ASTVผู้จัดการรายวัน - ครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ชี้นมโรงเรียนต้องแก้ที่คุณภาพของการผลิต จวกแนวคิดที่จะเปลี่ยนเป็นแจกนมหวานแทนนมจืด หนุนนโยบายสนับสนุนนมโรงเรียนเป็นนมโคสดต่อไป เผยประโยชน์ให้คุณค่าทางอาหารสูง ทั้งแคลเซียม-โปรตีน-วิตามิน ระบุเด็กดื่มนมหวานเสี่ยงโรคอ้วน เบาหวาน ไขมัน หลอดเลือดหัวใจ ขณะที่ อ.ส.ค.หวั่นหวั่นเกิดปัญหานมยูเอชทีบูด
วานนี้(20 ก.พ.) เมื่อเวลา 10.30 น. ที่โรงแรมเอเชีย เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน และ สสส. จัดการแถลงข่าว “นมสด นมผสม นมอะไรดี” ขึ้นโดย ทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ ผู้จัดการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กล่าวว่า จากปัญหานมโรงเรียนที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ไม่เคยเกิดแต่หากมองไปในช่วงปี 2545 ก็มีข่าวของการทุจริตนมโรงเรียน ต่อมาในปี 2546 ก็มีการตั้งคณะกรรมการนโยบายนมแห่งชาติขึ้น โดยต้องการให้นมที่นำไปให้นักเรียนดื่มนั้นเป็นนมที่มีคุณค่า จึงมีการสนับสนุนนมโคแท้ 100% ขึ้นเพื่อแจกให้เด็กนักเรียนดื่ม แต่เมื่อเกิดเป็นข่าวว่านมโรงเรียนมีการเจือจาง หรือมีการผสม จนเด็กนักเรียนไม่อยากดื่มนมสด นำไปสู่กระแสข่าวที่ว่าจะมีการพิจารณาให้สนับสนุนนมหวานมาให้เด็กดื่มแทน ซึ่งตนคิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ต้องแก้ปัญหาโดยการตรวจสอบ ประเมินผลคุณภาพของนมตั้งแต่ต้นทาง ไม่น่าจะเกี่ยวกับการยกประเด็นว่า นมโรงเรียนไม่อร่อย ไม่หวาน ทำให้เด็กไม่ชอบดื่ม เพราะประโยชน์ของนมโรงเรียนคือนมสดแท้ 100% ที่ไม่แต่งกลิ่น ไม่เติมน้ำตาล จะเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดกับตัวเด็ก และยังเป็นการส่งเสริมเกษตรกรไทย จึงต้องการให้คณะกรรมการนโยบายนมแห่งชาติให้นมโรงเรียนเป็นนมสด 100% ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นนมหวาน
ทพญ.จันทนา กล่าวอีกว่า จากการศึกษาโดยนำนมโคสดแท้ นมปรุงแต่งรสหวาน และนมเปรี้ยว ปริมาณ 100 มิลลิกรัม มาเปรียบเทียบคุณค่าทางสารอาหาร จะพบว่านมโคสดแท้จะให้สารอาหารที่สูงที่สุด เช่น คุณค่าด้านแคลเซียม นมโคสดแท้ 135 มิลลิกรัม นมหวาน 120 มิลลิกรัม นมเปรี้ยว 70 มิลลิกรัม ด้านโปรตีน นมโคสดแท้ 3.3 กรัม นมหวาน 2.3 กรัม นมเปรี้ยว 1.3 กรัม ในส่วนของวิตามินเอ นมโคสดแท้ 71 ไมโครกรัม นมหวาน 38 ไมโครกรัม และนมเปรี้ยว 17 ไมโครกรัม เป็นต้น ทั้งนี้จะเห็นว่านมหวาน และนมเปรี้ยวนั้นจะทำให้เด็กอ้วนได้มากกว่า นอกจากนี้นมสดรสธรรมชาติยังเป็นอาหารที่สร้างความแข็งแรงให้กับฟัน ซึ่งหากเติมน้ำตาลเป็นนมหวาน เด็กจะเสี่ยงเป็นโรคฟันผุมากกว่าเด็กที่ดื่มนมจืดถึง 2-3 เท่า
