รอยเตอร์ - ยังคงมีการยิงต่อสู้กันเป็นวันที่สองเมื่อวานนี้(26) ที่ค่ายกองกำลังทหารพรานของบังกลาเทศ (Bangladesh Rifles - BDR) ในเมืองหลวงธากา ซึ่งได้ก่อการกบฎแข็งข้อที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปราว 50 คนเมื่อวันพุธ (25) สืบเนื่องจากขัดแย้งกันในเรื่องค่าจ้างและโครงสร้างการบังคับบัญชา ขณะเดียวกัน กำลังทหารก็ได้เคลื่อนกำลังมาดูแลสถานการณ์ตามถนนสายต่างๆ ในเมืองเล็กเมืองน้อยทั่วประเทศ ภายหลังมีรายงานว่าการแข็งข้อได้ลุกลามออกไป
อย่างไรก็ดี ตำรวจรายงานว่าการยิงต่อสู้กันใหม่ๆ ในกรุงธากาได้ยุติลง ภายหลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง เชก ฮาซินา ได้ออกมาแถลงถ่ายทอดทางวิทยุโทรทัศน์ไปทั่วประเทศ เรียกร้องให้เลิกใช้ความรุนแรง
"วางอาวุธของพวกคุณทันทีและกลับเข้าค่ายเข้ากรมกองของพวกคุณ อย่าบังคับให้ดิฉันต้องใช้ปฏิบัติการที่เฉียบขาด หรือทำให้ความอดทนของดิฉันต้องพ้นเลยขีดจำกัด" ฮาซินากล่าวเตือนพวกทหารพราน
"ให้โอกาสแก่ประชาธิปไตยและเศรษฐกิจที่จะพัฒนาก้าวหน้าไปเถิด"
ความปั่นป่วนวุ่นวายคราวนี้ เป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงอุปสรรคความลำบากต่างๆ ที่ฮาซินาต้องเผชิญ โดยที่เธอเพิ่งขึ้นรับตำแหน่งในเดือนที่แล้วหลังจากชนะการเลือกตั้งรัฐสภาเมื่อเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นการนำพาบังกลาเทศกลับคืนสู่ระบอบประชาธิไตย ภายหลังช่วงเวลาเกือบ 2 ปีแห่งการปกครองในภาวะฉุกเฉินที่ได้รับการหนุนหลังจากฝ่ายทหาร
การกบฎแข็งข้อคราวนี้เริ่มต้นในวันพุธ ณ กองบัญชาการในกรุงธากาของกองกำลังทหารพรานบีดีอาร์ ซึ่งมีหน้าที่หลักในการดูแลรักษาการณ์ตามบริเวณชายแดนของประเทศ และได้เกิดการยิงต่อสู้กันในกองบัญชาการ ตลอดจนบริเวณใกล้เคียง ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตเท่าที่ทราบแล้วในเวลานี้ คือ 50 คน
เหตุการณ์ยิงกันที่มีทหารพรานบีดีอาร์เข้าเกี่ยวข้องด้วย ยังปะทุขึ้นตามเมืองน้อยต่างๆ อีกสิบกว่าแห่งเมื่อวานนี้ ทั้งนี้ตามรายงานของตำรวจในท้องถิ่น
การยิงสู้กันที่เริ่มขึ้นในวันพุธนั้นปะทุขึ้นมาก หลังจากที่ทหารพรานซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว เข้าไปรายงานตัวต่อทางการเพื่อตกลงในเรื่องค่าจ้างและผลตอบแทนอื่นๆ รวมทั้งโครงสร้างการบังคับบัญชา โดยทหารพรานเหล่านี้เรียกร้องให้มีการแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาจากทหารพรานด้วยกันเอง แทนที่จะเป็นทหารประจำการของกองทัพดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
แต่เมื่อตกลงกันไม่ได้จึงเกิดการยิงต่อสู้กันขึ้น รัฐบาลต้องส่งกำลังทหารเข้าไปยังกองบัญชาการทหารพรานบีดีอาร์ ซาฮารา คาตุน รัฐมนตรีมหาดไทยได้เจรจากับผู้นำกลุ่มทหารพรานที่ก่อเหตุเพื่อระงับสถานการณ์ ขณะที่นายกรัฐมนตรีเชก ฮาซินาก็ได้พบกับผู้นำบางส่วนของบีดีอาร์ และยื่นข้อเสนอนิรโทษกรรมให้กับผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทั้งหมดเพื่อแลกกับการยุติความรุนแรง หลังจากนั้น ฮาซินาได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีฉุกเฉินเพื่อประเมินสถานการณ์ล่าสุดในเช้าวันพฤหัสบดี
