ASTVผู้จัดการรายวัน- หมดยุคเฟื่องฟูคนวงการเพลง โปงลางสะออน ตะลอนคอนเสิร์ตเอาตัวรอด คนเบื้องหลังล้มหายตายเรียบ ไม่เจ๋งจริงอยู่ยาก ด้านค่ายเพลงหั่นต้นทุนผลิตซีดีลงกว่า 2-3 แสนบาทต่อชุด ปรับพฤติกรรมปั้นนักร้องให้เป็นหนูทดลอง ประเดิมก่อน 2-3 เพลง ไม่ดังก็ดับ ขณะที่ “อาร์เอส” ถอดใจตลาดซีดี หันซบ “ดาวน์โหลด” เป็นอัศวินกู้วิกฤตแทน
ปัญหาเทปผีซีดีเถื่อนที่ระบาดอย่างหนักสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดสินค้าลิขสิทธิ์ไปกว่า 90% จากมูลค่ารวมทั้งตลาดกว่าแสนล้านบาท ผู้บริโภคหาซื้อได้ง่าย พอๆ กับการซื้อผักผลไม้ตามตลาดสดทั่วไป ในขณะที่การกวดขันจับกุมของเจ้าหน้าที่รัฐแต่ละครั้งก็ได้แค่ระดับปลาซิวปลาสร้อย สาวไม่ถึงต้นตอ ดังที่ “ASTV ผู้จัดการรายวัน” นำเสนอในตอนแรกไปแล้วนั้น …ตอนจบนี้เป็นเรื่องราวของผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาเทปผีซีดีเถื่อน
***โปงลางสะอื้นยอดหด 3-4 เท่า
นายสมพงษ์ คุนาประถม (อี๊ด) หัวหน้าวง “โปงลางสะออน” กล่าวว่า ตอนโปงลางสะออนชุดแรกออกมา คนยังไม่รู้จักโปงลางสะออน ไม่มีใครคิดว่าจะดัง ปรากฏว่า ยอดขายรวมกันกว่า 1 ล้านแผ่น เพราะว่ายังไม่มีชื่อเสียงจึงไม่ถูกก็อปปี้ แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมา ชุดหลังๆ โปงลางสะออนเริ่มมีชื่อเสียงแล้ว ปรากฎว่า โดนก๊อปปี้ยอดหดหายไปประมาณ 3-4 เท่า คนที่ซื้อส่วนใหญ่จะเป็นแฟนพันธุ์แท้เท่านั้น
“แรก ๆ ที่โดน ไปเห็นแผ่นก็อปปี้ตามแผงในตลาด เห็นแล้วก็อยากจะร้องไห้ ตกใจว่ามีอย่างนี้ได้อย่างไร จากนั้นผ่านมาทุกยุคทุกสมัยใครเข้ามามีอำนาจก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เราไม่รู้ว่าคนพวกนี้เป็นใคร ช่วงหลังๆ เราก็ทำได้แค่รณรงค์ให้คนซื้อของลิขสิทธิ์” เขา กล่าว
นายสมพงษ์ กล่าวต่อว่า ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์กระทบกับคนในวงการหนังวงการเพลงโดยตรง เพราะโดนแผ่นผีเข้ามาแย่งตลาดเยอะเกินไป ค่ายเพลงก็ไม่อยากลงทุน ศิลปินนักร้อง นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ นักดนตรี รายได้หดหายส่งต่อกันเป็นลูกโซ่
“เราลงทุนต่างกัน คนพวกนี้ไม่ได้ลงทุนอะไร ผมคิดแล้วก็สงสารคนลงทุน เมื่อเขาลงทุนแล้วไม่มีรายได้ เขาก็ไม่รู้จะลงทุนไปทำไม เมื่อเขาไม่ลงทุนคนที่อยู่ในวงการก็โดนกันหมด แล้วที่น่าสงสารมากก็คือนักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ และทีมงานที่รอเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย”
สำหรับวงโปงลางสะออนทางออกเฉพาะหน้าตอนนี้ นายสมพงษ์ บอกว่า ต้องอาศัยออกแสดงงานคอนเสิร์ตทั่วประเทศ เพื่อทดแทนรายได้ที่หดหายไปจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งจะต้องออกงานอย่างต่อเนื่อง เพราะต้องเลี้ยงสมาชิกในวง ยังดีหน่อยที่มีงานเข้ามาตลอด
