ASTVผู้จัดการรายวัน - เคทีซีรอดตัวปี 51 กำไร 520 ล้าน ใกล้เคียงกับปีก่อน จากฐานสมาชิกรวมกว่า 2.19 ล้านบัญชีเพิ่มขึ้น 13% แม้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจะชะลอตัวลง ขณะที่ต้นทุนการระดมเงินสูงขึ้น เผยกลยุทธเน้นเติบโตอย่างมีคุณภาพพร้อมเน้นออกผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจลูกค้า พร้อมจับมือเครือข่ายพันธมิตรเพิ่มเติม เผยทิศทางธุรกิจปี 2552 สานต่อนโยบายเข้มในการบริหารลูกหนี้เติบโตอย่างมีคุณภาพ
นายนิวัตต์ จิตตาลาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)หรือ เคทีซี เปิดเผยว่า ในปี 2551 ที่ผ่านมาเคทีซียังคงสามารถสร้างรายได้รวมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรักษามูลค่ากำไรสุทธิใกล้เคียงปีที่ผ่านมา แม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจรอบปีจะชะลอตัว ทำให้ผู้บริโภคเพิ่มความระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น แต่จากการปรับแผนกลยุทธ์ให้สอดรับกับสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานทั้งระบบ มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้รวมลดลงจากปีที่ผ่านมา ทำให้เคทีซีมีกำไรสุทธิ 520.398 ล้านบาท กำไรต่อหุ้นเท่ากับ 2.02 บาท จากในปี 50 ที่มีกำไร 520.975 ล้านบาท โดยมีฐานสมาชิกรวม 2.19 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้น 13% จากสิ้นปี 2550 ที่มีจำนวน 1.94 ล้านบัญชี เป็นสมาชิกใหม่จากบัตรเครดิตและสินเชื่อพร้อมใช้ เคทีซี แคช รีโวล์ฟ (KTC CASH Revolve) สำหรับจำนวนบัตรเครดิตรวม ณ สิ้นปี 2551 เท่ากับ 1,645,878 บัตร และเคทีซี แคช เท่ากับ 542,599 บัญชี และสินเชื่อเจ้าของกิจการ เคทีซี มิลเลี่ยน เท่ากับ 1,794 บัญชี
ทั้งนี้ 4 ปัจจัยหลักที่สร้างความสำเร็จให้แก่บริษัทได้แก่ 1) การจัดการด้านฐานข้อมูลสมาชิก เป็นเครื่องมือในการศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่ายของสมาชิกเคทีซี ทำให้สามารถกำหนดแผนกลยุทธ์ในการนำเสนอสินค้าและบริการได้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม 2) แนวทางการบริหารที่ให้ความสำคัญกับการเติบโตของสินทรัพย์อย่างมีคุณภาพ และการบริหารงานอย่างมีวิสัยทัศน์ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนงานบริการและการเงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในการร่วมใช้สาขาของธนาคารเป็นช่องทางในการนำเสนอบริการที่หลากหลายให้กับลูกค้า ที่ช่วยให้ลูกค้าติดต่อกับบริษัทได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น 3) กลยุทธ์การตลาดที่สร้างสรรค์พร้อมเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจใหม่ๆ เพื่อนำเสนอโปรแกรมการตลาดที่ตอบแทนผู้ใช้บัตรเคทีซีอย่างคุ้มค่าและตรงกับความต้องการ
และ4) ความสามารถในการจัดการความเสี่ยง โดยบริษัทมีการวิเคราะห์กระแสเงินสดและวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินโดยรวมในทุกช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลง มีทีมติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดเงิน ทำให้สามารถบริหารเงินทุนระยะสั้นและระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งวิเคราะห์ความเสี่ยงรวมของลูกค้า โดยใช้ระบบ Credit Scoring ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถบริหารความเสี่ยงและรักษาคุณภาพของลูกหนี้ได้ในระดับที่น่าพอใจ
