รอยเตอร์ – ฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ออกรายการมิวสิกทีวีดังของอินโดนีเซียและตระเวนเยี่ยมโครงการช่วยเหลือที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสหรัฐฯ เมื่อวานนี้ (19) ระหว่างการเยือนอินโดนีเซีย โดยเธอหวังที่จะปรับปรุงภาพลักษณ์ของสหรัฐฯ ในประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลกแห่งนี้
หลังจากที่ได้เยือนอินโดนีเซียเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครบ 24 ชั่วโมง คลินตันก็ได้เปิดใจบอกเล่าเรื่องราวมากมาย ตั้งแต่เรื่องการตัดสินใจเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศภายใต้การนำของประธานาธิบดีบารัค โอบามา แม้เธอจะเจ็บปวดที่ต้องพ่ายแพ้แก่เขา ไปจนถึงรสนิยมด้านดนตรีของเธอ
นอกจากนั้น คลินตันยังได้เดินทางไปเยี่ยมพื้นที่ยากจนในแถบเปโตโจ อุตารา ใกล้ๆ กับกรุงจาการ์ตา ซึ่งเธอต้องเดินไปตามถนนแคบๆ ที่มีท่อระบายน้ำเปิดทิ้งไว้ เพื่อเข้าไปดูโครงการขนาดเล็กต่างๆ ที่สหรัฐฯให้ความช่วยเหลือ คือ โครงการจัดหาน้ำสะอาด โครงการรีไซเคิล การทำปุ๋ยหมัก และโครงการสุขภาพแม่และเด็ก
ในการไปออกรายการดนตรีและทอล์กโชว์ “ดาห์สยัต” (สุดยอด) ซึ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น คลินตันเล่าว่าเธอแปลกใจมากเมื่อโอบามาขอให้เธอรับตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศทั้งๆ ที่เธอพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งขั้นต้นเพื่อเป็นผู้เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของเดโมแครต
คลินตันยังได้รับการปรบมือเมื่อเล่าว่าเธอเป็นแฟนดนตรีคนหนึ่ง และวงโปรดของเธอคือเดอะบีทเทิลส์และโรลลิงสโตนส์ ทว่าเธอปฏิเสธอย่างสุภาพเมื่อมีผู้ขอให้เธอร้องเพลงว่า “ปัญหาอยู่ตรงนี้ค่ะ” เธอพูดพลางชี้ไปทางผู้ชมรายการ “คุณลองดูท่านเหล่านี้สิ ถ้าหากดิฉันเริ่มร้องเพลงขึ้นมา พวกเขาจะเดินออกไปกันหมดเลย”
หลังจากที่เข้าพบประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุโธโยโน แล้ว คลินตันบอกกับสื่อมวลชนของอินโดนีเซียว่า ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ละเลยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการที่เธอตัดสินใจมาเยือนอินโดนีเซียเป็นที่แรกเมื่อเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีก็เพราะมีเป้าหมายที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์เสียใหม่
“เราไม่ต้องการหายหน้าไปจากภูมิภาคนี้ เราต้องการปรากฏตัวอยู่ที่นี่ด้วย” เธอบอก
เธอยังตอบคำถามกรณีที่มีชาวอินโดนีเซียไม่พอใจนโยบายของสหรัฐฯ ในตะวันออกกลางว่า โอบามาตัดสินใจที่จะเอาจริงกับการสร้างสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ แม้ว่าการยุติความขัดแย้งที่มีมานานกว่าหกทศวรรษจะเป็นเรื่องยากลำบากก็ตาม
“เรากำลังจะทำงานอย่างหนักเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งซึ่งเต็มไปด้วยความเจ็บปวดและเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก ... แต่ก็เพื่อที่จะให้ชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างมีสันติภาพ ... แทนที่จะต้องรู้สึกหวั่นผวากับการตกอยู่ในวงล้อม เราจะต้องพยายามหาหนทางฝ่าฟันปัญหานี้ไปให้ได้”
นอกจากนั้น คลินตันยังถือว่าอินโดนีเซียเป็นตัวแบบที่แสดงให้เห็นว่าอิสลามและโลกสมัยใหม่สามารถดำรงอยู่คู่กันไปได้ด้วย
ทั้งนี้ แม้ว่าชาวมุสลิมส่วนใหญ่ในอินโดนีเซียจะเป็นพวกสายกลาง แต่ก็มีกลุ่มที่โน้มไปทางพวกสุดขั้วอยู่ด้วย และในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก็เกิดเหตุระเบิดรุนแรงขึ้นหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บาหลีเมื่อปี 2002 ซึ่งกองกำลังอิสลามิสต์โจมตีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญจนมีผู้เสียชีวิตไปกว่า 200 คน และส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ
ส่วนในปีนี้ อินโดนีเซียก็มีกำหนดการจัดเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาและประธานาธิบดี โดยยุโธโยโนจะต้องสู้กับคู่ปรับสำคัญคืออดีตประธานาธิบดีเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี
คลินตันกล่าวว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องละวางเรื่องความแตกต่างทางการเมืองไปทันทีที่การเลือกตั้งเสร็จสิ้นลง เธอเองก็รู้สึกสบายใจที่ได้ทำงานโอบามาเพราะต่างก็มีความเห็นในหลายๆ เรื่องสอดคล้องกัน แต่เธอก็ย้ำว่าการพ่ายแพ้เป็นเรื่องที่ทำใจยากมาก
