ASTVผู้จัดการรายวัน - สตช.รายงานคดีความของทั้งฝ่ายพันธมิตรฯและกลุ่มเสื้อแดงรวม 145 คดี สอบสวนเสร็จแล้ว 46 คดี คงเหลืออีก 99 คดี แยกเป็นคดีที่พันธมิตรฯร้องทุกข์กล่าวโทษ 43 คดี รวบรวมพยานหลักฐานเสร็จสิ้น 15 คดี คดีที่พันธมิตรฯ ถูกร้องทุกข์กล่าวโทษอีก102 คดี รวบรวมหลักฐานเสร็จแล้ว 31 คดี เกิดขึ้นในพื้นที่ 18 จังหวัด 7 กองบัญชาการ ระบุหลังประชุมอาเซียนซัมมิต ร่อนหมายจับถึงแกนนำบุกสนามบินแน่
วานนี้ (20 ก.พ.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง เป็นประธานในการประชุมสรุปคดีที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินการหลังเหตุการณ์การชุมนุม ทั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)โดยมี พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. พล.ต.อ.วิโรจน์ พหลเวชช์ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รอง ผบ.ตร. พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รอง ผบ.ตร.พร้อมด้วย ผบช.ภาค 1-9 และผู้แทนจาก บช.น.
นายสุเทพ กล่าวว่า การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มบุคคลที่มีความคิดแตกต่างกันในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ย่อมเกิดสภาวะที่ผู้นำการชุมนุมไม่อาจควบคุมดูแลได้อย่างทั่วถึง ทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกันขึ้น ตร.ซึ่งมีหน้าที่ดูแลโดยตรง ได้รวบรวมสถิติการรับแจ้งเหตุตั้งแต่เกิดการชุมนุมจนถึงวันที่ 10 ก.พ. รวมมีคดีอาญาที่รับแจ้งจากการชุมนุมทางการเมืองของทั้ง 2 ฝ่าย จำนวน 145 คดี สอบสวนเสร็จแล้ว 46 คดี คงเหลืออีก 99 คดี เป็นคดีที่พันธมิตรฯ ร้องทุกข์กล่าวโทษ 43 คดี รวบรวมพยานหลักฐานเสร็จสิ้นแล้ว 15 คดี นอกจากนี้ ยังมีคดีที่พันธมิตรฯถูกร้องทุกข์กล่าวโทษอีก 102 คดี รวบรวมหลักฐานเสร็จแล้ว 31 คดี ซึ่งคดีทั้งหมด 145 คดี เกิดขึ้นในพื้นที่ 18 จังหวัด 7 กองบัญชาการ
พล.ต.ต.เอกรัตน์ มีปรีชา รอง ผบช.น.กล่าวสรุปคดีที่เกิดขึ้นในพื้นที่นครบาล ว่า มีทั้งสิ้น 57 คดี เป็นคดีที่พันธมิตรฯถูกร้องทุกข์กล่าวโทษซึ่งสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว 22 คดี ยังสอบสวนไม่เสร็จอีก 21 คดี นอกจากนั้น เป็นคดีที่กลุ่มพันธมิตรฯผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษสอบเสร็จ 5 คดี ยังไม่เสร็จ 5 คดี