“วันนี้อยากแสดงจุดยืนให้เด็กได้รับการสนับสนุนนมโรงเรียนแบบเดิมคือนมโคสดแท้ 100% ซึ่งคณะกรรมการนโยบายนมแห่งชาติก็คงไม่คิดที่จะเปลี่ยนแปลงนำนมหวานมาแทนที่ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นไม่น่าจะมาแก้ไขด้วยการเปลี่ยนประเภทของนม แต่อยากให้ดูที่จุดผลิตต้องแก้ไขให้ถูกจุด” ผู้จัดการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานกล่าว
รศ.พญ.อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ ประธานชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันสังคมไทยกำลังตื่นตัวกับปัญหาเด็กอ้วน ซึ่งมีข้อมูลระบุว่า 1 ใน 10 ของเด็กปฐมวัยเป็นโรคอ้วน และ 1 ใน 10 ของเด็กในวัยเรียนเป็นโรคอ้วน หรือราว 1 ล้านคน ที่สำคัญคือเด็กไทยได้รับแคลเซียมต่ำ โดยงานวิจัยของโรงพยาบาลรามาธิบดีพบอีกว่า เด็กในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้รับแคลเซียมเพียงแค่ 50-60% ของความต้องการทั้งหมดของร่างกาย ซึ่งแคลเซียมนี้ มีความสำคัญอย่างมากสำหรับเด็ก เพราะจะเป็นการเสริมสร้างกระดูกซึ่งเด็กจะต้องได้รับอย่างเต็มที่ เพื่อที่ในอนาคตจะได้ไม่ประสบกับปัญหากระดูกพรุน กระดูกหัก และการที่ให้เด็กดื่มนมจืดก็เป็นการเสริมประโยชน์ในส่วนนี้อย่างมากทั้งในเรื่องของกระดูก และฟัน หากเป็นนมที่การผสมน้ำตาล เป็นนมหวานก็จะนำไปสู่การสะสมให้เกิดโรคอ้วนได้ และจะเป็นที่มาของโรคร้ายเรื้อรังตามมาเช่น ปัญหากระดูก ข้อ ระบบหายใจ ทางเดินหายใจอุดตันนำไปสู่โรคหัวใจ และทำให้ปริมาณไขมันในเลือดสูงจนนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจที่พบในเด็กอ้วนถึง 1 ใน 3 โรคไขมันในเลือดผิดปกติ พบ 1 ใน 5 และเป็นเบาหวานถึง 5% ดังนั้นการสนับสนุนให้ดื่มนมโคสดแท้ 100% จะเป็นประโยชน์ต่อเด็กอย่างสูง
ด้านทญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในฐานะของตนที่เป็นผู้ปกครองคนหนึ่งเห็นว่าการมีนมโรงเรียนเป็นสิ่งที่ดี เพราะโดยส่วนตัวหากเด็กได้รับนมจากที่โรงเรียนผู้ปกครองเองก็จะมองว่า เด็กได้รับประโยชน์จากอาหารที่โรงเรียนดูแล สนับสนุนเพียงพอแล้ว จนบางครั้งไม่จำเป็นต้องให้เด็กดื่มที่บ้าน จึงอาจสนับสนุนในอาหารที่ให้คุณค่าแตกต่างออกไป แต่ทุกวันนี้ผู้ปกครองก็ไม่สามารถที่จะไว้ใจได้เลยว่าลูกจะได้รับนมที่มีคุณภาพเพียงพอ เหมือนผู้ปกครองถูกให้ข้อมูลที่ผิด ว่านมโรงเรียนเป็นนมสดแท้ เป็นนมที่มีคุณภาพ แต่ความจริงเป็นนมผสม นมเจือจางซึ่งเด็กดื่มเท่าไรก็คงไม่โต ไม่ได้รับคุณค่าทางอาหารที่มีประโยชน์ได้
อ.ส.ค.หวั่นเกิดปัญหานมยูเอชทีบูด
