ชานกุยฮังเคยคิดเรื่องฆ่าตัวตายตอนที่รู้ว่า เงินบำนาญที่นำไปลงทุนหายวับไปพร้อมกับการล้มละลายของเลห์แมน บราเธอร์ส
“ฉันกลุ้มมาก กินไม่ได้นอนไม่หลับ เราสูญเงินไปหมด” ชานที่เกษียณจากงานและมารับจ้างเป็นแม่บ้าน ขณะที่สามีทำงานพนักงานประจำลิฟต์ เพื่อหาเงินยังชีพ เล่า
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าปกติแล้วสถิติการฆ่าตัวตายจะพุ่งขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจมีปัญหา สถานการณ์ของเอเชียขณะนี้จึงน่าเป็นห่วงมากเพราะเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุดในโลกอยู่แล้ว
รัฐบาลเอเชียตระหนักในเรื่องนี้ และเร่งจัดตั้งสายด่วนและศูนย์ให้คำปรึกษาเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรงที่สุด
ระยะนี้คนเอเชียตกงานและปลดเกษียณกันเป็นล้าน นักลงทุนรายย่อยสูญเงินที่ออมมาทั้งชีวิตไปกับตลาดหุ้นที่ดิ่งไม่คิดชีวิตและการล่มสลายของกองทุนการลงทุนหลายแห่ง
นับจากคลื่นวิกฤตการเงินโถมใส่เอเชียสุดแรงเกิดเมื่อปลายปีที่แล้ว พอล ยิป ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตและการป้องกันการฆ่าตัวตายในฮ่องกง บอกว่ามีลูกค้าเข้ามาขอคำปรึกษาอุ่นหนาฝาคั่ง
“งานสำคัญกับคนเอเชียมาก เนื่องจากเราไม่มีระบบสวัสดิการสังคมที่ดีเลิศ นอกจากนั้นการตกงานยังทำให้บางคน ‘เสียหน้า’ ดังนั้น คนเอเชียจึงทุกข์มากกับปัญหาเศรษฐกิจ”
แต่ขณะเดียวกัน ชาวเอเชียก็ ‘หน้าบาง’ ไม่กล้าไปขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ
“ในตะวันตก การบำบัดเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่นี่ถ้าไปพบจิตแพทย์ คนคงคิดว่าคุณบ้า คนเอเชียยังไม่ชอบเปิดเผยความรู้สึก ทำให้อาการซึมเศร้าถูกเก็บกดไว้อย่างมิดชิด” ยิปสำทับ
ในบรรดาประเทศพัฒนาแล้ว เกาหลีใต้และญี่ปุ่นมีสถิติการฆ่าตัวตายสูงสุดในโลกคือ 24.8% และ 24% ตามลำดับ ตามด้วยเบลเยียม 21.3%, ฟินแลนด์ 20.35% และสหรัฐฯ 11.1%
อัตราการฆ่าตัวตายแดนกิมจิพุ่งขึ้นเกือบสองเท่าระหว่างวิกฤตการเงินเอเชียเมื่อสิบปีที่แล้ว โดยผู้เชี่ยวชาญโทษว่าเป็นเพราะความเครียดจากการตกงานและขาดรายได้
ดังนั้น ขณะที่เกาหลีใต้แหย่เท้าเข้าสู่ภาวะถดถอยครั้งแรกในรอบทศวรรษ กระทรวงสาธารณสุขจึงคลอดโครงการป้องกันการฆ่าตัวตายออกมาเมื่อเร็วๆ นี้ เนื่องจากกังวลกับจำนวนผู้ที่พยายามปลิดชีพตัวเองเนื่องจากปัญหาการเงินที่เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในปีที่แล้ว เมื่อเทียบกับปี 2007
เจ้าหน้าที่เผยว่าโครงการดังกล่าว ซึ่งเรียกร้องให้เพิ่มจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขอนามัยและศูนย์ให้คำปรึกษานั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายลง 20% ภายในปี 2013
ขณะเดียวกัน โซลเมโทร ผู้ดำเนินการรถไฟใต้ดินสี่สายในโซล สั่งให้สร้างประตูอัตโนมัติบนชานชาลาเพื่อป้องกันคนกระโดดให้รถไฟชน