***คนเบื้องหลังโดนหนักสุด
เมื่อย้อนกลับไปในอดีต พบว่า สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เริ่มมีเรื่อยมาตั้งแต่หลังวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 แต่มาเข้าสู่ยุครุ่งเรืองเมื่อประมาณปี 2547-2548 พร้อมๆ กับเทคโนโลยีนำสมัยที่สามารถก็อปปี้กันได้อย่างง่ายดาย มีทั้งลักลอบกันทำเป็นธุรกิจและไรท์ใส่แผ่นแจกจ่ายกันในหมู่เพื่อนฝูง
นายวายุ แก้วชนะ นักแต่งเพลงฉายา “วายุเทพ” กล่าวว่า เคยทำงานเพลงให้กับค่ายแกรมมี่โดยแต่งเพลงให้กับนักร้องค่ายแกรมมี่ตั้งแต่ปี 2541 พอมาถึงปี 2548 ย้ายมาแต่งให้กับค่าย RS ผลงานที่น่าจะรู้จักกันดีคือเพลง “สวมเขา” ของวงโปงลางสะออน โดยในช่วงระยะเวลากว่า 10 ปีที่อยู่ในวงการเพลง หลังปี 2545 เป็นต้นมาอาจกล่าวว่าเป็นยุคมืดของวงการหนังวงการเพลงก็ว่าได้
“ถ้าเปรียบเทียบตัวเลขให้เห็นชัดๆ อัลบั้มที่ขายได้หลักหมื่นแผ่น อาจเทียบได้กับ 1 ล้านแผ่นในอดีต ยอดมันตกลงมาเรื่อยๆ ทุกปี จาก 1 ล้านแผ่น เป็น 3-4 แสนแผ่น ลงมาเหลือไม่กี่หมื่นแผ่น สมัยนี้ใครขายได้ถึงแสนก็นับว่าเก่งแล้ว”
เขา กล่าวว่า ช่วงที่เริ่มเป็นนักแต่งเพลงวางเป้าไว้เดือนละ 1 เพลงเป็นอย่างต่ำ รายได้ค่าลิขสิทธิ์ที่แน่นอนตกประมาณเพลงละ 1 หมื่นบาท แล้วสมมติว่าขายซีดีได้ 1 แผ่น ก็จะมีเปอร์เซ็นต์จากยอดขายอีก 20 สตางค์ต่อเพลง หรือนักแต่งเพลงบางคนจะรับค่าจ้างแบบแอดวานซ์ก็ได้ หมายความว่า กำหนดรายได้ตายตัว 2 หมื่นบาทต่อเดือน ไม่รับค่าลิขสิทธิ์
“ตอนนี้นักแต่งเพลงหายไปจากวงการเยอะ ไปประกอบอาชีพอื่นกันหมด บางคนก็เปิดท้ายขายของ บางคนก็ขายก๋วยเตี๋ยว แล้วแต่ถนัด คนรุ่นใหม่ๆ ที่อยากผลิตผลงานแทบไม่มีเลย เพราะไม่มีอะไรจูงใจ คนที่อยู่ได้ต้องเจ๋งจริงๆ ผมเองขณะนี้ไม่ได้แต่งเพลงเป็นงานหลักแล้ว แต่มาทำธุรกิจผลิตเสียงริงค์โทนโทรศัพท์มือถือ ให้โหลดผ่านอินเทอร์เน็ตแทน”
นายวายุ กล่าวต่อว่า นักแต่งเพลงหรือคนเบื้องหลังโดนผลกระทบโดยตรงและหนักที่สุด เพราะศิลปินอย่างน้อยก็ยังมีรายได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นงานโชว์ตัวหรือแสดงคอนเสิร์ต ช่วงแรกๆ ที่โดนเรื่องนี้ นักแต่งเพลงจึงรวมตัวกัน ทั้งยื่นหนังสือต่อเจ้าหน้าที่หรือลงพื้นที่สำรวจในภาคสนาม เพราะอยากทราบว่าปัญหาที่แท้จริงอยู่ตรงไหน
“อย่างเราไปตามต่างจังหวัด เราเห็นเลยว่าปัญหามันหนักมาก มันมีกลุ่มคนที่แสวงหาผลประโยชน์เยอะ มีผู้มีอิทธิพล คนคุ้มครอง ในท้องถิ่น หรือแม้แต่ดีเจตามต่างจังหวัดก็ยังอยู่ในกระบวนการเหล่านี้ด้วย เพราะช่วงโปรโมตเพลง ดีเจจะได้เพลง Single ก่อนใคร เขาก็จะนำไปขายให้กับนายทุน”