นายอำนาจ ธีระวนิช ประธานกรรมการ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เปิดเผยว่า ทางอ.ส.ค.ได้เตรียมเข้าไปหารือกับนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อให้ช่วยแก้ปัญหาสต๊อกนมยูเอชทีมูลค่า 200 ล้านบาท โดยหลังจากอ.ส.ค.ร่วมกับสหกรณ์โคนม เพื่อแก้ปัญหานมดิบล้นตลาด ด้วยการบริหารจัดการน้ำนมดิบมาผลิตเป็นนมยูเอชที ภายใต้แบรนด์ไทย-เดนมาร์ค หรือในส่วนของนมพาณิชย์ และนมโครงการอาหารเสริมโรงเรียน
แต่การร่วมมือดังกล่าวเพื่อระบายสต็อกนม ยังไม่ความคืบหน้าตามที่มติครม.ออกมาตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ให้รับซื้อนมโรงเรียนเพื่อที่จะแจกเด็กนักเรียนทั่วประเทศ แก่นักเรียนชั้น ป.5-ป.6 จากปกติมีเฉพาะนักเรียนป.1-ป.4 เพื่อช่วยแก้ปัญหานมดิบล้นตลาดในระยะสั้น
ขณะนี้มีความกังวลว่า หากไม่มีการระบายสต๊อกนมยูเอชที ทั้งจากนมโรงเรียนและนมพาณิชย์ จะทำให้เกิดปัญหานมบูดขึ้นได้ในอนาคต เพราะปกตินมยูเอชทีมีอายุได้ประมาณ 6-8 เดือนเท่านั้น โดยขณะนี้ยังไม่สามารถช่องทางอื่นๆ ในการระบายนมได้เลย
ทาง อ.ส.ค.ต้องออกมาชี้แจ้งและหาวิธีแก้ไขก่อนจะเกิดปัญหานมบูด เพราะล่าสุดทางที่ประชุมมีมติให้ อ.ส.ค.ขอกู้เงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จำนวน 185ล้านบาท เป็นเงินทุนหมุนเวียน ให้คืนภายใน 1 ปี เพื่อนำมารับซื้อน้ำนมดิบที่ล้นตลาด ในช่วง 14 วันจากเกษตรกร ในจำนวน 4,900 ตัน หรือคิดเป็นนมกล่อง จำนวน 24.5 ล้านกล่อง โดยให้องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เป็นผู้ดำเนินการซึ่งเป็นการแก้ปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาดเฉพาะหน้า ซึ่งจะทำให้มีสต๊อกเพิ่มขึ้นอีก
วานนี้(20 ก.พ.) เมื่อเวลา 10.30 น. ที่โรงแรมเอเชีย เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน และ สสส. จัดการแถลงข่าว “นมสด นมผสม นมอะไรดี” ขึ้นโดย ทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ ผู้จัดการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กล่าวว่า จากปัญหานมโรงเรียนที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ไม่เคยเกิดแต่หากมองไปในช่วงปี 2545 ก็มีข่าวของการทุจริตนมโรงเรียน ต่อมาในปี 2546 ก็มีการตั้งคณะกรรมการนโยบายนมแห่งชาติขึ้น โดยต้องการให้นมที่นำไปให้นักเรียนดื่มนั้นเป็นนมที่มีคุณค่า จึงมีการสนับสนุนนมโคแท้ 100% ขึ้นเพื่อแจกให้เด็กนักเรียนดื่ม แต่เมื่อเกิดเป็นข่าวว่านมโรงเรียนมีการเจือจาง หรือมีการผสม จนเด็กนักเรียนไม่อยากดื่มนมสด นำไปสู่กระแสข่าวที่ว่าจะมีการพิจารณาให้สนับสนุนนมหวานมาให้เด็กดื่มแทน ซึ่งตนคิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ต้องแก้ปัญหาโดยการตรวจสอบ ประเมินผลคุณภาพของนมตั้งแต่ต้นทาง ไม่น่าจะเกี่ยวกับการยกประเด็นว่า นมโรงเรียนไม่อร่อย ไม่หวาน ทำให้เด็กไม่ชอบดื่ม เพราะประโยชน์ของนมโรงเรียนคือนมสดแท้ 100% ที่ไม่แต่งกลิ่น ไม่เติมน้ำตาล จะเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดกับตัวเด็ก และยังเป็นการส่งเสริมเกษตรกรไทย จึงต้องการให้คณะกรรมการนโยบายนมแห่งชาติให้นมโรงเรียนเป็นนมสด 100% ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นนมหวาน
