รอยเตอร์ - ราคาทองคำในแถบเอเชียวานนี้(23) ถอยลงมาอยู่ต่ำกว่าระดับ 1,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากไต่ขึ้นทะลุระดับจิตวิทยาสำคัญดังกล่าวที่นิวยอร์กในวันศุกร์(20) กระนั้นก็ตาม พวกผู้เล่นในตลาดต่างลงความเห็นว่า ถึงอย่างไรราคาโลหะมีค่าชนิดนี้ก็จะต้องพุ่งทำสถิติสูงสุดใหม่ในเร็ววัน ในเมื่อนักลงทุนต่างพากันหลีกหนีความเสี่ยง จนทำให้เกิดดีมานด์ทะยานลิ่ว ในสินทรัพย์ที่ถือเป็นแหล่งหลบภัยชั้นเยี่ยมชนิดนี้
ในสภาพที่ตลาดการเงินส่วนใหญ่กำลังหลอมละลาย โดยที่ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของวอลล์สตรีท ตลอดจนดัชนีของตลาดหุ้นทางยุโรป ต่างทรุดฮวบลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงยิ่งกระตุ้นความต้องการทอง จนทำให้ราคาโลหะมีค่าชนิดนี้พุ่งขึ้นไป 12% แล้วในปีนี้ ทั้งๆ ที่ความต้องการในสินค้าอุตสาหกรรมหรือสินค้าฟุ่มเฟือยต่างก็กำลังย่ำแย่กันทั้งนั้นในเวลานี้
"กุญแจสำคัญอยู่ตรงที่ว่าราคาจะต้องยืนอยู่เหนือระดับ 1,000 ดอลลาร์ และขยับเข้าไปใกล้ๆ หลัก 1,030.80 ดอลลาร์(สถิติราคาสูงสุดในปัจจุบัน) ถ้าหากสิ่งนี้เกิดขึ้นกันแต่เนิ่นๆ ในสัปดาห์นี้ ตลาดก็จะได้เห็นระดับราคาสูงสุดใหม่ภายในสิ้นสัปดาห์นี้แหละ" เป็นความเห็นของ ชูจิ ซูกาตะ ผู้จัดการทีมวิจัยด้านตลาดล่วงหน้าและหลักทรัพย์ ของบริษัทมิตซูบิชิ คอร์ป
"หลักหมาย 1,000 ดอลลาร์นี้ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ดังนั้นจึงเกิดความระมัดระวังตัวกัน แต่เงื่อนไขต่างๆ เวลานี้ต่างหนุนหลังราคาทองกันทั้งนั้น เนื่องจากพวกนักลงทุนยังคงต้องการหลีกหนีความเสี่ยงกันอยู่" เขากล่าวต่อ
ราคาทองคำแบบส่งมอบทันทีซื้อขายกันเมื่อเวลา 06.10 น.เวลาจีเอ็มที วานนี้ (ตรงกับ 13.10 น.เวลาเมืองไทย) ณ ราคา 988.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ต่ำลงมา 0.8% จากราคาปิดตามที่ประมาณการกันไว้ของตลาดนิวยอร์กในวันศุกร์(20) ในขณะที่ตลาดหุ้นแถบเอเชียวานนี้กระเตื้องดีขึ้น เนื่องจากรายงานข่าวที่ว่า รัฐบาลสหรัฐฯอาจจะเข้าถือหุ้นในแบงก์ซิตี้กรุ๊ปเป็นจำนวนถึง 40%
เมื่อวันศุกร์(20)นั้น ราคาทองพุ่งไปถึงระดับ 1,005.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือต่ำกว่าเพียง 2.5% จากราคาสูงสุดตลอดกาล ณ 1,030.80 ดอลลาร์ ซึ่งทำไว้ในเดือนมีนาคมปีที่แล้ว
ยูอิชิ อิเคมิสุ ผู้จัดการสาขาโตเกียวของธนาคารสแตนดาร์ดแบงก์ ชี้ว่า มีปัจจัย 2 ประการ คือ หนึ่ง พวกกองทุนที่ซื้อขายในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ (commodity exchange-traded funds หรือ ETFs) นั้นเข้าไปถือทองเอาไว้เป็นปริมาณมากน้อยแค่ไหน และ สอง ตลาดหลักทรัพย์มีผลประกอบการอย่างไร จะเป็นกุญแจสำคัญที่สามารถใช้วัดว่าราคาทองจะพุ่งไปได้อีกไกลแค่ไหนและรวดเร็วเพียงใด
"ถ้าหุ้นยังคงทรุดต่ำลงต่อไปแล้ว ทองก็จะยังคงพุ่งขึ้นเรื่อยๆ" เขาอธิบาย
"ผมก็ไม่ทราบว่าราคาทองจะขึ้นไปได้สูงและเร็วแค่ไหนนะ มันจะต้องขึ้นอยู่กับพวก ETFs ด้วย เนื่องจากเม็ดเงินที่เมื่อก่อนไม่ได้ไหลเข้าสู่ทองนั้น เวลานี้กำลังทะลักเข้าสู่ทองโดยผ่านพวก ETFs นี่แหละ" อิเคมิสุแจกแจงต่อ
