วิเคราะห์
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล ตั้งแต่การเตรียมเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคเพื่อไทย
พร้อมยื่นถอดถอน “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.
ตามมาด้วยคณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรคเพื่อไทย เตรียมเสนอ ร่างพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ ซึ่งมีสาระสำคัญในการนิรโทษกรรมและล้างมลทินให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเมืองในช่วงที่เกิดเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549
ถือเป็นการเดินเกมอย่างสอดประสานที่มีนัยและหวังผลทางการเมืองอย่างน่าจับตายิ่ง
การยื่นญัตติซักฟอกรัฐบาล ตามข้อมูลของ “เฉลิม อยู่บำรุง” ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่เผยแพร่ออกสู้สาธารณชนนั้นว่ากันไปแล้วเป็นเพียงข้อมูลเก่า
โดยเฉพาะประเด็นเงินบริจาค 250 ล้านบาทที่อ้างว่าเป็นการรับเงินแบบผิดขั้นตอนจาก “ประชัย เลี่ยวไพรัตน์” ผู้บริหาร ทีพีไอ โพลีน ซึ่งเจ้าตัวก็ออกมาปฏิเสธแล้วว่าไม่เป็นความจริง ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องเก่าตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งในยุคนั้น “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ยังไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ด้วยซ้ำ
หรือแม้แต่ข้อกล่าวหาที่ว่ามีการใช้เงินที่ขอมาจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. อย่างผิดวัตถุประสงค์ ก็เป็นข้อมูลที่ไม่เด่นชัดพอที่จะล้มรัฐบาลได้
แต่หากนำมาผนวกกับการนำเสนอ ร่างพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ ฝ่ายค้านเชื่อว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จได้
เป็นที่รู้กันว่า เป้าหมายสำคัญของร่างกฎหมายปรองดองฯ ก็เพื่อที่จะช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้หลุดพ้นจากคดีทุจริตต่างๆ ที่ก่อไว้ หวังให้กลับมาเป็นถุงเงินของพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง และยังได้ช่วยเหลือนักการเมืองที่ตกเป็นทาสรับใช้ระบอบทักษิณจนต้องติดคุกการเมืองคนละ 5 ปีได้ด้วย
เพราะในบรรดานักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิเหล่านี้ จำนวนมากทีเดียวที่มาอยู่เบื้องหลังพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลชุดนี้
ทั้งนี้ ฝ่ายค้านหวังว่าพวกเขาเหล่านั้นจะช่วยผลักดันให้นิรโทษกรรมนักการเมืองขี้ฉ้อเหล่านี้ได้กลับคืนสู่สนามการเมืองอีกครั้ง ด้วยการที่จะนำกฎหมายนี้ไปต่อรองกับพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อแลกกับเสียงสนับสนุนญัตติซักฟอกและถอดถอน “อภิสิทธิ์” ซึ่งจากท่าทีของพรรคร่วมรัฐบาล ก็เหมือนจะเข้าทางพรรคเพื่อไทยไม่น้อย
โดยเฉพาะ “ชวรัตน์ ชาญวีรกุล” รมว.มหาดไทย และเพิ่งได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยหมาดๆ ออกมารับลูกพรรคฝ่ายค้านในการผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรมให้เกิดขึ้น
ถึงขนาดท้าทายพรรคแกนนำอย่างประชาธิปัตย์ ให้เอาเหตุผลมาสู้กันหากคัดค้านกฎหมายฉบับนี้
จริงอยู่ “ชวรัตน์”ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ 5 ปี แต่ที่ได้ดิบได้ดี มีตำแหน่งสำคัญๆ ในฝ่ายบริหารมาได้หลายครั้งก็ด้วยการอุ้มชู สนับสนุนจากนักการเมืองกลุ่มนี้
การออกมาสนับสนุนอย่างออกหน้าออกตา เพื่อการแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ แต่ก็จะนำว่าซึ่งความขัดแย้งอย่างรุนแรงในสังคม