“การเมืองเป็นเรื่องหนัก” เธอบอกแล้วพูดติดตลกต่อไปอีกว่า “คุณจะต้องมีระดับความอดทนต่อความเจ็บปวดที่สูงมากทีเดียว”
หลังจากที่ได้เยือนอินโดนีเซียเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครบ 24 ชั่วโมง คลินตันก็ได้เปิดใจบอกเล่าเรื่องราวมากมาย ตั้งแต่เรื่องการตัดสินใจเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศภายใต้การนำของประธานาธิบดีบารัค โอบามา แม้เธอจะเจ็บปวดที่ต้องพ่ายแพ้แก่เขา ไปจนถึงรสนิยมด้านดนตรีของเธอ
นอกจากนั้น คลินตันยังได้เดินทางไปเยี่ยมพื้นที่ยากจนในแถบเปโตโจ อุตารา ใกล้ๆ กับกรุงจาการ์ตา ซึ่งเธอต้องเดินไปตามถนนแคบๆ ที่มีท่อระบายน้ำเปิดทิ้งไว้ เพื่อเข้าไปดูโครงการขนาดเล็กต่างๆ ที่สหรัฐฯให้ความช่วยเหลือ คือ โครงการจัดหาน้ำสะอาด โครงการรีไซเคิล การทำปุ๋ยหมัก และโครงการสุขภาพแม่และเด็ก
ในการไปออกรายการดนตรีและทอล์กโชว์ “ดาห์สยัต” (สุดยอด) ซึ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น คลินตันเล่าว่าเธอแปลกใจมากเมื่อโอบามาขอให้เธอรับตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศทั้งๆ ที่เธอพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งขั้นต้นเพื่อเป็นผู้เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของเดโมแครต
คลินตันยังได้รับการปรบมือเมื่อเล่าว่าเธอเป็นแฟนดนตรีคนหนึ่ง และวงโปรดของเธอคือเดอะบีทเทิลส์และโรลลิงสโตนส์ ทว่าเธอปฏิเสธอย่างสุภาพเมื่อมีผู้ขอให้เธอร้องเพลงว่า “ปัญหาอยู่ตรงนี้ค่ะ” เธอพูดพลางชี้ไปทางผู้ชมรายการ “คุณลองดูท่านเหล่านี้สิ ถ้าหากดิฉันเริ่มร้องเพลงขึ้นมา พวกเขาจะเดินออกไปกันหมดเลย”
หลังจากที่เข้าพบประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุโธโยโน แล้ว คลินตันบอกกับสื่อมวลชนของอินโดนีเซียว่า ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ละเลยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการที่เธอตัดสินใจมาเยือนอินโดนีเซียเป็นที่แรกเมื่อเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีก็เพราะมีเป้าหมายที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์เสียใหม่
“เราไม่ต้องการหายหน้าไปจากภูมิภาคนี้ เราต้องการปรากฏตัวอยู่ที่นี่ด้วย” เธอบอก
เธอยังตอบคำถามกรณีที่มีชาวอินโดนีเซียไม่พอใจนโยบายของสหรัฐฯ ในตะวันออกกลางว่า โอบามาตัดสินใจที่จะเอาจริงกับการสร้างสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ แม้ว่าการยุติความขัดแย้งที่มีมานานกว่าหกทศวรรษจะเป็นเรื่องยากลำบากก็ตาม
“เรากำลังจะทำงานอย่างหนักเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งซึ่งเต็มไปด้วยความเจ็บปวดและเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก ... แต่ก็เพื่อที่จะให้ชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างมีสันติภาพ ... แทนที่จะต้องรู้สึกหวั่นผวากับการตกอยู่ในวงล้อม เราจะต้องพยายามหาหนทางฝ่าฟันปัญหานี้ไปให้ได้”
นอกจากนั้น คลินตันยังถือว่าอินโดนีเซียเป็นตัวแบบที่แสดงให้เห็นว่าอิสลามและโลกสมัยใหม่สามารถดำรงอยู่คู่กันไปได้ด้วย
ทั้งนี้ แม้ว่าชาวมุสลิมส่วนใหญ่ในอินโดนีเซียจะเป็นพวกสายกลาง แต่ก็มีกลุ่มที่โน้มไปทางพวกสุดขั้วอยู่ด้วย และในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก็เกิดเหตุระเบิดรุนแรงขึ้นหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บาหลีเมื่อปี 2002 ซึ่งกองกำลังอิสลามิสต์โจมตีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญจนมีผู้เสียชีวิตไปกว่า 200 คน และส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ
ส่วนในปีนี้ อินโดนีเซียก็มีกำหนดการจัดเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาและประธานาธิบดี โดยยุโธโยโนจะต้องสู้กับคู่ปรับสำคัญคืออดีตประธานาธิบดีเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี
คลินตันกล่าวว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องละวางเรื่องความแตกต่างทางการเมืองไปทันทีที่การเลือกตั้งเสร็จสิ้นลง เธอเองก็รู้สึกสบายใจที่ได้ทำงานโอบามาเพราะต่างก็มีความเห็นในหลายๆ เรื่องสอดคล้องกัน แต่เธอก็ย้ำว่าการพ่ายแพ้เป็นเรื่องที่ทำใจยากมาก
“การเมืองเป็นเรื่องหนัก” เธอบอกแล้วพูดติดตลกต่อไปอีกว่า “คุณจะต้องมีระดับความอดทนต่อความเจ็บปวดที่สูงมากทีเดียว”