ASTVผู้จัดการรายวัน - กรมธนารักษ์หาช่องทางเพิ่มรายได้จากที่ดินราชพัสดุ เน้นโครงการที่เกิดขึ้นเร็ว นำที่ดินผืนงามปากซอยราชครูที่ตั้ง สนง.บบส. 5 ไร่พัฒนาที่อยู่อาศัยและเชิงพาณิชย์ รวมถึงที่ดินย่านวัดไผ่ตัน 3 ไร่เศษ เผยรูปแบบโครงการจามจุรีสแควร์ของจุฬาฯ เผยแหล่งเงินอาศัยบริษัทธนารักษ์พัฒนาฯ ระดมทุนผ่านหุ้นกู้หมื่นล้าน เล็งเจรจาผู้ว่าฯ กทม.สานต่อที่ดินศูนย์ประชุมสิริกิติ์
กรมธนารักษ์สังกัดกระทรวงการคลัง ถือเป็นหนึ่งในรัฐวิสาหกิจที่ครอบครองที่ดินอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งที่ผ่านมา การบริหารจัดการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มหรืออัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ ดังนั้น หนทางที่จะเพิ่มอัตราผลตอบแทนนั้น ต้องมาพิจารณาถึงศักยภาพของที่ดินที่กรมธนารักษ์ดูแลอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางแห่งที่อยู่ในทำเลเด่นและอยู่ใกล้กับโครงข่ายรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดินMRT น่าจะเพิ่มมูลค่าในการสร้างผลตอบแทนในอนาคตได้
นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะที่กำกับดูแลกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า แม้กรมธนารักษ์จะรับผิดชอบในการดูแลที่ดินราชพัสดุจำนวนมาก แต่หนทางในการเพิ่มรายได้ก็เป็นหนทางที่จะต้องดำเนินการ ซึ่งโครงการที่จะเกิดขึ้น จะต้องมีความคล่องตัว ขนาดของโครงการมีความเหมาะสมกับภาพรวมของเศรษฐกิจ รวมถึงไม่เป็นการเพิ่มภาระหนี้แก่รัฐบาลมากเกินไป ซึ่งในขณะนี้ กรมฯมีแผนที่จะนำที่ดินราชพัสดุที่อยู่ในกรุงเทพฯมาสร้างรายได้ โดยแปลงที่เหมาะต่อการลงทุน เช่น ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบริเวณปากซอยราชครู ริมถนนพหลโยธิน จำนวน 4 ไร่ 3 งาน ปัจจุบันเป็นพื้นที่อาคารสำนักงานของบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือ บบส.(หลังจากที่ บบส.ต้องควบรวมกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพฯพาณิชย์ จำกัด (บสก.) ทำให้บบส.ต้องคืนพื้นที่คืนกลับมาเป็นที่ราชพัสดุ)
"แปลงนี้ค่อนข้างมีความโดดเด่นในเรื่องของทำเล อยู่แนวรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีซอยอารีย์ เรามองว่า โครงการจามจุรีสแควร์ของจุฬาฯ ค่อนข้างประสบความสำเร็จและมีความหลากหลายในการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นด้านที่อยู่อาศัยและโครงการเชิงพาณิชย์ที่อยู่ในโครงการเดียวกัน ซึ่งเราน่าจะนำรูปแบบดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับที่ดินแปลงนี้ " รมช.คลังกล่าวและว่า อีกแปลงที่เหมาะ ในการลงทุน คงจะเป็นที่ดินราชพัสดุย่านวัดไผ่ใต้ประมาณ 3 ไร่เศษ ซึ่งเดิมเป็นที่ดินขององค์กรรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) หนึ่งในรัฐวิสาหกิจของรัฐฯ ที่ถูกยุบ เนื่องจากปัญหาของภาระหนี้สิน โดยความเป็นไปได้อาจจะพัฒนาในรูปแบบโครงการเพื่ออยู่อาศัย เนื่องจากอยู่แหล่งชุมชนและโครงข่ายรถไฟฟ้า
รมช.กล่าวว่าในการลงทุนนั้น กรมธนารักษ์คงไม่เข้าไปดำเนินการ เพราะจะมีผลต่อเรื่องกฎหมาย เนื่องจากแนวโน้มของมูลค่าโครงการน่าจะเข้าเกณฑ์พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 เนื่องจากมูลค่าโครงการน่าจะเกิน 1,000 ล้านบาท ดังนั้น กรมฯ ต้องให้บริษัท ธนารักษ์พัฒนา จำกัด (ธพส.) รัฐวิสาหกิจของกระทรวงการคลังเข้ามาดำเนินการ ในเบื้องต้น ธพส.จะเป็นเครื่องมือในการระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้ คาดว่าไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามต้องสรุปวงเงินและรูปแบบในการดำเนการอีกครั้ง
นายพฤฒิชัยกล่าวถึงที่ดินราชพัสดุบริเวณศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ว่า คงต้องมีการทบทวนเรื่องรูปแบบของแผน เนื่องจากตามกฎหมายผังเมืองใหม่ ห้ามก่อสร้างอาคารที่สูงเกิน 23 เมตร ดังนั้น ทางกระทรวงการคลังคงต้องมีการหารือกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ (กทม.) ถึงแนวทางที่เหมาะสมในการลดอุปสรรคในการพัฒนาโครงการบริเวณรอบศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
"ในด้านของแผนของผู้ได้รับสัมปทาน เรื่องมาถึงกระทรวงแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้"