จึงเป็นการแสดงให้เห็นธาตุแท้ของนักการเมืองประเภทนี้ที่เห็นผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้องมากกว่าประโยชน์ของประเทศชาติ
กระนั้นก็ตามผู้สัดทัดกรณีกลับมองว่า นั่นเป็นเพียงท้วงทำนองของนักการเมืองผู้เจนจัดมากกว่า เป้าหมายที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่การผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรมอย่างที่พูดออกมา
แต่เป็นเกมการเมืองที่ลึกกว่าที่เห็น
เพราะเป็นไปไม่ได้ที่พรรคร่วมรัฐบาลเพิ่งทำงานมาได้ไม่ถึง 2 เดือน จะก่อวิกฤติจนรัฐบาลล้มในขณะ ในเมื่อกระสุนดินดำ เสบียงกรังที่จะเตรียมไว้สำหรับการเลือกตั้ง ยังไม่มี
การแสดงท่าทีดังกล่าวจึงเป็นเพียงสร้างอำนาจต่อรองให้ตัวเอง
ที่ผ่านมาเป็นที่รู้กันว่าพรรคร่วมต่างไม่พอใจการจัดสรรงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ส่วนใหญ่ไปกระจุกอยู่กับกระทรวงและหน่วยงานที่คนของพรรคประชาธิปัตย์
งานนี้จึงอาศัยเงื่อนไขของพรรคเพื่อไทย ในการต่อรองจัดสรรงบประมาณปี 2553 ให้กระทรวงที่ตัวเองดูแลอยู่ได้มากที่สุด
ประกอบกับขณะนี้อยู่ในช่วงการพิจารณาบอร์ดบริหารรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก และเป็นที่รู้กันว่าคือบ่อเงินบ่อทองของนักการเมือง จึงต้องการต่อรองให้คนของตัวเองเข้าไปให้ได้มากที่สุด
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ทั้งฝ่ายปกครอง ตำรวจ และทหาร ซึ่งล้วนแล้วแต่ สามารถสร้างอำนาจฐานการเมืองให้กับพรรคของตัวเองมากขึ้นในการสู้ศึกเลือกตั้ง
รวมทั้งโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ที่พรรคร่วมรัฐบาลต้องการ
งานนี้เลยกลายเป็นว่าพรรคเพื่อไทย เดินเกมพลาด กลายเป็นเงื่อนไขให้พรรคร่วมนำมาเป็นประเด็นต่อรองกับพรรคประชาธิปัตย์
เข้าตำรา “เตะหมู เข้าปากหมา” โดยแท้
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล ตั้งแต่การเตรียมเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคเพื่อไทย
พร้อมยื่นถอดถอน “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.
ตามมาด้วยคณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรคเพื่อไทย เตรียมเสนอ ร่างพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ ซึ่งมีสาระสำคัญในการนิรโทษกรรมและล้างมลทินให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเมืองในช่วงที่เกิดเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549
ถือเป็นการเดินเกมอย่างสอดประสานที่มีนัยและหวังผลทางการเมืองอย่างน่าจับตายิ่ง
การยื่นญัตติซักฟอกรัฐบาล ตามข้อมูลของ “เฉลิม อยู่บำรุง” ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่เผยแพร่ออกสู้สาธารณชนนั้นว่ากันไปแล้วเป็นเพียงข้อมูลเก่า
โดยเฉพาะประเด็นเงินบริจาค 250 ล้านบาทที่อ้างว่าเป็นการรับเงินแบบผิดขั้นตอนจาก “ประชัย เลี่ยวไพรัตน์” ผู้บริหาร ทีพีไอ โพลีน ซึ่งเจ้าตัวก็ออกมาปฏิเสธแล้วว่าไม่เป็นความจริง ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องเก่าตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งในยุคนั้น “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ยังไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ด้วยซ้ำ
หรือแม้แต่ข้อกล่าวหาที่ว่ามีการใช้เงินที่ขอมาจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. อย่างผิดวัตถุประสงค์ ก็เป็นข้อมูลที่ไม่เด่นชัดพอที่จะล้มรัฐบาลได้
แต่หากนำมาผนวกกับการนำเสนอ ร่างพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ ฝ่ายค้านเชื่อว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จได้