***ค่ายเพลงหั่นทุนแหลก
แหล่งข่าวที่คลุกคลีอยู่กับวงการเพลงรายหนึ่ง บอกเล่าต่อ “ASTV ผู้จัดการรายวัน” ว่า ปัจจุบันวิธีการผลิตผลงานเพลงหรือปั้นนักร้องขึ้นมาสักคนหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตค่อนข้างมาก เริ่มจากการปั้นนักร้องหน้าใหม่เข้าสู่วงการ สมัยนี้นักร้องใหม่ๆ มีสภาพไม่ต่างจากหนูทดลอง ค่ายเพลงจะให้ลองออกเพลงมาก่อน 2-3 เพลง มีเงื่อนไขว่าถ้าดังถึงจะให้ออกอัลบั้มเต็ม 10 เพลง
สำหรับวงเงินลงทุนออกอัลบั้มเพลง ในอดีตราคาต้นทุนมาตรฐานตกประมาณ 600,000 บาทต่อชุด (ชุดละ 10 เพลง) ไม่ว่าจะเป็น ค่าศิลปินนักร้อง ค่านักแต่งเพลง ค่าโปรดิวเซอร์ โคโปรดิวเซอร์ ค่านักดนตรี ค่าห้องอัด และรายการอื่นๆ แต่ในปัจจุบันวงเงินลงทุนถูกหั่นเหลือประมาณ 250,000-400,000 บาทต่อชุด เท่านั้น หรือแม้แต่ลักษณะการลงทุนก็เปลี่ยนแปลงไป
“ช่วงปี 2549 เป็นต้นมา จะเห็นนักร้องหน้าใหม่เข้าสู่วงการเยอะมาก แต่ไม่ใช่หมายความว่าค่ายเพลงลงทุนเพิ่มขึ้น เพียงแต่เขาจะออกเพลงให้ก่อน 2-3 เพลง ถ้าดังค่อยทำเพิ่ม สัญญากับนักร้องก็ทำกันชุดต่อชุด ไม่มีเซ็นสัญญาระยะยาวกับนักร้องคนใดคนหนึ่งเหมือนอย่างในอดีต” เขา กล่าว
***อาร์เอส เบนเข็มตลาดดาวน์โหลด
นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) เขียนความเห็นผ่านสื่อโดยระบุว่าประเทศไทยเองได้รับผลกระทบพอสมควร ทั้งที่ก่อนหน้านี้เรากำลังหนักใจกับปัญหาแผ่นผีซีดีเถื่อนเป็นทุนเดิมอยู่ก่อนแล้วพอเข้าสู่ยุคดิจิตอลก็ยิ่งซ้ำเติมให้กลายเป็นปัญหาที่หนักหน่วง เพราะขณะที่ต้องประสบกับยอดขายแผ่นซีดีที่ลดลงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ยอดขายก็ยังลดลงจากการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ผู้บริโภคหันไปฟังเพลงจากช่องทางใหม่ๆ แทนการซื้อแผ่นซีดี วิซีดี
“สิ่งที่ต้องทำในตอนนี้ คือ การลดการพึ่งพายอดขายจากการขายซีดี วิซีดี ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามสร้างรายได้จากแหล่งใหม่ๆ เข้ามาทดแทน โดยเฉพาะกับช่องทางดิจิตอลที่ผู้บริโภคกำลังให้ความสนใจ”
เขา ระบุต่อว่า วันนี้ “ผู้ร้าย” กำลังจะกลายเป็น “อัศวิน” แล้ว เพราะ 5 ปีที่แล้ว ดิจิตอลได้บุกเข้ามาฆ่าธุรกิจเพลงให้ล้มหายตายจากไปจำนวนไม่น้อย แต่วันนี้ดิจิตอลกลับกลายเป็น “อัศวิน” ที่จะเข้ามาช่วยกอบกู้ธุรกิจของเราให้กลับมาดีเหมือนเดิม
“ปีนี้ผมคาดการตัวเลขไว้ในส่วนของธุรกิจเพลงจะมีรายได้จากการดาวน์โหลดราว 400 ล้านบาท ใกล้เคียงกับยอดขายแผ่นซีดีที่อยู่ในหลัก 400 ล้านบาทเช่นกัน ก็หมายความว่า ตลาดดาวน์โหลดกำลังเติบโตขึ้นสู่ระดับเดียวกับตลาดแผ่นซีดีแล้ว” เขาระบุ.