"ในปี 2551 บริษัทมีรายได้รวม 12,029 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับปี 2550 เป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยรวมรายได้ค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงิน และรายได้ค่าธรรมเนียมที่มีสัดส่วนคิดเป็น 70% และ 25% ของรายได้รวม สำหรับค่าใช้จ่ายรวมปี 2551 (รวมดอกเบี้ยจ่าย) เท่ากับ 11,033 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยสัดส่วนของค่าใช้จ่ายการดำเนินงานต่อรายได้ (Cost to Income Ratio) ในปี 2551 เท่ากับ 49% ต่ำกว่าปีก่อนที่ 50%"
ส่วนของต้นทุนเงินทุนของบริษัทเท่ากับ 4.57% ลดลงจาก 4.87% ณ สิ้นปี 2550 โดยต้นทุนเงินทุนเริ่มปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากช่วงครึ่งปีที่ 4.49% เนื่องจากการเพิ่มขึ้นตามภาวะอัตราดอกเบี้ยตลาดที่อิงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2551ขณะเดียวกันบริษัทคงระดับอัตรารายได้ดอกเบี้ยรับเฉลี่ยใกล้เคียงกับสิ้นปีที่ผ่านมาที่ 18.3% ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Net Interest Margin) สำหรับปี 2551 เพิ่มขึ้นเป็น 13.7% จาก 13.4% เมื่อสิ้นปี 2550
สำหรับปี 2552 บริษัทจะใช้แนวทางการบริหารในลักษณะแผนประยุกต์ (Adaptive Plan) ที่มีความยืดหยุ่นสูง เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของภาวะอุตสาหกรรมและปัจจัยกระทบจากภายนอก ประกอบกับการติดตามวิเคราะห์สถานการณ์บ้านเมืองและเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด อีกทั้งมุ่งใช้กลยุทธ์การตลาดแบบเฉพาะรายและมุ่งขยายฐานสู่กลุ่มลูกค้าระดับบนที่มีอำนาจซื้อสูง และมีแนวโน้มการใช้จ่ายคล่องตัวกว่าในภาวะที่เศรษฐกิจเติบโตลดลง รวมถึงให้ความสำคัญกับการดูแลคุณภาพหนี้อย่างรัดกุม และเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ควบคู่ไปกับการสร้างมูลค่าเพิ่มที่เป็นประโยชน์กลับสู่กลุ่มลูกค้านั้นๆ มากที่สุด โดยอาศัยความได้เปรียบจากเครือข่ายพันธมิตรหลากหลายธุรกิจในการสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อการเป็นแบรนด์ยอดนิยมอันดับหนึ่งในใจของผู้บริโภค
นายนิวัตต์ จิตตาลาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)หรือ เคทีซี เปิดเผยว่า ในปี 2551 ที่ผ่านมาเคทีซียังคงสามารถสร้างรายได้รวมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรักษามูลค่ากำไรสุทธิใกล้เคียงปีที่ผ่านมา แม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจรอบปีจะชะลอตัว ทำให้ผู้บริโภคเพิ่มความระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น แต่จากการปรับแผนกลยุทธ์ให้สอดรับกับสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานทั้งระบบ มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้รวมลดลงจากปีที่ผ่านมา ทำให้เคทีซีมีกำไรสุทธิ 520.398 ล้านบาท กำไรต่อหุ้นเท่ากับ 2.02 บาท จากในปี 50 ที่มีกำไร 520.975 ล้านบาท โดยมีฐานสมาชิกรวม 2.19 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้น 13% จากสิ้นปี 2550 ที่มีจำนวน 1.94 ล้านบัญชี เป็นสมาชิกใหม่จากบัตรเครดิตและสินเชื่อพร้อมใช้ เคทีซี แคช รีโวล์ฟ (KTC CASH Revolve) สำหรับจำนวนบัตรเครดิตรวม ณ สิ้นปี 2551 เท่ากับ 1,645,878 บัตร และเคทีซี แคช เท่ากับ 542,599 บัญชี และสินเชื่อเจ้าของกิจการ เคทีซี มิลเลี่ยน เท่ากับ 1,794 บัญชี
