สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) เดินทางไปร่วมงานประชุมนานาชาติ ความร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหารระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ที่ประเทศญี่ปุ่น และภายในงานได้มีข้อตกลงพัฒนาด้านนวัตกรรมร่วมกับสมาคมนวัตกรรมด้านเกษตร ป่าไม้ ของญีปุ่น เพื่อร่วมกันพัฒนานวัตกรรมด้านอาหารร่วมกัน
ดร. ศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ ทางสนช.ได้เดินทางไปร่วมงานประชุมนานาชาติเรื่อง “ความร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหารระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก” ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสมาคมนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการเกษตร ป่าไม้ และการประมงของญี่ปุ่น ได้เชิญไปบรรยายในหัวข้อ “ความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่นด้านการพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหาร” ภายในงานประชุมนานาชาติเรื่อง “
ภายในงานดังกล่าว สนช. ได้เสนอโครงการความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมด้านอาหาร 3 ด้าน ได้แก่ การสร้างมูลค่าจากของเหลือทิ้งทางการเกษตร การผลิตสารสกัดจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และการแก้ไขปัญหาในธุรกิจเกษตร (agri-business solutions) ซึ่งความร่วมมือดังกล่าว จะอาศัยความเชี่ยวชาญด้านการเกษตรและความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย มาผนวกกับความโดดเด่นด้านเทคโนโลยีของญี่ปุ่น รวมถึงการนำผลงานวิจัยและพัฒนาของหน่วยงานวิจัยของทั้งสองประเทศเข้ามาผสมผสานกัน
ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างธุรกิจชีวภาพที่มีมูลค่าสูงมากและมีการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างเอกชนไทยและญี่ปุ่น เช่น ผลิตภัณฑ์ซอสปรุงรสจากหัวกุ้ง กลูโคซามีนจากเปลือกกุ้ง สารสกัดซานโทนจากมังคุด สารสกัดกาบ้า (GABA) จากข้าวกล้องงอก ระบบตรวจสอบย้อนกลับในอาหาร ซอฟต์แวร์การจัดการฟาร์ม ชุดตรวจสอบชนิดรวดเร็วในอาหาร รวมทั้งการประยุกต์ใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในการเกษตร เป็นต้น
ทั้งนี้ จากการพูดคุยปรึกษากับนายยูโซะ ไซโตะ ประธานศูนย์อุตสาหกรรมอาหารญี่ปุ่น และคณะ ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า สนช. และสมาคมนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการเกษตร ป่าไม้ และการประมงของญี่ปุ่น ควรจะดำเนินการสนับสนุนการร่วมมือระหว่างเอกชนไทยและญี่ปุ่นในโครงการนวัตกรรมแบบต่อเนื่อง โดยญี่ปุ่นจะให้การสนับสนุนเงินทุนด้านการวิจัยและพัฒนา ขณะที่ สนช. ให้การสนับสนุนเงินทุนในระยะเริ่มต้นของการผลิตออกสู่เชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ ศูนย์อุตสาหกรรมอาหารญี่ปุ่นได้จัดเตรียมข้อมูลการตลาดเพื่อสนับสนุนแก่ภาคเอกชนไทยและญี่ปุ่นที่จะร่วมมือกันเพื่อลงทุนในธุรกิจใหม่นี้
นอกจากนี้ ดร. ศุภชัยฯ ยังได้มีโอกาสเข้าหารือกับนายยูจิ ชิโมโจ ผู้บริหารระดับสูงด้านการกำหนดนโยบายของกระทรวงการเกษตร ป่าไม้ และการประมง เพื่อเจรจากรอบความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมด้านอาหารกับประเทศไทย โดยในเบื้องต้นทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า ในช่วงเศรษฐกิจถดถอยนี้ อุตสาหกรรมอาหารเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และความร่วมมือระหว่างสองประเทศในการพัฒนานวัตกรรมด้านอาหารนี้จะนำไปสู่ผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะครอบคลุมด้านการถ่ายทอดและการอนุญาตใช้สิทธิทางเทคโนโลยี การร่วมมือในการวิจัยและพัฒนา การร่วมลงทุนในธุรกิจใหม่ การแบ่งปันความรู้และทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงความร่วมมือในการประชุมและสัมมนา ซึ่งนับว่าเป็นก้าวสำคัญในการเริ่มต้นความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมด้านอาหารระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น
ขณะนี้ สนช. ได้มีโครงการความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมร่วมกับบริษัทญี่ปุ่นหลายโครงการ เช่น ร่วมมือกับบริษัท มารูเซน ฟาร์มาซูติคัล และบริษัท อะริสต้า ไลฟ์ซายน์ ด้านการพัมนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และร่วมมือกับบริษัทโชวะ ไฮพอลิเมอร์ บริษัทมิตซูบิชิ และบริษัทมูซาชิโน ในการพัฒนานวัตกรรมด้านพลาสติกชีวภาพ เป็นต้น