ปัญหาเทปผีซีดีเถื่อนที่ระบาดอย่างหนักสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดสินค้าลิขสิทธิ์ไปกว่า 90% จากมูลค่ารวมทั้งตลาดกว่าแสนล้านบาท ผู้บริโภคหาซื้อได้ง่าย พอๆ กับการซื้อผักผลไม้ตามตลาดสดทั่วไป ในขณะที่การกวดขันจับกุมของเจ้าหน้าที่รัฐแต่ละครั้งก็ได้แค่ระดับปลาซิวปลาสร้อย สาวไม่ถึงต้นตอ ดังที่ “ASTV ผู้จัดการรายวัน” นำเสนอในตอนแรกไปแล้วนั้น …ตอนจบนี้เป็นเรื่องราวของผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาเทปผีซีดีเถื่อน
***โปงลางสะอื้นยอดหด 3-4 เท่า
นายสมพงษ์ คุนาประถม (อี๊ด) หัวหน้าวง “โปงลางสะออน” กล่าวว่า ตอนโปงลางสะออนชุดแรกออกมา คนยังไม่รู้จักโปงลางสะออน ไม่มีใครคิดว่าจะดัง ปรากฏว่า ยอดขายรวมกันกว่า 1 ล้านแผ่น เพราะว่ายังไม่มีชื่อเสียงจึงไม่ถูกก็อปปี้ แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมา ชุดหลังๆ โปงลางสะออนเริ่มมีชื่อเสียงแล้ว ปรากฎว่า โดนก๊อปปี้ยอดหดหายไปประมาณ 3-4 เท่า คนที่ซื้อส่วนใหญ่จะเป็นแฟนพันธุ์แท้เท่านั้น
“แรก ๆ ที่โดน ไปเห็นแผ่นก็อปปี้ตามแผงในตลาด เห็นแล้วก็อยากจะร้องไห้ ตกใจว่ามีอย่างนี้ได้อย่างไร จากนั้นผ่านมาทุกยุคทุกสมัยใครเข้ามามีอำนาจก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เราไม่รู้ว่าคนพวกนี้เป็นใคร ช่วงหลังๆ เราก็ทำได้แค่รณรงค์ให้คนซื้อของลิขสิทธิ์” เขา กล่าว
นายสมพงษ์ กล่าวต่อว่า ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์กระทบกับคนในวงการหนังวงการเพลงโดยตรง เพราะโดนแผ่นผีเข้ามาแย่งตลาดเยอะเกินไป ค่ายเพลงก็ไม่อยากลงทุน ศิลปินนักร้อง นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ นักดนตรี รายได้หดหายส่งต่อกันเป็นลูกโซ่
“เราลงทุนต่างกัน คนพวกนี้ไม่ได้ลงทุนอะไร ผมคิดแล้วก็สงสารคนลงทุน เมื่อเขาลงทุนแล้วไม่มีรายได้ เขาก็ไม่รู้จะลงทุนไปทำไม เมื่อเขาไม่ลงทุนคนที่อยู่ในวงการก็โดนกันหมด แล้วที่น่าสงสารมากก็คือนักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ และทีมงานที่รอเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย”
สำหรับวงโปงลางสะออนทางออกเฉพาะหน้าตอนนี้ นายสมพงษ์ บอกว่า ต้องอาศัยออกแสดงงานคอนเสิร์ตทั่วประเทศ เพื่อทดแทนรายได้ที่หดหายไปจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งจะต้องออกงานอย่างต่อเนื่อง เพราะต้องเลี้ยงสมาชิกในวง ยังดีหน่อยที่มีงานเข้ามาตลอด