ทั้งนี้ กองทุน ETFs เป็นเครื่องมือที่จะทำให้นักลงทุนสามารถเข้าไปถือครองทองได้อย่างง่ายๆ นั่นคือ ด้วยการไปลงทุนในกองทุนพวกนี้ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และด้วยเหตุนี้มันจึงกลายเป็นตัววัดที่สำคัญซึ่งทำให้เราทราบว่านักลงทุนสนใจในโลหะมีค่าชนิดนี้มากน้อยเพียงใด
เกี่ยวกับเรื่องพวก ETFs กำลังถือทองเอาไว้แค่ไหนนั้น เอสพีดีอาร์ โกลด์ ทรัสต์ ซึ่งเป็นกองทุน ETF รายใหญ่ที่สุดของโลก ในชนิดที่ถือทองเอาไว้ แถลงเอาไว้ล่าสุดว่า มีทองในครอบครองอยู่ 1,028.98 ตัน ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ซึ่งพอๆ กับระดับสูงสุดเป็นสถิติใหม่ที่ทำเอาไว้ตอนปลายสัปดาห์ที่แล้ว
หลักฐานมากยิ่งกว่านี้อีก ที่แสดงถึงความเข้มแข็งของตลาดทอง มาจากข้อมูลที่ชี้ว่าพวกนักเล่นแบบเก็งกำไรได้เพิ่มสุทธิการถือตราสารฟิวเจอร์สทองคำซึ่งซื้อค้ากันในตลาดโคเม็กซ์ของนิวยอร์ก แบบที่คาดการณ์ว่าราคาจะสูงขึ้นในอนาคต เป็น 165,921 ล็อต ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ สูงขึ้นจาก 163,622 ล็อตเมื่อ 1 สัปดาห์ก่อนหน้า
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านลบของราคาทองคำก็มีอยู่ โดยปัจจัยตัวหลักในเวลานี้ก็คือ การที่ผู้บริโภคและอุตสาหกรรมต่างกำลังต้องการทองลดน้อยลง และเรื่องนี้อาจจะกลายเป็นแรงกดดันราคาโลหะชนิดนี้ให้ถอยต่ำลงจากจุดสูงๆ ที่ทำได้ในระยะหลังๆ มานี้ก็ได้
ตามข้อมูลเมื่อสัปดาห์ที่แล้วของสภาทองคำแห่งโลก ในปี 2008 ความต้องการทองเพื่อนำไปใช้ทำอัญมณี ลดต่ำลง 11% เมื่อคำนวณโดยใช้หน่วยเป็นตัน ส่วนความต้องการของภาคอุตสาหกรรมก็น้อยลง 7% สืบเนื่องจากมีการใช้จ่ายลดลงในข้าวของอย่างเช่น คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป และโทรศัพท์มือถือ
ในสภาพที่ตลาดการเงินส่วนใหญ่กำลังหลอมละลาย โดยที่ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของวอลล์สตรีท ตลอดจนดัชนีของตลาดหุ้นทางยุโรป ต่างทรุดฮวบลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงยิ่งกระตุ้นความต้องการทอง จนทำให้ราคาโลหะมีค่าชนิดนี้พุ่งขึ้นไป 12% แล้วในปีนี้ ทั้งๆ ที่ความต้องการในสินค้าอุตสาหกรรมหรือสินค้าฟุ่มเฟือยต่างก็กำลังย่ำแย่กันทั้งนั้นในเวลานี้
"กุญแจสำคัญอยู่ตรงที่ว่าราคาจะต้องยืนอยู่เหนือระดับ 1,000 ดอลลาร์ และขยับเข้าไปใกล้ๆ หลัก 1,030.80 ดอลลาร์(สถิติราคาสูงสุดในปัจจุบัน) ถ้าหากสิ่งนี้เกิดขึ้นกันแต่เนิ่นๆ ในสัปดาห์นี้ ตลาดก็จะได้เห็นระดับราคาสูงสุดใหม่ภายในสิ้นสัปดาห์นี้แหละ" เป็นความเห็นของ ชูจิ ซูกาตะ ผู้จัดการทีมวิจัยด้านตลาดล่วงหน้าและหลักทรัพย์ ของบริษัทมิตซูบิชิ คอร์ป
"หลักหมาย 1,000 ดอลลาร์นี้ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ดังนั้นจึงเกิดความระมัดระวังตัวกัน แต่เงื่อนไขต่างๆ เวลานี้ต่างหนุนหลังราคาทองกันทั้งนั้น เนื่องจากพวกนักลงทุนยังคงต้องการหลีกหนีความเสี่ยงกันอยู่" เขากล่าวต่อ