ผู้สื่อข่าวถามความคืบหน้าคดีที่กลุ่มพันธมิตรฯ ปิดล้อมสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ พล.ต.ต.เอกรัตน์ กล่าวว่า กองบัญชาการตำรวจนครบาลได้สอบสวนพยานกรณีสนามดอนเมืองใกล้แล้วเสร็จ จำนวน 247 ปาก ส่วนกรณีบุกยึดทำเนียบฯ สอบสวนพยานไปทั้งสิ้น 546 ปาก แบ่งออกเป็น 2 คดี คือ ที่ สน.นางเลิ้ง เป็นคดีกบฏ มีผู้ต้องหา 5 คน ส่งสำนวนให้อัยการไปเมื่อวันที่ 5 พ.ย.คดีที่ 2 เป็นคดีร่วมกันบุกรุกสถานที่ราชการ ซึ่งอยู่ระหว่างการสอบสวน สาเหตุที่ยังไม่สามารถสรุปสำนวนได้ เนื่องจากต้องสอบปากคำพยานและรวบรวมหลักฐานอื่นอีกเป็นจำนวนมาก คาดว่า ภายในสัปดาห์หน้าพนักงานสอบสวนน่าจะขออนุมัติออกหมายจับผู้กระทำความผิดทั้ง 2 คดี รวมจำนวน 21 รายได้ ซึ่งมีทั้งแกนนำและผู้ชุมนุม
ด้านพล.ต.ท.ฉลอง สนใจ ผบช.ภ.1 กล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินคดีกลุ่มพันธมิตรฯ บุกยึดสนามบินสุวรรณภูมิว่า พนักงานสอบสวนได้ติดตามเร่งรัดคดีทุกวันศุกร์ ขณะนี้ได้สอบพยานบุคคลไปแล้ว 150 ปาก ซึ่งถือได้ว่าคืบหน้าไปแล้วกว่า 70-80 เปอร์เซ็นต์ เหลือเพียงพยานปากสำคัญ คือ อธิบดีกรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศ หลังจากนั้น จะได้สรุปประเด็นข้อกล่าวหารวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อขออนุมัติหมายจับ คาดว่า ขั้นตอนดังกล่าวจะเสร็จสิ้นหลังการประชุมอาเซียนซัมมิต สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในคดีนี้จะถูกดำเนินคดีในข้อหา พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดบางประเภทต่อการเดินอากาศ พ.ศ.2521 ส่วนข้อหาก่อการร้ายยังไม่สามารถให้ความเห็นได้ เพราะต้องรอสอบปากคำอธิบดีกรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศ โดยการดำเนินการในคดีที่รับผิดชอบขอยืนยันว่าจะให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย
ขณะที่ พล.ต.ท.ธีรยุทธ กิตติวัฒน์ ผบช.ภ.2 กล่าวถึงดคีสำคัญที่เกิดจากการชุมนุม ว่า มีคดีที่เกิดขึ้นในพื้นที่จำนวนทั้งสิ้น 14 คดี โดยเกิดใน จ.ชลบุรี 9 คดี และ จ.ฉะเชิงเทรา 5 คดี ทั้งหมดเป็นคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ฟ้องร้องหมิ่นประมาท กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ทั้งหมดยังสอบปากคำพยานไม่แล้วเสร็จ
ส่วนในพื้นที่อีสานใต้ พล.ต.ต.กฤษฎา พันธุ์คงชื่น ผบช.ภ.3 กล่าวสรุปคดีในพื้นที่ ว่า มีทั้งสิ้น 12 คดี เป็นคดีที่พันธมิตรฯถูกร้องทุกข์กล่าวโทษ 8 คดี สอบเสร็จแล้ว 1 คดี ส่วนคดีที่พันธมิตรฯเป็นผู้ร้องทุกข์มี 4 คดี สอบเสร้จแล้ว 2 คดี ส่วนใหญ่เป็นคดีทำร้ายร่างกายและหมิ่นประมาท
พล.ต.ท.อัศวิน ณรงค์พันธ์ อดีต ผบช.ภ.4 กล่าวว่า มีคดีที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทั้งสิ้น 9 คดี เป็นคดีที่กลุ่มพันธมิตรเป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษทั้งหมด 9 คดี สอบเสร็จแล้ว 7คดี เป็นคดีทำร้ายร่างกายใน จ.อุดรธานี สอบสวนเสร็จแล้ว และส่งสำนวนเสนออัยการอยู่ในช่วงที่อัยการพิจารณา และได้สั่งเลื่อนคดีเป็นครั้งที่ 2 ในวันที่ 27 ก.พ.