***คนเบื้องหลังโดนหนักสุด
เมื่อย้อนกลับไปในอดีต พบว่า สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เริ่มมีเรื่อยมาตั้งแต่หลังวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 แต่มาเข้าสู่ยุครุ่งเรืองเมื่อประมาณปี 2547-2548 พร้อมๆ กับเทคโนโลยีนำสมัยที่สามารถก็อปปี้กันได้อย่างง่ายดาย มีทั้งลักลอบกันทำเป็นธุรกิจและไรท์ใส่แผ่นแจกจ่ายกันในหมู่เพื่อนฝูง
นายวายุ แก้วชนะ นักแต่งเพลงฉายา “วายุเทพ” กล่าวว่า เคยทำงานเพลงให้กับค่ายแกรมมี่โดยแต่งเพลงให้กับนักร้องค่ายแกรมมี่ตั้งแต่ปี 2541 พอมาถึงปี 2548 ย้ายมาแต่งให้กับค่าย RS ผลงานที่น่าจะรู้จักกันดีคือเพลง “สวมเขา” ของวงโปงลางสะออน โดยในช่วงระยะเวลากว่า 10 ปีที่อยู่ในวงการเพลง หลังปี 2545 เป็นต้นมาอาจกล่าวว่าเป็นยุคมืดของวงการหนังวงการเพลงก็ว่าได้
“ถ้าเปรียบเทียบตัวเลขให้เห็นชัดๆ อัลบั้มที่ขายได้หลักหมื่นแผ่น อาจเทียบได้กับ 1 ล้านแผ่นในอดีต ยอดมันตกลงมาเรื่อยๆ ทุกปี จาก 1 ล้านแผ่น เป็น 3-4 แสนแผ่น ลงมาเหลือไม่กี่หมื่นแผ่น สมัยนี้ใครขายได้ถึงแสนก็นับว่าเก่งแล้ว”
เขา กล่าวว่า ช่วงที่เริ่มเป็นนักแต่งเพลงวางเป้าไว้เดือนละ 1 เพลงเป็นอย่างต่ำ รายได้ค่าลิขสิทธิ์ที่แน่นอนตกประมาณเพลงละ 1 หมื่นบาท แล้วสมมติว่าขายซีดีได้ 1 แผ่น ก็จะมีเปอร์เซ็นต์จากยอดขายอีก 20 สตางค์ต่อเพลง หรือนักแต่งเพลงบางคนจะรับค่าจ้างแบบแอดวานซ์ก็ได้ หมายความว่า กำหนดรายได้ตายตัว 2 หมื่นบาทต่อเดือน ไม่รับค่าลิขสิทธิ์
“ตอนนี้นักแต่งเพลงหายไปจากวงการเยอะ ไปประกอบอาชีพอื่นกันหมด บางคนก็เปิดท้ายขายของ บางคนก็ขายก๋วยเตี๋ยว แล้วแต่ถนัด คนรุ่นใหม่ๆ ที่อยากผลิตผลงานแทบไม่มีเลย เพราะไม่มีอะไรจูงใจ คนที่อยู่ได้ต้องเจ๋งจริงๆ ผมเองขณะนี้ไม่ได้แต่งเพลงเป็นงานหลักแล้ว แต่มาทำธุรกิจผลิตเสียงริงค์โทนโทรศัพท์มือถือ ให้โหลดผ่านอินเทอร์เน็ตแทน”
นายวายุ กล่าวต่อว่า นักแต่งเพลงหรือคนเบื้องหลังโดนผลกระทบโดยตรงและหนักที่สุด เพราะศิลปินอย่างน้อยก็ยังมีรายได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นงานโชว์ตัวหรือแสดงคอนเสิร์ต ช่วงแรกๆ ที่โดนเรื่องนี้ นักแต่งเพลงจึงรวมตัวกัน ทั้งยื่นหนังสือต่อเจ้าหน้าที่หรือลงพื้นที่สำรวจในภาคสนาม เพราะอยากทราบว่าปัญหาที่แท้จริงอยู่ตรงไหน
“อย่างเราไปตามต่างจังหวัด เราเห็นเลยว่าปัญหามันหนักมาก มันมีกลุ่มคนที่แสวงหาผลประโยชน์เยอะ มีผู้มีอิทธิพล คนคุ้มครอง ในท้องถิ่น หรือแม้แต่ดีเจตามต่างจังหวัดก็ยังอยู่ในกระบวนการเหล่านี้ด้วย เพราะช่วงโปรโมตเพลง ดีเจจะได้เพลง Single ก่อนใคร เขาก็จะนำไปขายให้กับนายทุน”
