้งใจจะต้องคณะกรรมการสอบสวนโดยเชิญแพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ เข้ามาร่วมด้วย แต่พอรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ตั้งกรรมการอิสระขึ้นสอบสวน ทางตนก็เลยไม่ได้ตั้ง ยุติเรื่องตั้งแต่นั้น - ในการพูดโทรศัพท์ครั้งนี้ ผบ.ตร.ระบายว่า เชื่ออยู่ลึกๆ ว่า ป.ป.ช. อาจจะชี้มูลว่าตำรวจทำผิด และสถานการณ์ขณะนี้ตำรวจส่วนใหญ่รู้สึกน้อยใจสังคม กรณีที่ตกเป็นจำเลยสังคม จึงปฏิบัติหน้าที่ไปวัน ๆ แบบแกน ๆ และอาจจะมีการเคลื่อนไหวต่อต้านคัดค้าน โดยมีตำรวจชั้นผู้ใหญ่ในอดีตเป็นแกน อาทิ พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค , พล.ต.อ.สุพาสน์ .... (ที่เพิ่งถูกดึงเข้ามา) ตนเองพยายามห้ามพยายามปรามไว้ แต่ไม่รู้ว่าจะได้แค่ไหน

6.มีข่าวลือว่ามีความพยายามจะขอร้องทาง ป.ป.ช.ให้ชะลอการชี้มูลความผิดในคดี 7 ต.ค. 2551 นี้ออกไป ข่าวลือที่ว่านี้อ้างว่าหนึ่งในผู้พยายามคือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

อนุภาพซีโฟร์

จากเจ้าหน้าที่กลุ่มงานเก็บกู้วัตถุระเบิด บก.ตปพ.เปิดเผยถึงอานุภาพของแรงระเบิดซีโฟร์ขนาด 1 ปอนหรือครึ่งกิโลกรัม ว่าสามารถทำลายชีวิตคนในรัศมี 1-2 เมตร ถ้าระยะห่าง 8 เมตร สามารถทำลายปอดหรือแก้วหู ห่างออกไป 16 เมตรทำให้กระจกอาคารแตกได้ และถ้าห่าง 40 เมตรทำให้อาคารเสียหายได้
ในส่วนของระเบิดซีโฟ กับ ทีเอ็นที นั้นมีอานุภาพทำลายล้างใกล้คียงกัน แต่ซีโฟร์ จะมีอานุภาพมากกว่า




กำลังโหลดความคิดเห็น