เป็นที่รู้กันว่า เป้าหมายสำคัญของร่างกฎหมายปรองดองฯ ก็เพื่อที่จะช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้หลุดพ้นจากคดีทุจริตต่างๆ ที่ก่อไว้ หวังให้กลับมาเป็นถุงเงินของพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง และยังได้ช่วยเหลือนักการเมืองที่ตกเป็นทาสรับใช้ระบอบทักษิณจนต้องติดคุกการเมืองคนละ 5 ปีได้ด้วย
เพราะในบรรดานักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิเหล่านี้ จำนวนมากทีเดียวที่มาอยู่เบื้องหลังพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลชุดนี้
ทั้งนี้ ฝ่ายค้านหวังว่าพวกเขาเหล่านั้นจะช่วยผลักดันให้นิรโทษกรรมนักการเมืองขี้ฉ้อเหล่านี้ได้กลับคืนสู่สนามการเมืองอีกครั้ง ด้วยการที่จะนำกฎหมายนี้ไปต่อรองกับพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อแลกกับเสียงสนับสนุนญัตติซักฟอกและถอดถอน “อภิสิทธิ์” ซึ่งจากท่าทีของพรรคร่วมรัฐบาล ก็เหมือนจะเข้าทางพรรคเพื่อไทยไม่น้อย
โดยเฉพาะ “ชวรัตน์ ชาญวีรกุล” รมว.มหาดไทย และเพิ่งได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยหมาดๆ ออกมารับลูกพรรคฝ่ายค้านในการผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรมให้เกิดขึ้น
ถึงขนาดท้าทายพรรคแกนนำอย่างประชาธิปัตย์ ให้เอาเหตุผลมาสู้กันหากคัดค้านกฎหมายฉบับนี้
จริงอยู่ “ชวรัตน์”ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ 5 ปี แต่ที่ได้ดิบได้ดี มีตำแหน่งสำคัญๆ ในฝ่ายบริหารมาได้หลายครั้งก็ด้วยการอุ้มชู สนับสนุนจากนักการเมืองกลุ่มนี้
การออกมาสนับสนุนอย่างออกหน้าออกตา เพื่อการแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ แต่ก็จะนำว่าซึ่งความขัดแย้งอย่างรุนแรงในสังคม
จึงเป็นการแสดงให้เห็นธาตุแท้ของนักการเมืองประเภทนี้ที่เห็นผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้องมากกว่าประโยชน์ของประเทศชาติ
กระนั้นก็ตามผู้สัดทัดกรณีกลับมองว่า นั่นเป็นเพียงท้วงทำนองของนักการเมืองผู้เจนจัดมากกว่า เป้าหมายที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่การผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรมอย่างที่พูดออกมา
แต่เป็นเกมการเมืองที่ลึกกว่าที่เห็น
เพราะเป็นไปไม่ได้ที่พรรคร่วมรัฐบาลเพิ่งทำงานมาได้ไม่ถึง 2 เดือน จะก่อวิกฤติจนรัฐบาลล้มในขณะ ในเมื่อกระสุนดินดำ เสบียงกรังที่จะเตรียมไว้สำหรับการเลือกตั้ง ยังไม่มี
การแสดงท่าทีดังกล่าวจึงเป็นเพียงสร้างอำนาจต่อรองให้ตัวเอง
ที่ผ่านมาเป็นที่รู้กันว่าพรรคร่วมต่างไม่พอใจการจัดสรรงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ส่วนใหญ่ไปกระจุกอยู่กับกระทรวงและหน่วยงานที่คนของพรรคประชาธิปัตย์
งานนี้จึงอาศัยเงื่อนไขของพรรคเพื่อไทย ในการต่อรองจัดสรรงบประมาณปี 2553 ให้กระทรวงที่ตัวเองดูแลอยู่ได้มากที่สุด
ประกอบกับขณะนี้อยู่ในช่วงการพิจารณาบอร์ดบริหารรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก และเป็นที่รู้กันว่าคือบ่อเงินบ่อทองของนักการเมือง จึงต้องการต่อรองให้คนของตัวเองเข้าไปให้ได้มากที่สุด
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ทั้งฝ่ายปกครอง ตำรวจ และทหาร ซึ่งล้วนแล้วแต่ สามารถสร้างอำนาจฐานการเมืองให้กับพรรคของตัวเองมากขึ้นในการสู้ศึกเลือกตั้ง
รวมทั้งโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ที่พรรคร่วมรัฐบาลต้องการ
งานนี้เลยกลายเป็นว่าพรรคเพื่อไทย เดินเกมพลาด กลายเป็นเงื่อนไขให้พรรคร่วมนำมาเป็นประเด็นต่อรองกับพรรคประชาธิปัตย์
เข้าตำรา “เตะหมู เข้าปากหมา” โดยแท้