ทพญ.จันทนา กล่าวอีกว่า จากการศึกษาโดยนำนมโคสดแท้ นมปรุงแต่งรสหวาน และนมเปรี้ยว ปริมาณ 100 มิลลิกรัม มาเปรียบเทียบคุณค่าทางสารอาหาร จะพบว่านมโคสดแท้จะให้สารอาหารที่สูงที่สุด เช่น คุณค่าด้านแคลเซียม นมโคสดแท้ 135 มิลลิกรัม นมหวาน 120 มิลลิกรัม นมเปรี้ยว 70 มิลลิกรัม ด้านโปรตีน นมโคสดแท้ 3.3 กรัม นมหวาน 2.3 กรัม นมเปรี้ยว 1.3 กรัม ในส่วนของวิตามินเอ นมโคสดแท้ 71 ไมโครกรัม นมหวาน 38 ไมโครกรัม และนมเปรี้ยว 17 ไมโครกรัม เป็นต้น ทั้งนี้จะเห็นว่านมหวาน และนมเปรี้ยวนั้นจะทำให้เด็กอ้วนได้มากกว่า นอกจากนี้นมสดรสธรรมชาติยังเป็นอาหารที่สร้างความแข็งแรงให้กับฟัน ซึ่งหากเติมน้ำตาลเป็นนมหวาน เด็กจะเสี่ยงเป็นโรคฟันผุมากกว่าเด็กที่ดื่มนมจืดถึง 2-3 เท่า
“วันนี้อยากแสดงจุดยืนให้เด็กได้รับการสนับสนุนนมโรงเรียนแบบเดิมคือนมโคสดแท้ 100% ซึ่งคณะกรรมการนโยบายนมแห่งชาติก็คงไม่คิดที่จะเปลี่ยนแปลงนำนมหวานมาแทนที่ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นไม่น่าจะมาแก้ไขด้วยการเปลี่ยนประเภทของนม แต่อยากให้ดูที่จุดผลิตต้องแก้ไขให้ถูกจุด” ผู้จัดการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานกล่าว
รศ.พญ.อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ ประธานชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันสังคมไทยกำลังตื่นตัวกับปัญหาเด็กอ้วน ซึ่งมีข้อมูลระบุว่า 1 ใน 10 ของเด็กปฐมวัยเป็นโรคอ้วน และ 1 ใน 10 ของเด็กในวัยเรียนเป็นโรคอ้วน หรือราว 1 ล้านคน ที่สำคัญคือเด็กไทยได้รับแคลเซียมต่ำ โดยงานวิจัยของโรงพยาบาลรามาธิบดีพบอีกว่า เด็กในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้รับแคลเซียมเพียงแค่ 50-60% ของความต้องการทั้งหมดของร่างกาย ซึ่งแคลเซียมนี้ มีความสำคัญอย่างมากสำหรับเด็ก เพราะจะเป็นการเสริมสร้างกระดูกซึ่งเด็กจะต้องได้รับอย่างเต็มที่ เพื่อที่ในอนาคตจะได้ไม่ประสบกับปัญหากระดูกพรุน กระดูกหัก และการที่ให้เด็กดื่มนมจืดก็เป็นการเสริมประโยชน์ในส่วนนี้อย่างมากทั้งในเรื่องของกระดูก และฟัน หากเป็นนมที่การผสมน้ำตาล เป็นนมหวานก็จะนำไปสู่การสะสมให้เกิดโรคอ้วนได้ และจะเป็นที่มาของโรคร้ายเรื้อรังตามมาเช่น ปัญหากระดูก ข้อ ระบบหายใจ ทางเดินหายใจอุดตันนำไปสู่โรคหัวใจ และทำให้ปริมาณไขมันในเลือดสูงจนนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจที่พบในเด็กอ้วนถึง 1 ใน 3 โรคไขมันในเลือดผิดปกติ พบ 1 ใน 5 และเป็นเบาหวานถึง 5% ดังนั้นการสนับสนุนให้ดื่มนมโคสดแท้ 100% จะเป็นประโยชน์ต่อเด็กอย่างสูง