พวกนักวิเคราะห์ระบุว่าการสู้รบครั้งนี้จะสร้างปัญหาหนักใจให้กับฮาซินา เพราะเธอจะต้องใช้กลยุทธที่เหมาะสมเพื่อควบคุมกำลังทหารสำคัญทั้งสองส่วนนี้ อีกทั้งความวุ่นวายที่เกิดขึ้นก็ยังทำลายความพยายามของฮาซินาในการสร้างเสถียรภาพภายในประเทศ เพื่อชักชวนนักลงทุนต่างประเทศให้เข้าไปลงทุนในบังกลาเทศ รวมทั้งการขอความช่วยเหลือต่างๆ ด้วย
อย่างไรก็ดี ตำรวจรายงานว่าการยิงต่อสู้กันใหม่ๆ ในกรุงธากาได้ยุติลง ภายหลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง เชก ฮาซินา ได้ออกมาแถลงถ่ายทอดทางวิทยุโทรทัศน์ไปทั่วประเทศ เรียกร้องให้เลิกใช้ความรุนแรง
"วางอาวุธของพวกคุณทันทีและกลับเข้าค่ายเข้ากรมกองของพวกคุณ อย่าบังคับให้ดิฉันต้องใช้ปฏิบัติการที่เฉียบขาด หรือทำให้ความอดทนของดิฉันต้องพ้นเลยขีดจำกัด" ฮาซินากล่าวเตือนพวกทหารพราน
"ให้โอกาสแก่ประชาธิปไตยและเศรษฐกิจที่จะพัฒนาก้าวหน้าไปเถิด"
ความปั่นป่วนวุ่นวายคราวนี้ เป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงอุปสรรคความลำบากต่างๆ ที่ฮาซินาต้องเผชิญ โดยที่เธอเพิ่งขึ้นรับตำแหน่งในเดือนที่แล้วหลังจากชนะการเลือกตั้งรัฐสภาเมื่อเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นการนำพาบังกลาเทศกลับคืนสู่ระบอบประชาธิไตย ภายหลังช่วงเวลาเกือบ 2 ปีแห่งการปกครองในภาวะฉุกเฉินที่ได้รับการหนุนหลังจากฝ่ายทหาร
การกบฎแข็งข้อคราวนี้เริ่มต้นในวันพุธ ณ กองบัญชาการในกรุงธากาของกองกำลังทหารพรานบีดีอาร์ ซึ่งมีหน้าที่หลักในการดูแลรักษาการณ์ตามบริเวณชายแดนของประเทศ และได้เกิดการยิงต่อสู้กันในกองบัญชาการ ตลอดจนบริเวณใกล้เคียง ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตเท่าที่ทราบแล้วในเวลานี้ คือ 50 คน
เหตุการณ์ยิงกันที่มีทหารพรานบีดีอาร์เข้าเกี่ยวข้องด้วย ยังปะทุขึ้นตามเมืองน้อยต่างๆ อีกสิบกว่าแห่งเมื่อวานนี้ ทั้งนี้ตามรายงานของตำรวจในท้องถิ่น
การยิงสู้กันที่เริ่มขึ้นในวันพุธนั้นปะทุขึ้นมาก หลังจากที่ทหารพรานซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว เข้าไปรายงานตัวต่อทางการเพื่อตกลงในเรื่องค่าจ้างและผลตอบแทนอื่นๆ รวมทั้งโครงสร้างการบังคับบัญชา โดยทหารพรานเหล่านี้เรียกร้องให้มีการแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาจากทหารพรานด้วยกันเอง แทนที่จะเป็นทหารประจำการของกองทัพดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
แต่เมื่อตกลงกันไม่ได้จึงเกิดการยิงต่อสู้กันขึ้น รัฐบาลต้องส่งกำลังทหารเข้าไปยังกองบัญชาการทหารพรานบีดีอาร์ ซาฮารา คาตุน รัฐมนตรีมหาดไทยได้เจรจากับผู้นำกลุ่มทหารพรานที่ก่อเหตุเพื่อระงับสถานการณ์ ขณะที่นายกรัฐมนตรีเชก ฮาซินาก็ได้พบกับผู้นำบางส่วนของบีดีอาร์ และยื่นข้อเสนอนิรโทษกรรมให้กับผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทั้งหมดเพื่อแลกกับการยุติความรุนแรง หลังจากนั้น ฮาซินาได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีฉุกเฉินเพื่อประเมินสถานการณ์ล่าสุดในเช้าวันพฤหัสบดี
พวกนักวิเคราะห์ระบุว่าการสู้รบครั้งนี้จะสร้างปัญหาหนักใจให้กับฮาซินา เพราะเธอจะต้องใช้กลยุทธที่เหมาะสมเพื่อควบคุมกำลังทหารสำคัญทั้งสองส่วนนี้ อีกทั้งความวุ่นวายที่เกิดขึ้นก็ยังทำลายความพยายามของฮาซินาในการสร้างเสถียรภาพภายในประเทศ เพื่อชักชวนนักลงทุนต่างประเทศให้เข้าไปลงทุนในบังกลาเทศ รวมทั้งการขอความช่วยเหลือต่างๆ ด้วย