***ค่ายเพลงหั่นทุนแหลก
แหล่งข่าวที่คลุกคลีอยู่กับวงการเพลงรายหนึ่ง บอกเล่าต่อ “ASTV ผู้จัดการรายวัน” ว่า ปัจจุบันวิธีการผลิตผลงานเพลงหรือปั้นนักร้องขึ้นมาสักคนหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตค่อนข้างมาก เริ่มจากการปั้นนักร้องหน้าใหม่เข้าสู่วงการ สมัยนี้นักร้องใหม่ๆ มีสภาพไม่ต่างจากหนูทดลอง ค่ายเพลงจะให้ลองออกเพลงมาก่อน 2-3 เพลง มีเงื่อนไขว่าถ้าดังถึงจะให้ออกอัลบั้มเต็ม 10 เพลง
สำหรับวงเงินลงทุนออกอัลบั้มเพลง ในอดีตราคาต้นทุนมาตรฐานตกประมาณ 600,000 บาทต่อชุด (ชุดละ 10 เพลง) ไม่ว่าจะเป็น ค่าศิลปินนักร้อง ค่านักแต่งเพลง ค่าโปรดิวเซอร์ โคโปรดิวเซอร์ ค่านักดนตรี ค่าห้องอัด และรายการอื่นๆ แต่ในปัจจุบันวงเงินลงทุนถูกหั่นเหลือประมาณ 250,000-400,000 บาทต่อชุด เท่านั้น หรือแม้แต่ลักษณะการลงทุนก็เปลี่ยนแปลงไป
“ช่วงปี 2549 เป็นต้นมา จะเห็นนักร้องหน้าใหม่เข้าสู่วงการเยอะมาก แต่ไม่ใช่หมายความว่าค่ายเพลงลงทุนเพิ่มขึ้น เพียงแต่เขาจะออกเพลงให้ก่อน 2-3 เพลง ถ้าดังค่อยทำเพิ่ม สัญญากับนักร้องก็ทำกันชุดต่อชุด ไม่มีเซ็นสัญญาระยะยาวกับนักร้องคนใดคนหนึ่งเหมือนอย่างในอดีต” เขา กล่าว
***อาร์เอส เบนเข็มตลาดดาวน์โหลด
นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) เขียนความเห็นผ่านสื่อโดยระบุว่าประเทศไทยเองได้รับผลกระทบพอสมควร ทั้งที่ก่อนหน้านี้เรากำลังหนักใจกับปัญหาแผ่นผีซีดีเถื่อนเป็นทุนเดิมอยู่ก่อนแล้วพอเข้าสู่ยุคดิจิตอลก็ยิ่งซ้ำเติมให้กลายเป็นปัญหาที่หนักหน่วง เพราะขณะที่ต้องประสบกับยอดขายแผ่นซีดีที่ลดลงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ยอดขายก็ยังลดลงจากการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ผู้บริโภคหันไปฟังเพลงจากช่องทางใหม่ๆ แทนการซื้อแผ่นซีดี วิซีดี
“สิ่งที่ต้องทำในตอนนี้ คือ การลดการพึ่งพายอดขายจากการขายซีดี วิซีดี ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามสร้างรายได้จากแหล่งใหม่ๆ เข้ามาทดแทน โดยเฉพาะกับช่องทางดิจิตอลที่ผู้บริโภคกำลังให้ความสนใจ”
เขา ระบุต่อว่า วันนี้ “ผู้ร้าย” กำลังจะกลายเป็น “อัศวิน” แล้ว เพราะ 5 ปีที่แล้ว ดิจิตอลได้บุกเข้ามาฆ่าธุรกิจเพลงให้ล้มหายตายจากไปจำนวนไม่น้อย แต่วันนี้ดิจิตอลกลับกลายเป็น “อัศวิน” ที่จะเข้ามาช่วยกอบกู้ธุรกิจของเราให้กลับมาดีเหมือนเดิม
“ปีนี้ผมคาดการตัวเลขไว้ในส่วนของธุรกิจเพลงจะมีรายได้จากการดาวน์โหลดราว 400 ล้านบาท ใกล้เคียงกับยอดขายแผ่นซีดีที่อยู่ในหลัก 400 ล้านบาทเช่นกัน ก็หมายความว่า ตลาดดาวน์โหลดกำลังเติบโตขึ้นสู่ระดับเดียวกับตลาดแผ่นซีดีแล้ว” เขาระบุ.