ด้านทญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในฐานะของตนที่เป็นผู้ปกครองคนหนึ่งเห็นว่าการมีนมโรงเรียนเป็นสิ่งที่ดี เพราะโดยส่วนตัวหากเด็กได้รับนมจากที่โรงเรียนผู้ปกครองเองก็จะมองว่า เด็กได้รับประโยชน์จากอาหารที่โรงเรียนดูแล สนับสนุนเพียงพอแล้ว จนบางครั้งไม่จำเป็นต้องให้เด็กดื่มที่บ้าน จึงอาจสนับสนุนในอาหารที่ให้คุณค่าแตกต่างออกไป แต่ทุกวันนี้ผู้ปกครองก็ไม่สามารถที่จะไว้ใจได้เลยว่าลูกจะได้รับนมที่มีคุณภาพเพียงพอ เหมือนผู้ปกครองถูกให้ข้อมูลที่ผิด ว่านมโรงเรียนเป็นนมสดแท้ เป็นนมที่มีคุณภาพ แต่ความจริงเป็นนมผสม นมเจือจางซึ่งเด็กดื่มเท่าไรก็คงไม่โต ไม่ได้รับคุณค่าทางอาหารที่มีประโยชน์ได้
อ.ส.ค.หวั่นเกิดปัญหานมยูเอชทีบูด
นายอำนาจ ธีระวนิช ประธานกรรมการ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เปิดเผยว่า ทางอ.ส.ค.ได้เตรียมเข้าไปหารือกับนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อให้ช่วยแก้ปัญหาสต๊อกนมยูเอชทีมูลค่า 200 ล้านบาท โดยหลังจากอ.ส.ค.ร่วมกับสหกรณ์โคนม เพื่อแก้ปัญหานมดิบล้นตลาด ด้วยการบริหารจัดการน้ำนมดิบมาผลิตเป็นนมยูเอชที ภายใต้แบรนด์ไทย-เดนมาร์ค หรือในส่วนของนมพาณิชย์ และนมโครงการอาหารเสริมโรงเรียน
แต่การร่วมมือดังกล่าวเพื่อระบายสต็อกนม ยังไม่ความคืบหน้าตามที่มติครม.ออกมาตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ให้รับซื้อนมโรงเรียนเพื่อที่จะแจกเด็กนักเรียนทั่วประเทศ แก่นักเรียนชั้น ป.5-ป.6 จากปกติมีเฉพาะนักเรียนป.1-ป.4 เพื่อช่วยแก้ปัญหานมดิบล้นตลาดในระยะสั้น
ขณะนี้มีความกังวลว่า หากไม่มีการระบายสต๊อกนมยูเอชที ทั้งจากนมโรงเรียนและนมพาณิชย์ จะทำให้เกิดปัญหานมบูดขึ้นได้ในอนาคต เพราะปกตินมยูเอชทีมีอายุได้ประมาณ 6-8 เดือนเท่านั้น โดยขณะนี้ยังไม่สามารถช่องทางอื่นๆ ในการระบายนมได้เลย
ทาง อ.ส.ค.ต้องออกมาชี้แจ้งและหาวิธีแก้ไขก่อนจะเกิดปัญหานมบูด เพราะล่าสุดทางที่ประชุมมีมติให้ อ.ส.ค.ขอกู้เงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จำนวน 185ล้านบาท เป็นเงินทุนหมุนเวียน ให้คืนภายใน 1 ปี เพื่อนำมารับซื้อน้ำนมดิบที่ล้นตลาด ในช่วง 14 วันจากเกษตรกร ในจำนวน 4,900 ตัน หรือคิดเป็นนมกล่อง จำนวน 24.5 ล้านกล่อง โดยให้องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เป็นผู้ดำเนินการซึ่งเป็นการแก้ปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาดเฉพาะหน้า ซึ่งจะทำให้มีสต๊อกเพิ่มขึ้นอีก