ด้าน พล.ต.ท.สถาพร ดวงแก้ว อดีต ผบช.ภ.5 กล่าวว่า มีเรื่องที่พันธมิตรฯ เป็นผู้กล่าวหาจำนวน 12 เรื่อง ส่วนใหญ่คดี พกพาระเบิด และถูกวางเพลิงยานพาหนะ มีทั้งกรณีอัยการสั่งไม่ฟ้องและยุติการสอบสวน เนื่องจากหลักฐานพบว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ ส่วนคดีสำคัญเป็นคดีที่กลุ่มเสื้อแดงที่เกิดเหตุเมื่อวันที่ 22 พ.ย.กรณีเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญถูกทำร้ายที่สนามบินเชียงใหม่วันเดียวกับที่ นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีกลับจากต่างประเทศ ซึ่งศาลได้อนุมัติหมายจับผู้ร่วมกระทำความผิด 6 คนแล้วตามหลักฐานภาพถ่าย โดยสามารถจับได้แล้ว 2 คน กำลังติดตามอีก 4 คน และคดีที่เกิดขึ้นในวันเดียวกันที่เวลาประมาณ 19.00 น.ที่ นายเศรษฐา เจนกิจวัฒนา ถูกทำร้ายร่างกายเสียชีวิต ตำรวจได้นำภาพถ่ายมาตรวจสอบแล้วพบมีผู้ต้องหา 8 คน สามารถจับได้ 2 คน อายัดตัวอีก 1 คนที่ สภ.ภูพิงค์ ส่วนที่เหลืออีก 5 คน อยู่ระหว่างติดตามจับกุม ส่วนคดี 24 ม.ค.ที่ผ่านมา อาจารย์ ม.เชียงใหม่ ถูกกลุ่มเสื้อแดงตบตำรวจได้นำภาพถ่ายผู้ต้องสงสัยมาตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นชาว จ.ลำพูน โดยมี รองผู้ว่าฯ จ.เชียงใหม่ เป็นพยาน อยู่ระหว่างติดตามตัวมาดำเนินคดี
พล.ต.ท.ธานี ทวิชศรี ผบช.ภ.9 กล่าวว่า ภาค 9 มีคดีที่เกิดขึ้นเพียงคดีเดียวที่กลุ่มพันธมิตรฯถูกร้องทุกข์กล่าวโทษ คือ คดีขึ้นรถไฟแล้วไม่ยอมจ่ายเงิน มีความผิดตาม พ.ร.บ.การจัดการรถไฟ
ทั้งนี้ นายสุเทพ กล่าวว่า ยืนยันว่า รัฐบาลจะไม่แทรกแทรงการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยเด็ดขาด เราเคารพในวิชาชีพและความเป็นมืออาชีพ ในความเป็นผู้มีหน้าที่รักษากฎหมาย ถ้าสื่อมวลชนสงสัยไม่ว่าคดีใดที่รัฐบาลเข้าไปแทรกแทรงสามารถตั้งคำถามได้ และตนจะเชิญผู้ที่ถูกสงสัยมาชี้แจงด้วยตนเอง
วานนี้ (20 ก.พ.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง เป็นประธานในการประชุมสรุปคดีที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินการหลังเหตุการณ์การชุมนุม ทั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)โดยมี พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. พล.ต.อ.วิโรจน์ พหลเวชช์ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รอง ผบ.ตร. พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รอง ผบ.ตร.พร้อมด้วย ผบช.ภาค 1-9 และผู้แทนจาก บช.น.