ราคาทองคำแบบส่งมอบทันทีซื้อขายกันเมื่อเวลา 06.10 น.เวลาจีเอ็มที วานนี้ (ตรงกับ 13.10 น.เวลาเมืองไทย) ณ ราคา 988.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ต่ำลงมา 0.8% จากราคาปิดตามที่ประมาณการกันไว้ของตลาดนิวยอร์กในวันศุกร์(20) ในขณะที่ตลาดหุ้นแถบเอเชียวานนี้กระเตื้องดีขึ้น เนื่องจากรายงานข่าวที่ว่า รัฐบาลสหรัฐฯอาจจะเข้าถือหุ้นในแบงก์ซิตี้กรุ๊ปเป็นจำนวนถึง 40%
เมื่อวันศุกร์(20)นั้น ราคาทองพุ่งไปถึงระดับ 1,005.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือต่ำกว่าเพียง 2.5% จากราคาสูงสุดตลอดกาล ณ 1,030.80 ดอลลาร์ ซึ่งทำไว้ในเดือนมีนาคมปีที่แล้ว
ยูอิชิ อิเคมิสุ ผู้จัดการสาขาโตเกียวของธนาคารสแตนดาร์ดแบงก์ ชี้ว่า มีปัจจัย 2 ประการ คือ หนึ่ง พวกกองทุนที่ซื้อขายในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ (commodity exchange-traded funds หรือ ETFs) นั้นเข้าไปถือทองเอาไว้เป็นปริมาณมากน้อยแค่ไหน และ สอง ตลาดหลักทรัพย์มีผลประกอบการอย่างไร จะเป็นกุญแจสำคัญที่สามารถใช้วัดว่าราคาทองจะพุ่งไปได้อีกไกลแค่ไหนและรวดเร็วเพียงใด
"ถ้าหุ้นยังคงทรุดต่ำลงต่อไปแล้ว ทองก็จะยังคงพุ่งขึ้นเรื่อยๆ" เขาอธิบาย
"ผมก็ไม่ทราบว่าราคาทองจะขึ้นไปได้สูงและเร็วแค่ไหนนะ มันจะต้องขึ้นอยู่กับพวก ETFs ด้วย เนื่องจากเม็ดเงินที่เมื่อก่อนไม่ได้ไหลเข้าสู่ทองนั้น เวลานี้กำลังทะลักเข้าสู่ทองโดยผ่านพวก ETFs นี่แหละ" อิเคมิสุแจกแจงต่อ
ทั้งนี้ กองทุน ETFs เป็นเครื่องมือที่จะทำให้นักลงทุนสามารถเข้าไปถือครองทองได้อย่างง่ายๆ นั่นคือ ด้วยการไปลงทุนในกองทุนพวกนี้ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และด้วยเหตุนี้มันจึงกลายเป็นตัววัดที่สำคัญซึ่งทำให้เราทราบว่านักลงทุนสนใจในโลหะมีค่าชนิดนี้มากน้อยเพียงใด
เกี่ยวกับเรื่องพวก ETFs กำลังถือทองเอาไว้แค่ไหนนั้น เอสพีดีอาร์ โกลด์ ทรัสต์ ซึ่งเป็นกองทุน ETF รายใหญ่ที่สุดของโลก ในชนิดที่ถือทองเอาไว้ แถลงเอาไว้ล่าสุดว่า มีทองในครอบครองอยู่ 1,028.98 ตัน ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ซึ่งพอๆ กับระดับสูงสุดเป็นสถิติใหม่ที่ทำเอาไว้ตอนปลายสัปดาห์ที่แล้ว
หลักฐานมากยิ่งกว่านี้อีก ที่แสดงถึงความเข้มแข็งของตลาดทอง มาจากข้อมูลที่ชี้ว่าพวกนักเล่นแบบเก็งกำไรได้เพิ่มสุทธิการถือตราสารฟิวเจอร์สทองคำซึ่งซื้อค้ากันในตลาดโคเม็กซ์ของนิวยอร์ก แบบที่คาดการณ์ว่าราคาจะสูงขึ้นในอนาคต เป็น 165,921 ล็อต ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ สูงขึ้นจาก 163,622 ล็อตเมื่อ 1 สัปดาห์ก่อนหน้า
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านลบของราคาทองคำก็มีอยู่ โดยปัจจัยตัวหลักในเวลานี้ก็คือ การที่ผู้บริโภคและอุตสาหกรรมต่างกำลังต้องการทองลดน้อยลง และเรื่องนี้อาจจะกลายเป็นแรงกดดันราคาโลหะชนิดนี้ให้ถอยต่ำลงจากจุดสูงๆ ที่ทำได้ในระยะหลังๆ มานี้ก็ได้
ตามข้อมูลเมื่อสัปดาห์ที่แล้วของสภาทองคำแห่งโลก ในปี 2008 ความต้องการทองเพื่อนำไปใช้ทำอัญมณี ลดต่ำลง 11% เมื่อคำนวณโดยใช้หน่วยเป็นตัน ส่วนความต้องการของภาคอุตสาหกรรมก็น้อยลง 7% สืบเนื่องจากมีการใช้จ่ายลดลงในข้าวของอย่างเช่น คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป และโทรศัพท์มือถือ