ดร. ศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ ทางสนช.ได้เดินทางไปร่วมงานประชุมนานาชาติเรื่อง “ความร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหารระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก” ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสมาคมนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการเกษตร ป่าไม้ และการประมงของญี่ปุ่น ได้เชิญไปบรรยายในหัวข้อ “ความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่นด้านการพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหาร” ภายในงานประชุมนานาชาติเรื่อง “
ภายในงานดังกล่าว สนช. ได้เสนอโครงการความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมด้านอาหาร 3 ด้าน ได้แก่ การสร้างมูลค่าจากของเหลือทิ้งทางการเกษตร การผลิตสารสกัดจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และการแก้ไขปัญหาในธุรกิจเกษตร (agri-business solutions) ซึ่งความร่วมมือดังกล่าว จะอาศัยความเชี่ยวชาญด้านการเกษตรและความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย มาผนวกกับความโดดเด่นด้านเทคโนโลยีของญี่ปุ่น รวมถึงการนำผลงานวิจัยและพัฒนาของหน่วยงานวิจัยของทั้งสองประเทศเข้ามาผสมผสานกัน
ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างธุรกิจชีวภาพที่มีมูลค่าสูงมากและมีการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างเอกชนไทยและญี่ปุ่น เช่น ผลิตภัณฑ์ซอสปรุงรสจากหัวกุ้ง กลูโคซามีนจากเปลือกกุ้ง สารสกัดซานโทนจากมังคุด สารสกัดกาบ้า (GABA) จากข้าวกล้องงอก ระบบตรวจสอบย้อนกลับในอาหาร ซอฟต์แวร์การจัดการฟาร์ม ชุดตรวจสอบชนิดรวดเร็วในอาหาร รวมทั้งการประยุกต์ใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในการเกษตร เป็นต้น
ทั้งนี้ จากการพูดคุยปรึกษากับนายยูโซะ ไซโตะ ประธานศูนย์อุตสาหกรรมอาหารญี่ปุ่น และคณะ ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า สนช. และสมาคมนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการเกษตร ป่าไม้ และการประมงของญี่ปุ่น ควรจะดำเนินการสนับสนุนการร่วมมือระหว่างเอกชนไทยและญี่ปุ่นในโครงการนวัตกรรมแบบต่อเนื่อง โดยญี่ปุ่นจะให้การสนับสนุนเงินทุนด้านการวิจัยและพัฒนา ขณะที่ สนช. ให้การสนับสนุนเงินทุนในระยะเริ่มต้นของการผลิตออกสู่เชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ ศูนย์อุตสาหกรรมอาหารญี่ปุ่นได้จัดเตรียมข้อมูลการตลาดเพื่อสนับสนุนแก่ภาคเอกชนไทยและญี่ปุ่นที่จะร่วมมือกันเพื่อลงทุนในธุรกิจใหม่นี้
นอกจากนี้ ดร. ศุภชัยฯ ยังได้มีโอกาสเข้าหารือกับนายยูจิ ชิโมโจ ผู้บริหารระดับสูงด้านการกำหนดนโยบายของกระทรวงการเกษตร ป่าไม้ และการประมง เพื่อเจรจากรอบความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมด้านอาหารกับประเทศไทย โดยในเบื้องต้นทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า ในช่วงเศรษฐกิจถดถอยนี้ อุตสาหกรรมอาหารเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และความร่วมมือระหว่างสองประเทศในการพัฒนานวัตกรรมด้านอาหารนี้จะนำไปสู่ผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะครอบคลุมด้านการถ่ายทอดและการอนุญาตใช้สิทธิทางเทคโนโลยี การร่วมมือในการวิจัยและพัฒนา การร่วมลงทุนในธุรกิจใหม่ การแบ่งปันความรู้และทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงความร่วมมือในการประชุมและสัมมนา ซึ่งนับว่าเป็นก้าวสำคัญในการเริ่มต้นความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมด้านอาหารระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น
ขณะนี้ สนช. ได้มีโครงการความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมร่วมกับบริษัทญี่ปุ่นหลายโครงการ เช่น ร่วมมือกับบริษัท มารูเซน ฟาร์มาซูติคัล และบริษัท อะริสต้า ไลฟ์ซายน์ ด้านการพัมนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และร่วมมือกับบริษัทโชวะ ไฮพอลิเมอร์ บริษัทมิตซูบิชิ และบริษัทมูซาชิโน ในการพัฒนานวัตกรรมด้านพลาสติกชีวภาพ เป็นต้น