นายสุเทพ กล่าวว่า การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มบุคคลที่มีความคิดแตกต่างกันในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ย่อมเกิดสภาวะที่ผู้นำการชุมนุมไม่อาจควบคุมดูแลได้อย่างทั่วถึง ทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกันขึ้น ตร.ซึ่งมีหน้าที่ดูแลโดยตรง ได้รวบรวมสถิติการรับแจ้งเหตุตั้งแต่เกิดการชุมนุมจนถึงวันที่ 10 ก.พ. รวมมีคดีอาญาที่รับแจ้งจากการชุมนุมทางการเมืองของทั้ง 2 ฝ่าย จำนวน 145 คดี สอบสวนเสร็จแล้ว 46 คดี คงเหลืออีก 99 คดี เป็นคดีที่พันธมิตรฯ ร้องทุกข์กล่าวโทษ 43 คดี รวบรวมพยานหลักฐานเสร็จสิ้นแล้ว 15 คดี นอกจากนี้ ยังมีคดีที่พันธมิตรฯถูกร้องทุกข์กล่าวโทษอีก 102 คดี รวบรวมหลักฐานเสร็จแล้ว 31 คดี ซึ่งคดีทั้งหมด 145 คดี เกิดขึ้นในพื้นที่ 18 จังหวัด 7 กองบัญชาการ
พล.ต.ต.เอกรัตน์ มีปรีชา รอง ผบช.น.กล่าวสรุปคดีที่เกิดขึ้นในพื้นที่นครบาล ว่า มีทั้งสิ้น 57 คดี เป็นคดีที่พันธมิตรฯถูกร้องทุกข์กล่าวโทษซึ่งสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว 22 คดี ยังสอบสวนไม่เสร็จอีก 21 คดี นอกจากนั้น เป็นคดีที่กลุ่มพันธมิตรฯผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษสอบเสร็จ 5 คดี ยังไม่เสร็จ 5 คดี
ผู้สื่อข่าวถามความคืบหน้าคดีที่กลุ่มพันธมิตรฯ ปิดล้อมสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ พล.ต.ต.เอกรัตน์ กล่าวว่า กองบัญชาการตำรวจนครบาลได้สอบสวนพยานกรณีสนามดอนเมืองใกล้แล้วเสร็จ จำนวน 247 ปาก ส่วนกรณีบุกยึดทำเนียบฯ สอบสวนพยานไปทั้งสิ้น 546 ปาก แบ่งออกเป็น 2 คดี คือ ที่ สน.นางเลิ้ง เป็นคดีกบฏ มีผู้ต้องหา 5 คน ส่งสำนวนให้อัยการไปเมื่อวันที่ 5 พ.ย.คดีที่ 2 เป็นคดีร่วมกันบุกรุกสถานที่ราชการ ซึ่งอยู่ระหว่างการสอบสวน สาเหตุที่ยังไม่สามารถสรุปสำนวนได้ เนื่องจากต้องสอบปากคำพยานและรวบรวมหลักฐานอื่นอีกเป็นจำนวนมาก คาดว่า ภายในสัปดาห์หน้าพนักงานสอบสวนน่าจะขออนุมัติออกหมายจับผู้กระทำความผิดทั้ง 2 คดี รวมจำนวน 21 รายได้ ซึ่งมีทั้งแกนนำและผู้ชุมนุม
ด้านพล.ต.ท.ฉลอง สนใจ ผบช.ภ.1 กล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินคดีกลุ่มพันธมิตรฯ บุกยึดสนามบินสุวรรณภูมิว่า พนักงานสอบสวนได้ติดตามเร่งรัดคดีทุกวันศุกร์ ขณะนี้ได้สอบพยานบุคคลไปแล้ว 150 ปาก ซึ่งถือได้ว่าคืบหน้าไปแล้วกว่า 70-80 เปอร์เซ็นต์ เหลือเพียงพยานปากสำคัญ คือ อธิบดีกรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศ หลังจากนั้น จะได้สรุปประเด็นข้อกล่าวหารวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อขออนุมัติหมายจับ คาดว่า ขั้นตอนดังกล่าวจะเสร็จสิ้นหลังการประชุมอาเซียนซัมมิต สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในคดีนี้จะถูกดำเนินคดีในข้อหา พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดบางประเภทต่อการเดินอากาศ พ.ศ.2521 ส่วนข้อหาก่อการร้ายยังไม่สามารถให้ความเห็นได้ เพราะต้องรอสอบปากคำอธิบดีกรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศ โดยการดำเนินการในคดีที่รับผิดชอบขอยืนยันว่าจะให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย
ขณะที่ พล.ต.ท.ธีรยุทธ กิตติวัฒน์ ผบช.ภ.2 กล่าวถึงดคีสำคัญที่เกิดจากการชุมนุม ว่า มีคดีที่เกิดขึ้นในพื้นที่จำนวนทั้งสิ้น 14 คดี โดยเกิดใน จ.ชลบุรี 9 คดี และ จ.ฉะเชิงเทรา 5 คดี ทั้งหมดเป็นคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ฟ้องร้องหมิ่นประมาท กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ทั้งหมดยังสอบปากคำพยานไม่แล้วเสร็จ
ส่วนในพื้นที่อีสานใต้ พล.ต.ต.กฤษฎา พันธุ์คงชื่น ผบช.ภ.3 กล่าวสรุปคดีในพื้นที่ ว่า มีทั้งสิ้น 12 คดี เป็นคดีที่พันธมิตรฯถูกร้องทุกข์กล่าวโทษ 8 คดี สอบเสร็จแล้ว 1 คดี ส่วนคดีที่พันธมิตรฯเป็นผู้ร้องทุกข์มี 4 คดี สอบเสร้จแล้ว 2 คดี ส่วนใหญ่เป็นคดีทำร้ายร่างกายและหมิ่นประมาท
พล.ต.ท.อัศวิน ณรงค์พันธ์ อดีต ผบช.ภ.4 กล่าวว่า มีคดีที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทั้งสิ้น 9 คดี เป็นคดีที่กลุ่มพันธมิตรเป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษทั้งหมด 9 คดี สอบเสร็จแล้ว 7คดี เป็นคดีทำร้ายร่างกายใน จ.อุดรธานี สอบสวนเสร็จแล้ว และส่งสำนวนเสนออัยการอยู่ในช่วงที่อัยการพิจารณา และได้สั่งเลื่อนคดีเป็นครั้งที่ 2 ในวันที่ 27 ก.พ.