ทั้งนี้ 4 ปัจจัยหลักที่สร้างความสำเร็จให้แก่บริษัทได้แก่ 1) การจัดการด้านฐานข้อมูลสมาชิก เป็นเครื่องมือในการศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่ายของสมาชิกเคทีซี ทำให้สามารถกำหนดแผนกลยุทธ์ในการนำเสนอสินค้าและบริการได้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม 2) แนวทางการบริหารที่ให้ความสำคัญกับการเติบโตของสินทรัพย์อย่างมีคุณภาพ และการบริหารงานอย่างมีวิสัยทัศน์ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนงานบริการและการเงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในการร่วมใช้สาขาของธนาคารเป็นช่องทางในการนำเสนอบริการที่หลากหลายให้กับลูกค้า ที่ช่วยให้ลูกค้าติดต่อกับบริษัทได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น 3) กลยุทธ์การตลาดที่สร้างสรรค์พร้อมเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจใหม่ๆ เพื่อนำเสนอโปรแกรมการตลาดที่ตอบแทนผู้ใช้บัตรเคทีซีอย่างคุ้มค่าและตรงกับความต้องการ
และ4) ความสามารถในการจัดการความเสี่ยง โดยบริษัทมีการวิเคราะห์กระแสเงินสดและวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินโดยรวมในทุกช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลง มีทีมติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดเงิน ทำให้สามารถบริหารเงินทุนระยะสั้นและระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งวิเคราะห์ความเสี่ยงรวมของลูกค้า โดยใช้ระบบ Credit Scoring ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถบริหารความเสี่ยงและรักษาคุณภาพของลูกหนี้ได้ในระดับที่น่าพอใจ
"ในปี 2551 บริษัทมีรายได้รวม 12,029 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับปี 2550 เป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยรวมรายได้ค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงิน และรายได้ค่าธรรมเนียมที่มีสัดส่วนคิดเป็น 70% และ 25% ของรายได้รวม สำหรับค่าใช้จ่ายรวมปี 2551 (รวมดอกเบี้ยจ่าย) เท่ากับ 11,033 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยสัดส่วนของค่าใช้จ่ายการดำเนินงานต่อรายได้ (Cost to Income Ratio) ในปี 2551 เท่ากับ 49% ต่ำกว่าปีก่อนที่ 50%"
ส่วนของต้นทุนเงินทุนของบริษัทเท่ากับ 4.57% ลดลงจาก 4.87% ณ สิ้นปี 2550 โดยต้นทุนเงินทุนเริ่มปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากช่วงครึ่งปีที่ 4.49% เนื่องจากการเพิ่มขึ้นตามภาวะอัตราดอกเบี้ยตลาดที่อิงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2551ขณะเดียวกันบริษัทคงระดับอัตรารายได้ดอกเบี้ยรับเฉลี่ยใกล้เคียงกับสิ้นปีที่ผ่านมาที่ 18.3% ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Net Interest Margin) สำหรับปี 2551 เพิ่มขึ้นเป็น 13.7% จาก 13.4% เมื่อสิ้นปี 2550
สำหรับปี 2552 บริษัทจะใช้แนวทางการบริหารในลักษณะแผนประยุกต์ (Adaptive Plan) ที่มีความยืดหยุ่นสูง เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของภาวะอุตสาหกรรมและปัจจัยกระทบจากภายนอก ประกอบกับการติดตามวิเคราะห์สถานการณ์บ้านเมืองและเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด อีกทั้งมุ่งใช้กลยุทธ์การตลาดแบบเฉพาะรายและมุ่งขยายฐานสู่กลุ่มลูกค้าระดับบนที่มีอำนาจซื้อสูง และมีแนวโน้มการใช้จ่ายคล่องตัวกว่าในภาวะที่เศรษฐกิจเติบโตลดลง รวมถึงให้ความสำคัญกับการดูแลคุณภาพหนี้อย่างรัดกุม และเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ควบคู่ไปกับการสร้างมูลค่าเพิ่มที่เป็นประโยชน์กลับสู่กลุ่มลูกค้านั้นๆ มากที่สุด โดยอาศัยความได้เปรียบจากเครือข่ายพันธมิตรหลากหลายธุรกิจในการสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อการเป็นแบรนด์ยอดนิยมอันดับหนึ่งในใจของผู้บริโภค