ก่อนหน้านี้ บริษัท ทีซีซีแลนด์ จำกัด ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท เอ็น.ซี.ซี.แมเนจเม้นท์ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเรื่องผังเมือง ที่ไม่สามารถสร้างตึกสูงได้ตามแผนการขยายเฟสของศูนย์ประชุมฯให้แก่กรมธนารักษ์
กรมธนารักษ์สังกัดกระทรวงการคลัง ถือเป็นหนึ่งในรัฐวิสาหกิจที่ครอบครองที่ดินอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งที่ผ่านมา การบริหารจัดการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มหรืออัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ ดังนั้น หนทางที่จะเพิ่มอัตราผลตอบแทนนั้น ต้องมาพิจารณาถึงศักยภาพของที่ดินที่กรมธนารักษ์ดูแลอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางแห่งที่อยู่ในทำเลเด่นและอยู่ใกล้กับโครงข่ายรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดินMRT น่าจะเพิ่มมูลค่าในการสร้างผลตอบแทนในอนาคตได้
นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะที่กำกับดูแลกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า แม้กรมธนารักษ์จะรับผิดชอบในการดูแลที่ดินราชพัสดุจำนวนมาก แต่หนทางในการเพิ่มรายได้ก็เป็นหนทางที่จะต้องดำเนินการ ซึ่งโครงการที่จะเกิดขึ้น จะต้องมีความคล่องตัว ขนาดของโครงการมีความเหมาะสมกับภาพรวมของเศรษฐกิจ รวมถึงไม่เป็นการเพิ่มภาระหนี้แก่รัฐบาลมากเกินไป ซึ่งในขณะนี้ กรมฯมีแผนที่จะนำที่ดินราชพัสดุที่อยู่ในกรุงเทพฯมาสร้างรายได้ โดยแปลงที่เหมาะต่อการลงทุน เช่น ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบริเวณปากซอยราชครู ริมถนนพหลโยธิน จำนวน 4 ไร่ 3 งาน ปัจจุบันเป็นพื้นที่อาคารสำนักงานของบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือ บบส.(หลังจากที่ บบส.ต้องควบรวมกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพฯพาณิชย์ จำกัด (บสก.) ทำให้บบส.ต้องคืนพื้นที่คืนกลับมาเป็นที่ราชพัสดุ)
"แปลงนี้ค่อนข้างมีความโดดเด่นในเรื่องของทำเล อยู่แนวรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีซอยอารีย์ เรามองว่า โครงการจามจุรีสแควร์ของจุฬาฯ ค่อนข้างประสบความสำเร็จและมีความหลากหลายในการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นด้านที่อยู่อาศัยและโครงการเชิงพาณิชย์ที่อยู่ในโครงการเดียวกัน ซึ่งเราน่าจะนำรูปแบบดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับที่ดินแปลงนี้ " รมช.คลังกล่าวและว่า อีกแปลงที่เหมาะ ในการลงทุน คงจะเป็นที่ดินราชพัสดุย่านวัดไผ่ใต้ประมาณ 3 ไร่เศษ ซึ่งเดิมเป็นที่ดินขององค์กรรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) หนึ่งในรัฐวิสาหกิจของรัฐฯ ที่ถูกยุบ เนื่องจากปัญหาของภาระหนี้สิน โดยความเป็นไปได้อาจจะพัฒนาในรูปแบบโครงการเพื่ออยู่อาศัย เนื่องจากอยู่แหล่งชุมชนและโครงข่ายรถไฟฟ้า
รมช.กล่าวว่าในการลงทุนนั้น กรมธนารักษ์คงไม่เข้าไปดำเนินการ เพราะจะมีผลต่อเรื่องกฎหมาย เนื่องจากแนวโน้มของมูลค่าโครงการน่าจะเข้าเกณฑ์พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 เนื่องจากมูลค่าโครงการน่าจะเกิน 1,000 ล้านบาท ดังนั้น กรมฯ ต้องให้บริษัท ธนารักษ์พัฒนา จำกัด (ธพส.) รัฐวิสาหกิจของกระทรวงการคลังเข้ามาดำเนินการ ในเบื้องต้น ธพส.จะเป็นเครื่องมือในการระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้ คาดว่าไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามต้องสรุปวงเงินและรูปแบบในการดำเนการอีกครั้ง
นายพฤฒิชัยกล่าวถึงที่ดินราชพัสดุบริเวณศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ว่า คงต้องมีการทบทวนเรื่องรูปแบบของแผน เนื่องจากตามกฎหมายผังเมืองใหม่ ห้ามก่อสร้างอาคารที่สูงเกิน 23 เมตร ดังนั้น ทางกระทรวงการคลังคงต้องมีการหารือกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ (กทม.) ถึงแนวทางที่เหมาะสมในการลดอุปสรรคในการพัฒนาโครงการบริเวณรอบศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
"ในด้านของแผนของผู้ได้รับสัมปทาน เรื่องมาถึงกระทรวงแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้"
ก่อนหน้านี้ บริษัท ทีซีซีแลนด์ จำกัด ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท เอ็น.ซี.ซี.แมเนจเม้นท์ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเรื่องผังเมือง ที่ไม่สามารถสร้างตึกสูงได้ตามแผนการขยายเฟสของศูนย์ประชุมฯให้แก่กรมธนารักษ์