ด้าน พล.ต.ท.สถาพร ดวงแก้ว อดีต ผบช.ภ.5 กล่าวว่า มีเรื่องที่พันธมิตรฯ เป็นผู้กล่าวหาจำนวน 12 เรื่อง ส่วนใหญ่คดี พกพาระเบิด และถูกวางเพลิงยานพาหนะ มีทั้งกรณีอัยการสั่งไม่ฟ้องและยุติการสอบสวน เนื่องจากหลักฐานพบว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ ส่วนคดีสำคัญเป็นคดีที่กลุ่มเสื้อแดงที่เกิดเหตุเมื่อวันที่ 22 พ.ย.กรณีเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญถูกทำร้ายที่สนามบินเชียงใหม่วันเดียวกับที่ นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีกลับจากต่างประเทศ ซึ่งศาลได้อนุมัติหมายจับผู้ร่วมกระทำความผิด 6 คนแล้วตามหลักฐานภาพถ่าย โดยสามารถจับได้แล้ว 2 คน กำลังติดตามอีก 4 คน และคดีที่เกิดขึ้นในวันเดียวกันที่เวลาประมาณ 19.00 น.ที่ นายเศรษฐา เจนกิจวัฒนา ถูกทำร้ายร่างกายเสียชีวิต ตำรวจได้นำภาพถ่ายมาตรวจสอบแล้วพบมีผู้ต้องหา 8 คน สามารถจับได้ 2 คน อายัดตัวอีก 1 คนที่ สภ.ภูพิงค์ ส่วนที่เหลืออีก 5 คน อยู่ระหว่างติดตามจับกุม ส่วนคดี 24 ม.ค.ที่ผ่านมา อาจารย์ ม.เชียงใหม่ ถูกกลุ่มเสื้อแดงตบตำรวจได้นำภาพถ่ายผู้ต้องสงสัยมาตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นชาว จ.ลำพูน โดยมี รองผู้ว่าฯ จ.เชียงใหม่ เป็นพยาน อยู่ระหว่างติดตามตัวมาดำเนินคดี
พล.ต.ท.ธานี ทวิชศรี ผบช.ภ.9 กล่าวว่า ภาค 9 มีคดีที่เกิดขึ้นเพียงคดีเดียวที่กลุ่มพันธมิตรฯถูกร้องทุกข์กล่าวโทษ คือ คดีขึ้นรถไฟแล้วไม่ยอมจ่ายเงิน มีความผิดตาม พ.ร.บ.การจัดการรถไฟ
ทั้งนี้ นายสุเทพ กล่าวว่า ยืนยันว่า รัฐบาลจะไม่แทรกแทรงการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยเด็ดขาด เราเคารพในวิชาชีพและความเป็นมืออาชีพ ในความเป็นผู้มีหน้าที่รักษากฎหมาย ถ้าสื่อมวลชนสงสัยไม่ว่าคดีใดที่รัฐบาลเข้าไปแทรกแทรงสามารถตั้งคำถามได้ และตนจะเชิญผู้ที่ถูกสงสัยมาชี้แจงด้วยตนเอง