ที่ญี่ปุ่น ศูนย์อุตสาหกรรมในเออิชิ ที่ตั้งโรงงานของโตโยต้าและผู้ผลิตอื่นๆ อีกมากมาย เป็นตัวอย่างชัดเจนของวิกฤตการเงินที่ส่งผลต่อชีวิตของผู้คน
เจ้าหน้าที่ในเออิชิเผยว่า จำนวนผู้ที่ขอรับคำปรึกษาด้านสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นเกือบ 15% ในเดือนธันวาคม เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2007
ทั้งนี้ ระหว่างภาวะถดถอยครั้งร้ายแรงเมื่อปลายทศวรรษ 1990 ที่ระบบรับประกันการจ้างงานตลอดชีพล่ม อัตราการฆ่าตัวตายแดนซากุระพุ่งทะยานขึ้นอย่างชัดเจน
สำหรับทั่วโลก องค์การอนามัยโลก (ฮู) เผยว่าสถิติการฆ่าตัวตายพุ่งขึ้น 60% ในช่วง 45 ปีที่ผ่านมา โดยในแต่ละปีมีผู้ปลิดชีวิตตัวเองประมาณหนึ่งล้านคน
เดือนตุลาคม ฮ่องกงเปิดบริการสายด่วนสำหรับผู้ประสบวิกฤตการเงิน และเปิดคลินิกโรคซึมเศร้าในโรงพยาบาลรัฐบางแห่งตั้งแต่เดือนนี้
แพทย์ในฮ่องกงรายงานว่า พบคนไข้ที่มีอาการที่บ่งบอกถึงปัญหาทางจิต เช่น ท้องเสีย หูอื้อ ปวดศรีษะ หายใจลำบาก นอนไม่หลับ และเจ็บหน้าอก เพิ่มขึ้น นักจิตวิทยาบางรายยังบอกว่า สามี-ภรรยามีปัญหากันหนักขึ้น โดยต้นเหตุที่แท้จริงคือความไม่มั่นคงในอาชีพ
“คนที่มีครอบครัวคอยให้กำลังใจ มีงานอดิเรกและยังมีงานทำอาจรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจได้ดีกว่า ขณะที่คนที่ซึมเศร้าส่วนใหญ่มักอยู่ในช่วงวัยกลางคนที่ไม่สามารถหาเงินได้มากเหมือนเดิม ปัญหาของคนเหล่านี้คือนอนไม่หลับ รู้สึกไม่มั่นคงและไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร” ผู้เชี่ยวชาญทิ้งท้าย
“ฉันกลุ้มมาก กินไม่ได้นอนไม่หลับ เราสูญเงินไปหมด” ชานที่เกษียณจากงานและมารับจ้างเป็นแม่บ้าน ขณะที่สามีทำงานพนักงานประจำลิฟต์ เพื่อหาเงินยังชีพ เล่า
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าปกติแล้วสถิติการฆ่าตัวตายจะพุ่งขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจมีปัญหา สถานการณ์ของเอเชียขณะนี้จึงน่าเป็นห่วงมากเพราะเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุดในโลกอยู่แล้ว
รัฐบาลเอเชียตระหนักในเรื่องนี้ และเร่งจัดตั้งสายด่วนและศูนย์ให้คำปรึกษาเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรงที่สุด
ระยะนี้คนเอเชียตกงานและปลดเกษียณกันเป็นล้าน นักลงทุนรายย่อยสูญเงินที่ออมมาทั้งชีวิตไปกับตลาดหุ้นที่ดิ่งไม่คิดชีวิตและการล่มสลายของกองทุนการลงทุนหลายแห่ง
นับจากคลื่นวิกฤตการเงินโถมใส่เอเชียสุดแรงเกิดเมื่อปลายปีที่แล้ว พอล ยิป ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตและการป้องกันการฆ่าตัวตายในฮ่องกง บอกว่ามีลูกค้าเข้ามาขอคำปรึกษาอุ่นหนาฝาคั่ง
“งานสำคัญกับคนเอเชียมาก เนื่องจากเราไม่มีระบบสวัสดิการสังคมที่ดีเลิศ นอกจากนั้นการตกงานยังทำให้บางคน ‘เสียหน้า’ ดังนั้น คนเอเชียจึงทุกข์มากกับปัญหาเศรษฐกิจ”
แต่ขณะเดียวกัน ชาวเอเชียก็ ‘หน้าบาง’ ไม่กล้าไปขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ
“ในตะวันตก การบำบัดเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่นี่ถ้าไปพบจิตแพทย์ คนคงคิดว่าคุณบ้า คนเอเชียยังไม่ชอบเปิดเผยความรู้สึก ทำให้อาการซึมเศร้าถูกเก็บกดไว้อย่างมิดชิด” ยิปสำทับ
ในบรรดาประเทศพัฒนาแล้ว เกาหลีใต้และญี่ปุ่นมีสถิติการฆ่าตัวตายสูงสุดในโลกคือ 24.8% และ 24% ตามลำดับ ตามด้วยเบลเยียม 21.3%, ฟินแลนด์ 20.35% และสหรัฐฯ 11.1%
อัตราการฆ่าตัวตายแดนกิมจิพุ่งขึ้นเกือบสองเท่าระหว่างวิกฤตการเงินเอเชียเมื่อสิบปีที่แล้ว โดยผู้เชี่ยวชาญโทษว่าเป็นเพราะความเครียดจากการตกงานและขาดรายได้
ดังนั้น ขณะที่เกาหลีใต้แหย่เท้าเข้าสู่ภาวะถดถอยครั้งแรกในรอบทศวรรษ กระทรวงสาธารณสุขจึงคลอดโครงการป้องกันการฆ่าตัวตายออกมาเมื่อเร็วๆ นี้ เนื่องจากกังวลกับจำนวนผู้ที่พยายามปลิดชีพตัวเองเนื่องจากปัญหาการเงินที่เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในปีที่แล้ว เมื่อเทียบกับปี 2007
เจ้าหน้าที่เผยว่าโครงการดังกล่าว ซึ่งเรียกร้องให้เพิ่มจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขอนามัยและศูนย์ให้คำปรึกษานั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายลง 20% ภายในปี 2013
ขณะเดียวกัน โซลเมโทร ผู้ดำเนินการรถไฟใต้ดินสี่สายในโซล สั่งให้สร้างประตูอัตโนมัติบนชานชาลาเพื่อป้องกันคนกระโดดให้รถไฟชน
ที่ญี่ปุ่น ศูนย์อุตสาหกรรมในเออิชิ ที่ตั้งโรงงานของโตโยต้าและผู้ผลิตอื่นๆ อีกมากมาย เป็นตัวอย่างชัดเจนของวิกฤตการเงินที่ส่งผลต่อชีวิตของผู้คน
เจ้าหน้าที่ในเออิชิเผยว่า จำนวนผู้ที่ขอรับคำปรึกษาด้านสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นเกือบ 15% ในเดือนธันวาคม เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2007
ทั้งนี้ ระหว่างภาวะถดถอยครั้งร้ายแรงเมื่อปลายทศวรรษ 1990 ที่ระบบรับประกันการจ้างงานตลอดชีพล่ม อัตราการฆ่าตัวตายแดนซากุระพุ่งทะยานขึ้นอย่างชัดเจน
สำหรับทั่วโลก องค์การอนามัยโลก (ฮู) เผยว่าสถิติการฆ่าตัวตายพุ่งขึ้น 60% ในช่วง 45 ปีที่ผ่านมา โดยในแต่ละปีมีผู้ปลิดชีวิตตัวเองประมาณหนึ่งล้านคน
เดือนตุลาคม ฮ่องกงเปิดบริการสายด่วนสำหรับผู้ประสบวิกฤตการเงิน และเปิดคลินิกโรคซึมเศร้าในโรงพยาบาลรัฐบางแห่งตั้งแต่เดือนนี้
แพทย์ในฮ่องกงรายงานว่า พบคนไข้ที่มีอาการที่บ่งบอกถึงปัญหาทางจิต เช่น ท้องเสีย หูอื้อ ปวดศรีษะ หายใจลำบาก นอนไม่หลับ และเจ็บหน้าอก เพิ่มขึ้น นักจิตวิทยาบางรายยังบอกว่า สามี-ภรรยามีปัญหากันหนักขึ้น โดยต้นเหตุที่แท้จริงคือความไม่มั่นคงในอาชีพ
“คนที่มีครอบครัวคอยให้กำลังใจ มีงานอดิเรกและยังมีงานทำอาจรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจได้ดีกว่า ขณะที่คนที่ซึมเศร้าส่วนใหญ่มักอยู่ในช่วงวัยกลางคนที่ไม่สามารถหาเงินได้มากเหมือนเดิม ปัญหาของคนเหล่านี้คือนอนไม่หลับ รู้สึกไม่มั่นคงและไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร” ผู้เชี่ยวชาญทิ้งท้าย